เคาะแล้ว เงินเยียวยาเอสเอ็มอี นาน 3 เดือน เช็คเงื่อนไขที่นี่
นับตั้งแต่เกิดสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 รัฐบาลของประเทศไทยได้เร่งออกมาตรการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ผ่านการดำเนินชีวิตประจำวัน ทั้งสวมหน้ากาก หมั่นล้างมือให้สะอาด หรือรักษาระยะห่างระหว่างบุคคลเพื่อลดความเสี่ยง ไปจนถึงขอความร่วมมือหน่วยงานเอกชนและภาครัฐ ตลอดจนสถานศึกษาทุกระดับชั้นทั่วประเทศปรับเปลี่ยนรูปแบบการทำงาน การเรียนมาเป็นการ Work From Home และเรียนออนไลน์แทน เพื่อลดโอกาสติดเชื้อไวรัส นอกจากนี้ยังมีมาตรการล็อกดาวน์สถานที่เสี่ยงหรือคลัสเตอร์ต่าง ๆ เพื่อควบคุมการระบาดของ COVID-19 ส่งผลให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องขาดรายได้ เนื่องจากต้องปิดกิจการชั่วคราว หรือค้าขายได้เฉพาะช่วงเวลาที่กำหนด ด้วยเหตุนี้เองทำให้ผู้ประกอบการหลายรายจำยุติกิจการถาวรเพราะไม่สามารถพยุงสภาพคล่องทางเงินได้ ขณะที่บางแห่งจำต้องปรับลดเงินเดือนหรือปลดพนักงานบางส่วน เพื่อให้กิจการยังคงอยู่
ซึ่งเรื่องที่เกิดขึ้นรัฐบาลไม่ได้นิ่งนอนใจพยายามออกมาตรการเยียวยาโควิด-19 ในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศหรือบรรเทาความเดือดร้อนภาระค่าใช้จ่ายของประชาชน ไม่ว่าจะเป็นโครงการคนละครึ่ง โครงการยิ่งใช้ยิ่งได้ โครงการเราเที่ยวด้วยกัน โครงการเยียวยาผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม และโครงการเยียวยานักเรียน ล่าสุด ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเยียวยาผู้ประกอบธุรกิจ SMEs ที่ได้รับความเดือดร้อน ผ่านโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมหรือ SMEs โดยวันนี้ KTC ไม่พลาดรวมรวมคุณสมบัติ เงื่อนไข ตลอดจนไทม์ไลน์การจ่ายเงินเยียวยาล่าสุดมาฝาก
วัตถุประสงค์โครงการเยียวยาธุรกิจ SMEs
สำหรับโครงการส่งเสริมและรักษาระดับการจ้างงานในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ถือเป็นมาตรการเยียวยาโควิด-19 ล่าสุดที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอีในการส่งเสริมและรักษาการจ้างงาน ตลอดจนสร้างความแข็งแรงให้แก่ธุรกิจ เพื่อให้สามารถประคับประคองธุรกิจ SMEs ผ่านพ้นช่วงวิกฤตโควิดไปได้
ใครบ้างมีสิทธิเข้าร่วมโครงการเยียวยาเอสเอ็มอี
(1) ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs ที่เข้าร่วมโครงการเยียวยานายจ้าง อุดหนุนการจ้างงาน ต้องเป็นนายจ้างภาคเอกชนที่อยู่ในระบบประกันสังคม มีการจ้างงานลูกจ้างสัญชาติไทยจำนวนไม่เกิน 200 คน ณ วันที่ 16 ตุลาคม 2564
(2) นายจ้างต้องจ่ายค่าจ้างไม่ต่ำกว่าอัตราค่าจ้างขั้นต่ำของแต่ละจังหวัดตามประกาศคณะกรรมการค่าจ้างฯ
เช็คเงื่อนไข การจ่ายเงินเยียวยาเอสเอ็มอี
(1) รัฐมอบเงินอุดหนุนให้แก่ผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs โดยคำนวณตามยอดการจ้างจริงทุกเดือนควบคู่กับจำนวนลูกจ้างที่นำส่งเงินสมทบประกันสังคม
(2) นายจ้างได้รับเงินอุดหนุนเพื่อรักษาการจ้างงาน ในอัตราเงินเยียวยา 3,000 บาทต่อลูกจ้างสัญชาติไทย 1 คนต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน
(3) นายจ้างต้องรักษาระดับการจ้างงานไม่ต่ำกว่า 95% ในระหว่างเข้าร่วมโครงการฯ หากไม่สามารถรักษาระดับการจ้างงานให้ไม่ต่ำกว่า 95% จะไม่ได้รับเงินอุดหนุนในเดือนนั้น
(4) นายจ้างมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นจากยอดการจ้างงาน ณ วันเริ่มโครงการ จะได้รับเงินอุดหนุนเพิ่มตามจำนวนการจ้างงานจริงไม่เกิน 5%
หมุนเวียนค่าใช้จ่ายในธุรกิจง่าย ๆ กับบัตรกดเงินสด
ลงทะเบียนเงินเยียวยารอบใหม่ ธุรกิจ SMEs เมื่อไหร่
เปิดให้ผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีซึ่งมีคุณสมบัติตามที่กล่าวไปข้างต้น เริ่มลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการเยียวยาโควิด ตั้งแต่วันที่ 20 ตุลาคม ไปจนถึงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2564 เมื่อลงทะเบียนสำเร็จเข้าสู่ขั้นตอนยืนยันเข้าร่วมโครงการ พร้อมแจ้งเลขบัญชีธนาคารที่ใช้รับเงินเยียวยาตามยอดการจ้างงาน ณ เดือนที่เข้าร่วมโครงการ
เปิดไทม์ไลน์การจ่ายเงินเยียวยาธุรกิจ SMEs
กดเงินเยียวยาโควิด-19 ธุรกิจ SMEs จากตู้ ATM
รัฐบาลเตรียมโอนเงินอุดหนุนให้ผู้ประกอบธุรกิจเอสเอ็มอีที่เข้าร่วมโครงการเยียวยาโควิด-19 เพื่อรักษาการจ้างงาน เป็นระยะเวลา 3 เดือน คือ ระหว่างเดือนพฤศจิกายน 2564 - เดือนมกราคม 2565 โดยจ่ายเงินอุดหนุนทุกวันทำการสุดท้ายของเดือน ดังนี้
- เดือนที่ 1 : วันที่ 30 พฤศจิกายน 2564
- เดือนที่ 2 : วันที่ 30 ธันวาคม 2564
- เดือนที่ 3 : วันที่ 31 มกราคม 2565
นี่ถือเป็นอีกหนึ่งมาตรการเยียวยาโควิด-19 ที่ภาครัฐผลักดันออกมา เพื่อพยุงธุรกิจ SMEs รวมถึงช่วยเหลือลูกจ้างหรือผู้ว่างงานให้มีงานทำและผ่านพ้นวิกฤตโควิด-19 ไปได้ และใครที่กำลังมองหาแหล่งเงินทุนฉุกเฉินไว้ใช้จ่ายเพื่อเสริมสภาพคล่องในธุรกิจ การสมัครบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เปิดช่องให้ผู้ถือบัตรสามารถนำวงเงินในบัตรมาใช้จ่ายก่อนชั่วคราวแล้วค่อยผ่อนชำระคืนทีหลังตามเงื่อนไขหรือโปรโมชั่นบัตรเครดิตที่กำหนด เช่น ผ่อน 0% หรือผ่อนแบบมีดอกเบี้ย รับเครดิตเงินคืน x2 เมื่อชำระค่าสินค้าหรือบริการที่ร่วมรายการ เป็นต้น แต่สุดท้ายต้องไม่ลืมว่าบัตรเครดิตและบัตรกดเงินสดไม่ได้มีแค่ข้อดี ยังมีข้อเสียแฝงอยู่ ฉะนั้นหากใช้จ่ายเกินตัวก็อาจกลายเป็นหนี้ในระยะยาวได้เช่นกัน
อ้างอิงข้อมูล : กรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงาน
สมัครบัตรเครดิต เสริมสภาพคล่องธุรกิจ SMEs ยามฉุกเฉิน...ที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
บัตรกดเงินสด ผู้ช่วยทางการเงินในช่วงวิกฤต...สมัครที่นี่
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา