การเสียภาษีเป็นหน้าที่ของคนไทยทุกคนที่มีรายได้ถึงเกณฑ์ตามที่กฎหมายกำหนด แต่คำถามที่มักเกิดขึ้นคือ "รายได้เท่าไหร่ต้องเสียภาษี" และ "จะวางแผนการลดหย่อนภาษีอย่างไรดี"
ยิ่งในช่วงปลายปีแบบนี้ คำถามเหล่านี้เรียกได้ว่าเป็นคำถามยอดฮิตสำหรับใครหลายคนเลยทีเดียว เพราะทั้งหมดนี้ถือเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกคนในวัยทำงานควรทำความเข้าใจ แม้จะดูเป็นเรื่องยุ่งยากและซับซ้อน แต่หากทำความเข้าใจในรายละเอียดเกี่ยวกับภาษีเงินได้ และรู้จักใช้ประโยชน์จากสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้คุ้มค่า ติดตามข่าวสารเกี่ยวกับกฎหมายภาษีที่อาจมีการเปลี่ยนแปลงทุกปี คุณก็สามารถปรับแผนการเงินให้สอดคล้องได้อย่างเหมาะสม ยื่นภาษีได้อย่างถูกต้องและครบถ้วน และจัดการภาษีได้อย่างมีประสิทธิภาพ
KTC จะพาไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายได้ที่ถึงเกณฑ์ต้องเสียภาษี พร้อมทั้งเทคนิคและเคล็ดลับในการวางแผนลดหย่อนภาษีปี 2568 ที่จะช่วยให้สามารถจัดการภาษีของตนเองได้ ก่อนจะยื่นกันในต้นปีหน้านี้
รายได้เท่าไหร่ถึงต้องเสียภาษี ?
เป็นคำถามยอดฮิตของมนุษย์เงินเดือน โดยเฉพาะ First Jober หรือคนจบใหม่ทำงานที่แรก ยังไม่เคยยื่นภาษีมาก่อน ควรทำความเข้าใจเกี่ยวกับรายได้ หรือ “เงินได้” กับ “เงินได้สุทธิ” นั้น ต่างกัน โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- เงินได้ คือ ส่วนของรายได้ทั้งหมดที่ได้รับตลอดปีที่ผ่านมา เช่น เงินเดือน เงินโบนัส เงินปันผลต่างๆ เงินได้จากการรับจ้าง ค่านายหน้า และอื่นๆ เป็นต้น
- เงินได้สุทธิ คือ ฐานภาษีเพื่อการคำนวณภาษีสำหรับบุคคลธรรมดา ซึ่งมาจากเงินได้ ที่หักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนภาษีต่างๆ เรียบร้อยแล้ว
ทั้งนี้ ตามระเบียบของสรรพากรได้ระบุว่า ผู้ที่มีรายได้ตามมาตรา 40(1) แห่งประมวลรัษฎากร ได้แก่ เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ได้แก่ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์ใดๆ ที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน หากรวมทั้งหมดไม่เกิน 120,000 บาทต่อปี ไม่จำเป็นต้องยื่นภาษีเงินได้
แต่หากมีรายได้มากกว่า 120,000 บาทต่อปีขึ้นไป แต่ไม่เกิน 150,000 บาท จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี แม้ว่ารายได้จะยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษี ส่วนผู้ที่มีรายได้สุทธิต่อปีรวมตั้งแต่ 150,001 บาทขึ้นไป จะต้องจ่ายภาษี ซึ่งรายละเอียดสำหรับบุคคลที่ต้องจ่ายภาษี มีดังนี้
เกณฑ์เงินได้พึงประเมินขั้นต่ำที่ผู้มีเงินได้ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี โดยแบ่งเป็นสำหรับคนโสดและผู้ที่สมรสแล้ว
คนโสด |
||
ประเภทเงินได้ |
รายได้ต่อเดือน |
รายได้ทั้งปี |
เงินเดือน |
10,000 บาท |
120,000 บาท |
เงินได้ประเภทอื่นๆ |
5,000 บาท |
60,000 บาท |
ผู้ที่สมรสแล้ว |
||
ประเภทเงินได้ |
รายได้ต่อเดือน |
รายได้ทั้งปี |
เงินเดือน |
18,333 บาท |
222,000 บาท |
เงินได้ประเภทอื่นๆ |
10,000 บาท |
120,000 บาท |
แม้ว่ารายได้จะยังไม่ถึงเกณฑ์ที่ต้องจ่ายภาษี ก็ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษี
วิธีคำนวณเงินได้สุทธิ เพื่อดูอัตราภาษี
หากเข้าเกณฑ์ต้องยื่นและเสียภาษี ต้องมาดูวิธีคำนวณต่อ ซึ่งอันดับแรกต้องคำนวณรายได้สุทธิของปี โดยเงินได้สุทธิสามารถหาได้จากการนำรายได้ทั้งหมดมารวมกัน พร้อมหาค่าลดหย่อนต่างๆ เช่น ค่าใช้จ่าย ประกันสังคม และค่าลดหย่อน และนำมาหักออกจากรายได้ทั้งหมด เหลือเท่าไรคือเงินได้สุทธิที่จะนำไปคำนวณภาษีแบบขั้นบันได โดยใช้สูตรการคำนวณ
- เงินได้สุทธิ = เงินได้ – ค่าใช้จ่าย – ค่าลดหย่อน
ตัวอย่างการคำนวณเงินได้สุทธิ
กรณีนาย A เป็นพนักงานเงินเดือน มีรายได้ทั้งปี 300,000 บาท หักค่าใช้จ่ายแบบเหมา 100,000 บาท และมีรายการลดหย่อนภาษีส่วนตัว 60,000 บาท ประกันสังคม 9,000 บาท ไม่มีกองทุนหรือประกันอื่นๆ
ตัวอย่าง
300,000-100,000-(60,000+9,000)
เงินได้สุทธิของนาย A = 131,000 บาท
หลังจากได้เงินสุทธิแล้ว ให้นำมาเทียบกับการคิดภาษีบุคคลธรรมดา ซึ่งมีอัตรากำหนดไว้แบบขั้นบันได ตามตารางด้านล่างนี้
เงินได้สุทธิ (บาท/ปี) |
อัตราภาษี |
ต่ำกว่า 150,000 |
ได้รับการยกเว้น |
150,001 – 300,000 |
5% |
300,001 – 500,000 |
10% |
500,001 – 750,000 |
15% |
750,001 – 1,000,000 |
20% |
1,000,001 – 2,000,000 |
25% |
2,000,001 – 5,000,000 |
30% |
5,000,001 ขึ้นไป |
35% |
เงินได้สุทธิเท่านี้เสียภาษีเท่าไหร่ คำนวณอย่างไร
ยิ่งมีเงินได้มากขึ้น ภาษีก็ยิ่งสูงขึ้นตามลำดับขั้นบันได ทั้งนี้ สามารถคำนวณหาจำนวนภาษีตาม วิธีคิดอัตราภาษีเงินได้แบบขั้นบันไดได้ ดังนี้
ยอดรายได้รวม (บาท/ปี) |
อัตราภาษี |
ภาษีที่ต้องจ่าย (บาท) |
ต่ำกว่า 150,000 |
ได้รับการยกเว้น |
0 |
150,001 – 300,000 |
5% |
(เงินได้สุทธิ – 150,000) x5% |
300,001 – 500,000 |
10% |
[ (เงินได้สุทธิ – 300,000) x10% ] + 7,500 |
500,001 – 750,000 |
15% |
[ (เงินได้สุทธิ – 500,000) x15% ] + 27,500 |
750,001 – 1,000,000 |
20% |
[ (เงินได้สุทธิ – 750,000) x20% ] + 65,000 |
1,000,001 – 2,000,000 |
25% |
[ (เงินได้สุทธิ – 1,000,000) x25% ] + 115,000 |
2,000,001 – 5,000,000 |
30% |
[ (เงินได้สุทธิ – 2,000,000) x30% ] + 365,000 |
5,000,001 ขึ้นไป |
35% |
[ (เงินได้สุทธิ – 5,000,000) x35% ] + 1,265,000 |
ข้อมูลจาก : https://www.finnomena.com/z-admin/tax-computation/
ตัวอย่างการคำนวณกรณีมีรายได้รวม 530,000 บาท/ปี
สูตรการคำนวณ
ภาษีที่ต้องจ่าย = [(เงินได้สุทธิ - เงินได้สุทธิสูงสุดขั้นก่อนหน้า) x อัตราภาษี] + ภาษีขั้นก่อนหน้า
ตัวอย่าง
[(530,000 - 500,000) x 15%] + 27,500
ภาษีที่ต้องจ่าย = 32,000 บาท
สิทธิลดหย่อนภาษีปี 2568
ยิ่งมีรายได้มาก ยิ่งทำให้ต้องเสียภาษีมาก การวางแผนลดหย่อนภาษีจึงเป็นสิ่งสำคัญที่มนุษย์เงินเดือนทุกคนควรให้ความสำคัญ เพราะนอกจากจะทำให้สามารถวางแผนการเงินได้อย่างเป็นระบบมากขึ้นแล้ว ยังทำให้ประหยัดค่าใช้จ่ายได้มากยิ่งขึ้นด้วย
ทั้งนี้ รายการลดหย่อนภาษีในแต่ละปีอาจมีความแตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับนโยบายต่างๆ ที่เข้ามาสนับสนุนในปีนั้นๆ โดยรายการลดหย่อนภาษี 2568มีอะไรบ้าง ดูได้ตามตารางด้านล่างนี้
ประเภทส่วนตัวและครอบครัว |
|
ส่วนตัว |
60,000 บาท |
คู่สมรส |
60,000 บาท |
บุตร (คนละ) |
30,000 บาท |
บุตรที่เกิดตั้งแต่ปี 2561 ได้เพิ่ม (คนละ) |
30,000 บาท |
บุตรบุญธรรม (สูงสุด 3 คน คนละ) |
30,000 บาท |
ฝากครรภ์ คลอดบุตร |
60,000 บาท |
บิดา มารดา (คนละ) |
30,000 บาท |
อุปการะเลี้ยงดูคนพิการหรือคนทุพพลภาพ |
60,000 บาท |
ประเภทประกัน |
|
เงินสมทบกองทุนประกันสังคม |
9,000 บาท |
ประกันสุขภาพบิดา มารดา |
15,000 บาท |
เบี้ยประกันชีวิตและเบี้ยประกันสะสมทรัพย์ |
ไม่เกิน 100,000 บาท |
ค่าเบี้ยประกันสุขภาพและประกันอุบัติเหตุ |
ไม่เกิน 25,000 บาท (เมื่อนำเบี้ยประกันสุขภาพ ประกันชีวิต และประกันสะสมทรัพย์มารวมกันแล้ว จะลดหย่อนได้สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท) |
ค่าเบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ |
15% ของเงินได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 200,000 บาท |
ประเภทการออมและการลงทุน |
|
เงินสะสมกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (PVD) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) หรือกองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน |
15% ของรายได้ ไม่เกิน 500,000 บาท |
เงินสะสมกองทุนการออมแห่งชาติ (กอช.) |
ไม่เกิน 30,000 บาท |
การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) |
ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดไม่เกิน 500,000 บาท |
การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) |
ไม่เกิน 30% ของเงินได้ สูงสุดที่ไม่เกิน 200,000 บาท |
การลงทุนในกลุ่มวิสาหกิจเพื่อสังคม (Social Enterprise) |
สูงสุดไม่เกิน 100,000 บาท |
กองทุนไทยเพื่อความยั่งยืน (Thai ESG) |
ไม่เกิน 30% ของเงินได้ และสูงสุดต้องไม่เกิน 300,000 บาท |
มาตรการรัฐ เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ |
|
ดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างอาคารที่อยู่อาศัย |
ไม่เกิน 100,000 บาท |
โครงการ Easy e-Receipt |
ไม่เกิน 50,000 บาท |
** รอประกาศจากรัฐบาลหากมีเพิ่มเติม |
ประเภทเงินบริจาค |
|
เงินบริจาคทั่วไป |
ไม่เกิน 10% ของเงินได้ |
เงินบริจาคแก่พรรคการเมือง |
10,000 บาท |
เงินบริจาคลดหย่อนภาษีได้ 2 เท่า ให้สถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน กีฬา สถานพยาบาลของรัฐ และเงินบริจาคพิเศษผ่าน e-Donation |
ไม่เกิน 10% ของเงินได้ |
การลงทุนบางประเภทสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
เทคนิคการวางแผนประหยัดภาษี 2568
เทคนิคการวางแผนภาษีเป็นเรื่องสำคัญที่ช่วยให้ประหยัดเงินและใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษีได้อย่างเต็มที่ สำหรับปี 2568 นี้ จะเห็นได้ว่ามีรายการลดหย่อนมากมาย แต่ในปลายปีแบบนี้ ที่เรียกได้ว่าเป็นโค้งสุดท้ายก่อนทำการยื่นภาษีในต้นปี 2569 KTC ขอแนะนำให้ตระหนักถึงความสำคัญของการลงทุน ดังต่อไปนี้
- ลงทุนในกองทุนลดหย่อนภาษี
การลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการออม (SSF) และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) เป็นทางเลือกที่ดีในการประหยัดภาษี นอกจากจะช่วยสะสมเงินออมเพื่ออนาคตแล้ว ยังสามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด โดยเฉพาะการลงทุนใน RMF ที่เหมาะสำหรับการเกษียณ ทั้งนี้ หากซื้อกองทุนด้วยบัตรเครดิต KTC ยังจะได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ อาทิ
ลงทุนกองทุนลดหย่อนภาษี กองทุน KTAM RMF/SSF กับบัตรเครดิต KTC
ลงทุน KTAM RMF หรือ SSF รับเงินคืน 100 บาท เข้ากองทุน KTSTPLUS เมื่อมียอดลงทุน สุทธิทุกๆ 50,000 บาท (สำหรับการชำระทุกช่องทาง) และสามารถชำระผ่านบัตรเครดิต KTC หรือใช้คะแนน KTC FOREVER ทุก 1,000 คะแนน แทนเงินลงทุน 100 บาท
ระยะเวลาโปรโมชั่น: 2 ม.ค. 68 – 30 ธ.ค. 68
- ซื้อประกันชีวิตและประกันสุขภาพ
จากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่าการซื้อประกันชีวิตหรือประกันสุขภาพสามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้สูงสุดตามที่กฎหมายกำหนด เช่น ประกันชีวิตสามารถลดหย่อนได้สูงสุด 100,000 บาท ส่วนประกันสุขภาพบิดามารดา สามารถลดหย่อนได้อีก 15,000 บาท นอกจากนี้ยังมีประกันสุขภาพของตัวเองและคู่สมรสที่สามารถนำมาลดหย่อนได้เช่นกัน และแน่นอนว่าสมาชิกบัตรเครดิต KTC สามารถเช็กโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษจากบริษัทประกันภัยชั้นนำ เพื่อเลือกประกันที่ถูกใจมาลดหย่อนภาษีได้ อาทิ
สิทธิพิเศษผ่อนชำระค่าเบี้ยประกันทุกประเภททั้งปีแรกและปีต่ออายุ นานสูงสุด 10 เดือน
วิธีที่ 1: รับสิทธิ์ใช้คะแนนแลกรับสิทธิเปลี่ยนแปลงรายการชำระค่าเบี้ยประกัน แบบชำระเต็มจำนวน มาเป็นการใช้บริการผ่อนชำระ 0% นานสูงสุด 10 เดือน
พิเศษสำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTC เมื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัยและ/หรือค่าเบี้ยประกันชีวิตผ่านบริษัทประกันชีวิต บริษัทประกันภัย นายหน้าประกันภัย และนายหน้าประกันชีวิต ภายใต้ MCC Code 6300 และ 5960 ด้วยบัตรเครดิต KTC แบบชำระเต็มจำนวน ตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไปต่อเซลส์สลิป รับสิทธิ์ใช้คะแนนแลกรับสิทธิ์เปลี่ยนแปลงรายการชำระค่าเบี้ยประกันฯ ผ่านบัตรฯ แบบชำระเต็มจำนวนดังกล่าว มาเป็นการใช้บริการผ่อนชำระกับบัตร KTC ในอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 0% รายละเอียดดังนี้
- ใช้คะแนน KTC FOREVER จำนวน 20% ของยอดชำระค่าเบี้ยประกัน แลกรับสิทธิการผ่อนชำระกับบัตร KTC 0% นาน 3 เดือน
- ใช้คะแนน KTC FOREVER จำนวน 40% ของยอดชำระค่าเบี้ยประกัน แลกรับสิทธิการผ่อนชำระกับบัตร KTC 0% นาน 6 เดือน
- ใช้คะแนน KTC FOREVER จำนวน 60% ของยอดชำระค่าเบี้ยประกัน แลกรับสิทธิการผ่อนชำระกับบัตร KTC 0% นาน 10 เดือน
วิธีการเข้าร่วมรายการ เมื่อสมาชิกชำระค่าเบี้ยประกันด้วยบัตรเครดิต KTC เรียบร้อยแล้ว สามารถโทรศัพท์ติดต่อมาที่ 02 123 5650 เพื่อแสดงความประสงค์ขอรับสิทธิ์ผ่อนชำระตามเงื่อนไขรายการนี้ ภายในก่อนวันสรุปรอบบัญชีของสมาชิกในแต่ละรอบบัญชีเท่านั้น
- ระยะเวลาโปรโมชั่น: 1 ม.ค. 68 – 31 ธ.ค. 68
วิธีที่ 2: เปลี่ยนยอดรูดเต็มให้เป็นผ่อนชำระด้วยตัวเอง ผ่านแอป KTC Mobile อัตราดอกเบี้ย 0.74% ต่อเดือน
และนี่คือข้อมูลทั้งหมดเกี่ยวกับรายได้ที่ต้องเสียภาษี และจะวางแผนลดหย่อนภาษีอย่างไรดีให้คุ้มค่า การวางแผนภาษีนั้นไม่ใช่เรื่องยาก เพียงต้องเข้าใจและตระหนักถึงความสำคัญของการใช้สิทธิ์ในการลดหย่อนภาษีต่างๆ เริ่มวางแผนตั้งแต่ตอนนี้ พร้อมใช้บัตรเครดิต KTC เป็นตัวช่วยทางการเงินในการซื้อประกันและกองทุนต่างๆ เพื่อการวางแผนทางการเงินที่คุ้มค่า ทั้งยังได้รับสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมจากการใช้บัตรฯ กดสมัครง่ายๆ ผ่านช่องทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง ไม่ต้องไปธนาคาร ติดตามผลการสมัครออนไลน์ได้ ไม่มีค่าธรรมเนียมรายปี
ขอบคุณข้อมูลและดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้จาก
- https://www.ktc.co.th/article/knowledge/check-list-of-tax-deductions
- https://www.rd.go.th/fileadmin/user_upload/lorkhor/newsbanner/2024/6/PR12062567.pdf
- https://www.rd.go.th/fileadmin/download/tax_deductions_update30072567.pdf
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC