ชวนรู้จักสินเชื่อออนไลน์ นวัตกรรมทางการเงินที่คนรุ่นใหม่ต้องเลือกใช้ให้เป็น!
เชื่อว่าทุกคนคงรู้จักการขอสินเชื่อรูปแบบต่าง ๆ เป็นอย่างดี ไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อธุรกิจ สินเชื่อบ้าน หรือแม้แต่สินเชื่อที่ไม่มีหลักทรัพย์ค้ำประกันอย่างบัตรกดเงินสด และปัจจุบันเทคโนโลยีทางการเงินพัฒนาไปไกล จนสามารถขอสินเชื่อออนไลน์ได้ผ่านปลายนิ้วสัมผัส
แล้วสินเชื่อออนไลน์แตกต่างกับสินเชื่ออื่น ๆ อย่างไร? ด้วยเหตุนี้เราจึงรวบรวมข้อมูลน่าสนใจให้คุณขอสินเชื่อออนไลน์ได้ก่อนใคร เพื่อเป็นตัวช่วยแก้ปัญหาเงินไม่พอใช้ ให้ธุรกิจมีสภาพคล่อง รับรองว่าพนักงานเงินเดือน และเจ้าของกิจการเข้าถึงแหล่งเงินด่วนได้ไม่ต้องง้อสินเชื่อนอกระบบ!
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- สินเชื่อออนไลน์คืออะไร ทำความรู้จักก่อนเลือกกู้
- สินเชื่อออนไลน์ปลอดภัยหรือไม่? มีข้อควรระวังอะไรบ้าง?
- 7 ประเภทสินเชื่อออนไลน์ ที่มือใหม่ควรทราบ
- ใครบ้างที่สามารถกู้สินเชื่อออนไลน์ได้?
- รู้จักกับขั้นตอนการขอสินเชื่อออนไลน์บัตรกดเงินสด
- รู้จักกับ 3 ข้อดีของการยื่นกู้สินเชื่อออนไลน์
- ข้อจำกัดของสินเชื่อออนไลน์ที่น่ารู้!
- สินเชื่อออนไลน์วางแผนบริหารให้ดี ก็ช่วยหมุนสภาพคล่อง ปลดหนี้นอกระบบได้
สินเชื่อออนไลน์คืออะไร ทำความรู้จักก่อนเลือกกู้
สินเชื่อออนไลน์ (Digital Lending) คือ สินเชื่อที่ผู้กู้ดำเนินการผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นแอปพลิเคชันโมบายแบงก์กิ้ง เว็บไซต์ หรือ แพลตฟอร์มโซเซียลมีเดีย โดยไม่ต้องเดินทางไปทำเรื่องถึงสาขาของสถาบันการเงินให้เสียเวลา
คุณสามารถสมัคร, กรอกเอกสาร, ส่งเอกสารตามที่กำหนด รวมไปถึงรับทราบผลการอนุมัติสินเชื่อผ่านช่องทางออนไลน์ได้แบบครบวงจร ช่วยให้ผู้มีรายได้น้อย ไม่มีเงินจ่ายค่าเดินทางมายังสาขาของสถาบันการเงิน เข้าถึงแหล่งบริการเงินด่วนได้สะดวก รวดเร็ว และเป็นแหล่งเงินทุนต่อยอดธุรกิจไปปลดหนี้ รวมทั้งชำระค่าใช้จ่ายฉุกเฉินในชีวิตประจำวันได้
สินเชื่อออนไลน์ปลอดภัยหรือไม่? มีข้อควรระวังอะไรบ้าง?
มือใหม่ที่สมัครสินเชื่อออนไลน์ครั้งแรกคงสงสัยว่าปลอดภัยแค่ไหน เพราะทุกวันนี้มีข่าวมิจฉาชีพหลอกให้ดาวน์โหลดแอปนอก Play Store และ App Store อยู่เป็นประจำ เพราะฉะนั้นการศึกษาข้อมูลของสินเชื่อถูกกฎหมายอย่างละเอียดรอบคอบก่อนทำสัญญากู้จึงเป็นส่วนสำคัญ ที่จะไม่ทำให้คุณตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ
หากอยากทราบว่าผู้ให้บริการสินเชื่อออนไลน์เป็นผู้ได้รับอนุญาตถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ ?สามารถตรวจสอบได้จากรายชื่อผู้ที่ได้รับอนุญาตให้บริการจากเว็บไซต์ของธนาคารแห่งประเทศไทย และกระทรวงการคลัง หรือเช็กข้อมูลดังต่อไปนี้ด้วยตนเอง
1.ดอกเบี้ยสูง
ตามกฎหมายแล้วหากไม่ใช่สินเชื่อพิโกไฟแนนซ์ที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลัง จะคิดดอกเบี้ยได้สูงสุดไม่เกิน 36% ต่อปี หากคุณเจอสินเชื่อออนไลน์แอปใดที่เสนออัตราดอกเบี้ย 50% ต่อปี หรือ 150% ต่อปี ให้สันนิษฐานได้เลยว่าเป็นแอปผิดกฎหมายแน่นอน
2.กำหนดให้ฝากเงินเข้าไปก่อน
สินเชื่อออนไลน์ไม่ได้กำหนดให้ผู้กู้ต้องฝากเงินเข้าไปก่อนถึงจะยื่นขอสินเชื่อได้ ดังนั้นหากคุณพบเจอแอปที่ระบุเงื่อนไขให้ฝากเงินเข้าไป ก็เข้าข่ายเป็นแอปที่ผิดกฎหมายได้เช่นกัน
3.ระยะเวลาชำระคืนเร็วเกินไป
สินเชื่อออนไลน์ผิดกฎหมาย มักกำหนดให้ผู้ขอสินเชื่อจ่ายเงินคืนรายวัน และอาจมีบางครั้งที่ต้องคืนเงินรายชั่วโมง เมื่อผู้ขอสินเชื่อหาเงินมาชำระคืนไม่ทันก็จะโทรมาข่มขู่คุกคาม พร้อมเสนอวงเงินกู้ก้อนใหม่ที่คิดอัตราดอกเบี้ยสูงใกล้เคียงกับสินเชื่อก้อนเก่า ทำให้เกิดเป็นวัฏจักรหนี้เรื้อรังตามมา
7 ประเภทสินเชื่อออนไลน์ ที่มือใหม่ควรทราบ
เมื่อทราบกันไปแล้วว่าต้องเลือกสินเชื่อออนไลน์อย่างไรให้ปลอดภัย ก็มาทำความรู้จักกับ 7 ประเภทของ Digital Lending ต่อไปนี้กันได้เลย
1. ประเภท E-Commerce and Social Media
การขอสินเชื่อออนไลน์ไม่ได้จำกัดว่าสถาบันการเงินเท่านั้นจะปล่อยสินเชื่อได้ เพราะแพลตฟอร์มซื้อขายของออนไลน์อย่าง E-commerce และ Social Media ที่คุณใช้งานอยู่ก็ปล่อยสินเชื่อได้เช่นกัน เนื่องจากมีการเก็บข้อมูลส่วนบุคคลอยู่เสมอ แพลตฟอร์มเหล่านี้จึงทราบว่าคุณมีพฤติกรรมใช้จ่ายอย่างไร ทำให้ประเมินได้ว่าปล่อยสินเชื่อแล้วจะได้รับเงินต้นคืน ไม่กลายเป็นหนี้สูญ รวมไปถึงยังสามารถแปลงเป็นเครดิตเพื่อหมุนเวียนใช้จ่ายภายในแพลตฟอร์มได้
2. ประเภท Marketplace Platform
สินเชื่อออนไลน์รูปแบบดังกล่าวจะช่วยให้บริษัท หรือร้านค้า SMEs ขนาดเล็ก มีโอกาสพบเจอกับผู้ปล่อยสินเชื่อรายใหญ่ที่มีเงินทุนจำนวนมาก ทำให้ขอสินเชื่อวงเงินหลักล้าน เพื่อขยายโรงงานได้ ในขณะที่สินเชื่อออนไลน์รูปแบบอื่น จะเหมาะกับรายย่อยที่ทำธุรกิจขนาดเล็กมากกว่า
3. ประเภท Mobile Money Lender
การที่ทุกคนมีสมาร์ตโฟนอยู่ในมือ ทำให้ค่ายมือถือทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อให้แก่ผู้ใช้บริการได้เช่นกัน โดยการจับมือเป็นพันธมิตรกับสถาบันการเงิน เพื่อขอข้อมูลผู้กู้ว่ามีประวัติการชำระเงินอย่างไรบ้าง ส่งผลให้ค่ายมือถือออกผลิตภัณฑ์ทางการเงินร่วมกันกับสถาบันการเงินได้ เช่น บัตรเครดิต หรือแม้แต่ บัตรผ่อนสินค้า
4. ประเภท Tech-Enabled Lender
ในอดีตการพิจารณาปล่อยสินเชื่อจะใช้เจ้าหน้าที่วิเคราะห์เพียงอย่างเดียว แต่ล่าสุดสถาบันการเงินได้นำ AI มาร่วมประเมินข้อมูลทางการเงินต่าง ๆ เช่น การออม การใช้จ่าย หนี้สิน เพื่อวิเคราะห์ว่าผู้ขอสินเชื่อออนไลน์มีแนวโน้มชำระหนี้ได้หรือไม่ ทำให้ลดโอกาสการปล่อยหนี้เสียได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5. ประเภท P2P Lending Platform
จากเดิมที่สถาบันการเงินเป็นผู้ปล่อยสินเชื่อเพียงรายเดียว แต่ปัจจุบันนวัตกรรมการเงินพัฒนาไปไกล ทำให้แม้แต่รายย่อยก็ทำหน้าที่ปล่อยสินเชื่อได้เช่นกัน ผ่านแพลตฟอร์มตัวกลางที่เรียกว่า P2P Lending (Peer-to-Peer Lending Platfrom) ซึ่งทำหน้าที่เป็นตัวกลางให้ผู้กู้ กับผู้ให้กู้พบเจอกัน พร้อมดำเนินการเรื่องเอกสาร ฃ หลักทรัพย์ค้ำประกัน และขั้นตอนการสมัครให้แบบครบวงจร
ทั้งนี้อัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อออนไลน์ P2P Lending Platform อาจสูงกว่าสินเชื่อของสถาบันการเงิน เพราะขึ้นอยู่กับว่าผู้ให้กู้พึงพอใจว่าจะกำหนดอัตราดอกเบี้ยเท่าไหร่ แต่อย่างไรก็ดีทางแพลตฟอร์มจะกำหนดเพดานอัตราดอกเบี้ยสูงสุดเอาไว้แล้ว ทำให้ผู้ให้กู้ไม่สามารถกำหนดดอกเบี้ยในระดับที่สูงจนเกินไป
6. ประเภท Supply Chain Lender
สินเชื่อออนไลน์ที่ออกแบบมาเพื่อแก้ไขปัญหาแก่บริษัทที่ขาดเงินทุนหมุนเวียนในการทำธุรกิจกับคู่ค้าที่กำหนดเงื่อนไขระยะเวลาจ่ายหนี้การค้านาน ทำให้ขาดสภาพคล่อง ไม่มีเงินหมุน ซึ่งสินเชื่อ Supply Chain Lender จะให้บริษัทขายใบแจ้งหนี้ (invoice) ในอัตราคิดลด แทนการวางหลักทรัพย์ค้ำประกัน แล้วทางบริษัทจะได้รับเงินก้อนมาหมุนธุรกิจ
7.ประเภท Online Lender
สินเชื่อออนไลน์ที่เสนอบริการทางการเงินแบบครบวงจรไม่ว่าจะเป็นสินเชื่อระยะสั้น สินเชื่อระยะยาว หรือแม้แต่สินเชื่อเพื่อการกู้ยืมทางการศึกษา ซึ่งแตกต่างจากสินเชื่อออนไลน์รูปแบบอื่นที่มักเสนอผลิตภัณฑ์ทางการเงินเฉพาะกลุ่ม
นอกจากนี้ Online Lender จะใช้ฐานข้อมูลต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการประเมินความเสี่ยงของผู้กู้ เช่น ประวัติเครดิตบูโร, ประวัติการซื้อของออนไลน์, แหล่งที่มาของรายได้ แล้วนำมาวิเคราะห์ด้วยระบบ AI เพื่อปล่อยหนี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพภายในระยะเวลาอันสั้น
>>อยากมีอสังหาริมทรัพย์แต่ไม่มีเงินก้อน ลองดูแนวทางที่น่าสนใจในการผ่อนคอนโด
ใครบ้างที่สามารถกู้สินเชื่อออนไลน์ได้?
อย่างที่ทุกคนทราบว่าสินเชื่อออนไลน์มีหลายประเภท ซึ่งบัตรกดเงินสด ก็คือ หนึ่งในสินเชื่อดังกล่าวด้วยเช่นกัน เพราะสามารถดำเนินการได้ทุกขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นการสมัคร รับ-ส่งเอกสาร จนไปถึงรับทราบผลการอนุมัติโดยไม่ต้องทำเรื่องถึงสาขา
หากสนใจยื่นสินเชื่อออนไลน์ถูกกฎหมายอย่างบัตรกดเงินสด KTC PROUD ก็มาศึกษารายละเอียดกันเลยว่าพนักงานออฟฟิศ หรือเจ้าของกิจการต้องคุณสมบัติอะไรบ้าง? ถึงจะสมัครได้ดังนี้
คุณสมบัติของพนักงานบริษัท
- สัญชาติไทย อายุ 20-60 ปี
- รายได้ขั้นต่ำ 12,000 บาท/เดือน
- อายุการทำงาน 4 เดือนขึ้นไป
- เบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงาน
คุณสมบัติของเจ้าของกิจการ
- สัญชาติไทย อายุ 20-60 ปี
- มีรายได้เฉลี่ยขั้นต่ำ 20,000 บาท/เดือน
- มีอายุกิจการตั้งแต่ 2 ปีขึ้นไป
- มีเบอร์โทรศัพท์ที่สามารถติดต่อได้ที่อยู่อาศัยหรือที่ทำงาน
รู้จักกับขั้นตอนการขอสินเชื่อออนไลน์บัตรกดเงินสด
ขั้นตอนการขอสินเชื่อออนไลน์บัตรกดเงินสด มีรายละเอียดดังต่อไปนี้
1.กรอกข้อมูล
ให้ผู้สมัครระบุข้อมูลส่วนบุคคลตามที่เว็บไซต์ https://www.ktc.co.th/loan/ktc-proud กำหนด จากนั้นจะมีเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับภายในเวลา 2 ชั่วโมง เพื่อแจ้งให้คุณทราบรายละเอียดว่าการทําบัตรกดเงินสดต้องใช้เอกสารอะไรบ้างในลำดับถัดไป
2.เตรียมเอกสาร
สินเชื่อออนไลน์บัตรกดเงินสด KTC PROUD ได้กำหนดเอกสารในกรณีที่ผู้สมัครเป็นพนักงานบริษัท และเจ้าของกิจการแตกต่างกัน ได้แก่
เอกสารการสมัครกรณีพนักงานบริษัท
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- หนังสือรับรองเงินเดือน / สลิปเงินเดือน เดือนล่าสุด (ฉบับจริง)
- สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน (ชื่อผู้กู้)
- สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีที่ต้องการรับเงินโอนก้อนแรก (เฉพาะบัญชีที่มีชื่อผู้กู้เท่านั้น)
เอกสารการสมัครกรณีเจ้าของกิจการ
- สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน
- สำเนาหนังสือรับรองจดทะเบียนนิติบุคคล หรือ ทะเบียนการค้า
- สำเนาบัญชีธนาคารย้อนหลัง 6 เดือน (ชื่อผู้กู้)
- สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีที่ต้องการรับเงินโอนก้อนแรก (เฉพาะบัญชีที่มีชื่อผู้กู้เท่านั้น)
3.นัดส่งเอกสาร
หลังจากเตรียมเอกสารเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าหน้าที่จะโทรมาแจ้งวันและเวลาเพื่อเข้ารับเอกสารถึงที่บ้าน หรือที่ทำงานตามที่คุณสะดวก
4.แจ้งผลการอนุมัติ
หลังจากเจ้าหน้าที่ได้รับเอกสารครบถ้วนแล้ว จะแจ้งผลการพิจารณาไม่เกิน 5 วันทำการ นับจากวันที่ใบสมัครเข้าสู่ระบบ
รู้จักกับ 3 ข้อดีของการยื่นกู้สินเชื่อออนไลน์
1.ไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน
สินเชื่อออนไลน์ออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์ให้ผู้มีรายได้น้อยเข้าถึงบริการเงินด่วนอย่างแท้จริง เพราะไม่ต้องใช้หลักทรัพย์และบุคคลค้ำประกัน ทำให้ได้แหล่งเงินทุนไปต่อยอดทำธุรกิจรายวันได้
>> หาไอเดียสร้างรายได้เพิ่มเติมได้ที่ “ธุรกิจรวยเงียบ”
2.รับสิทธิประโยชน์โปรโมชันต่างๆ
เนื่องจากสินเชื่อออนไลน์เป็นผลิตภัณฑ์ทางการเงินรูปแบบใหม่ บุคคลภายนอกยังไม่คุ้นเคยกันดี ทำให้สถาบันการเงินต่าง ๆ จัดโปรโมชันมากมายเพื่อจูงใจให้หันมาใช้งานกันมากขึ้น เช่น เสนอดอกเบี้ยต่ำกว่าสินเชื่อทั่วไป ให้ระยะเวลาผ่อนชำระนาน หรือมอบบัตรกำนัลแก่ผู้ขอสินเชื่อใหม่
3.ฟรีค่าธรรมเนียม
สินเชื่อออนไลน์ ไม่คิดค่าธรรมเนียมต่าง ๆ เช่น ค่าธรรมเนียมการชำระเงินกู้ก่อนกำหนด ค่าอากรแสตมป์ ค่าธรรมเนียมการให้สินเชื่อ ทำให้สินเชื่อออนไลน์ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากกว่าการขอสินเชื่อส่วนบุคคลทั่วไป
ข้อจำกัดของสินเชื่อออนไลน์ที่น่ารู้!
เมื่อทราบกันไปแล้วว่าข้อดีของสินเชื่อออนไลน์ มีอะไรบ้าง ? สิ่งสำคัญที่ควรรู้ไม่แพ้กันนั่นคือข้อจำกัดของการยื่นกู้สินเชื่อ ดังรายละเอียดต่อไปนี้
1.การส่งเอกสาร
แม้ว่าผู้ขอสินเชื่อออนไลน์ จะสามารถส่งเอกสารในรูปแบบของไฟล์ PDF แต่เอกสารที่เกี่ยวข้องกับข้อมูลส่วนบุคคล สถาบันการเงินอาจต้องการสำเนาตัวจริง เพื่อยืนยันตัวตน ซึ่งระหว่างจัดส่งเอกสาร ก็อาจเกิดอุปสรรคต่าง ๆ เช่น พนักงานจัดส่งเอกสารล่าช้า หรือมาไม่ตรงที่อยู่ตามที่ผู้ขอสินเชื่อระบุ เป็นต้น
2.สัญญาณอินเทอร์เน็ต
ปฏิเสธไม่ได้ว่าการสมัครสินเชื่อออนไลน์ จำเป็นต้องดำเนินการทุกขั้นตอนผ่านสัญญาณอินเทอร์เน็ตมือถือส่วนตัว ซึ่งสถาบันการเงินไม่อนุญาตให้ใช้สัญญาณ Wifi ในการสมัคร เพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้บริการ ทำให้ผู้ขอสินเชื่อออนไลน์ต้องสมัครแพ็กเกจอินเทอร์เน็ต ที่มีความแรงของสัญญาณในระดับหนึ่ง มิเช่นนั้นแล้วจะเกิดอุปสรรคระหว่างการขอสินเชื่อได้
3.เวอร์ชันของ OS
แอปสินเชื่อออนไลน์ จะอัปเกรดเวอร์ชันอยู่ตลอดเวลาด้วยเหตุผลด้านความปลอดภัย และปกป้องผู้ใช้งานจากภัยมิจฉาชีพออนไลน์ หากผู้ขอสินเชื่อใช้สมาร์ตโฟนรุ่นเก่าเกินไปจะใช้งานแอปรุ่นล่าสุดไม่ได้
สินเชื่อออนไลน์วางแผนบริหารให้ดี ก็ช่วยหมุนสภาพคล่อง ปลดหนี้นอกระบบได้
ผู้ที่สนใจสมัครสินเชื่อออนไลน์ครั้งแรก คงได้รับคำตอบกันไปแล้วว่าผลิตภัณฑ์การเงินดังกล่าวแตกต่างจากสินเชื่อทั่วไปอย่างไร รวมทั้งมีขั้นตอนการยื่นเอกสารอะไรบ้าง และเมื่อได้สินเชื่อออนไลน์มาแล้ว ก็ควรวางแผนบริหารหนี้สินให้ดีด้วยการชำระให้ตรงเวลา เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาหนี้สินเรื้อรัง
หากสนใจสมัครสินเชื่อส่วนบุคคล ที่สมัครง่าย รู้ผลไวภายใน 1 สัปดาห์ โดยไม่ต้องวางหลักทรัพย์ค้ำประกันและใช้เอกสารจำนวนมากให้ปวดหัว ไม่ควรพลาดกับบัตรกดเงินสด KTC PROUD บัตรกดเงินสดของคนรุ่นใหม่ ที่สามารถสมัครได้หลากหลายช่องทาง ได้แก่
1. KTC TOUCH ทุกสาขาทั่วประเทศ
2. เว็บไซต์ KTC : www.ktc.co.th
3. Krungthai NEXT
4. ธนาคารกรุงไทยทุกสาขาทั่วประเทศ
5.เบอร์โทรศัพท์ 02 123 5000
สมัครบัตรกดเงินสด KTC PROUD บัตรกดเงินสดของคนรุ่นใหม่ สมัครง่าย รู้ผลไว สมัครเลย
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี