หนึ่งในบัตรที่ขาช็อปควรพกติดกระเป๋าไว้ก็คงจะเป็น บัตรผ่อนสินค้า ตัวเลือกใช้จ่ายแทนเงินสดเป็นก้อนที่ได้รับความนิยมในปัจจุบัน เพราะนอกจากจะใช้ผ่อนชำระสินค้าหรือค่าบริการที่มีมูลค่าสูงได้อย่างหลากหลายแล้ว อีกทั้งยังตอบโจทย์นักช็อปมือใหม่ได้อย่างตรงจุดทั้งสิทธิประโยชน์และโปรโมชันจากการใช้บัตรร่วมกับร้านค้ามากมาย เช่น ผ่อนของกับ Lazada โดยให้คุณเลือกรูปแบบการชำระผ่อนหรือโปรโมชันในแบบที่ต้องการ
การใช้บัตรผ่อนสินค้านอกจากจะได้สินค้ามาใช้แบบทันใจแล้ว ยังช่วยเก็บเงินในกระเป๋าคุณจากอัตราดอกเบี้ยการผ่อนสินค้าแบบ 0% บางบัตรมีระยะเวลาให้คุณเลือกผ่อนนานสูงสุด 24 เดือนอีกด้วย หากใครกำลังสนใจบัตรเครดิตผ่อนของรูปแบบนี้ KTC ได้รวบรวมข้อมูลบัตรผ่อนสินค้า พร้อมแชร์ทริกการเลือกบัตรให้ช็อปแบบคุ้มค่ามากที่สุด
เลือกอ่านตามหัวข้อ
บัตรผ่อนสินค้า คืออะไร
บัตรผ่อนสินค้า คือ บัตรที่มีจำนวนวงเงินตามที่สถาบันการเงินอนุมัติให้ เพื่อนำมาใช้ชำระผ่อนสินค้ากับทางร้านค้าพันธมิตร หรือแบรนด์ที่ร่วมโปรโมชันกับบัตรดังกล่าวได้ เช่น ผ่อนโทรศัพท์ด้วยบัตรเครดิต โดยวงเงินที่ได้รับจะถูกพิจารณาตามฐานเงินเดือน และเงื่อนไขการสมัครบัตรผ่อนสินค้านั่นเอง แม้การใช้งานของบัตรจะเน้นผ่อนเป็นหลัก แต่ก็มาพร้อมโปรโมชันที่น่าสนใจไม่น้อย เพราะส่วนใหญ่เป็นบัตรผ่อนสินค้า 0% ที่มีระยะเวลาผ่อนนานสูงสุดหลายเดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับโปรโมชันของแต่ละสถาบันการเงินที่กำหนด
นอกจากนี้ ปัจจุบันบัตรผ่อนสินค้ายังสามารถกดเงินสดออกมาได้เช่นกัน หรือที่เราเรียกกันว่า บัตรกดเงินสดนั่นเอง ซึ่งการใช้งานของบัตรกดเงินสดคือ บัตรที่สามารถกดถอนเงินสดออกมาใช้ได้ตามวงเงินที่อนุมัติ โดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม หลังจากนั้นค่อยชำระหรือผ่อนชำระตามระยะเวลาที่กำหนด นับเป็นสินเชื่อถูกกฎหมายโดยส่วนใหญ่มีอัตราดอกเบี้ยบัตรกดเงินสดอยู่ประมาณ 25% ต่อปี ทำให้ไม่ต้องพึ่งพาแหล่งสินเชื่อบริการอื่น ๆ ที่เสี่ยงต่อความปลอดภัยทางการเงิน เช่น แอปกู้เงินผิดกฎหมาย
รวมทริก! วิธีการเลือกบัตรผ่อนสินค้าให้ตรงใจมากที่สุด
ในปัจจุบันเองบัตรผ่อนสินค้าอนุมัติง่ายและมีขั้นตอนที่ไม่ยุ่งยาก ซึ่งสามารถสมัครได้จากสถาบันการเงินหลากหลายแห่ง ทั้งนี้ บัตรผ่อนสินค้าแต่ละสถาบันการเงินอาจมีข้อกำหนดที่แตกต่างกันไม่ว่าจะเป็น ระยะเวลาการผ่อนชำระ อัตราดอกเบี้ย หรือโปรโมชันที่เข้าร่วมกับร้านค้า หากใครที่ลังเลว่าควรเลือกบัตรผ่อนสินค้าอันไหนดี? บัตรผ่อนสินค้าอันไหนดีที่สุด สามารถดูวิธีเลือกบัตรก่อนตัดสินใจสมัครบัตรผ่อนของที่ด้านล่างนี้เลย
1. เลือกจากฐานเงินเดือนของเรา
การเลือกบัตรผ่อนสินค้าให้อนุมัติง่ายขึ้นนั้นจำเป็นต้องพิจารณาฐานเงินเดือนของผู้สมัครด้วย ซึ่งบัตรผ่อนสินค้ามีข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณสมบัติฐานเงินเดือนหรือ ค่าแรงขั้นต่ำ ที่ไม่สูงมาก แม้เป็นพนักงานเงินเดือนก็สามารถสมัครได้ นอกจากนี้ บัตรผ่อนสินค้าสำหรับอาชีพอิสระหรือรับฟรีแลนซ์ก็สามารถสมัครได้เช่นกัน แต่อาจมีข้อกำหนดและเงื่อนไขในการยื่นเอกสารเพิ่มเติมมากกว่าพนักงานประจำ
2. ดูสิทธิประโยชน์และโปรโมชันที่ร่วมรายการ
โดยทั่วไปแล้วบัตรผ่อนสินค้าของแต่ละสถาบันการเงินจะมีสิทธิประโยชน์และโปรโมชันร่วมกับร้านค้าหรือบริการมากมาย ซึ่งตอบโจทย์กับผู้ที่ชื่นชอบซื้อสินค้าจากหลากหลายแบรนด์ รวมถึงผู้ที่ชื่นชอบใช้บริการร้านค้าประจำ ยิ่งมีโปรโมชันจากบัตรผ่อนสินค้าแบบ 0% ก็ช่วยให้คุณสามารถใช้จ่ายได้อย่างคุ้มค่ากับระยะเวลาผ่อนชำระที่คุณสามารถเลือกได้ตามบัตรแต่ละตัว แต่อย่าลืมพิจารณาอัตราดอกเบี้ยที่กำหนดของบัตรผ่อนสินค้าด้วย
3. ดูจุดประสงค์การใช้งาน
สิ่งสำคัญอันดับต้น ๆ ของการเลือกสมัครบัตรผ่อนสินค้าก็คือ การพิจารณาจากวัตถุประสงค์และความต้องการในการใช้งาน เพื่อให้คุณสามารถประเมินความคุ้มค่าจากการใช้จ่ายและสิทธิประโยชน์ที่ตรงกับความต้องการมากที่สุด โดยไม่เป็นการเพิ่มภาระค่าใช้จ่ายให้กับคุณแทน เพราะบัตรผ่อนสินค้ามีจุดประสงค์หลักคือ เพิ่มความสะดวกและความคล่องตัวในการใช้จ่ายนั่นเอง ซึ่งจุดประสงค์อื่น ๆ สามารถพิจารณาได้ดังนี้
- ต้องการผ่อนชำระสินค้าแทนเงินสดเป็นก้อน
- ใช้เป็นวงเงินยามเร่งด่วน หรือกรณีฉุกเฉิน เช่น หมุนเงินไม่ทัน
- ต้องการลดความยุ่งยากในการชำระค่าใช้จ่ายด้วยวิธีอื่น ๆ
- ต้องการซื้อสินค้าที่ได้รับสิทธิประโยชน์และความคุ้มค่าจากการใช้จ่ายโดยบัตรผ่อนสินค้า
- หากต้องการผ่อนชำระสินค้าหรือบริการรูปแบบอื่น ๆ นอกเหนือจากการใช้บัตรผ่านสินค้า อาจพิจารณาบริการสินเชื่อ เช่น สินเชื่อออนไลน์ ผ่าน แอปกู้เงินที่มีความน่าเชื่อถือ
4. เงื่อนไขในการสมัครบัตรผ่อนสินค้า
เนื่องจากแต่ละสถาบันการเงินมีเงื่อนไขในการสมัครและรายละเอียดการใช้งานบัตรผ่อนสินค้าที่แตกต่างกัน ผู้ที่สนใจสมัครจึงควรศึกษารายละเอียด และอ่านข้อกำหนดให้ชัดเจนไม่ว่าจะเป็นค่าธรรมเนียมในการสมัคร, เงื่อนไขการผ่อนชำระ, อายุผู้สมัคร หรือฐานเงินเดือน เป็นต้น ปัจจุบันการสมัครบัตรเครดิตผ่อนสินค้า 0%สามารถทำได้ที่สถาบันการเงินและช่องทางออนไลน์ หากต้องการสมัครบัตรผ่อนสินค้าที่อนุมัติง่ายควรจัดเตรียมเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วน ตลอดจนพิจารณาคุณสมบัติตามข้อกำหนดของสถาบันการเงิน
ใช้บัตรผ่อนสินค้าอย่างไรให้คุ้มค่าและตอบโจทย์มากที่สุด
สำหรับใครที่สมัครบัตรผ่อนสินค้าและได้รับอนุมัติวงเงินเป็นที่เรียบร้อยแล้ว สิ่งสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามหากไม่อยากเป็นหนี้ก้อนโตก็คือ การวางแผนใช้บัตรด้วยความระมัดระวัง เพื่อให้ใช้สิทธิประโยชน์จากบัตรได้อย่างคุ้มค่าและไม่สร้างภาระค่าใช้จ่ายเกินกำลังตนเอง จะมีวิธีไหนปรับใช้ตามได้บ้าง ตามมาดูกันเลย
1. รู้จักใช้สิทธิพิเศษและประโยชน์ของบัตรให้คุ้มค่า
หนึ่งในวิธีที่สามารถใช้บัตรผ่อนสินค้าให้คุ้มค่าคือ การศึกษารายละเอียดสิทธิพิเศษต่าง ๆ ให้ครบถ้วน เพื่อไม่ให้พลาดสิทธิประโยชน์จากบัตรระหว่างใช้งาน เพราะบัตรผ่อนแต่ละแบบมีข้อกำหนดและสิทธิประโยชน์ที่แตกต่างกัน ไม่ว่าจะเป็นคะแนนสะสมเพื่อแลกรับของรางวัลหรือส่วนลดสินค้าและบริการที่ร่วมรายการ ส่วนลดพิเศษจากร้านค้า โปรโมชันผ่อนชำระสินค้าดอกเบี้ย 0% เช่น ผ่อนของลาซาด้า ตลอดจนสิทธิพิเศษอื่น ๆ ที่ช่วยเพิ่มความสะดวกและความคล่องในการใช้จ่ายของคุณ
2. เลือกจ่ายหนี้ตรงเวลาและเต็มจำนวนทุกครั้ง
การเลือกชำระจ่ายหนี้บัตรผ่อนสินค้าให้ตรงเวลาและเต็มจำนวนทุกครั้ง เป็นวิธีที่ช่วยจัดการค่าใช้จ่ายให้เป็นระเบียบมากขึ้น และลดความเสี่ยงการเกิดภาระหนี้สินจากยอดค้างชำระที่ปล่อยไว้นานเกิน เพราะหากผ่อนชำระสินค้าตามจำนวนขั้นต่ำเป็นประจำทุกงวด หรือชำระเงินล่าช้า ก็จะยิ่งส่งผลให้อัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น มียอดค้างชำระเพิ่มมากขึ้นกว่าเดิม และผู้ถือบัตรมีโอกาสเสียเครดิตทางการเงิน
การใช้งานบัตรผ่อนสินค้าจึงควรใช้จ่ายตามจำนวนวงเงินที่สามารถผ่อนได้แบบเต็มจำนวน ทั้งนี้ ควรประเมินจากรายได้และรายจ่ายควบคู่ไปด้วย ซึ่งบัตรเครดิตไม่ควรมีรายจ่ายเกินกว่า 50% ของรายได้ของผู้ถือบัตร เช่น หากผู้ถือบัตรผ่อนสินค้ามีเงินเดือน 10,000 บาท รายจ่ายทั้งหมดไม่ควรเกิน 5,000 บาท
3. จำกัดวงเงินใช้งานต่อรอบบิล
การอนุมัติวงเงินในบัตรผ่อนสินค้าที่สถาบันการเงินพิจารณาจากรายได้ของผู้สมัครนั้น โดยส่วนใหญ่แล้วจะอนุมัติวงเงินให้มากกว่า 1.5 ของรายได้ในแต่ละเดือน แต่ก็ควรมีการกำหนดวงเงินใช้งานต่อรอบบิลเพื่อวางแผนการใช้จ่ายล่วงหน้าและป้องกันการใช้จ่ายที่มากเกินความสามารถในการผ่อนชำระ คำนวณวงเงินที่ได้รับและใช้จ่ายออกให้รอบคอบ โดยเหลือเงินสำรองไว้แต่ละเดือนด้วย
ทั้งนี้ อย่าเพิ่งชะล่าใจกับการใช้งานบัตรผ่อนสินค้า 0% โดยไม่เสียดอกเบี้ย เพราะมีโอกาสที่คุณจะใช้บัตรรูดซื้อสินค้าไปแบบเพลิน ๆ จนหลงลืมว่าต้องผ่อนชำระให้ครบตามจำนวน
4. ทำความเข้าใจการจ่ายหนี้และใบแจ้งหนี้
การทำความเข้าใจรายละเอียดของใบแจ้งหนี้ก่อนถึงวันกำหนดชำระเป็นสิ่งที่ช่วยให้คุณเข้าใจวิธีการชำระหนี้ที่ถูกต้องและสามารถวางแผนการใช้จ่ายชำระหนี้ได้โดยไม่ผิดนัดชำระ ปัจจุบันผู้ถือบัตรผ่อนสินค้าสามารถตรวจสอบยอดชำระหนี้ได้บนช่องทางออนไลน์ของแต่ละสถาบันการเงิน ซึ่งข้อมูลหลัก ๆ ที่ควรพิจารณาในใบแจ้งหนี้ ได้แก่ วันครบกำหนดชำระเงิน วันที่สรุปยอด ยอดรวมที่ต้องชำระ เป็นต้น
5. หลีกเลี่ยงการผ่อนสินค้าหลายรายการ
แม้ว่าบัตรผ่อนสินค้าจะมีโปรโมชันการผ่อนชำระแบบ 0% ได้นานตั้งแต่ 3 เดือน 6 เดือน หรือ 10 เดือน ซึ่งเป็นสิ่งช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนแก่ผู้ถือบัตร อีกทั้งยังช่วยวางแผนทางการเงินและการออมในอนาคตได้ แต่ไม่ควรผ่อนชำระสินค้าหลายรายการพร้อม ๆ กัน เพราะจะทำให้มียอดผ่อนชำระต่อเดือนค่อนข้างสูง ซึ่งอาจกลายเป็นภาระหนี้สินที่ผู้ถือบัตรไม่สามารถจ่ายไหว
ตัวอย่างการคำนวณการผ่อนชำระด้วยบัตร KTC PROUD
นอกเหนือจากการเลือกใช้บัตรผ่อนสินค้าให้คุ้มค่าและเกิดประโยชน์สูงสุดแล้ว การคำนวณดอกเบี้ยจากการใช้บัตรผ่อนชำระเองก็เป็นเรื่องที่ต้องให้ความสำคัญเช่นกัน เพื่อจะได้วางแผนค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือนและ สามารถชำระคืนภายในวันที่กำหนด สำหรับบัตรกดเงินสด KTC PROUD ที่สามารถผ่อนชำระได้นานสูงสุด 24 เดือนจะมีวิธีคำนวณดอกเบี้ยในการผ่อนชำระสินค้าและยอดผ่อนในแต่ละเดือน ดังนี้
ตัวอย่าง
นาย A ซื้อสินค้าแบบผ่อนชำระจำนวน 20,000 บาท เมื่อวันที่ 4 มีนาคม อัตราดอกเบี้ยฯ คงที่ 0.99% ต่อเดือน ระยะเวลาผ่อนชำระ 12 เดือน (เทียบเป็นอัตราดอกเบี้ยฯ แบบลดต้นลดดอกไม่เกิน 25% ต่อปี) โดยมีวันกำหนดชำระเงินทุกวันที่ 4 ของเดือน
- บัตรกดเงินสด KTC PROUD มีอัตราดอกเบี้ยฯ คงที่ 0.99% ต่อเดือน ระยะเวลาผ่อนชำระ 12 เดือน เทียบเป็นอัตราดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอก 21.25% ต่อปี
- ค่าอากรแสตมป์ : 0.05% ของวงเงินสินเชื่อ
วิธีคำนวณดอกเบี้ยบัตรผ่อนสินค้า
ยอดสินเชื่อหักยอดเงินต้นที่ชำระแล้ว X อัตราดอกเบี้ยต่อปี X จำนวนวัน
จำนวนวันใน 1 ปี
วิธีคำนวณยอดผ่อนต่อเดือน งวดที่ 1 มีรายละเอียดดังนี้
ดอกเบี้ย (20,000 x 0.99%) x 12 = 2,376 บาท
ค่าอากรแสตมป์ (ชำระงวดที่ 1 เท่านั้น) 0.05% x 20,000 = 10 บาท
ยอดเงินผ่อนชำระต่อเดือน (20,000 + 2,376) / 12 = 1,864.67 บาท
ยอดเงินผ่อนงวดแรก 10 + 1,865 = 1,874.67 บาท
ดอกเบี้ย ระหว่างวันที่ 4 มีนาคม - 3 เมษายน (31 วัน) = (20,000 x 21.25% x 31) / 365 = 360.96 บาท
วิธีคำนวณเงินต้นที่ชำระ ณ วันกำหนดชำระ วันที่ 4 เมษายน = 1,874.67 - 360.96 = 1,513.71 บาท
วิธีคำนวณยอดผ่อนต่อเดือน งวดที่ 2 มีรายละเอียดดังนี้
ดอกเบี้ย ระหว่างวันที่ 4 เมษายน - 3 พฤษภาคม (30 วัน)
= [(20,000 - 1,513.71) x 21.25% x 30] / 365 = 322.88 บาท
วิธีคำนวณเงินต้นที่ชำระ ณ วันกำหนดชำระ วันที่ 4 พฤษภาคม = 1,864.67 - 322.88 = 1,541.79 บาท
หมายเหตุ : การผ่อนชำระผ่านวงเงินบัตรกดเงินสด KTC PROUD ผู้ใช้บัตรควรศึกษาเงื่อนไขการใช้บริการผ่อนชำระของธนาคารให้รอบคอบ ตลอดจนร้านค้าที่ร่วมรายการ
และหากใครไม่สะดวกคำนวณวิธีคำนวณดอกเบี้ยบัตรผ่อนสินค้าหรือบัตรกดเงินสดด้วยตัวเอง สามารถใช้โปร แกรมคํานวณดอกเบี้ยผ่อนชำระและยอดผ่อนของ KTC ได้ที่นี่ : https://www.ktc.co.th/support/calculator/ktc-proud
เลือกบัตรผ่อนสินค้า KTC คุ้มค่าแก่สายช็อป
สรุปแล้ว บัตรผ่อนสินค้าเป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ได้รับความนิยมสำหรับการใช้จ่ายแทนเงินสดเป็นก้อน สามารถผ่อนชำระสินค้าหรือบริการที่มีมูลค่าสูงจากร้านค้าพันธมิตรมากมายตามวงเงินที่อนุมัติ พร้อมให้สายช็อปจับจองสินค้าที่ตัวเองต้องการ โดยมีสิทธิประโยชน์และโปรโมชันผ่อนชำระในรูปแบบต่าง ๆ ที่ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายของคุณในแต่ละเดือนเป็นอย่างดี เป็นอีกหนึ่ง วิธีเก็บเงินเพื่อให้ยังมีเงินส่วนอื่นไว้ใช้ในยามจำเป็น โดยผู้ถือบัตรควรใช้บัตรผ่อนสินค้าอย่างรอบคอบและมีวินัยในการผ่อนชำระตามระยะเวลากับเงื่อนไขที่กำหนด
หากคุณกำลังมองหาบัตรผ่อนสินค้าอันไหนดีในปี 2567 เราขอแนะนำผู้ช่วยเรื่องเงินที่ดีที่สุดจาก KTC กับบัตรกดเงินสด KTC PROUD ที่มีฟังก์ชันการใช้จ่ายเอาใจขาช็อปแบบครบจบในบัตรเดียว ไม่ว่าจะเป็นรูดซื้อสินค้า โอนเงินสดเข้าบัญชี กดถอนเงินสดจากตู้ ATM โดยไม่มีค่าธรรมเนียม หรือใช้บัตร KTC PROUD ผ่อนชำระสินค้า 0% นานสูงสุด 24 เดือน พร้อมสิทธิประโยชน์มากมายให้คุณช็อปจ่ายได้แบบคุ้มค่ามากที่สุด
ให้ทุกการผ่อนชำระเป็นเรื่องง่ายด้วยบัตรกดเงินสด KTC PROUD
รายได้รวมเริ่มต้นเพียง 12,000 บาท
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
*กู้เท่าที่จําเป็นและชําระคืนได้ตามกําหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 20% - 25% ต่อปี