การแบ่งส่วนทางการตลาด ตัวชี้วัดความสำเร็จของธุรกิจ
ในสภาพแวดล้อมทางธุรกิจที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน ส่วนแบ่งการตลาดเป็นหัวใจสำคัญที่ให้ข้อมูลเชิงลึกอันมีค่า เกี่ยวกับตำแหน่งของบริษัทในอุตสาหกรรมนั้น ๆ อีกทั้งส่วนแบ่งการตลาด ยังแสดงถึงสัดส่วนหรือเปอร์เซ็นต์ของตลาดที่บริษัทใดบริษัทหนึ่งควบคุมหรือยึดครอง ทำหน้าที่เป็นตัวบ่งชี้ประสิทธิภาพ ช่วยให้ธุรกิจสามารถประเมินความสำเร็จและความสามารถในการแข่งขันเมื่อเทียบกับคู่แข่ง บทความนี้ MAAI BY KTC อธิบายแนวคิดของส่วนแบ่งการตลาด ความสำคัญ พร้อมแนะนำตัวอย่างการสร้างแผนการตลาด เพื่อเป็นแนวทางสำหรับการทำธุรกิจในยุคดิจิทัล
การแบ่งส่วนตลาด สำคัญอย่างไรกับธุรกิจ
ส่วนแบ่งการตลาด เป็นตัววัดยอดขายหรือรายได้ของบริษัท เมื่อเทียบกับยอดขายหรือรายได้ ในตลาดรวมภายในอุตสาหกรรมนั้น ๆ แสดงถึงการครอบครองตลาดของบริษัท และบ่งบอกถึงความแข็งแกร่งของผลิตภัณฑ์ หรือบริการเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ยกตัวอย่างธุรกิจขายน้ำหอม แบรนด์ A มีคู่แข่งคือ แบรนด์ B, C และ D หากมีน้ำหอมอยู่ 100 ขวดในตลาด แบรนด์ A ขายได้ 30 ขวด เท่ากับว่าแบรนด์ A มีส่วนแบ่งการตลาด (Market Share) เท่ากับ 30% โดยส่วนแบ่งการตลาดสามารถคำนวณในระดับต่าง ๆ ได้ เช่น ระดับโลก ระดับภูมิภาค หรือแม้แต่ในตลาดเป้าหมายเฉพาะ สำหรับความสำคัญของส่วนแบ่งการตลาด หลัก ๆ สามารถจำแนกได้ดังนี้
- การวิเคราะห์การแข่งขัน
ส่วนแบ่งการตลาดช่วยให้เข้าใจและประเมินได้ว่าบริษัทอยู่ในตำแหน่งใดของธุรกิจเมื่อเทียบกับคู่แข่ง ช่วยระบุผู้นำตลาด ผู้ติดตาม และผู้เล่นหน้าใหม่ พร้อมเปรียบเทียบการแข่งขันและตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ได้อย่างชาญฉลาด
- การประเมินประสิทธิภาพ
ด้วยการติดตามการเปลี่ยนแปลงของส่วนแบ่งการตลาดในช่วงเวลาหนึ่ง จึงทำให้ธุรกิจสามารถประเมินประสิทธิภาพของกลยุทธ์เพิ่มยอดขาย การเปิดตัวผลิตภัณฑ์ และความพยายามในการหาลูกค้าใหม่ ดังนั้นส่วนแบ่งการตลาดที่เพิ่มขึ้น จึงเป็นตัวบ่งชี้ว่าบริษัทกำลังดึงดูดและขยายฐานลูกค้าได้ดี ขณะเดียวกันส่วนแบ่งตลาดที่ลดลง อาจบ่งบอกถึงสัญญาณที่ต้องรีบแก้ไข
- อำนาจการกำหนดราคา
บริษัทที่มีส่วนแบ่งการตลาดที่ใหญ่กว่า มักมีอำนาจในการกำหนดราคาที่มากกว่า สามารถกำหนดราคาที่สูงขึ้น สำหรับผลิตภัณฑ์หรือบริการของตัวเอง ในทางกลับกันผู้เล่นรายเล็ก อาจประสบปัญหาในการรักษาราคาที่แข่งขัน เนื่องจากต้นทุนที่สูงขึ้นและอำนาจต่อรองที่ลดลง
แผนการตลาด 7 กลยุทธ์บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ
ส่วนแบ่งการตลาดช่วยประเมินว่าบริษัทอยู่ในตำแหน่งใดของธุรกิจ
แผนการตลาดที่ออกแบบมาอย่างดี เป็นสิ่งที่ช่วยให้ธุรกิจประสบความสำเร็จในการแข่งขันในปัจจุบัน ทั้งยังทำหน้าที่เป็นแผนงานที่ช่วยสรุปกลยุทธ์และกลวิธีที่จำเป็น ในการเข้าถึงลูกค้าและบรรลุเป้าหมายทางธุรกิจ สำหรับขั้นตอนในการสร้างแผนการตลาดที่มีประสิทธิภาพ พร้อมขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความสำเร็จ จำแนกได้ดังนี้
1.) กำหนดเป้าหมาย
ต้องกำหนดเป้าหมายทางการตลาดที่ชัดเจนและวัดผลได้ เพื่อให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์ทางธุรกิจโดยรวม มีความเฉพาะเจาะจง เป็นไปได้จริง และมีเวลาจำกัด ไม่ว่าเป้าหมายของธุรกิจคือการเพิ่มการรับรู้ถึงแบรนด์ หรือโอกาสในการเพิ่มยอดขาย การกำหนดเป้าหมายมักเป็นกรอบสำคัญ ที่ช่วยให้ธุรกิจดำเนินต่อไปได้อย่างราบรื่น
2.) ระบุกลุ่มเป้าหมาย
การทำความเข้าใจกลุ่มเป้าหมายของธุรกิจเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาแผนการตลาดให้มีความสอดคล้อง นอกจากนี้ต้องมีวิจัยการตลาดเพื่อรวบรวมข้อมูล และพฤติกรรมของลูกค้า เพื่อช่วยให้ธุรกิจเลือกช่องทางการตลาดและพัฒนากลยุทธ์ที่เหมาะสม
3.) วิเคราะห์แนวการแข่งขัน
การวิเคราะห์คู่แข่ง เป็นองค์ประกอบสำคัญของแผนการตลาด ช่วยให้ธุรกิจสามารถระบุคู่แข่งทั้งทางตรงและทางอ้อม ทำให้ประเมินกลยุทธ์ทางการตลาด จุดแข็ง และจุดอ่อน เพื่อนำมาวิเคราะห์ได้ง่ายขึ้น ที่สำคัญสิ่งนี้ยังสามารถแยกความแตกต่างของธุรกิจ และระบุความได้เปรียบในการแข่งขันได้อีกด้วย
4.) ทำการวิเคราะห์ SWOT
การวิเคราะห์ SWOT (Strengths (จุดแข็ง), Weaknesses (จุดอ่อน), Opportunities (โอกาส), Threats (อุปสรรค)) ช่วยให้มุมมองที่ครอบคลุม เกี่ยวกับปัจจัยภายในและภายนอก ทั้งยังทำให้รู้ถึงจุดแข็งและจุดอ่อน สำรวจโอกาสที่เป็นไปได้ในตลาด และพิจารณาความเสี่ยงที่อาจส่งผลกระทบต่อธุรกิจ
5.) เลือกช่องทางการตลาดที่เหมาะสม
การเลือกช่องทางการตลาดที่เหมาะสม ช่วยให้ธุรกิจเข้าถึงลูกค้าได้ง่ายขึ้น โดยช่องทางการตลาดในปัจจุบันมีทั้งรูปแบบออฟไลน์และออนไลน์ เช่น สื่อโซเชียลมีเดีย การตลาดเนื้อหา การตลาดผ่านอีเมล การปรับแต่งเว็บไซต์ให้ติดอันดับบนเครื่องมือการค้นหา (SEO) การโฆษณาที่เสียค่าใช้จ่าย ฯลฯ ดังนั้นธุรกิจจำเป็นต้องเลือกช่องทางที่เหมาะสมและคุ้มค่า เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายได้มากขึ้น
6.) กำหนดงบประมาณ
จัดสรรงบประมาณตามความเป็นจริง สำหรับการจัดทำกิจกรรมทางการตลาด ควรพิจารณาค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องกับการโฆษณา การสร้างเนื้อหา ซอฟต์แวร์การตลาด การจ้างหน่วยงานภายนอก และทรัพยากรอื่น ๆ อย่างเหมาะสม ที่สำคัญควรตรวจสอบให้แน่ใจว่างบประมาณดังกล่าว ได้รับการจัดสรรอย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่
7.) การติดตามผล
ควรประเมินผลลัพธ์เป็นประจำ และทำการปรับเปลี่ยนที่จำเป็น เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงาน นอกจากนี้การเลือกใช้เครื่องมือต่าง ๆ อย่างเหมาะสม ช่วยเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจได้เช่นกัน อาทิ การวิเคราะห์เว็บไซต์ ระบบ CRM และข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับโซเชียลมีเดีย ล้วนเป็นเครื่องมือที่ช่วยวัดความสำเร็จได้เป็นอย่างดี
การสร้างแผนการตลาด ถือเป็นขั้นตอนสำคัญในการบรรลุวัตถุประสงค์ทางธุรกิจ ถึงอย่างไรแม้แผนการตลาดไม่ได้เป็นเรื่องตายตัว แต่ควรได้รับการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้เข้ากับสภาวะตลาดที่เปลี่ยนแปลง รวมไปถึงความต้องการและความชอบของลูกค้า ล้วนเป็นสิ่งสำคัญในการพัฒนาเช่นกัน สำหรับผู้ประกอบการ ที่ต้องการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันให้กับธุรกิจ พร้อมสร้างกลยุทธ์ทางการตลาดที่ตอบโจทย์และเข้าถึงกลุ่มลูกค้ามากยิ่งขึ้น
MAAI Platform ตอบโจทย์การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้า
แนะนำ MAAI Digital Loyalty Platform ที่เข้าใจมุมมองธุรกิจ ตอบโจทย์การบริหารความสัมพันธ์กับลูกค้าแบบครบวงจร พัฒนาเป็นแพลตฟอร์มสำเร็จรูปที่พร้อมใช้งาน มาพร้อม Solution ที่เข้าใจมุมมองของการทำธุรกิจยุคดิจิทัล MAAI สามารถเชื่อมต่อระบบสะสมแต้ม เข้ากับแพลตฟอร์มออนไลน์ได้โดยตรง มีระบบจัดการหลังบ้านแบบมืออาชีพ ทั้งยังเลือกสิทธิประโยชน์ที่ตอบโจทย์ที่สุดให้กับลูกค้าได้ด้วยตัวเอง หากธุรกิจใดสนใจการทำ Loyalty Program ติดต่อได้ที่เบอร์โทรศัพท์ 02-123-5678
กระตุ้นยอดขาย ธุรกิจเติบโตอย่างก้าวกระโดด สมัครแอป MAAI BY KTC