สำรวจอาการป่วยตนเอง เข้าข่ายโอไมครอนหรือไม่
สถานการณ์โควิด-19 ในหลายประเทศรวมถึงประเทศไทยยังคงพบการระบาดในหลายพื้นที่ ส่วนหนึ่งเป็นเพราะการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่สามารถหลบหลีกภูมิคุ้มกันในมนุษย์ได้ และทำให้ประสิทธิภาพของวัคซีนโควิดลดน้อยลง ขณะนี้สายพันธุ์ที่น่าจับตามองคือสายพันธุ์โอไมครอน หรือ Omicron ที่มีการแพร่กระจายเชื้ออย่างรวดเร็ว
การประกาศไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนเป็น VOC
โควิดเริ่มต้นการระบาดมาตั้งแต่ปี 2019 โดยในช่วงนั้นเป็นการระบาดที่จัดอยู่ในโรคอุบัติใหม่ การระบาดกระจายเป็นวงกว้างเพราะเป็นไวรัสชนิดใหม่ที่ยังไม่มีการวิจัยและคิดค้นวิธีการรักษา ประกอบกับไวรัสมีการกลายพันธุ์เพื่อแพร่กระจายเชื้อหลายครั้ง ทำให้องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้เข้ามาจัดกลุ่มการกลายพันธุ์ออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ การกลายพันธุ์ที่น่าจับตามอง (Variant of Interest: VOI) และการกลายพันธุ์ที่น่ากังวล (Variant of Concern: VOC) ซึ่งไวรัสโควิดสายพันธุ์ใหม่โอไมครอนจัดอยู่ในกลุ่มไวรัสที่น่ากังวล
ความแตกต่างของ VOI และ VOC
การกลายพันธุ์ของไวรัสเป็นเรื่องปกติ ไวรัสทุกสายพันธุ์มีการกลายพันธุ์เพื่อเอาตัวรอด เมื่อมีการกลายพันธุ์ WHO จะเป็นผู้ประกาศชื่อสายพันธุ์และจัดกลุ่ม VOI หรือ VOC ซึ่งมีความต่างกัน ดังนี้
- Variant of Interest: VOI
เป็นการกลายพันธุ์ที่ส่งผลให้เกิดการแพร่ระบาดในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นวงแคบ ไม่มีการกระจายเข้าสู่ภูมิภาคอื่น สามารถควบคุมได้ง่าย
- Variant of Concern: VOC
เป็นการกลายพันธุ์ที่เพิ่มประสิทธิภาพในการแพร่กระจายเชื้อ อาจเพิ่มโอกาสในการป่วยหนักและเสียชีวิต เชื้อกระจายเป็นวงกว้างในหลายภูมิภาค ยากที่จะควบคุม และลดประสิทธิภาพของวัคซีนลง
ข้อบ่งชี้ที่ทำให้โอไมครอนกลายเป็น VOC
ไวรัสโควิดโอไมครอนได้รับการประกาศชื่อจาก WHO และจัดอยู่ในหมวดไวรัสที่น่ากังวล VOC เพราะเป็นเชื้อไวรัสที่มีการกลายพันธุ์มากกว่า 50 ครั้ง และมีการกลายพันธุ์บริเวณหนามโปรตีนด้วย ทำให้วัคซีนบางชนิดไม่สามารถกันได้ นอกจากนั้นยังเป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายเชื้อได้อย่างรวดเร็วและกระจายไปยังทุกภูมิภาคทั่วโลก โอไมครอนเองก็เข้ามาไทยแล้วหลังจากพบการระบาดครั้งแรกในทวีปแอฟริกาใต้เพียงไม่กี่สัปดาห์
อาการของผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอน
การได้รับวัคซีนลดความร้ายแรงของโควิดโอไมครอน
โอไมครอน คือ ชื่อสายพันธุ์ของโควิด-19 ที่กำลังระบาดหนักอยู่ในช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน 2564 และยังคงมีการระบาดอยู่ในหลายพื้นที่ อาการหลัก ๆ ของไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนมีดังนี้
- มีไข้ต่ำ หรือไม่มีไข้เลย
ผู้ป่วยสายพันธุ์โอไมครอนมักไม่แสดงอาการ ผู้ป่วยหลายรายมีเพียงไข้ต่ำ ๆ และหลายรายไม่มีอาการไข้เป็นสัญญาณเตือนเลย
- อ่อนเพลีย มีเหงื่อออกตอนนอน
ผู้ป่วยมีอาการอ่อนเพลีย ต้องการนอนพักผ่อน และระหว่างที่นอนร่างกายจะมีการระบายความร้อนจนมีเหงื่อซึมตามผิวหนัง
- เจ็บคอและไอแห้ง
อาการเจ็บคอเป็นอาการที่พบในผู้ป่วยโอไมครอน โดยเป็นการไอแบบไม่มีเสมหะ บางรายมีเพียงอาการระคายคอเท่านั้น
- ปวดกล้ามเนื้อและข้อต่อ
อาการปวดเมื่อยล้าบริเวณข้อพับ ข้อต่อ และภายในกล้ามเนื้อเป็นอีกสัญญาณเตือนของผู้ป่วยโอไมครอน แต่อาการปวดไม่รุนแรงมาก เป็นการปวดอ่อน ๆ
- จมูกและลิ้นยังทำงานได้ปกติ
การทำงานของจมูกและลิ้นยังคงปกติ ผู้ป่วยสามารถรับรสชาติอาการได้และสามารถได้กลิ่นสิ่งต่าง ๆ รอบตัวได้เป็นปกติ
ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนแทบจะไม่แสดงอาการหรือแสดงอาการน้อยจนต้องมีการตรวจโควิดอย่างละเอียดเพื่อความแน่ใจ นอกจากนั้นความน่ากลัวอีกอย่างของสายพันธุ์โอไมครอนคือการลดประสิทธิภาพของวัคซีนลง โดยเฉพาะวัคซีนเชื้อตายจะไม่สามารถป้องกันได้ ควรใช้วัคซีนชนิด mRNA แต่จากข้อมูลของไฟเซอร์ระบุว่าต้องใช้ 3 เข็มจึงจะกันได้ โอไมครอนกับวัคซีนจึงยังคงต้องศึกษากันต่อไป แต่หากพิจารณาจากอาการป่วยที่ไม่ร้ายแรง โอกาสที่สายพันธุ์โอไมครอนจะทำให้โควิดกลายเป็นโรคประจำถิ่นก็มีสูง แต่เพื่อความไม่ประมาทควรมีการทำประกันภัยสุขภาพเอาไว้ แล้วตัดชำระเบี้ยประกันผ่านบัตรเครดิตเพื่อป้องกันประกันภัยขาด สำหรับเป็นตัวช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายหากเจ็บป่วยเป็นโควิด
ซื้อประกันภัยสุขภาพต้านโควิด ตัดผ่านบัตรได้แล้ววันนี้
การรับมือโควิดสายพันธุ์โอไมครอนในประเทศไทย
ประเทศไทย ประกาศเปิดประเทศไปเมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2564 ก่อนที่ WHO จะประกาศถึงการระบาดของไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนในวันที่ 24 พฤศจิกายน 2564 และผู้ติดเชื้อรายแรกในไทยก็เป็นนักท่องเที่ยวสัญชาติอเมริกันที่มาท่องเที่ยวผ่านแคมเปญ Test & Go Thailand ซึ่งเป็นการกระตุ้นการท่องเที่ยวโดยให้นักท่องเที่ยวในประเทศกลุ่มเสี่ยงต่ำที่ฉีดวัคซีนครบโดสแล้วสามารถมาท่องเที่ยวได้โดยไม่ต้องกักตัว แค่ลงทะเบียนและตรวจโควิด พร้อมรอผล 1 คืน หากผลเป็นลบก็สามารถท่องเที่ยวได้เลย การที่นักท่องเที่ยว Test & Go ติดโควิดสายพันธุ์โอไมครอน ทำให้ประเทศไทยต้องพิจารณาการรับนักท่องเที่ยวเข้าประเทศอีกครั้ง แต่จากสถานการณ์ล่าสุดยังคงมีการเปิดรับนักท่องเที่ยว ควบคู่กับการใช้มาตรการป้องกัน COVID-19 ที่เข้มงวดขึ้น และหากพิจารณาจากอาการของโรคที่ไม่รุนแรงมาก การปิดประเทศอาจยังไม่เกิดขึ้นเร็ว ๆ นี้ แต่จะเน้นไปที่การกระตุ้นให้คนในประเทศฉีดวัคซีน mRNA เพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่แทนและหวังว่าโควิดจะกลายเป็นโรคประจำถิ่นโดยเร็วที่สุด
โรคระบาดเป็นสิ่งที่ยากจะควบคุม เพราะเพิ่งอุบัติใหม่และมีข้อมูลการรักษาน้อย นอกจากการปฏิบัติตามนโยบายของรัฐอย่างเคร่งครัดแล้ว ควรสร้างหลักประกันความเสี่ยงให้ตนเองผ่านการทำประกันภัยสุขภาพที่ช่วยคุ้มครองเรื่องค่ารักษาพยาบาลเมื่อเป็นโควิดก็เป็นอีกวิธีใช้เงินที่เหมาะสมกับสถานการณ์นี้ สามารถเลือกชำระผ่านบัตรเครดิตเพื่อรับโปรโมชั่นบัตรเครดิต และป้องกันประกันภัยขาดอายุเพราะลืมจ่ายค่าเบี้ยประกัน การมีบัตรเครดิตสักใบบางทีก้คุ้มค่ามากกว่าที่คิด
คุ้มกว่าเมื่อซื้อประกันภัยสุขภาพผ่านบัตรเครดิตในช่วงโควิด
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี