ปัจจุบันประเทศไทย กำลังเข้าสู่ยุคสังคมไร้เงินสด (Cashless Society) อย่างเต็มรูปแบบ คนไทยเริ่มพกเงินสดสำหรับใช้จ่ายในชีวิตประจำวันน้อยลง โดยหันมาใช้การชำระเงินผ่านการสแกน QR Code ด้วยโทรศัพท์มือถือเพื่อทำการชำระเงินค่าสินค้า และบริการผ่านแอปพลิเคชันธนาคารมากขึ้นเรื่อยๆ รวมไปถึงร้านค้าต่างๆ ที่เริ่มรับการชำระเงินผ่านการสแกน QR Code เพียงอย่างเดียวก็เริ่มมีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเช่นกัน
QR Payment คืออะไร?
QR Payment คือ ระบบการชำระเงินแบบไร้สัมผัสผ่าน QR Code โดยลูกค้าสามารถสแกน QR Code ที่ทางร้านค้าจัดเตรียมไว้ เพื่อทำการชำระเงินค่าสินค้า และบริการผ่านแอปพลิเคชันธนาคารหรือ Mobile Banking บนสมาร์ทโฟนของตัวเอง ทั้งนี้ QR Code อาจเป็นบัญชีธนาคารหรือ Promptpay ก็ได้
นอกจากนี้ยังมี QR Payment บัตรเครดิต ที่สามารถใช้บัตรเครดิตที่ผูกกับแอปพลิเคชันธนาคารเพื่อทำการชำระเงินได้อีกด้วย ซึ่งบริการดังกล่าวสามารถทำรายการกับร้านค้าที่ร่วมรายการโดยจะมี QR Code และสัญลักษณ์การรับชำระเงินด้วยบัตรเครดิต พร้อมมีสัญลักษณ์ Visa, Master, และ JCB แสดงไว้บนแผ่นป้าย QR Code โดยปัจจุบันมีธนาคารทีรองรับอยู่ 4 แห่ง KTC, SCB, Krungsri, และ CITI
QR Payment มีกี่แบบ? แตกต่างกันอย่างไร
ความแตกต่างของ QR Payment สามารถจำแนกตามประเภทของบัญชี หรือ แบ่งตามลักษณะของ QR Code ก็ได้ ดังนี้
แบ่งตามประเภทของบัญชี
สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ดังนี้
- PromptPay
เป็นระบบการชำระเงินผ่าน QR Code ที่พัฒนาโดยธนาคารแห่งประเทศไทย โดยใช้เลขประจำตัวประชาชน (เลข 13 หลัก) เบอร์โทรศัพท์มือถือ หรืออีเมล ในการผูกกับบัญชีธนาคาร
- Thai QR Payment
เป็นระบบการชำระเงินผ่าน QR Code ที่พัฒนาโดยธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่ง โดยใช้ QR Code เฉพาะของร้านค้าในการชำระเงิน
แบ่งด้วยลักษณะของ QR Code
สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ดังนี้
1.Static QR Code
QR Code แบบไม่เปลี่ยนแปลง หรือ Static QR Code ตัว QR Code จะไม่มีการเปลี่ยนแปลง เจ้าของร้านค้า และเจ้าของธุรกิจสามารถนำไปพิมพ์ติดลงบนสินค้า หรือติดบริเวณร้านค้า ‘ซึ่งลูกค้าต้องกรอกจำนวนเงินเอง’
2.Dynamic QR Code
QR Code แบบเปลี่ยนแปลง หรือ Dynamic QR Code ตัว QR Code จะมีการเปลี่ยนแปลงตามราคาสินค้า หรือบริการตามที่ร้านค้าได้ตั้งไว้ ‘ลูกค้าไม่ต้องกรอกจำนวนเงินเอง’
ปัจจุบันประเทศไทยกำลังขยายการรับชำระระบบ CROSS-BORDER QR Payment คือ บริการรับชำระเงินสำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติรวมถึงนักธุรกิจ โดยใช้แอปพลิเคชันบนมือถือสแกนชำระผ่าน Thai QR Payment เพื่อชำระค่าสินค้า และบริการแทนการใช้เงินสด ณ ประเทศที่สามารถใช้ได้ในกลุ่มประเทศเอเชีย เช่น ประเทศอินโดนีเซีย ประเทศสิงคโปร์ ประเทศเวียดนาม และอื่นๆ
ใช้จ่ายได้อย่างสะดวกสบายด้วยการ สแกน QR Payment
ข้อดีในการใช้ QR Payment สำหรับเจ้าของธุรกิจในปี 2567
คนซื้อสะดวกจ่าย คนขายสะดวกรับ ในยุคสังคมไร้เงินสด การใช้ QR Payment ย่อมช่วยอำนวยความสะดวกให้แก่ผู้เป็นลูกค้า และเจ้าของกิจการได้อย่างมาก ดังนี้
1. การใช้ QR Payment สะดวก และต้นทุนต่ำ
ลดค่าใช้จ่ายในการเช่าเครื่องสำหรับการชำระเงินด้วยบัตรเครดิตของร้านค้า และสามารถใช้รับเงินได้สะดวกสบายทั้งร้านค้ารายย่อย และห้างร้าน เพียงติดต่อธนาคารที่ต้องการ
2.มีความปลอดภัยสูง
ลูกค้าไม่ต้องพกเงินสด ร้านค้าไม่ต้องทอนเงิน ลดความผิดพลาด ป้องกันเงินสูญหายได้ดี
3.เพิ่มโอกาสปิดการขาย
การมีช่องทางการชำระเงินที่หลากหลายถือเป็นตัวเลือกที่ดีสำหรับร้านค้า เพราะทำให้ลูกค้าสามารถเลือกชำระเงินได้หลายรูปแบบตามที่ต้องการ
ข้อควรระวังสำหรับร้านค้าในการใช้ QR Payment
แม้การใช้ QR Payment จะสะดวกสบาย แต่ก็ยังมีข้อควรระวังสำหรับเจ้าของร้านค้าที่ต้องการใช้งาน ดังนี้
- กรณีใช้ระบบ Static QR Code แบบพิมพ์ภาพ ควรตรวจเช็ก QR Code ของร้านค้าอย่างสม่ำเสมอ เพื่อป้องกันมิจฉาชีพปลอมแปลงนำ QR Code อื่นมาปิดทับ
- ควรระบุชื่อบัญชี และหมายเลขบัญชีที่ใช้สำหรับรับเงินไว้ทุกครั้ง เพื่อให้ลูกค้าสามารถตรวจสอบความถูกต้องก่อนยืนยันการชำระเงินได้
ให้ทุกการรับชำระเงินเป็นเรื่องง่าย ด้วยบริการ KTC MERCHANT
นอกจากบริการ KTC QR Pay Thailand แล้ว KTC ยังมีบริการรับชำระเงินหลากหลายรูปแบบเพื่อธุรกิจร้านค้า สามารถเลือกได้ตามความต้องการ ครอบคลุมทุกการใช้งานจากสถาบันการเงินชั้นนำทั่วโลก ทั้งบริการรับชำระผ่านเครื่องรูดบัตร, รับชำระผ่านระบบออนไลน์, รับชำระผ่านการเรียกเก็บเงินอัตโนมัติ รวมไปถึงรับชำระผ่าน Alipay และ Alipay+ พร้อมรับสิทธิประโยชน์จาก KTC ทั้งรับเงินไวในวันที่รูด บริการ One Stop Service พร้อมระบบช่วยเหลือร้านค้าสมาชิกตลอด 24 ชั่วโมง
ตอบรับทุกบริการ ชำระเงิน ด้วย KTC MERCHANT