แนะนำวิธีการดูแลสุขภาพจิตฉบับคนทำวัยทำงาน เริ่มต้นได้ด้วยตัวคุณเอง!
ความกดดันที่หลาย ๆ คนต้องแบกรับทั้งจากสภาพสังคมและสถานการณ์เศรษฐกิจ ทำให้ในปัจจุบันนี้พบเจอผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่ของคนวัยทำงานหรือผู้ที่กำลังสร้างเนื้อสร้างตัว เนื่องจากเป็นช่วงวัยที่ต้องเผชิญกับแรงกดดันมหาศาลจากสถานที่ทำงาน รวมถึงเป็นช่วงวัยที่มีความกังวลเกี่ยวกับวิธีเก็บเงินค่อนข้างมากที่สุด
อย่างไรก็ตาม ปัญหาสุขภาพจิตเป็นปัญหาที่ไม่ควรละเลยหรือปล่อยทิ้งไว้เป็นระยะเวลานาน เพราะปัญหาสุขภาพจิตสามารถส่งผลกระทบต่อสิ่งต่าง ๆ ในชีวิตประจำวันได้ไม่น้อยเลยทีเดียว ดังนั้นวันนี้เราจะมาแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพจิตของคนวัยทำงาน เพื่อให้คุณได้ลองสังเกตตัวเองและดูแลสุขภาพจิตได้อย่างทันท่วงที
เลือกอ่านตามหัวข้อ
สุขภาพจิตสำคัญอย่างไร
สุขภาพจิต (Mental health) คือสภาวะทางจิตใจที่มีความสำคัญไม่น้อยไปกว่าสุขภาพกายเลยทีเดียว ไม่ว่าจะเป็นความรู้สึก, ความนึกคิด, การตัดสินใจ หรือความสัมพันธ์กับบุคคลรอบข้าง แม้ความหมายของสุขภาพจิตจะกล่าวถึงสภาพจิตใจเป็นหลัก แต่ในความเป็นจริงแล้วสุขภาพจิต ยังอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตและสุขภาพร่างกายได้อีกด้วย
5 ปัญหาสุขภาพจิตที่มักพบในวัยทำงาน มีอะไรบ้าง
ปัญหาสุขภาพจิตมีอะไรบ้างในหมู่คนวัยทำงาน? อย่างที่เรารู้กันดีว่าวัยทำงานคือช่วงอายุที่ต้องแบกรับแรงกดดันอันมหาศาล จนเกิดความเครียดและกลายเป็นปัญหาสุขภาพจิตในอนาคต เพราะปัจจุบันนี้ไม่เพียงแค่มีสถานการณ์เศรษฐกิจที่น่ากังวลเท่านั้น แต่ยังมีเรื่องของการเปรียบเทียบทางสังคม, มีอัตราการแข่งขันที่สูงขึ้น, มีความคาดหวังที่จะได้ทำอาชีพในฝัน และมีแรงกดดันจากการทำงานอีกนับไม่ถ้วนที่เป็นปัจจัยที่มีผลต่อสุขภาพจิต
โดยปัญหาสุขภาพจิตที่สามารถพบเจอได้มากในหมู่คนวัยทำงานมีดังต่อไปนี้
1. ภาวะหมดไฟในการทำงาน
ปัญหาสุขภาพจิตที่พบบ่อยและเจอมากที่สุดในหมู่คนวัยทำงานก็คือภาวะหมดไฟ หรือ ‘Burnout Syndrome’ นั่นเอง โดยอาการของภาวะหมดไฟนั้นจะสามารถสังเกตได้ว่ามุมมองที่มีต่อการทำงานเปลี่ยนไปในทางลบ ไม่มีแรงจูงใจในการทำงาน และทำงานอย่างไม่มีความสุข ซึ่งภาวะหมดไฟเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่มักเกิดขึ้นจากการแบกรับภาระงานที่หนักเกินไปหรือมีความเครียดสะสมจากการทำงานเป็นระยะเวลานาน
2. ภาวะเครียดสะสม
ภาวะเครียดสะสมคือปัญหาสุขภาพจิตที่หลาย ๆ คนเป็นกันโดยที่ไม่รู้ตัว ทว่าคุณสามารถสังเกตตัวเองว่ามีภาวะเครียดสะสมได้จากความเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมการดำเนินชีวิตและอารมณ์ความรู้สึกต่าง ๆ ยกตัวอย่างเช่น การตื่นกลางดึก, ความต้องการทางเพศลดน้อยลง, รู้สึกเบื่อกับชีวิต เกิดอารมณ์เศร้าหมอง หรือมีอาการนอนไม่หลับ เป็นต้น
ซึ่งภาวะเครียดสะสมเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นจากการได้รับความกดดันหรือเกิดความเครียดติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ที่สำคัญนอกจากความเครียดจะส่งผลต่อสุขภาพจิตโดยตรงแล้ว ความเครียดส่งผลต่อสุขภาพกายด้วยเช่นเดียวกัน
3. ภาวะซึมเศร้า
ภาวะซึมเศร้าหรือ ‘Depression’ คือปัญหาสุขภาพจิตที่มีความรุนแรงของอาการตั้งแต่ระดับเบาไปจนถึงระดับรุนแรงที่อาจอันตรายถึงแก่ชีวิต ซึ่งอาการโดยทั่วไปของภาวะซึมเศร้านั้นจะมีทั้งอารมณ์เศร้าหมอง, หดหู่กับชีวิต, เก็บตัวอยู่กับตัวเอง, เบื่อหน่ายกับทุกสิ่งแม้แต่สิ่งที่เคยทำให้มีความสุข หรือทำร้ายร่างกายตัวเอง
โดยภาวะซึมเศร้าเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากสารสื่อประสาทภายในสมองขาดความสมดุล อันเนื่องมาจากความเครียด, ความกดดัน, สิ่งแวดล้อม, สภาพของสังคม รวมไปถึงพันธุกรรม
4. ภาวะความมั่นใจในตัวเองต่ำ
อีกหนึ่งปัญหาสุขภาพจิตที่หลาย ๆ คนอาจเป็นทั้งที่ยังไม่รู้ตัวก็คือภาวะความมั่นใจในตัวเองต่ำหรือ ‘Low Self Esteem’ โดยภาวะความมั่นใจในตัวเองต่ำเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดขึ้นจากการขาดความมั่นใจหรือขาดความเชื่อมั่นในตัวเองจนถูกสะสมไว้เป็นระยะเวลานาน
ซึ่งอาการของภาวะความมั่นใจในตัวเองต่ำจะสามารถสังเกตได้จากความวิตกกังวลต่อการยอมรับของสังคม, หวาดกลัวการไม่ถูกยอมรับจากผู้อื่น, ตีความเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในแง่ลบ รวมถึงเกิดอารมณ์อ่อนไหวกับทุกเรื่องแม้แต่เรื่องเล็ก ๆ น้อย ๆ
5. ภาวะวิตกกังวล
ภาวะวิตกกังวลหรือที่เรียกกันอีกชื่อว่าโรคแพนิค ‘Panic’ ปัญหาสุขภาพจิตที่สามารถเกิดอาการร่วมได้หลายอย่างด้วยกัน เช่น หายใจแรง, หัวใจเต้นรัว, ใจสั่น, เหงื่อออกเยอะ, วิงเวียนศีรษะ, อาเจียน, ตัวชา, หวาดกลัวสิ่งรอบตัว หรือคุมตัวเองไม่ได้ เป็นต้น โดยภาวะวิตกกังวลเป็นปัญหาสุขภาพจิตที่เกิดจากความตึงเครียดและความกดดันไปกระตุ้นให้การทำงานของระบบประสาทอัตโนมัติมีความผิดปกติ
สาเหตุและที่มาของปัญหาสุขภาพจิต
1. สาเหตุและความเสี่ยงที่อาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพจิต
โดยทั่วไปแล้วปัญหาสุขภาพจิตมักเกิดขึ้นเมื่อได้รับผลกระทบทางจิตใจหรือสะสมอารมณ์ความรู้สึกเอาไว้เป็นระยะเวลานาน ซึ่งสิ่งที่มีส่วนในการกระตุ้นหรือเป็นสาเหตุของปัญหาสุขภาพจิตนั้นมีอยู่มากมาย ไม่ว่าจะเป็นแรงกดดันในสถานที่ทำงาน, สภาพสังคมที่มักมีการเปรียบเทียบอยู่เสมอ, ขาดสภาพคล่องทางการเงิน, ความเครียดจากสถานการณ์ต่าง ๆ รวมไปถึงการขาดความมั่นใจในตัวเองได้ง่าย
2. อาการและจุดสังเกตเมื่อเกิดปัญหาสุขภาพจิต
ปัญหาสุขภาพจิตนั้นคุณสามารถสังเกตตัวเองหรือให้คนรอบข้างช่วยสังเกตได้จากความเปลี่ยนแปลงไปของพฤติกรรมต่าง ๆ และถึงแม้ว่าอาการที่สามารถสังเกตเห็นได้ในผู้ที่มีสุขภาพจิตไม่ดีจะมีความแตกต่างกันไปตามภาวะสุขภาพจิตที่เป็น แต่ทั้งนี้ผู้ที่มีปัญหาสุขภาพจิตภาวะต่าง ๆ เองก็มีอาการที่เป็นจุดร่วมกันอยู่บ้าง เช่น พฤติกรรมการดำเนินชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไป หรือมีมุมมองการใช้ชีวิตที่เปลี่ยนไปในทางลบ เป็นต้น
แนะนำวิธีดูแลสุขภาพจิตสำหรับวัยทำงาน
1. ทำงานอดิเรก ผ่อนคลายความเครียด
ในช่วงเวลาที่ว่างจากการทำงานหรือในเวลาที่เกิดความเครียดขึ้น การได้ทำกิจกรรมต่าง ๆ อย่างงานอดิเรกที่ชื่นชอบเองก็เป็นหนึ่งในวิธีดูแลสุขภาพจิตที่ได้ผลดีไม่น้อย เพราะการทำงานอดิเรกจะทำให้คุณหยุดคิดถึงเรื่องปัญหาในชีวิตที่กำลังกังวล และผ่อนคลายความเครียดได้ในช่วงเวลาหนึ่ง ซึ่งการได้ทำในสิ่งที่มีความสุขนั้น แม้จะเป็นเพียงช่วงเวลาสั้น ๆ แต่ก็ช่วยให้อารมณ์ความรู้สึกของคุณเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้นได้ นอกจากนี้การทำงานอดิเรกยังเป็นกิจกรรมที่ช่วยให้คุณได้รู้ถึงจุดแข็งจุดอ่อนใหม่ ๆ ของตัวเองอีกด้วย
2. หาแรงบันดาลใจในการทำงาน
ปัญหาสุขภาพจิตในวัยทำงานอย่างภาวะหมดไฟนั้นสามารถรักษาหรือดูแลให้ดีขึ้นได้ด้วยการค้นหาแรงบันดาลใจในการทำงานให้กับตัวเอง เนื่องจากการค้นพบแรงบันดาลใจในการทำงานของตัวเองจะทำให้คุณมองเห็นเป้าหมายได้อย่างชัดเจนและมีความกระตือรือร้นต่อการทำงานมากยิ่งขึ้น
โดยการค้นหาแรงบันดาลใจในการทำงานสามารถทำได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการได้ลองทำสิ่งใหม่ ๆ การเดินทางไปยังสถานที่แปลกตา การเปลี่ยนมุมมองชีวิต รวมไปถึงการหาบุคคลต้นแบบมาเป็นแรงบันดาลใจในการทำงาน
3. เลือกใช้วันหยุดพักผ่อน
ไม่ว่าจะเป็นปัญหาสุขภาพจิตภาวะใดก็สามารถดูแลให้อยู่ในระดับที่ดีขึ้นได้ด้วยการใช้เวลาในช่วงวันหยุดไปกับการพักผ่อน การเลือกลาพักร้อนเพื่อใช้เวลาพักผ่อนอย่างสงบตามแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติต่าง ๆ หรือการท่องเที่ยวพักผ่อนร่วมกับเพื่อน ๆ ก็ตาม เพราะว่าการได้ใช้วันหยุดเพื่อพักผ่อนสบาย ๆ จะช่วยผ่อนคลายความเครียดและดูแลปัญหาทางจิตใจได้เป็นอย่างดี ทั้งยังสามารถทำให้จิตใจที่ฟุ้งซ่านสงบลงได้อีกด้วย
4. สร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน
การได้ทำงานอย่างราบรื่นไป และการมีสุขภาพจิตที่ดีนั้นเพียงแค่ขอพรเรื่องงานกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์อาจจะยังไม่พอ เพียงแค่คุณรักษาความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงานเอาไว้ก็ช่วยได้มากแล้ว เนื่องจากการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงานเป็นวิธีดูแลสุขภาพจิตของคนวัยทำงานที่สามารถแก้ปัญหาได้อย่างตรงจุด เพราะการมีความสัมพันธ์อันดีกับเพื่อนร่วมงานซึ่งอาจเป็นปัจจัยหลักของความกดดันและเสียสุขภาพจิตในสถานที่ทำงานนั้น ถือได้ว่าเป็นการแก้ปัญหาสุขภาพจิตที่ต้นเหตุเลยทีเดียว
ที่สำคัญ เมื่อมีความสัมพันธ์ที่ดีกับเพื่อนร่วมงาน นอกจากคุณจะสามารถขอความช่วยเหลือเมื่อต้องเผชิญกับภาระงานที่ยากลำบากได้แล้ว คุณยังอาจมีโอกาสพบเจอเพื่อนร่วมงานที่จริงใจให้คุณได้พูดคุยเพื่อระบายความรู้สึกอึดอัดต่าง ๆ ได้อีกด้วย
5. ดูแลสุขภาพกาย
เมื่อพูดถึงการดูแลสุขภาพจิตแล้ว หลาย ๆ คนมักละเลยการดูแลตัวเองด้านสุขภาพกาย ทั้งที่ความจริงแล้วสุขภาพกายเองก็ส่งผลต่อสุขภาพจิตเช่นกัน เนื่องจากเมื่อคุณมีสุขภาพกายที่ดี ไม่เพียงแค่จะทำให้คุณรู้สึกสดชื่นอยู่เสมอเท่านั้น แต่ยังช่วยให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายทำงานได้เป็นปกติอีกด้วย
ดังนั้นหากต้องการให้สุขภาพจิตดียิ่งขึ้น ก็ควรดูแลสุขภาพกายด้วยการเลือกรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ พักผ่อนอย่างเพียงพอ และออกกำลังกายอยู่เสมอ เพราะถึงแม้ว่าคุณจะประกอบอาชีพเงินเดือนหลักแสน แต่ถ้าหากละเลยการดูแลสุขภาพกายไป สุขภาพจิตของคุณเองก็อาจย่ำแย่ลงได้เช่นเดียวกัน
6. หาโอกาสปรึกษาจิตแพทย์
การเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์เป็นอีกหนึ่งวิธีการดูแลสุขภาพจิตที่ดีทีเดียว เพราะการได้พูดคุยหรือปรึกษากับจิตแพทย์โดยตรงนั้นจะทำให้คุณสามารถจัดการกับอารมณ์ความรู้สึกและความนึกคิดได้ดียิ่งขึ้น ทั้งยังช่วยให้สามารถรับมือกับอาการของปัญหาสุขภาพจิตได้ดี รู้วิธีจัดการกับความเครียดของตัวเองได้อย่างเหมาะสม รวมถึงได้รู้สาเหตุปัญหาสุขภาพจิตของตัวเองได้อีกด้วย
สุขภาพจิตสำคัญกว่าที่คุณคิด อย่าละเลยก่อนสายเกินไป
การทำงาน การดำเนินชีวิต หรือความแข็งแรงของสุขภาพร่างกาย ล้วนแล้วแต่เกี่ยวข้องกับสุขภาพจิตทั้งสิ้น ดังนั้นสุขภาพจิตจึงเป็นสิ่งที่ควรดูแลและให้ความสำคัญไม่น้อยไปกว่าด้านอื่น ๆ โดยการมีสุขภาพจิตที่ดีสามารถดูแลได้หลายวิธีด้วยกัน ไม่ว่าจะเป็นการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้อื่น การพักผ่อนในวันหยุด การค้นหาแรงบันดาลใจ การดูแลสุขภาพกาย การได้ทำงานอดิเรกที่ชื่นชอบ รวมไปถึงการเข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ เพื่อแก้ปัญหา Pain Point ที่ตัวเองมี
ทว่าการดูแลสุขภาพจิตหลาย ๆ วิธีเองก็จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนหนึ่งเช่นกัน แต่ก็ไม่ต้องกังวลไป ขอเพียงแค่มีบัตรกดเงินสด KTC PROUD คุณก็สามารถเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินเมื่อต้องใช้จ่ายไปกับการดูแลสุขภาพกายและสุขภาพจิตได้ง่าย ๆ เพราะบัตรกดเงินสด KTC PROUD มีข้อดีมากมายที่ครบจบในบัตรใบเดียว เช่น กดเงินสดฉุกเฉินจากตู้ ATM ทั่วประเทศ โอนเงินเข้าบัญชีธนาคารได้ตลอด 24 ชั่วโมง หรือซื้อผ่อนสินค้า รูดซื้อสินค้าที่หน้าร้านค้าหรืออนไลน์
บัตรกดเงินสด KTC PROUD ช่วยให้คุณดูแลสุขภาพจิตได้อย่างไร้กังวล
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี