ประกันสังคมมีหลากหลายข้อดีที่หลายคนอาจยังไม่รู้ เพราะ “ประกันสังคม” เปรียบเสมือนหลักประกันเสริมความมั่นคงในการดำรงชีวิตของคนทำงาน นอกจากค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วยแล้ว ยังมีสิทธิประโยชน์ทดแทน เมื่อต้องสูญเสียรายได้จากการเจ็บป่วย ทุพพลภาพ เสียชีวิต ชราภาพ และว่างงาน ทั้งยังช่วยเหลือในการคลอดบุตร สงเคราะห์บุตร และทำฟันอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นพนักงานประจำ ผู้มีอาชีพอิสระ หรือผู้ที่เคยทำงานประจำแต่ลาออกแล้ว ก็สามารถลงทะเบียนขอยื่นเป็นผู้ประกันตนเองได้ โดยส่งเงินสมทบตามกำหนดเป็นประจำต่อเนื่อง เพื่อให้สามารถเข้ารับสิทธิต่างๆ ได้ดังนี้
โดยประกันสังคมจะมีด้วยกันทั้งหมด 3 มาตรา คือ มาตรา 33, 39 และ 40 โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
- มาตรา 33
ผู้ประกันตนภาคบังคับ ได้แก่ ลูกจ้าง พนักงานประจำ ที่มีอายุตั้งแต่ 15-60 ปี ในวันที่เข้าทำงาน และทำงานอยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้าง ตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป จะได้รับสิทธิประโยชน์ 7 กรณี คือ เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ, เสียชีวิต และว่างงาน
- มาตรา 39
ผู้ประกันตนภาคสมัครใจ โดยเป็นผู้ว่างงาน ที่เคยเป็นผู้ทำงานในมาตรา 33 มาก่อน และต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมไว้ ซึ่งได้รับสิทธิประโยชน์ 6 กรณี คือ เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ และเสียชีวิต
- มาตรา 40
ผู้ประกันตนนอกระบบ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ มีอายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 65 ปี ไม่เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 ไม่เป็นข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ รวมถึงผู้พิการที่รับรู้สิทธิ และผู้ถือบัตรประจำตัวซึ่งไม่มีสัญชาติไทย ขึ้นต้นด้วยเลข 0, 6, 7 (ยกเว้นขึ้นต้นด้วย 00)
ผู้ประกันตนภาคบังคับ มาตรา 33 จะได้รับสิทธิประโยชน์ 7 กรณี คือ เจ็บป่วย, ทุพพลภาพ, คลอดบุตร, สงเคราะห์บุตร, ชราภาพ, เสียชีวิต และว่างงาน
วิธีเช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 33, 39 และ 40
ปัจจุบันเพียงแค่ใช้หมายเลขบัตรประชาชน ก็สามารถเช็กสิทธิประกันสังคมออนไลน์ได้ง่ายๆ ไม่ว่าจะเป็นการเช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 มาตรา 39 หรือมาตรา 40 ผ่าน 2 ช่องทางออนไลน์ ได้แก่
- เว็บไซต์สำนักงานประกันสังคม (www.sso.go.th)
- เริ่มต้นด้วยการลงทะเบียน “เข้าสู่ระบบ“ สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกแล้ว โดยกรอกรหัสผู้ใช้งาน (เลขบัตรประชาชน 13 หลัก) และรหัสผ่าน และสามารถใช้งานได้ทันที
- ส่วนผู้ที่เข้าใช้งานครั้งแรก คลิก “สมัครสมาชิก”
- กดยอมรับข้อตกลงการใช้บริการ และคลิก “ถัดไป” จากนั้นกรอกรายละเอียดข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน เมื่อกรอกหมายเลข OTP เพื่อยืนยันตัวตน ก็สามารถเช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 มาตรา 39 หรือมาตรา 40 ว่าสถานะปัจจุบันเป็นอย่างไร
- เลือกเมนู “บริการด้วยตนเองผ่านระบบ e-Self Service” จะพบข้อมูลประวัติต่างๆ เช่น การขอรับสิทธิประโยชน์ ประวัติการชำระเงิน และประวัติการทำรายการ จากนั้นคลิกที่ “ขอรับประโยชน์ทดแทนกองทุนประกันสังคม” กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน สำหรับการขอรับประโยชน์ทดแทนต่างๆ และเลือกสำนักงานประกันสังคมที่สะดวกรับบริการ พร้อมแนบไฟล์เอกสาร
- แอปพลิเคชันประกันสังคม (SSO Connect)
- เมื่อดาวน์โหลดและติดตั้งแอปพลิเคชัน SSO Connect เรียบร้อยแล้ว ขั้นตอนต่อไปคือ “ลงทะเบียน” สำหรับผู้ที่ยังไม่ได้เป็นสมาชิก โดยกรอกข้อมูลส่วนตัวให้ครบถ้วน เช่น เลขบัตรประชาชน เบอร์โทรศัพท์ อีเมล และตั้งรหัสผ่าน เมื่อกรอกรหัส OTP กดรับข่าวสารต่างๆ และกดยืนยัน จากนั้นกดเข้าสู่ระบบ โดยกรอกเลขประจำตัวประชาชนและรหัสผ่าน
- สำหรับผู้ที่เป็นสมาชิกอยู่แล้ว กรอกเลขบัตรประชาชนและรหัสผ่านแล้วคลิก “เข้าสู่ระบบ”
- เมื่อเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว จะพบหน้าแสดงข้อมูลทั้งหมดของผู้ประกันตน และสามารถเลือกเมนูต่างๆ เพื่อเช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 33, มาตรา 39 หรือมาตรา 40 และข้อมูลต่างๆ ที่ต้องการทราบจากประกันสังคมได้เลย
ประกันสังคมมาตรา 33 ว่างงานได้กี่เดือน?
ผู้ประกันตน มาตรา 33 ว่างงาน ได้รับเงินชดเชยได้สูงสุด 6 เดือน ตามเงื่อนไข
- เป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และจ่ายเงินสมทบไม่น้อยกว่า 6 เดือน ภายใน 15 เดือนก่อนว่างงาน
- ต้องขึ้นทะเบียนว่างงาน กับสำนักงานจัดหางานภายใน 30 วัน หลังออกจากงาน
- พร้อมทำงาน และต้องรายงานตัวทุกเดือน
- ไม่ได้ถูกเลิกจ้างเพราะความผิดร้ายแรง เช่น ทุจริต ลักทรัพย์ หรือจงใจทำให้นายจ้างเสียหาย
- ไม่ได้ลาออกเอง (กรณีลาออกจะได้เงินน้อยลง)
เช็กสิทธิประกันสังคมมาตรา 33 วิธีขอรับเงินว่างงาน
- ขึ้นทะเบียนว่างงาน ที่ เว็บไซต์กรมการจัดหางาน หรือสำนักงานจัดหางานในจังหวัด
- ยื่นขอรับเงินประกันสังคมว่างงาน ผ่านแอป SSO Connect หรือเว็บไซต์ประกันสังคม
- ต้องรายงานตัวทุกเดือน ผ่านระบบออนไลน์หรือที่สำนักงานจัดหางาน
- รอรับเงินโอนเข้าบัญชีภายใน 7-14 วัน
หากใครต้องการความสะดวก แนะนำดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน SSO Connect มาไว้ติดเครื่องกันได้เลย เพราะแอปนี้สามารถใช้ตรวจสอบการส่งเงินสมทบ สถานพยาบาล เปลี่ยนสถานพยาบาลประจำปี ตรวจสอบยอดเงินทันตกรรม และยอดเงินชราภาพ ตลอดจนติดตามข่าวสารและบอกพิกัดศูนย์ประกันสังคมทั่วประเทศได้ เท่านี้การเช็กสิทธิประกันสังคม ไม่ว่าจะมาตราไหน ก็ไม่ใช่เรื่องยากอีกต่อไป
อีกหนึ่งข้อสงสัยของผู้ประกันตน “ขาดส่งเงินสมทบกี่เดือน จึงถูกตัดสิทธิ์ประกันสังคม” ทั้งนี้ แต่ละมาตรามีข้อกำหนดที่แตกต่างกัน คือ
- มาตรา 33
ไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน สภาพผู้ประกันตนสิ้นสุดลงตั้งแต่เดือนแรกที่ไม่นำส่งเงินสมทบ
- มาตรา 39
ขาดสิทธิ์ทันทีเมื่อไม่ส่งเงินสมทบ 3 เดือนติดต่อกัน หรือภายในระยะเวลา 12 เดือน ส่งเงินสมทบมาแล้วไม่ครบ 9 เดือน
- มาตรา 40
ขาดส่ง หรือส่งเงินสมทบไม่ต่อเนื่อง จะไม่สิ้นสภาพผู้ประกันตน แต่สิทธิประโยชน์เป็นไปตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขของแต่ละกรณี สามารถส่งเงินต่อไปได้ แต่ชำระเงินย้อนหลังไม่ได้
สำหรับผู้ที่ยื่นเป็นผู้ประกันตนด้วยตนเอง ทั้งมาตรา 39 และ 40 หากไม่อยากถูกตัดสิทธิ์ประกันสังคม สามารถเลือกส่งเงินสมทบผ่านบัตรเครดิต KTC โดยดำเนินการยินยอมให้หักเงินสมทบผ่านบัญชีธนาคารทุกเดือน หมดปัญหาลืมจ่ายประกันสังคมจนถูกตัดสิทธิ์
นอกจากนี้บัตรเครดิต KTC ยังมีโปรโมชั่นช่วยดูแลสุขภาพด้วยส่วนลด ณ โรงพยาบาลรัฐบาลที่ร่วมรายการ แลกรับสิทธิ์ผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน เมื่อใช้คะแนน KTC FOREVER ครึ่งหนึ่งของยอดใช้จ่ายผ่านบัตรฯ เพื่อแลกรับสิทธิ์ที่โรงพยาบาลรัฐบาลทั่วประเทศ หรือผ่อนชำระอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.69% นานสูงสุด 10 เดือน ระยะเวลาโปรโมชั่น 1 ม.ค. 68 - 31 ธ.ค. 68 ดูรายละเอียดโปรโมชั่นได้ที่นี่ สนใจสมัครบัตรเครดิต KTC คลิกเลย
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC