เที่ยวต่างประเทศ ซื้อของฝากอะไรกลับมาดี
ช่วงปลายปีกลายเป็นเทศกาลท่องเที่ยวก็ว่าได้ เพราะเป็นช่วงที่มีการเฉลิมฉลองในทุกประเทศท่องเที่ยว เพื่อต้อนรับเทศกาลคริสต์มาสและปีใหม่ และเป็นช่วงที่คนเริ่มมองหาวันลาพักร้อน การออกเดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศในช่วงนี้จึงได้รับความนิยม ก่อนออกเดินทางท่องเที่ยวนอกจากลิสต์ที่เที่ยว มามองหาของฝากของแต่ละประเทศเอาไว้ด้วยดีกว่า
วิธีค้นหาของฝากจากต่างประเทศ
เมื่อเดินทางไปต่างประเทศ นอกจากท่องเที่ยวแล้ว ยังมักมีการซื้อของฝากกลับมา เพื่อแสดงความมีน้ำใจและแบ่งปันสิ่งของที่ได้มาจากการท่องเที่ยวต่างประเทศให้แก่ผู้อื่น ก่อนไปเที่ยวควรศึกษาจุดเด่นของแต่ละประเทศเพื่อหาของฝากที่แนะนำของประเทศนั้น ๆ วิธีการหาของฝากทำได้ดังนี้
- อ่านรีวิวผู้ที่เคยไปเยือนมาก่อน
รีวิวจริงจากผู้ที่เคยไปเที่ยวประเทศนั้น ๆ มาก่อนจะทำให้เห็นภาพของแหล่งท่องเที่ยว สภาพภูมิอากาศ ผู้คน และของฝากที่น่าสนใจได้ง่ายขึ้น เหมาะแก่การวางแผนซื้อของฝากก่อนออกเดินทาง
- ค้นหาของขึ้นชื่อแต่ละเมือง
หลายประเทศมีของขึ้นชื่อแต่ละเมือง หากสามารถค้นหาของขึ้นชื่อของเมืองที่วางแผนไปเที่ยวได้ จะช่วยให้ตัดสินใจเลือกของฝากรวดเร็วขึ้น
- ถามคนท้องถิ่นหรือไกด์เกี่ยวกับของฝากน่าสนใจ
หากเดินทางท่องเที่ยวแล้วไม่รู้จะซื้ออะไรกลับมาดี ลองถามคนท้องถิ่นหรือไกด์นำเที่ยวเพื่อหาไอเดียของฝาก ซึ่งส่วนมากมักจะแนะนำของขึ้นชื่อของเมือง หรือของฝากที่นักท่องเที่ยวนิยมซื้อกลับไป
การซื้อของฝากกลับมาเป็นน้ำใจเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่ผู้เดินทางนำมาฝากให้คนใกล้ชิด ควรเลือกของที่แสดงถึงความเป็นประเทศที่ได้ไปเยี่ยมเยือน และเป็นของที่หาได้ยากในเมืองไทย
ของฝากน่าซื้อจากต่างประเทศ
ของฝากที่น่าสนใจมักจะเป็นของฝากที่โดดเด่นประจำท้องถิ่น
ช่วงที่หลายประเทศมีการเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยว ทำให้การไปเที่ยวต่างประเทศสะดวกมากขึ้น ซึ่งการไปเที่ยวประเทศใกล้เคียงจะได้รับความนิยมมากกว่า เพราะเดินทางถึงเร็ว ประหยัดเวลาและค่าตั๋วเครื่องบินมากกว่า ของฝากของประเทศใกล้เคียงที่น่าสนใจ เช่น
(1) ของฝากจากสิงคโปร์
สิงคโปร์เป็นประเทศที่อยู่ใกล้ไทย เดินทางด้วยเครื่องบิน รถไฟ Eastern & Oriental Express หรือเรือระหว่างประเทศก็ได้ ของฝากในประเทศสิงคโปร์มักจะเน้นของกินและของที่ระลึก เช่น
- น้ำมันยูคาลิปตัส Eagle Brand – น้ำมันหอมระเหยสูตรเฉพาะที่มีจำหน่ายในประเทศสิงคโปร์
- หมูแผ่น Bee Cheng Hiang – เมนูหมูแผ่นหรือที่เรียกว่า bak kwa เป็นเมนูของฝากยอดฮิตที่ได้รสชาติอาหารสไตล์สิงคโปร์ดั้งเดิม
- พายสับปะรด Kele – พายสับปะรดขึ้นชื่อในย่านจูรงของสิงคโปร์ ขายมานานกว่าร้อยปี
(2) ของฝากจากไต้หวัน
ไต้หวัน แหล่งท่องเที่ยวเป็นเกาะซึ่งเต็มไปด้วยมนต์เสน่ห์ และมีสถาปัตยกรรมที่โดดเด่นจากการผสานวัฒนธรรมจีนอย่างลงตัว มีของฝากที่น่าสนใจ เช่น
- เส้นหมี่ซินจู๋ – เส้นหมี่ที่ผลิตในเมืองซินจู๋ ด้วยทำเลที่เหมาะกับการทำเส้นหมี่ และสภาพอากาศที่เหมาะกับการทำหมี่และตากหมี่ เมืองซินจู๋จึงมีเส้นหมี่คุณภาพดีที่ไม่ควรพลาด
- โมจิคุนเจิง – ร้านโมจิเก่าแก่ชื่อดังในเมืองฮัวเหลียนของไต้หวัน ใช้วิธีการนวดแป้งด้วยมือ และใส่ไส้ที่เคี่ยวจนเข้มข้น รสชาติอร่อย ถูกใจทั้งคนท้องถิ่นและนักท่องเที่ยว
(3) ของฝากจากเกาหลีใต้
เกาหลีใต้สร้างวัฒนธรรมของตนเองผ่านสื่อบันเทิงต่าง ๆ กลายเป็นอุตสาหกรรมบันเทิงขนาดใหญ่ สถานที่ท่องเที่ยวจึงเน้นการตามรอยซีรีส์เกาหลี หรือร่วมกิจกรรมกับศิลปิน K-Pop ส่วนของฝากจะเน้นของดีประจำจังหวัดและสินค้าความงามต่าง ๆ เช่น
- ขนมเกาหลี – เกาหลีขึ้นชื่อเรื่องขนมมาก มักเน้นขนมที่ใส่ความเป็นเกาหลีลงไป เช่น ชัลต็อกพาย ที่ใช้แป้งต็อกมาเคลือบซอสทำเป็นขนม ขนมเปเปโร่ ที่เป็นบิสกิตชนิดแท่งหลากรส
- สกินแคร์ – เกาหลีมีแบรนด์เครื่องสำอางมากมาย ถึงแม้จะมีช้อปที่ไทยสำหรับบางแบรนด์ แต่การไปซื้อที่เกาหลีจะมีสินค้าให้เลือกมากกว่า และราคาหลายอย่างก็ถูกกว่าด้วย แบรนด์ที่น่าสนใจ เช่น แบรนด์ Etude House แบรนด์ 3CE หรือแบรนด์ WHOO เป็นต้น
(4) ของฝากจากเวียดนาม
เวียดนามเป็นประเทศเพื่อนบ้านที่มีอาณาเขตติดกับประเทศไทย สภาพอากาศและอาหารมีความใกล้เคียงกัน ของฝากที่นี่จะเน้นของฝากที่แสดงความเป็นเวียดนาม เช่น
- เค้กถั่ว Banh dau xanh Mung – ขนมที่ใส่ความเป็นเวียดนามลงไป รสชาติแบบที่ชาวเวียดนามนิยม และมีความพิถีพิถันในการทำออกมาเป็นของฝาก
- โคมไฟเวียดนาม - โคมไฟเวียดนามที่ขึ้นชื่อที่สุดอยู่ที่เมืองฮอยอัน รูปร่างของโคมไฟจะมีความเรียวตรงปลาย เป็นของแต่งบ้านที่น่าสนใจมาก
(5) ของฝากจากญี่ปุ่น
ญี่ปุ่นขึ้นชื่อเรื่องของฝากประจำเมืองมาก เพราะแต่ละเมืองจะมีจุดเด่นที่ต่างกัน แต่ควรระวังของฝากที่เป็นของต้องห้าม เช่น เมล่อนและพลับญี่ปุ่นที่ห้ามนำเข้ามาในประเทศ หากไม่มีหนังสือรับรองจากกรมวิชาการเกษตร ของฝากที่น่าสนใจในประเทศญี่ปุ่น เช่น
- แก้วสตาร์บัคส์ - ประเทศญี่ปุ่นมีสตาร์บัคส์หลายสาขามาก และมีคอลเลกชันแก้วสตาร์บัคส์ Limited Edition เฉพาะประเทศญี่ปุ่นด้วย แก้วสตาร์บัคส์จึงเป็นสินค้าที่นิยมซื้อกลับไปเป็นของฝาก
- เนื้อปูยักษ์แช่แข็ง – ของฝากยอดฮิตจากเกาะฮอกไกโดที่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยอาหารทะเล ปูยักษ์แกะเนื้อแช่แข็งเป็นของฝากที่นักท่องเที่ยวมักจะซื้อกลับไปด้วยเสมอ
- วัวแดงอะกะเบะโกะ - เครื่องรางขึ้นชื่อและเป็นของฝากประจำจังหวัดฟุกุชิมะ เชื่อว่าวัวแดงอะกะเบะโกะจะให้พรด้านสุขภาพแก่ผู้ที่ได้รับ
การเดินทางท่องเที่ยวให้อุ่นใจควรมีบัตรเครดิตที่ใช้งานต่างประเทศได้ติดตัวไปด้วย นอกจากง่ายต่อการรูดซื้อสินค้าที่ต่างประเทศ ยังสามารถกดเงินสดฉุกเฉินได้ ขอแนะนำบัตรเครดิต KTC รูดช้อปทั่วโลก สำหรับคนที่มีแพลนเที่ยวปลายปี กับสิทธิพิเศษดี ๆ อย่างค่าธรรมเนียมอัตราความเสี่ยงการแปลงสกุลเงินต่างประเทศไม่เกิน 2% จากปกติอัตราตลาด 2.5% เรทถูกกว่าเมื่อเป็นสกุลต่างประเทศ สายเที่ยวต่างแดนต้องมี
ทำบัตรเครดิตท่องเที่ยว เที่ยวง่าย จ่ายสะดวกแม้อยู่ต่างประเทศ
ของต้องห้ามและของต้องกำกัดจากต่างประเทศ
ก่อนเข้าประเทศเจ้าหน้าที่ศุลกากรจะตรวจสิ่งของที่นำติดตัวเข้าประเทศ
การนำเข้าสิ่งของจากต่างประเทศมีหน่วยงานที่คอยดูแลอย่างกรมศุลกากร เพื่อป้องกันการนำเข้าสิ่งผิดกฎหมายและสิ่งที่ต้องได้รับใบอนุญาตก่อนนำเข้า ดังนี้
ของต้องห้ามนำเข้าและส่งออก
ของต้องห้าม คือ สิ่งของที่กฎหมายไทยกำหนดให้เป็นของต้องห้าม มีโทษทั้งการลักลอบนำเข้า และการลักลอบนำออกนอกประเทศ ได้แก่
- สารเสพติด
- สื่อลามก และของที่จัดอยู่ในประเภทวัตถุลามกอนาจาร
- ของผิดลิขสิทธิ์ ของปลอม ของเลียนแบบ
- ธนบัตรและเหรียญกษาปณ์ปลอม
- สัตว์ป่าสงวน และสัตว์ที่อยู่ในสนธิสัญญาไซเตส
ของต้องกำกัดในการนำเข้าและส่งออก
ของต้องกำกัด คือ ของที่ต้องมีใบอนุญาตจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก่อน ถึงสามารถนำเข้าหรือนำออกนอกประเทศได้ ได้แก่
- พระพุทธรูป โบราณวัตถุ ของเก่าที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ ต้องขออนุญาตจากกรมศิลปากร
- อาวุธจริง และสิ่งเทียมอาวุธร้ายแรง ต้องขออนุญาตจากกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย
- พืชและส่วนต่าง ๆ ของพืช ต้องขออนุญาตจากกรมวิชาการเกษตร
- สิ่งมีชีวิตและซากสัตว์ ต้องขออนุญาตจากกรมปศุสัตว์
- อาหารและยา รวมถึงอาหารเสริมและเครื่องดื่ม ต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- ชิ้นส่วนยานพาหนะ ต้องขออนุญาตจากกระทรวงอุตสาหกรรม
- บุหรี่ ยาสูบ และเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ต้องขออนุญาตจากกรมสรรพสามิต
- อุปกรณ์โทรคมนาคม ต้องขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ
ก่อนการเข้าประเทศไทยจะมีการตรวจสอบสิ่งของที่นำเข้ามา ควรหลีกเลี่ยงของต้องห้ามและของต้องกำกัดที่ไม่มีอนุญาต รวมถึงหากสิ่งของที่นำกลับมามีมูลค่ารวมเกิน 200,000 บาท ต้องติดต่อขอชำระค่าภาษีอากรในช่องมีของต้องสำแดง การชำระภาษีสามารถเลือกชำระด้วยเงินสดหรือบัตรเครดิตก็ได้ หากกังวลเรื่องเงินสดในการชำระภาษี แนะนำให้มีบัตรเครดิตเอาไว้สำหรับใช้ในกรณีฉุกเฉิน สะดวก และรวดเร็วกว่า นอกจากนั้นยังเป็นตัวช่วยในการท่องเที่ยวต่างประเทศได้ดี สายเที่ยวควรมีสักใบ
ข้อมูลอ้างอิงจาก : กรมศุลกากร
มีบัตรเครดิต KTC สายเที่ยวเอาไว้ รูดจ่ายค่าของฝากต่างประเทศง่ายขึ้น
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี