ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในประเทศไทยใช้ระบบ "ภาษีขั้นบันได" หรือ "อัตราภาษีแบบก้าวหน้า" ซึ่งหมายความว่ายิ่งมีรายได้สุทธิมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งต้องเสียภาษีในอัตราที่สูงขึ้นตามไปด้วย ระบบนี้ออกแบบมาเพื่อสร้างความเป็นธรรมในการจัดเก็บภาษี โดยผู้มีรายได้น้อยจะเสียภาษีในอัตราที่ต่ำกว่า ในขณะที่ผู้มีรายได้สูงจะเสียภาษีในอัตราที่สูงกว่า สำหรับใครที่เพิ่งถึงวัยเสียภาษี หรือยังไม่แม่นเรื่องภาษี อย่างรู้ว่าเงินเดือนเท่าไหร่ต้องเสียภาษี มีสิทธิ์ลดหย่อนภาษีได้บ้าง บทความนี้มีคำตอบ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบภาษีเมื่อไร?
บุคคลธรรมดาต้องยื่นแบบภาษีรายได้ตามภาษีขั้นบันได ที่ได้รับจากปีปฏิทินที่ผ่านมาในช่วงระยะเวลาที่กรมสรรพากรกำหนด ที่โดยทั่วไปแล้วจะเริ่มยื่นตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม และสิ้นสุดในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป ซึ่งในช่วงเวลาดังกล่าวผู้มีรายได้ จะต้องเตรียมเอกสารและตรวจสอบข้อมูลการหักภาษี ณ ที่จ่าย รวมถึงสิทธิประโยชน์ทางภาษี ที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงในแต่ละปี เพื่อให้การยื่นแบบภาษีเป็นไปอย่างถูกต้องและครบถ้วน
ตารางภาษีขั้นบันได ปี 2568
วิธีคำนวณภาษีแบบเข้าใจง่าย
การคำนวณภาษี 2568 ตามระบบภาษีขั้นบันได สามารถทำได้ง่ายด้วยตัวเอง ด้วยการใช้ข้อมูลของเงินเดือน และฐานภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ซึ่งวิธีคำนวณภาษีจะทำได้ ดังนี้
ตัวอย่างสำหรับผู้ที่มีเงินเดือน 50,000 บาท
- รายได้รวมประจำปี:50,000 × 12 = 600,000 บาท
- หักค่าใช้จ่าย:50% ของ 600,000 = 300,000 บาท (แต่ใช้ได้สูงสุดเพียง 100,000 บาท)
- หักลดหย่อนส่วนตัว:60,000 บาท
- คำนวณรายได้สุทธิ:600,000 - 100,000 - 60,000 = 440,000 บาท
- คำนวณภาษี:
- รายได้ 150,000 แรก: 0 บาท
- ส่วนที่เกิน 150,000: 440,000 - 150,000 = 290,000 บาท
- 150,000 บาทแรกในส่วนนี้คิด 5% = 150,000 × 0.05 = 7,500 บาท
- ส่วนที่เหลือ 290,000 - 150,000 = 140,000 บาท คิด 10% = 140,000 × 0.10 = 14,000 บาท
- ภาษีที่ต้องจ่าย: 7,500 + 14,000 = 21,500 บาท
รวม ค่าลดหย่อนภาษีขั้นบันได 2568
ก่อนที่จะยื่นภาษีในปีนี้ เราขอแนะนำให้คุณลองดูรายละเอียดเกี่ยวกับการลดหย่อนภาษี 2568 ซึ่งจะมีส่วนที่น่าสนใจ ดังนี้
- ค่าลดหย่อนส่วนบุคคล:60,000 บาท
- ค่าลดหย่อนคู่สมรส:60,000 บาทสำหรับสามีหรือภรรยา
- ค่าลดหย่อนบุตร:30,000 ถึง 60,000 บาทต่อบุตร 1 คน
- ค่าลดหย่อนบิดามารดา:30,000 บาทต่อคน
- ค่าลดหย่อนผู้พิการหรือทุพพลภาพ:60,000 บาทต่อคน
- ค่าฝากครรภ์และทำคลอด:ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 60,000 บาทต่อครรภ์
- เบี้ยประกันชีวิตทั่วไปและเงินฝากแบบมีประกันชีวิต:ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดา:ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15,000 บาท
- เบี้ยประกันสุขภาพตนเอง:ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 25,000 บาท และรวมกับเบี้ยประกันชีวิตทั่วไปไม่เกิน 100,000 บาท
- กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ, กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน และ กบข.:ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15% ของเงินเดือน ส่วน กบข. สูงสุด 30% ของเงินเดือนและรวมแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
- ค่ากองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF):ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี และรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตบำนาญ:ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีแต่ไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
- เงินประกันสังคม:ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 9,000 บาท
- กองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.):ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30,000 บาท และเมื่อรวมกับกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้วไม่เกิน 500,000 บาท
- ดอกเบี้ยซื้อที่อยู่อาศัย:ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท
- เงินบริจาคพรรคการเมือง:ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10,000 บาท
- เงินลงทุนธุรกิจ Social Enterprise:ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่ากองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG):ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 30% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและไม่เกิน 300,000 บาท
- ค่าสร้างบ้านใหม่:10,000 บาทต่อค่าการก่อสร้างทุก 1,000,000 บาท และรวมแล้วไม่เกิน 100,000 บาท
- ค่าลดหย่อน Easy E-Receipt 2.0:ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 50,000 บาท
- เงินบริจาคเพื่อการศึกษา การกีฬา การพัฒนาสังคม และโรงพยาบาลรัฐ:2 เท่าของเงินบริจาคที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่าลดหย่อน
- เงินบริจาคทั่วไป: ตามที่จ่ายจริงไม่เกิน 10% ของเงินได้หลังหักค่ารถหย่อน
ข้อแนะนำลดหย่อนภาษี เก็บเงินให้อยู่กับตัวได้เยอะขึ้น
หากคุณต้องการลดหย่อนภาษี เพื่อให้สามารถจ่ายเงินในแต่ละปี ตามเงื่อนไขภาษีขั้นบันไดได้ลดลง จะมีข้อแนะนำที่น่าสนใจ ดังนี้
Easy e-Receipt
การใช้บริการ Easy e-Receipt เพื่อบันทึกและจัดเก็บหลักฐานการใช้จ่ายต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ จะช่วยให้การยื่นภาษี และลดหย่อนภาษีเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว และช่วยให้ประหยัดค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับภาษีได้มากขึ้น
บริจาคเงินเพื่อสาธารณประโยชน์
การบริจาคเงินให้กับหน่วยงานที่ได้รับการรับรอง สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามที่กรมสรรพากรกำหนด ช่วยให้คุณสามารถช่วยเหลือสังคมพร้อมกับประหยัดภาษีได้ด้วยในเวลาเดียวกัน
เบี้ยประกันชีวิตและสุขภาพ
การชำระเบี้ยประกันชีวิตและประกันสุขภาพ สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามเกณฑ์ที่กำหนด ทำให้คุณได้รับความคุ้มครองจากความเสี่ยง ในขณะที่ยังคงลดภาระภาษีรายได้บุคคลธรรมดาได้ด้วยเช่นกัน
ค่าใช้จ่ายการศึกษา
สำหรับค่าใช้จ่ายในการศึกษาของบุตรหรือค่าเล่าเรียน สามารถนำมาหักลดหย่อนภาษีได้ตามข้อกำหนดของกรมสรรพากร ซึ่งช่วยให้ภาระค่าใช้จ่ายครอบครัว ที่เกิดขึ้นตามภาษีขั้นบันไดลดลงได้ในแต่ละปี
ภาษีขั้นบันได และข้อควรรู้ทั้งหมดในการลดค่าใช้จ่ายภาษี
ทั้งหมดที่ได้แนะนำไปนี้เป็นรายละเอียด ที่คุณควรรู้เกี่ยวกับภาษีขั้นบันได การคิดภาษีเงินได้ และการยื่นภาษี 2568 ซึ่งหากทำความเข้าใจได้อย่างละเอียด ก็จะช่วยให้คุณจัดการค่าใช้จ่ายตามบันไดภาษีได้ดีอย่างแน่นอน และจะเห็นได้ว่าการใช้จ่ายทั่วไปในชีวิตประจำวัน เช่น การซื้อสิ่งของ หรือการซื้อประกันนั้น ก็เป็นส่วนที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้
แต่เมื่อต้องเผชิญกับความจำเป็นเร่งด่วน บัตรกดเงินสด KTC PROUD คือตัวช่วยด้านการเงินยามฉุกเฉินที่ช่วยให้คุณวางแผนการเงินได้อย่างรอบคอบไม่สะดุด บริหารเงินง่าย ปิดจบสถานการณ์หมุนเงินไม่ทันใช้ สามารถเบิก ถอน โอน ได้ผ่าน KTC Application และสามารถใช้ผ่อนสินค้า โปรโมชั่น 0% ได้นานสูงสุด 24 เดือน ณ ร้านค้าที่ร่วมรายการ สมัครง่าย เงินเดือนเริ่มต้น 12,000 บาทก็สมัครได้
ทุกการใช้จ่ายไม่มีสะดุด ด้วยบัตรกดเงินสด KTC PROUD
- สมัครง่าย เงินเดือน 12,000 บาท ก็สมัครได้
- อนุมัติไว เลือกรับเงินโอนเข้าบัญชีได้ทันที เมื่ออนุมัติ
- เบิกเงินได้ 24 ชั่วโมง ผ่านแอป KTC Mobile และ ATM ทั่วประเทศ
- ผ่อนสินค้า 0% นานสูงสุด 24 เดือน ณ ร้านค้าที่ร่วมรายการ
- รูดซื้อสินค้า และช้อปออนไลน์ พร้อมรับสิทธิพิเศษทั้งปี
บัตรกดเงินสด KTC PROUD วงเงินพร้อมใช้ สมัครง่าย รู้ผลไว
*กู้เท่าที่จําเป็นและชําระคืนได้ตามกําหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 20%-25% ต่อปี