ติดโควิด ต้องทำอย่างไร ติดต่อหน่วยงานไหน ป้องกันแบบไหนได้บ้าง
ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในปัจจุบันมีแนวโน้มทวีความรุนแรงเพิ่มมากยิ่งขึ้น ขณะเดียวกันจังหวัดที่ถูกขยับให้เป็นพื้นที่สีแดงเข้มต่างออกมาตรการคุมโควิด-19 ที่เข้มงวดมากยิ่งขึ้น เพื่อยับยั้งการแพร่กระจายของเชื้อ COVID-19 ทั้งสายพันธุ์ดั้งเดิม สายพันธุ์อัลฟ่า สายพันธุ์เบตา หรือสายพันธุ์เดลต้าที่ต้องเฝ้าระวังมากเป็นพิเศษในประเทศไทย หลังมีแนวโน้มยอดผู้ติดเชื้อสายพันธุ์นี้มากขึ้นอย่างรวดเร็ว นอกจากนี้หน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องต่างเร่งออกมาตรการควบคุม แนวทางความรู้ให้แก่ประชาชนหากติดเชื้อโควิด รวมถึงเร่งจัดหาวัคซีนเพื่อฉีดให้แก่ประชาชน
ซึ่งหนึ่งในหน่วยงานที่ว่า ก็คือ กระทรวงสาธารณสุข ได้เร่งหาแนวทางเพื่อลดปริมาณการแพร่ระบาดโดยเฉพาะในพื้นที่แออัดหรือชุมชนที่อาจกลายเป็นคลัสเตอร์ใหม่ โดยวิธีควบคุมการแพร่เชื้อโควิด-19 เบื้องต้น ต้องใช้การตรวจคัดกรองควบคู่มาตรการคัดแยกผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงหรือผู้ที่ติดโควิดกลุ่มสีเขียว เพื่อลดการแพร่กระจายเชื้อและรักษาผู้ป่วยโควิดระหว่างรอเตียง แต่ถ้าติดเชื้อ COVID-19 แล้วควรทำอย่างไร ติดโควิดโทรเบอร์ไหน หรือติดโควิด ติดต่อที่ไหน เคทีซีรวบรวมข้อมูลมาฝากกัน
เมื่อติดโควิดต้องทำอย่างไร
เมื่อทราบผลว่าติดเชื้อไวรัสโควิด-19 สิ่งที่ควรเตรียม คือ
วิธีดำเนินการเมื่อติดเชื้อโควิด
- เอกสารสำคัญ เช่น บัตรประจำตัวประชาชน เอกสารยืนยันผลตรวจโควิด
- ติดต่อที่เบอร์ 1330 (สำนักงานหลักประกันสุขภาพ), 1668 (กรมการแพทย์), 1669 (สถาบันการแพทย์ฉุกเฉิน) เพื่อเข้ารับการรักษาหรือการดูแลตัวเองเบื้องต้น พร้อมแจ้งข้อมูลส่วนตัวเพื่อให้หน่วยงานรับเรื่อง (สำหรับผู้ที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่เข้าระบบดูแลที่บ้าน (Home Isolation) แล้ว แต่ยังไม่ได้รับการติดต่อภายใน 48 ชั่วโมงหลังการลงทะเบียน หรือต้องการเข้าระบบการดูแลที่บ้าน สามารถลงทะเบียนได้ที่ https://crmsup.nhso.go.th)
- งดออกจากที่พักหรือเดินทางข้ามจังหวัด
- ทำการกักตัวโดยงดใกล้ชิดบุคคลอื่นหรือบุคคลในครอบครัว (แยกห้องนอน ห้องน้ำถ้าทำได้)
- หากมีไข้ให้ทานยาพารา หรือเช็ดตัวเพื่อลดไข้
- สวมใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลา และแยกข้าวของเครื่องใช้ส่วนตัวออกจากผู้อื่น
สำหรับผู้ที่ติดเชื้อโควิดที่มีอาการไม่รุนแรง สามารถรับการแยกกักตัวที่บ้านในรูปแบบ Home Isolation หรือเข้ารับการแยกกักตัวภายในพื้นที่ที่ชุมชน Community Isolation เป็นผู้จัดใหญ่ เนื่องจากในขณะนี้โรงพยาบาลหลายแห่งไม่มีเตียงสำหรับผู้ป่วยรายใหม่ หรือผู้ป่วยสีแดง (ผู้ป่วยหนัก) ดังนี้
การกักตัวเมื่อติดเชื้อโควิด-19
การแยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation)
แนวทางในการดูแลผู้ป่วยติดโควิดรักษาตัวที่บ้านที่อาการไม่รุนแรงตามเกณฑ์ ระหว่างรอเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาลหรือแพทย์เห็นชอบว่าสามารถรักษาตัวที่บ้านระหว่างรอเตียงได้ โดยส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยกลุ่มสีเขียวที่แม้ตรวจพบเชื้อโควิดแต่ไม่มีอาการป่วย หรือมีอาการไม่รุนแรง จึงสามารถใช้การแยกกักตัวที่บ้านได้ โดยมีทีมแพทย์รวมถึงหน่วยคอยให้คำปรึกษาระหว่างอยู่ในระบบ Home Isolation
การแยกกักตัวในชุมชน (Community Isolation)
เป็นกรณีผู้ป่วยโควิด-19 ที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย แยกมากักตัวในสถานที่ที่ทางชุมชนหรือหมู่บ้านจัดเตรียมไว้ โดยจะมีเจ้าหน้าที่คอยติดตามอาการผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงทำหน้าที่ประสานงาน เพื่อนำส่งผู้ป่วยไปยังโรงพยาบาลหากมีอาการรุนแรงขึ้น
ผ่อนค่าเบี้ยประกันภัยโควิด-19 ได้ง่าย ๆ เพียงมีบัตรเครดิต…กรอกข้อมูลที่นี่
ข้อควรปฏิบัติของผู้ป่วยโควิด-19 ในช่วงแยกกักตัว
- งดออกจากบ้านหรือให้ผู้อื่นมาเยี่ยมระหว่างแยกตัว
- ควรอยู่ในห้องพักส่วนตัวตลอดเวลา และเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดผู้อื่นในบ้าน
- ควรสวมใส่หน้ากากอนามัยและเว้นระยะห่างประมาณ 1 เมตร หากมีเหตุจำเป็นให้ต้องอยู่ใกล้ชิดผู้อื่น
- ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์หรือสบู่เป็นประจำ
- แยกห้องน้ำจากผู้อื่นหรือหากมีเหตุจำเป็นต้องใช้ห้องน้ำร่วมกัน ควรปิดฝาชักโครกทุกครั้งก่อนกดน้ำ พร้อมใช้น้ำยาฆ่าเชื้อหรือแอลกอฮอล์ทำความสะอาดจุดต่าง ๆ ที่สัมผัสทุกครั้ง
- แยกของใช้ส่วนตัวออกมา ไม่ว่าจะเป็นจาน ชาม ช้อนส้อม แก้วน้ำ หรือผ้าเช็ดตัว เป็นต้น
- ให้นำหน้ากากอนามัยที่ใช้แล้ว รวมถึงนำขยะที่มีการปนเปื้อนของสารคัดหลั่งใส่ถุงพลาสติกจากนั้นปิดปากถุงให้มิดชิดก่อนนำไปทิ้งยังขยะที่มีฝาปิด พร้อมเขียนป้ายเตือนให้เห็นชัดเจนว่า เป็นขยะติดเชื้อ
สำหรับผู้ป่วยที่ติดโควิดเชื้อไวรัสโควิด-19 ที่รักษาหายแล้วหรือตรวจโควิดแล้วไม่พบเชื้อ ยังคงต้องกักตัวต่ออีก 14 วัน โดยแพทย์ไม่แนะนำให้ทำการตรวจหาเชื้อซ้ำเนื่องจากอาจเจอซากเชื้อที่ยังคงหลงเหลืออยู่ จนทำให้ผู้ป่วยเกิดความวิตกกังวล แต่โดยส่วนใหญ่แล้วเกือบ 100% ซากเชื้อที่ตรวจเจอหลังทำการรักษาหายจะไม่เกิดการแพร่กระจายหรือแพร่เชื้อแก่ผู้อื่นแล้ว สำหรับการรับวัคซีนสามารถรับวัคซีนได้ประมาณ 2-3 เดือน หลังทำการรักษาหาย
อีกสิ่งที่สำคัญคือการวางแผนดูแลสุขภาพตั้งแต่เนิ่น ๆ โดยการทำประกันภัยสุขภาพหรือประกันภัยโควิด หากเกิดเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือติดเชื้อไวรัสโควิด-19 จะได้อุ่นใจในเรื่องของค่ารักษาพยาบาล เพราะมีกรมธรรม์ประกันภัยมาดูแลค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ นอกจากนี้คุณสามารถเลือกชำระค่าเบี้ยประกันผ่านบัตรเครดิตได้ และสิทธิพิเศษเฉพาะลูกค้าบัตรเครดิตเคทีซี มีบริษัทประกันภัยชั้นนำหลายแห่งจัดโปรโมชั่นประกันสุขภาพและประกันโควิด ทั้งโปรโมชั่นผ่อน 0% แลกรับเครดิตเงินคืน หรือรับส่วนลดเพิ่ม หากไม่อยากพลาดการใช้จ่ายที่คุ้มค่าและครอบคลุมแบบนี้ คุณสามารถสมัครบัตรเครดิตที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์การใช้จ่ายในยุคปัจจุบันผ่านช่องทางออนไลน์ของเคทีซีได้ง่าย ๆ
อ้างอิงข้อมูล : กระทรวงแรงงาน, กรมควบคุมโรค
สมัครบัตรเครดิต รองรับการใช้จ่ายที่คุ้มค่าทุกไลฟ์สไตล์ยุคโควิด-19…ที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี