เช็คลิสต์เอกสารให้พร้อมก่อนต่อภาษีรถยนต์ประจำปี
รถยนต์ยานพาหนะที่นิยมใช้งานกันเป็นอย่างมากในปัจจุบัน เพราะให้ความเป็นส่วนตัวสูงและเพิ่มความสะดวกสบายเวลาเดินทาง แต่นอกจากการใช้งานรถทั่วไปแล้วผู้ขับขี่ยังต้องเลือกความคุ้มครองที่เหมาะกับรถของตนอย่างการทำประกันภัยรถยนต์ภาคสมัครใจและประกันภัยรถยนต์ภาคบังคับ หรือ พ.ร.บ. รถยนต์ รวมไปถึงการต่อภาษีรถยนต์ที่กฎหมายบังคับให้รถทุกคันต้องทำ สำหรับการต่อภาษีรถมีอายุเพียง 1 ปีเท่านั้น เมื่อใกล้ถึงวันครบกำหนดผู้ใช้รถจำต้องไปดำเนินการต่อภาษีรถยนต์ประจำปี แต่เนื่องจากเป็นกิจกรรมที่ต้องดำเนินการปีละครั้ง จึงอาจมีผู้ใช้รถบางส่วนหลงลืมไปว่า ต่อภาษีรถใช้เอกสารอะไรบ้าง มีค่าธรรมเนียมเท่าใด วันนี้พี่เบิ้มได้รวบรวมข้อมูลดังกล่าวมาฝาก
รถแบบไหนบ้างที่ต้องต่อภาษีรถยนต์
ตามระเบียบของกรมการขนส่งทางบก ว่าด้วยการดำเนินการเกี่ยวกับทะเบียนและภาษีรถตามกฎหมายว่าด้วยรถยนต์ พ.ศ. 2562 ซึ่งในหมวด 3 ข้อที่ 17 ระบุไว้ว่า รถทุกคันที่จดทะเบียนแล้ว ต้องเสียภาษีรถประจำปี เว้นแต่รถที่ได้รับการยกเว้น ไม่ต้องเสียภาษีประจำปี
ดังนั้นหากมีรถยนต์ส่วนตัวไว้ในครอบครองต้องทำการต่อภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปี โดยประเภทรถที่สามารถต่อภาษีได้ มีดังนี้
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 คน (รย.1)
- รถยนต์นั่งส่วนบุคคลเกิน 7 คน (รย.2)
- รถยนต์บรรทุกส่วนบุคคล (รย.3)
- รถจักรยานยนต์ (รย.12)
- รถแทรกเตอร์ (รย.13)
- รถบดถนน (รย.14)
- รถพ่วง (รย.16)
ต่อภาษีรถยนต์ เอกสารที่ต้องเตรียมมีอะไรบ้าง
เอกสารการต่อภาษีรถยนต์ที่ต้องใช้
ก่อนต่อภาษีรถยนต์ผู้ใช้รถควรเตรียมเอกสารที่ต้องใช้ในการต่อภาษีให้พร้อม เพื่อความรวดเร็วในการดำเนินการและจะได้ไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปกรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งใกล้บ้านหลายครั้ง โดยเอกสารสำคัญที่ต้องใช้ มีดังนี้
- สมุดคู่มือจดทะเบียนรถตัวจริงหรือสำเนา
- เอกสาร พ.ร.บ. รถยนต์ ที่ยังไม่หมดอายุ (หากหมดแล้วให้ทำการต่อให้เรียบร้อยก่อนนำมายื่นเสียภาษี)
- ใบรับรองการตรวจสภาพรถ (สำหรับรถยนต์นั่งส่วนบุคคล ที่จดทะเบียนมาแล้วตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป)
- เงินสำหรับอัตราภาษีรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ พ.ศ. 2522
อัตราค่าธรรมเนียมการเสียภาษีรถยนต์
ต่อภาษีรถยนต์ ราคาเท่าไหร่? สำหรับในส่วนของอัตราค่าธรรมเนียมการเสียภาษีรถยนต์ จะมีการคิดตามในส่วนของขนาดเครื่องยนต์ (CC) ของรถแต่ละประเภทหรือน้ำหนักรถ ดังนี้
รถยนต์นั่งส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง
- เครื่องยนต์ขนาด 1-600 CC คิดอัตราภาษี ซีซี. ละ 50 สตางค์
- เครื่องยนต์ขนาด 601-1,800 CC คิดอัตราภาษี ซีซี. ละ 1.50 บาท
- เครื่องยนต์ขนาด 1,801 CC ขึ้นไป คิดอัตราภาษี ซีซี. ละ 4 บาท
รถบรรทุกส่วนบุคคลที่เกิน 7 ที่นั่ง
- น้ำหนักรถ 50 - 750 กิโลกรัม อัตราภาษี 450 บาท
- น้ำหนักรถ 751 –1,000 กิโลกรัม อัตราภาษี 600 บาท
- น้ำหนักรถ 1,001 – 1,250 กิโลกรัม อัตราภาษี 750 บาท
- น้ำหนักรถ 1,251 – 1,500 กิโลกรัม อัตราภาษี 900 บาท
- น้ำหนักรถ 1,501 – 1,750 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,050 บาท
- น้ำหนักรถ 1,751 – 2,000 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,350 บาท
- น้ำหนักรถ 2,001 – 2,500 กิโลกรัม อัตราภาษี 1,650 บาท
หากเป็นรถที่จดทะเบียนมาแล้ว 5 ปี จะได้รับการลดหย่อนภาษีประจำปีในปีต่อไป ดังนี้
- ปีที่ 6 ร้อยละ 10
- ปีที่ 7 ร้อยละ 20
- ปีที่ 8 ร้อยละ 30
- ปีที่ 9 ร้อยละ 40
- ปีที่ 10 และปีต่อ ๆ ไป ร้อยละ 50 ตามลำดับ
ราคาสำหรับการต่อภาษีรถยนต์
ต่อภาษีรถยนต์ ที่ไหนและชำระภาษีรถยนต์จุดไหนได้บ้าง
สำหรับผู้ที่เตรียมเอกสารครบถ้วนแล้ว สามารถนำเอกสารไปยื่นชำระและต่อภาษีได้ที่
- กรมการขนส่งทางบก สามารถยื่นเอกสารเพื่อต่อภาษีได้ทุกพื้นที่ทั่วประเทศ สามารถเลือกชำระได้ทั้งบริการเลื่อนล้อต่อภาษี (Drive Thru for Tax) และตู้รับชำระภาษีรถประจำปีอัตโนมัติ (Kiosk)
- ที่ทำการไปรษณีย์ (มีค่าธรรมเนียมการชำระ 40 บาท)
- ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
- ห้างสรรพสินค้าที่เข้าร่วมโครงการ ‘ช้อปให้พอ แล้วต่อภาษี’ (Shop Thru for Tax)
- เคาน์เตอร์เซอร์วิสทั่วประเทศ (เฉพาะรถยนต์ที่อายุไม่เกิน 7 ปี และรถจักรยานยนต์ที่อายุไม่เกิน 5 ปี และมีค่าธรรมเนียมการให้บริการ 20 บาท ค่าจัดส่งเอกสารทางไปรษณีย์เพิ่มอีก 40 บาท)
- แอปพลิเคชัน mPay และ TrueMoney Wallet
- ต่อภาษีรถยนต์ออนไลน์ได้ที่เว็บไซต์กรมการขนส่งทางบก https://eservice.dlt.go.th/ หรือแอปพลิเคชัน DLT Vehicle Tax
ภาษีรถยนต์ไม่ต่อได้หรือไม่?
คำตอบคือไม่ได้ เพราะถือเป็นข้อกำหนดตามกฎหมายว่ารถทุกคันต้องมีการต่อภาษีรถยนต์ในทุก ๆ ปี โดยเงินที่ได้จากการต่อภาษีรถยนต์ทางหน่วยงานจะนำไปใช้สนับสนุนทางด้านการคมนาคมของประเทศ ใช้ซ่อมแซมหรือทำถนนภายในประเทศให้ดียิ่งขึ้น หากไม่ต่อภาษีรถยนต์จะถือว่าผิดกฎหมายและส่งผลตามมามากมาย ดังนี้
เสียค่าปรับ
หากต่อภาษีล่าช้าจะถูกปรับ 1% ของภาษีรถยนต์ต่อเดือน ซึ่งหากยิ่งปล่อยไว้อาจทำให้โดนปรับย้อนหลัง และมีค่าธรรมเนียมในการดำเนินการ
ถูกระงับทะเบียน
ในกรณีที่ทะเบียนรถยนต์ขาดเกิน 3 ปี จะส่งผลให้ทะเบียนถูกยกเลิกทันที และเจ้าของรถต้องทำการดำเนินการขอป้ายทะเบียนใหม่ โดยมีในส่วนของค่าใช้จ่ายในการขอและค่าธรรมเนียมภาษีย้อนหลังสูงสุด 3 ปี
ดังนั้นการต่อภาษีรถยนต์เป็นประจำทุกปี นอกจากหมดกังวลในเรื่องของกฎหมายแล้วยังไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายเพิ่มจากการโดนค่าปรับและไม่ต้องเสียเวลาไปเดินเรื่องการยื่นต่อภาษีใหม่ที่ต้องจัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ มากมายอีกด้วยและสามารถเลือกต่อล่วงหน้าได้ถึง 90 วัน ทั้งนี้เมื่อต่อภาษีรถยนต์แล้วหากขาดสภาพคล่องทางการเงิน ก็สามารถนำรถไปยื่นขอสินเชื่อในยามฉุกเฉิน ขอแนะนำสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน สำหรับรถปลอดภาระที่ช่วยเปลี่ยนรถเป็นเงินก้อน ที่ให้วงเงินสูงสุด 1 ล้านบาท อนุมัติไวภายใน 1 ชั่วโมง เพียงยื่นเรื่องผ่านระบบออนไลน์แล้วรอทีมงานพี่เบิ้ม Delivery ติดต่อกลับไปนัดหมายวันเดินทางไปรับสมัครและตรวจสอบสภาพรถถึงที่บ้าน เมื่อผ่านการอนุมัติได้รับเงินโอนเข้าบัญชีทันที โดยไม่ต้องมีคนค้ำและไม่ต้องโอนเล่มทะเบียน พร้อมรับบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้ม ไว้ใช้ยามเกิดเหตุฉุกเฉิน โดยสามารถกดเงินจากตู้ ATM ได้ตลอด 24 ชั่วโมงแบบไม่มีค่าธรรมเนียม ให้อุ่นใจในยามต้องการมองหาตัวช่วยค่าใช้จ่ายในยามเร่งด่วน
สมัคร KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินสำหรับคนมีรถ