สรุปมาตรการเยียวยาโควิด ระลอกใหม่ มีอะไรบ้าง
สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่เพิ่มสูงขึ้น ทำให้รัฐบาลกลับมาประกาศมาตรการล็อกดาวน์ ปิดสถานที่และกิจการในหลายพื้นที่เพิ่มเติม ก่อให้เกิดผลกระทบทางเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน รัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างเร่งออกมาตรการต่าง ๆ มาช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ ทั้งมาตรการเยียวยาโควิด 2564 ผ่านโครงการคนละครึ่ง โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ มาตรการลดค่าไฟฟ้า ค่าประปา โครงการช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา และอื่น ๆ อีกมากมาย โดยวันนี้ KTC จะมาสรุปมาตรการเยียวยาโควิดล่าสุดในช่วง 4 เดือนสุดท้ายของปี 2564 ว่ามีโครงการอะไร ใครได้สิทธิ์บ้าง มาดูกัน
โครงการคนละครึ่ง เฟส 3
เป็นมาตรการช่วยเหลือที่รัฐบาลสนับสนุนค่าใช้จ่ายในลักษณะ Co-pay (ร่วมกันจ่าย) เป็นจำนวนเงิน 150 บาทต่อคนต่อวัน สูงสุดไม่เกิน 3,000 บาทต่อคน และในโครงการคนละครึ่ง เฟส 3 นั้น รัฐบาลยังคงสมทบวงเงินให้คนละ 3,000 บาท
ใครได้สิทธิ์บ้าง
- ผู้ร่วมโครงการคนละครึ่งเฟส 1 และเฟส 2 (ไม่ต้องลงทะเบียนใหม่)
- เป็นบุคคลสัญชาติไทย ที่มีบัตรประจำตัวประชาชน
- อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
- ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิ์โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน)
- ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิ์โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
- ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564 โดยแบ่งจ่ายเงินช่วงแรก เดือนกรกฎาคม - กันยายน จำนวน 1,500 บาท และเดือนตุลาคม - ธันวาคม อีก 1,500 บาท
โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้
เป็นโครงการที่ภาครัฐจะสนับสนุนบัตรกำนัลอิเล็กทรอนิกส์ หรือ E-Voucher เพื่อให้ผู้ได้รับสิทธิ์นำไปใช้กับร้านค้าที่จดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม เพื่อซื้อสินค้า อาหาร เครื่องดื่ม ในวงเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อคนต่อวัน และสูงสุดรวมทั้งโครงการ ไม่เกิน 7,000 บาทต่อคน โดยต้องชำระผ่านกระเป๋าตัง G-wallet
ใครได้สิทธิ์บ้าง
- เป็นบุคคลสัญชาติไทย ที่มีบัตรประจำตัวประชาชน
- อายุตั้งแต่ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไป ณ วันที่ลงทะเบียน
- ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิ์โครงการบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน)
- ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิ์โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
- ไม่เป็นผู้ได้รับสิทธิ์โครงการคนละครึ่ง เฟส 3
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
- เริ่มใช้จ่ายจาก G-Wallet ได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม ไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2564
โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ระยะที่ 3
เป็นมาตรการช่วยเหลือโควิด-19 ที่รัฐบาลเพิ่มวงเงินช่วยเหลือผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เดือนละ 200 บาทต่อคน
ใครได้สิทธิ์บ้าง
- ผู้ถือบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ (บัตรคนจน) ทุกคน
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
- เพิ่มวงเงินช่วยเหลือเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564
โครงการเพิ่มกำลังซื้อให้แก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือเป็นพิเศษ
เป็นโครงการที่รัฐบาลให้การสนับสนุนเพิ่มกำลังซื้อแก่ผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือพิเศษ โดยมอบเงินเพิ่มอีกคนละ 200 บาทต่อเดือน
ใครได้สิทธิ์บ้าง
- ผู้สูงอายุ
- ผู้พิการ
- ทุพพลภาพ
- ผู้ป่วยติดเตียง
- บุคคลที่ไม่สามารถเดินทางออกจากที่พักอาศัยหรือจำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลือ
ระยะเวลาดำเนินโครงการ
- เพิ่มวงเงินช่วยเหลือเป็นระยะเวลา 6 เดือน ตั้งแต่เดือนกรกฎาคม - ธันวาคม 2564
สมัครบัตรเครดิต พร้อมรับสิทธิประโยชน์ในทุกการใช้จ่าย...กรอกข้อมูลที่นี่
มาตรการเยียวยาโควิด-19 ประกันสังคม
สำหรับการเยียวยา COVID-19 ในส่วนของสำนักงานประกันสังคมรอบใหม่ เป็นการให้ความช่วยเหลือทั้งผู้ประกอบการและลูกจ้าง รวมถึงผู้ประกันตน ม.39 และ ม. 40 ในพื้นที่ควบคุมเข้มงวดและสูงสุด (พื้นที่สีแดงเข้ม) 29 จังหวัด ตามประกาศล็อกดาวน์เมื่อเดือนกรกฎาคม 2564
9 กิจการ พื้นที่สีแดงเข้ม ที่ได้รับเงินเยียวยา ได้แก่
- ก่อสร้าง
- ที่พักแรมบริการด้านอาหาร
- ศิลปะ ความบันเทิงและนันทนาการ
- กิจกรรม บริการด้านอื่น ๆ
- การขายส่งขายปลีก ซ่อมยานยนต์
- การขนส่งและสถานที่เก็บสินค้า
- กิจกรรมการบริหารและบริการสนับสนุน
- กิจกรรมวิชาชีพ วิทยาศาสตร์ และกิจกรรมทางวิชาการ
- ข้อมูลข่าวสาร และการสื่อสาร
พื้นที่สีแดงเข้ม ประกอบด้วย
- พื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด (ล็อกดาวน์ ครั้งแรก) คือ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา
- พื้นที่สีแดงเข้มอีก 16 จังหวัด (ล็อกดาวน์ ครั้งที่ 2) คือ กาญจนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
ผู้ประกันตน มาตรา 33
พื้นที่ 13 จังหวัด
- ลูกจ้างที่หยุดงานตามคำสั่งล็อกดาวน์ รับ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) หากมีสัญชาติไทย ได้รับเพิ่ม 2,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน คือ เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2564 รวมเป็นเงิน 20,000 บาท
- ลูกจ้างที่ไม่ได้หยุดงาน และมีสัญชาติไทย รับ 2,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน คือ เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2564 รวมเป็นเงิน 5,000 บาท
- นายจ้างรับตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 200 คน เป็นเวลา 2 เดือน คือ เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2564
พื้นที่ 16 จังหวัด
- ลูกจ้างที่หยุดงานตามคำสั่งล็อกดาวน์ รับ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) หากมีสัญชาติไทย ได้รับเพิ่ม 2,500 บาท เป็นเวลา 1 เดือน คือ เดือนสิงหาคม 2564 รวมเป็นเงิน 10,000 บาท
- ลูกจ้างที่ไม่ได้หยุดงาน และมีสัญชาติไทย รับ 2,500 บาท เป็นเวลา 1 เดือน คือ เดือนสิงหาคม 2564
- นายจ้างรับตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 200 คน ในเดือนสิงหาคม 2564
ผู้ประกันตน มาตรา 39
- พื้นที่ 13 จังหวัด : ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 2 เดือน คือ เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2564 รวมเป็นเงิน 10,000 บาท
- พื้นที่ 16 จังหวัด : ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 1 เดือน คือ เดือนสิงหาคม 2564
ผู้ประกันตน มาตรา 40
พื้นที่ 13 จังหวัด
ได้รับเงินช่วยเหลือตามมาตรการเยียวยาโควิด-19 ประกันสังคม เป็นเวลา 2 เดือน คือ เดือนกรกฎาคม - สิงหาคม 2564
- ผู้ประกันตน มาตรา 40 ใน 9 กิจการ ได้รับ 5,000 บาทต่อเดือน
- กรณีมีอาชีพอิสระ ถ้าขึ้นทะเบียน ม.40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 ได้รับ 5,000 บาทต่อเดือน
- นายจ้างที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ถ้าขึ้นทะเบียน ม.40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 ได้รับ 5,000 บาทต่อเดือน
- นายจ้างในระบบถุงเงิน (คนละครึ่ง, เราชนะ) ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม หากขึ้นทะเบียน ม.40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 จะได้รับ 5,000 บาทต่อเดือน
พื้นที่ 16 จังหวัด
- สำหรับผู้ประกันตน ม.40 ในพื้นที่ 16 จังหวัด ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 1 เดือน คือ เดือนสิงหาคม 2564
โครงการช่วยเหลือบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษา
เป็นมาตรการบรรเทาภาระค่าใช้จ่ายด้านการศึกษาให้แก่ผู้ปกครองในช่วงการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งในสถานศึกษาของรัฐและเอกชน จำนวน 2,000 บาทต่อนักเรียน 1 คน
ใครได้สิทธิ์บ้าง
- ผู้ที่บุตรกำลังศึกษาตั้งแต่ชั้นอนุบาล ไปจนถึงระดับมัธยมศึกษาปีที่ 6
- ผู้ที่บุตรกำลังศึกษาในระดับอาชีวศึกษา
- ผู้ที่บุตรกำลังศึกษาในระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.)
- ผู้ที่บุตรกำลังศึกษาในประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.)
ระยะเวลาโอนเงินเยียวยา
- กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เริ่มโอนเงินไปยังหน่วยงานในสังกัดและนอกสังกัด ตั้งแต่วันที่ 1-7 กันยายน 2564 โดยผู้ปกครองสามารถรับเงินเยียวยานักเรียน จำนวน 2,000 บาทต่อคน ผ่านการโอนเข้าบัญชีหรือรับเงินสดที่สถานศึกษา
และนี่คือมาตรการเยียวยาโควิด-19 รอบล่าสุด ที่รัฐบาลผลักดันออกมาเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนที่ได้รับผลกระทบ แม้วันที่ 1 กันยายน 2564 มีคำสั่งคลายล็อกเพื่อให้ผู้ประกอบการร้านอาหารและกิจการอื่น ๆ กลับมาเปิดให้บริการอีกครั้ง สำหรับใครที่กำลังเผชิญกับปัญหาขาดสภาพคล่อง หาเงินหมุนเวียนค่าใช้จ่ายไม่ทัน เนื่องจากหยุดกิจการไปชั่วคราว หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีคุณสมบัติครบตามเงื่อนไขที่ธนาคารกำหนด การสมัครบัตรเครดิตและสมัครบัตรกดเงินสดถือเป็นตัวช่วยเสริมสภาพคล่องยามฉุกเฉิน ทั้งมาพร้อมโปรโมชั่นและสิทธิประโยชน์จากบัตรเครดิตอีกมากมาย โดยเฉพาะโปรโมชั่นผ่อน 0% สิทธิพิเศษที่ช่วยให้คุณผ่อนสินค้าราคาหลักหมื่นแล้วค่อยยชำระคืนเพียงหลักพันต่อเดือนเท่านั้น
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม, คนละครึ่ง, ยิ่งใช้ยิ่งได้, ไทยคู่ฟ้า
สมัครบัตรเครดิต ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์ของคุณ...ที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
สมัครบัตรกดเงินสด ตัวช่วยเสริมสภาพคล่องยามฉุกเฉิน
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา