สรุปชัด เยียวยาประกันสังคม ใครได้เงินเท่าไร วันไหนบ้าง
เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยยังมีคลี่คลาย หลังมียอดผู้ติดเชื้อทะลุหลักหมื่นต่อวัน เป็นผลให้รัฐบาลต้องออกประกาศล็อกดาวน์พื้นที่เสี่ยง เพื่อการแพร่ระบาดของเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ต่าง ๆ ที่กำลังลุกลามอย่างรวดเร็ว ทำให้พนักงานและลูกจ้างจำนวนไม่น้อยต้องตกงานและได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก ซึ่งรัฐบาลได้เร่งออกมาตรการช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับผลกระทบเป็นจำนวนมาก โดยหนึ่งในมาตรการเยียวยาโควิด-19 รอบล่าสุดที่ได้รับความสนใจ นั่นคือ มาตรการเยียวยาประกันสังคม 29 จังหวัดในพื้นที่สีแดงเข้ม หรือพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด ด้วยการมอบเงินช่วยเหลือแก่ผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40
สำหรับผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม จะได้รับความช่วยเหลือตามสิทธิประกันสังคมแตกต่างกันไปตามแต่ละมาตรา โดยวันนี้ KTC ขอพาไปดูกันว่า สิทธิประกันสังคมที่ผู้ประกันตนมาตราต่าง ๆ จะได้รับความช่วยเหลือนั้นมีอะไรบ้าง สามารถตรวจสิทธิผ่านช่องทางไหน มาดูกัน
ทำความรู้จักผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40
ผู้ประกันตน มาตรา 33 คือ พนักงาน มนุษย์เงินเดือน หรือลูกจ้างเอกชนที่ยังทำงานกับนายจ้างอยู่ในสถานประกอบการ โดยทั้งนายจ้างและลูกจ้าง ต้องส่งเงินสมทบเดือนละ 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท ให้สำนักงานประกันสังคม
ผู้ประกันตน มาตรา 39 คือ พนักงานหรือลูกจ้างเอกชนที่เคยเป็นผู้ประกันตน มาตรา 33 มาก่อน แล้วต้องจ่ายเงินสมทบมาไม่น้อยกว่า 12 เดือน ที่ปัจจุบันได้ลาออกจากงานและไม่ได้ทำงานประจำ แต่สมัครใจเป็นผู้ประกันตน มาตรา 39 เพื่อรักษาสิทธิประกันสังคม ภายใน 6 เดือน หลังลาออก
ผู้ประกันตน มาตรา 40 คือ บุคคลทั่วไปที่ประกอบอาชีพอิสระหรือเป็นแรงงานนอกระบบ เช่น พ่อค้าแม่ค้า เกษตรกร ช่างก่อสร้าง ฟรีแลนซ์ ขายของออนไลน์ และอื่น ๆ แม้บุคคลกลุ่มนี้ไม่ได้เป็นผู้ประกันตน ตามมาตรา 33 หรือมาตรา 39 ก็สามารถสมัครเป็นผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมเพื่อรับสิทธิต่าง ๆ ได้เช่นกัน
ประกันสังคม เยียวยาโควิด-19 รอบล่าสุด เรื่องใดบ้าง
นับตั้งแต่รัฐบาลสั่งล็อกดาวน์พื้นที่สีแดงเข้ม เพื่อควบคุมสถานการณ์โควิดในช่วงเดือนกรกฎาคม 2564 ส่งผลให้สถานประกอบการหลายแห่งที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อ COVID-19 หยุดกิจการชั่วคราวหรือปิดทำการเร็วขึ้น ทำให้มีนายจ้างและลูกจ้างจำนวนมากได้รับผลกระทบ และเพื่อบรรเทาความเดือดร้อน รัฐบาลได้ออกมาตรการเยียวยาประกันสังคม ม.33 ม.39 และ ม.40 ที่อยู่ในพื้นที่สีแดงเข้มทั้ง 29 จังหวัด โดยมีรายละเอียด ดังนี้
พื้นที่สีแดงเข้ม มีจังหวัดใดบ้าง
สำหรับล็อกดาวน์คุมโควิด-19 รอบล่าสุด รัฐบาลได้ประกาศพื้นที่สีแดงเข้มถึง 2 ครั้งด้วยกัน ทำให้การรับเงินเยียวยาโควิด-19 ถูกแบ่งเป็น 2 ระลอก ตามลำดับที่มีการประกาศ ประกอบด้วย
- พื้นที่สีแดงเข้ม 13 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรปราการ สมุทรสาคร นราธิวาส ปัตตานี ยะลา สงขลา ชลบุรี ฉะเชิงเทรา และพระนครศรีอยุธยา
- พื้นที่สีแดงเข้มอีก 16 จังหวัด (ที่ประกาศเพิ่มเติม) คือ กาญจนบุรี ตาก นครนายก นครราชสีมา ประจวบคีรีขันธ์ ปราจีนบุรี เพชรบุรี เพชรบูรณ์ ระยอง ราชบุรี ลพบุรี สิงห์บุรี สมุทรสงคราม สระบุรี สุพรรณบุรี และอ่างทอง
สิทธิประกันสังคมไม่ขาด หักเงินสมทบผ่านบัตรเครดิต...กรอกข้อมูลที่นี่
เช็คสิทธิประกันสังคม มาตรา 33 รับเงินเยียวยาโควิด
พื้นที่ 13 จังหวัด
- ลูกจ้างที่หยุดงานตามคำสั่งทางการ รับ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) หากมีสัญชาติไทย ได้รับเพิ่ม 2,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน คือ เดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2564 รวมได้รับเงินเยียวยา จำนวน 20,000 บาท
- ลูกจ้างที่ไม่ได้หยุดงาน และมีสัญชาติไทย รับ 2,500 บาท เป็นเวลา 2 เดือน คือ เดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2564 รวมได้รับเงินเยียวยา จำนวน 5,000 บาท
- นายจ้างรับตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 200 คน เป็นเวลา 2 เดือน คือ เดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2564
พื้นที่ 16 จังหวัด
- ลูกจ้างที่หยุดงานตามคำสั่งทางการ รับ 50% ของรายได้ (สูงสุดไม่เกิน 7,500 บาท) หากมีสัญชาติไทย ได้รับเพิ่ม 2,500 บาท เป็นเวลา 1 เดือน คือ เดือนสิงหาคม 2564 รวมได้รับเงินเยียวยา จำนวน 10,000 บาท
- ลูกจ้างที่ไม่ได้หยุดงาน และมีสัญชาติไทย รับ 2,500 บาท เป็นเวลา 1 เดือน คือ เดือนสิงหาคม 2564
- นายจ้างรับตามจำนวนลูกจ้าง หัวละ 3,000 บาท สูงสุดไม่เกิน 200 คน ในเดือนสิงหาคม 2564
เช็คสิทธิประกันสังคม มาตรา 39 รับเงินเยียวยาโควิด
พื้นที่ 13 จังหวัด
- ผู้ประกันตน ม.39 ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาท เป็นเวลา 2 เดือน คือ เดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2564 รวมได้รับเงินช่วยเหลือ จำนวน 10,000 บาท
พื้นที่ 16 จังหวัด
- ผู้ประกันตน ม.39 ได้รับ 5,000 บาท เป็นเวลา 1 เดือน คือ เดือนสิงหาคม 2564
เช็คสิทธิเยียวยาโควิด ผู้ประกันตน มาตรา 40
พื้นที่ 13 จังหวัด
- ผู้ประกันตน มาตรา 40 จะได้รับเงินช่วยเหลือ จำนวน 5,000 บาทต่อเดือน รวมทั้งสิ้น 2 เดือน คือ เดือนกรกฎาคม และเดือนสิงหาคม 2564
- กรณีมีอาชีพอิสระ ถ้าขึ้นทะเบียน ม.40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือน
- นายจ้างที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม หากขึ้นทะเบียน ม.40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 จะได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือน
- นายจ้างในระบบถุงเงิน (คนละครึ่ง, เราชนะ) ที่ไม่อยู่ในระบบประกันสังคม ถ้าขึ้นทะเบียน ม.40 ภายในเดือนกรกฎาคม 2564 ได้รับเงินเยียวยา 5,000 บาทต่อเดือน
พื้นที่ 16 จังหวัด
- ผู้ประกันตน มาตรา 40 จะได้รับเงินช่วยเหลือ จำนวน 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา1 เดือน คือ เดือนสิงหาคม 2564
เช็คสิทธิรับเงินเยียวยาโควิด-19 ผ่านช่องทางไหน
สำหรับผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 ทั้งในส่วนลูกจ้างและนายจ้าง หากไม่มั่นใจว่าตนได้รับเงินเยียวยาโควิด-19 ระลอกใหม่หรือไม่ สามารถเช็คสิทธิเงินเยียวยาโควิดจากคำสั่งล็อกดาวน์ผ่านเว็บไซต์ https://www.sso.go.th/eform_news/ ได้ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป
วิธีรับเงินเยียวยาโควิด-19 ม.33 ม.39 และ ม.40
ในส่วนของการรับเงินเยียวยาโควิดนั้น ทางสำนักงานประกันสังคมจะดำเนินการโอนเงินเข้าบัญชีพร้อมเพย์ที่ผูกกับเลขประจำตัวประชาชนของผู้ประกันตน ม.33 ม.39 และ ม.40 ที่ได้รับสิทธิ์เท่านั้น เพื่อป้องกันความผิดพลาดในการโอนเงินเข้าบัญชี
สำหรับใครที่ลาออกจากงานหรืออยู่ในสถานะว่างงานจากเหตุสุดวิสัยเพราะ COVID-19 สามารถสมัครประกันสังคม มาตรา 39 หรือมาตรา 40 เพื่อรับความคุ้มครองตามสิทธิประกันสังคมยามเจ็บป่วยหรือความคุ้มครองอื่น ๆ นอกจากนี้สำนักงานประกันสังคมได้เพิ่มความสะดวกสบายให้แก่ผู้ประกันตน โดยการเพิ่มช่องทางชำระเงินกองทุนประกันสังคมที่หลากหลาย ทั้งหักจากบัญชีเงินฝากออมทรัพย์ เคาน์เตอร์เซอร์วิส ตู้บุญเติม ShopeePay หรือเลือกชำระด้วยบัตรเดบิตและบัตรเครดิต แต่ถ้าคุณยังไม่มีบัตรเครดิตหรือบัตรกดเงินสด สามารถเลือกสมัครบัตรทั้ง 2 ใบ เพื่อรับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมยามใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชั่นผ่อน 0% รับเครดิตเงินคืน หรือเป็นวงเงินสำรองยามฉุกเฉินที่ต้องการใช้เงินสดด่วน เพียงคลิกเข้าไปสมัครบัตรเครดิตที่สนใจผ่านช่องทางออนไลน์ของธนาคารโดยตรง
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม กระทรวงแรงงาน
เสริมสภาพคล่องทางการเงินช่วงโควิด-19 ด้วยบัตรเครดิต...ที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
เปลี่ยนวงเงินในบัตรกดเงินสด เป็นทุนสำรองเพื่อประกอบอาชีพอิสระ
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา