จริงไหม แค่มี พ.ร.บ.รถยนต์ ก็พอแล้ว
รถยนต์ เป็นยานพาหนะที่หลายคนใช้ในชีวิตประจำวัน ทั้งเดินทางไปทำงาน ไปรับส่งบุตรหลาน หรือใช้ประกอบอาชีพ แต่อย่างที่ทราบกันดีว่าบนท้องถนนเป็นพื้นที่ที่สามารถเกิดเหตุไม่คาดฝันได้เสมอ ต่อให้ผู้ขับขี่ใช้ความระมัดระวังมากขนาดไหนก็ยังสามารถเกิดอุบัติเหตุได้ ไม่ว่าจะมีกิ่งไม้ตกลงมาโดยกระจกแตก ยางรั่วจนขับรถไปต่อไม่ได้ รถยนต์ไฟไหม้ หรือเกิดเหตุเฉี่ยวชน แน่นอนว่าเมื่อเกิดเหตุไม่คาดฝันขึ้นจะมี พ.ร.บ.รถยนต์ ที่ต้องต่ออายุในทุก ๆ ปีเข้ามาช่วยซัพพอร์ตค่าเสียหาย ค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ตามที่ระบุไว้ใน พ.ร.บ. ด้วยเหตุนี้พอถึงช่วงต้องต่อภาษีรถยนต์ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ ผู้ใช้รถหลายคนต่างสงสัยว่าจำเป็นอยู่ไหมที่ต้องทำประกันภัยรถยนต์เพิ่มเติม เพื่อไขข้อสงสัยดังกล่าว วันนี้พี่เบิ้มขอพาทุกคนไปหาคำตอบกัน
พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ประกันภัยรถยนต์ เหมือนหรือต่างกันยังไง
พ.ร.บ.รถยนต์ คืออะไร ให้ความคุ้มครองอะไรบ้าง
พ.ร.บ.รถยนต์ ย่อมาจากพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ประสบภัยจากรถยนต์ เป็นประกันภาคบังคับที่กฎหมายกำหนดให้ยานพาหนะที่จดทะเบียนกับกรมขนส่งทางบกทุกประเภทต้องมีไว้ เพื่อเป็นหลักประกันและให้ความคุ้มครองกับทุกคนที่สัญจรไปมาอยู่บนถนน ทั้งผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก หรือคนเดินถนนเมื่อเกิดอุบัติเหตุให้สามารถเข้ารับการรักษาได้อย่างทันท่วงที โดยความคุ้มครองที่จะได้รับจาก พ.ร.บ รถยนต์ มีรายละเอียดดังนี้
(1) ค่าเสียหายเบื้องต้น ได้รับโดยไม่ต้องรอพิสูจน์ความผิด
- กรณีบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับชดเชยเป็นค่ารักษาพยาบาล และค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการรักษาพยาบาลตามที่จ่ายจริง ไม่เกิน 30,000 บาท/คน
- กรณีสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร หากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ผู้ประสบภัยได้รับความเสียหายต่อร่างกายถึงขั้นสูญเสียอวัยวะหรือทุพพลภาพถาวร บริษัทประกันจะจ่ายค่าเสียหายเบื้องต้น จำนวน 35,000 บาท/คน
- กรณีเสียชีวิต ทายาทโดยธรรมของผู้ประสบภัยจะได้รับการชดใช้เป็นค่าปลงศพและค่าใช้จ่ายอันจำเป็นเกี่ยวกับการจัดการศพ จำนวน 35,000 บาท/คน
(2) ค่าเสียหายส่วนเกินหรือค่าสินไหมทดแทน เป็นค่าเสียหายหลังจากที่พิสูจน์แล้วว่าคุณไม่ได้เป็นฝ่ายผิด
- กรณีได้รับบาดเจ็บ ผู้ประสบภัยจะได้รับค่ารักษาพยาบาลตามจริง (มีหลักฐานการชำระเงิน เช่น ใบเสร็จรับเงิน) แต่ไม่เกิน 80,000 บาท/คน
- กรณีเสียชีวิต สูญเสียอวัยวะ หรือทุพพลภาพถาวร จะได้รับการชดใช้ค่าสินไหมทดแทนเป็นจำนวนสูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท/คน
- ค่าชดเชยรายวัน กรณีเข้ารักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน ภายในสถานพยาบาลจะได้รับค่าชดเชยรายวัน วันละ 200 บาท จำนวนรวมกันไม่เกิน 20 วัน
- จำนวนความรับผิดชอบรวมต่ออุบัติเหตุแต่ละครั้ง ไม่เกิน 504,000 บาท/คน
อุบัติเหตุไม่คาดฝันบนท้องถนนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ประกันภัยรถยนต์ คืออะไร คุ้มครองเรื่องใดบ้าง
เป็นประกันภาคสมัครใจที่ผู้ขับขี่บางคนเลือกทำเพื่อรับความคุ้มครองเพิ่มเติมจาก พ.ร.บ.รถยนต์ ซึ่งให้ความคุ้มครองเท่าที่กฎหมายกำหนด แต่ประกันภัยรถยนต์เข้ามาช่วยแบ่งเบาภาระในส่วนของค่ารักษาพยาบาลหรือการเสียชีวิตของผู้โดยสารในรถคันเอาประกัน บุคคลภายนอก และยังคุ้มครองความรับผิดต่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดแก่ทรัพย์สินของบุคคลภายนอก และความเสียหายของตัวรถยนต์ รวมถึงอุปกรณ์ เครื่องตกแต่ง และส่วนควบที่ติดประจำอยู่กับตัวรถยนต์ ที่สำคัญกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ยังคุ้มครองครอบคลุมไปถึงกรณีรถยนต์เกิดไฟไหม้และสูญหายจากการถูกลักทรัพย์ ชิงทรัพย์ ปล้นทรัพย์ และยักยอกทรัพย์
ความแตกต่างระหว่าง พ.ร.บ.รถยนต์ กับ ประกันรถยนต์
จะเห็นได้ว่า พ.ร.บ.รถยนต์ เป็นประกันภาคบังคับตามกฎหมายที่ยานพาหนะทางบกทุกคันต้องมี และให้ความคุ้มครองเฉพาะตัวผู้ขับขี่ตามวงเงินคุ้มครองที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น ไม่รับผิดชอบความเสียหายที่เกิดขึ้นกับตัวรถ ซึ่งแตกต่างจากประกันภาคสมัครใจอย่างประกันภัยรถยนต์ที่ให้ความคุ้มครองครอบคลุมทั้งตัวรถ ผู้ขับขี่ ผู้โดยสาร บุคคลภายนอก และความเสียหายที่เกิดจากอุบัติเหตุหรือสาเหตุอื่นตามกรมธรรม์ สำหรับวงเงินคุ้มครองขึ้นอยู่กับแผนประกันที่เลือกทำ มาถึงตรงนี้ต้องบอกว่า ประกันภัยรถยนต์น่าสนใจเป็นอย่างมาก เพราะเข้ามาซัพพอร์ตค่ารักษาพยาบาล ค่าเสียหาย และค่าชดเชยต่าง ๆ ที่ พ.ร.บ.รถยนต์ ไม่ได้ให้ความคุ้มครองนั่นเอง
ประกันรถยนต์ ควรทำไหม ถ้าไม่ทำมีผลอย่างไร
สำหรับใครที่คิดว่าตนมีความชำนาญเพราะขับรถมาหลายปีแบะไม่เคยเกิดเหตุเฉี่ยวชน จึงตัดสินใจไม่ทำประกันภัยรถยนต์ ขอบอกว่าคุณอาจคิดผิดเนื่องจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเกิดขึ้นได้ตลอดเวลา ต่อให้คุณไม่ประมาทแต่ถ้าเพื่อนร่วมทางขาดความระมัดระวังย่อมมีโอกาสเกิดเหตุรถชนได้เช่นกัน และถ้าเป็นอุบัติเหตุใหญ่โตที่เกินวงเงินคุ้มครองของ พ.ร.บ.รถยนต์ ทั้งมูลค่าความเสียหายสูงเกินวงเงินในบัญชีที่มีอยู่ การไปหยิบยืมเงินคนอื่น ๆ มาชดใช้ค่าเสียหายให้คู่กรณีอาจไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ถ้าทำประกันภัยรถยนต์เพิ่มเติมช่วยให้ผู้ขับขี่มีเงินมาอุดรอยรั่วของประกันรถยนต์ภาคบังคับ ฉะนั้นแนะนำให้ทำประกันรถยนต์ติดไว้ เพื่อเสริมความอุ่นใจยามขับรถออกจากบ้าน
ยิ่งใกล้วันหยุดสงกรานต์ช่วงเวลาที่เกิดอุบัติเหตุทางถนนจำนวนมาก และเพื่อลดจำนวนผู้บาดเจ็บและเสียชีวิต ทางศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน (ศปถ.) ได้กำหนด 7 วันอันตรายขึ้นมาเพื่อให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวด พร้อมเป็นการเน้นย้ำกับประชาชนให้ขับขี่อย่างปลอดภัย ไม่เมาแล้วขับ รวมถึงการเช็กสภาพรถยนต์หรือรถจักรยานยนต์ให้พร้อมออกก่อนเดินทางไกล ทั้งเน้นย้ำให้ผู้ขับขี่ตรวจสอบว่ามีการต่อภาษีรถยนต์ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และประกันภัยรถยนต์เรียบร้อยหรือยัง เพื่อเสริมความมั่นใจว่าการเดินทางกลับภูมิลำเนาหรือท่องเที่ยวช่วง 7 วันอันตราย สงกรานต์ 2566 ถ้าเกิดเหตุไม่คาดฝันบริษัทประกันภัยเข้ามาช่วยเคลียร์และซัพพอร์ตค่ารักษาพยาบาล ค่าซ่อมรถ หรือค่าชดเชยกรณีเสียชีวิต ทำให้คุณไม่ต้องแบกภาระหนักเกินไป
ทำไมควรต่อประกันภัยรถยนต์ ก่อนจำนำรถ
ทำประกันภัยรถยนต์อุ่นใจเมื่ออยู่บนท้องถนน
สำหรับคนมีรถปลอดภาระที่วางแผนยื่นขอสินเชื่อจำนำทะเบียนรถแบบไม่โอนเล่ม แล้วลังเลไม่รู้ว่าควรทำประกันภัยรถยนต์ดีหรือไม่ ? คำตอบคือ ควรต่อประกันภัยรถยนต์ก่อนจำนำรถ โดยเฉพาะผู้ที่สนใจสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน เนื่องจากมีเงื่อนไขกำหนดไว้ชัดเจนว่า ผู้ขอสินเชื่อต้องนำสำเนากรมธรรม์ประกันภัยมายื่นกับผู้ให้บริการสินเชื่อด้วย หมายความว่าเวลาสมัครสินเชื่อกับพี่เบิ้ม นอกจากเอกสารยืนยันตัวตน เอกสารแสดงรายได้ อาชีพค้าขายหรือพนักงานบริษัท เล่มทะเบียนรถตัวจริง ยังต้องยื่นสำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ที่ทำไว้ เพื่อประกอบการพิจารณาอนุมัติสินเชื่อรถแลกเงินด้วย ฉะนั้นถ้าประกันภัยรถยนต์ใกล้หมดอายุ แนะนำให้รีบไปต่อให้เรียบร้อยเพื่อให้การเปลี่ยนรถเป็นเงินเป็นไปอย่างราบรื่น ได้เงินมาหมุนใช้ทันความต้องการ
จำนำเล่มทะเบียนรถยนต์ ที่ไหนดี ? ให้วงเงินสูง รู้ผลอนุมัติไว
คนมีรถที่กำลังประสบปัญหาเงินตึงมือ ชักหน้าไม่ถึงหลัง หรือมีเหตุให้ต้องใช้เงินด่วนเพื่อนำไปจ่ายค่ารักษาพยาบาล ค่าต่อเติมบ้าน ชำระค่าเทอมบุตรหลานหรือค่าเทอมปริญญาโทของตนเอง ขอแนะนำ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บริการสินเชื่อแบบไม่โอนเล่มที่เปิดให้ทุกอาชีพสมัครสินเชื่อ เพื่อนำเงินมาใช้จ่ายตามความต้องการโดยยังมีรถไว้ใช้งานเหมือนเดิม นอกจากนี้สินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ยังมีจุดเด่นที่น่าสนใจ คือ เมื่อส่งเอกสารครบรู้ผลอนุมัติไวภายใน 1 ชั่วโมง ไม่ต้องใช้คนค้ำประกัน ไม่ต้องโอนเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองกรรมสิทธิ์ คิดดอกเบี้ยแบบลดต้นลดดอกเริ่มต้นเพียง 0.98% ต่อเดือน ทั้งสามารถผ่อนรายเดือนได้นานถึง 84 เดือน รวมถึงรับบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้ม ไว้ใช้ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยสามารถกดเงินจากตู้ ATM ได้ตลอด 24 ชั่วโมงแบบไม่มีค่าธรรมเนียม รวมถึงรูดซื้อสินค้าที่ร้านค้าที่ร่วมรายการและโอนเงินสดเข้าบัญชี หากคุณต้องการเงินก้อนใหญ่มาใช้จ่าย
สินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน
คุณสมบัติผู้สมัคร
- สัญชาติไทย อายุ 20 – 65 ปี
- รายได้ขั้นต่ำ 8,000 บาทต่อเดือน (กรณีเจ้าของกิจการ มียอดขายต่อเดือนไม่ต่ำกว่า 30,000 บาท)
- ประสบการณ์ทำงานไม่ต่ำกว่า 4 เดือน (กรณีเจ้าของกิจการต้องดำเนินธุรกิจไม่ต่ำกว่า 6 เดือน)
- มีรถยนต์ รถกระบะ รถตู้เป็นชื่อของตนเอง โดยถือครองเล่มทะเบียนไม่ต่ำกว่า 6 เดือน
เอกสารที่ต้องเตรียม
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- เอกสารแสดงรายได้ เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน หรือสลิปเงินเดือนล่าสุด (ฉบับจริง) หรือหนังสือรับรองการหักภาษี ณ ที่จ่าย ทวิ 50 หรือเอกสารแสดงการประกอบอาชีพ
- สำเนาเอกสารแสดงรายการเดินบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน
- สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีธนาคารกรุงไทย ธนาคารกสิกรไทย หรือธนาคารกรุงเทพ
- ทะเบียนรถเล่มจริง และมีชื่อผู้กู้เป็นเจ้าของ
- สำเนากรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์ตามเงื่อนไข
โดยผู้สนใจสามารถยื่นเรื่องขอสินเชื่อได้ด้วยตัวเองผ่านช่องทางออนไลน์บนเว็บไซต์ KTC หลังกรอกข้อมูลเรียบร้อย จากนั้นรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ เพื่อนัดหมายวันเวลาให้พี่เบิ้ม Delivery เข้าไปตรวจเช็กสภาพรถยนต์ถึงหน้าบ้าน หรือเตรียมเอกสารให้พร้อมแล้วเดินทางไปสมัครด้วยตนเองที่จุดบริการ KTC TOUCH สาขาใกล้บ้าน
หากคุณมีเหตุให้ต้องใช้เงินด่วนและกำลังมองหาแหล่งเงินกู้ของคนมีรถ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ถือเป็นทางออกที่ตอบโจทย์คนมีรถปลอดภาระ นอกจากไม่ต้องโอนเปลี่ยนชื่อผู้ครอบครองไปเป็นผู้ให้บริการสินเชื่อ ยังให้วงเงินใหญ่เบิ้มมาเสริมสภาพคล่องในชีวิตประจำวันในเวลาอันรวดเร็ว ฉะนั้นถ้าตกอยู่ในสถานการณ์ยากลำบากอย่าลืมนึกถึงพี่เบิ้ม เพื่อนแท้ที่พร้อมอยู่เคียงข้างคุณในทุกเวลา