สำหรับใครที่กำลังมองหาทางเลือกในการเป็นเจ้าของบ้านสักหลัง NPA หรือทรัพย์สินรอการขายอาจเป็นคำตอบที่คุณกำลังตามหา ด้วยราคาที่น่าสนใจกว่าบ้านทั่วไป และตัวเลือกที่หลากหลาย ทำให้บ้านประเภทนี้กลายเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเองในราคาที่เอื้อมถึงมากขึ้น มาดูกันว่าบ้านประเภทนี้มีอะไรดี และทำไมถึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับคุณ
เลือกอ่านตามหัวข้อ
NPA คืออะไร
NPA (Non-Performing Asset) คือ ทรัพย์สินที่ธนาคารหรือสถาบันการเงินยึดคืนมาจากผู้กู้ที่ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตรงเวลา เมื่อธนาคารได้ทรัพย์สินเหล่านี้มาแล้ว จะนำมาประกาศขายเพื่อคืนทุน ทรัพย์สินส่วนใหญ่เป็นบ้านหรือที่ดิน และบางครั้งอาจรวมถึงอสังหาริมทรัพย์ประเภทอื่น เช่น คอนโดมิเนียม อาคารพาณิชย์ หรือโรงงาน
ทรัพย์สินเหล่านี้มักมีราคาที่ต่ำกว่าท้องตลาด เนื่องจาก เป็นการขายเพื่อให้เงินกลับคืนสู่ธนาคารโดยเร็วที่สุด ยกตัวอย่างเช่น สมมติว่าคุณ A กู้เงินจากธนาคารเพื่อซื้อบ้านหลังแรก แต่ผ่อนชำระไม่ไหว ธนาคารก็จะยึดบ้านหลังนั้นกลับมา และนำมาประกาศขายซึ่งบ้านหลังนี้ก็จะกลายเป็นบ้าน NPA ที่มีราคาถูกกว่านั่นเอง
NPA และ NPL ต่างกันอย่างไร
หนึ่งในประเด็นที่สร้างความสับสนให้กับคนที่อยากขึ้นบ้านใหม่หลายคน ระหว่าง NPA และ NPL นั้นมีความเกี่ยวข้องกันไหม ซึ่งในความเป็นจริงแล้วทั้งสองอย่างนี้ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกันโดยตรง เพราะ NPA และ NPL มีความหมาย ดังนี้
- Non-Performing Asset หมายถึง ทรัพย์สินที่ผู้ซื้อไม่สามารถชำระค่าใช้จ่ายแก้ธนาคารได้ตามกำหนด เช่น บ้าน คอนโด ที่ดิน
- Non-Performing Loan หรือหนี้เสีย หมายถึง สินเชื่อที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้จากการที่ลูกหนี้กู้เงินจากธนาคารและไม่สามารถชำระเงินต้นได้ภายในระยะเวลา 3 เดือน
ข้อดีของการซื้อบ้านที่เป็นทรัพย์สินรอขาย NPA
NPA ถือเป็นตัวเลือกที่น่าสนใจสำหรับคนที่มองหาบ้านราคาประหยัดจะได้โปะบ้านให้หมดไว ๆ หรืออยากลงทุนในอสังหาริมทรัพย์ แต่มีงบประมาณจำกัด โดยข้อดีของการซื้อบ้านมือสองหรือบ้าน NPA มีดังนี้
1. ราคาถูกกว่าบ้านมือหนึ่ง
ธนาคารต้องการขายทรัพย์สินเหล่านี้ออกไปอย่างรวดเร็ว เนื่องจาก NPA คือสินทรัพย์ที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้ ทำให้ธนาคารไม่มีรายได้ หากต้องการนำเงินมาหมุนเวียน ธนาคารก็ต้องตั้งราคาขายที่ต่ำกว่าราคาตลาดทั่วไป เพื่อจูงใจให้ผู้ซื้อสนใจ เมื่อเทียบกับการซื้อบ้านใหม่จากโครงการ ราคาของบ้านติดธนาคารจะต่ำกว่าอย่างเห็นได้ชัด เพราะไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการก่อสร้างและค่าโฆษณา ทำให้ผู้ซื้อสามารถประหยัดเงินได้มากขึ้น
2. พร้อมเข้าอยู่ได้ทันที
ทรัพย์สินส่วนใหญ่จะเป็นบ้านที่เคยมีผู้อาศัยอยู่มาก่อน จึงมีการตกแต่งและพร้อมใช้งานได้ทันที ข้อดีคือผู้ซื้อไม่ต้องเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงหรือตกแต่งเพิ่มเติม สามารถเข้าอยู่ได้เลยทันทีที่โอนกรรมสิทธิ์ หรือถ้าต้องการปรับปรุงเล็กน้อย ค่าใช้จ่ายมักไม่สูงเท่ากับการสร้างบ้านใหม่
3. ทำเลดี ตอบโจทย์ทุกไลฟ์สไตล์
ทรัพย์สินหลายหลังมักตั้งอยู่ในทำเลที่ดี เช่น ใกล้แหล่งชุมชน สถานีขนส่ง สถานศึกษา หรือสถานที่ทำงาน เนื่องจาก เจ้าของเดิมเลือกทำเลที่สะดวกในการอยู่อาศัย การได้บ้านในทำเลที่ดี จะช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการใช้ชีวิตประจำวัน และยังมีโอกาสที่ราคาอสังหาริมทรัพย์ในย่านนั้นจะเพิ่มขึ้นในอนาคตอีกด้วย
4. สามารถลงทุนต่อยอดได้
หลังจากซื้อบ้านมาแล้ว สามารถปรับปรุงตกแต่งเล็กน้อย แล้วนำไปปล่อยเช่าเพื่อสร้างรายได้ นอกจากนี้ ราคาอสังหาริมทรัพย์มีแนวโน้มที่จะเพิ่มขึ้นในระยะยาว โดยเฉพาะในทำเลที่มีศักยภาพ การซื้อบ้านในราคาที่ต่ำกว่าตลาด จึงเป็นโอกาสในการทำกำไรในอนาคต และยังสามารถซื้อมาปรับปรุงตกแต่งใหม่ให้สวยงาม แล้วขายในราคาที่สูงขึ้นได้อีกด้วย
5. ขอสินเชื่อจากสถาบันทางการเงิน
การขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านติดธนาคารก็เหมือนกับการขอสินเชื่อเพื่อซื้อบ้านทั่วไป แต่เราสามารถขอสินเชื่อกับธนาคารเจ้าของทรัพย์สินได้โดยตรง ทำให้ขั้นตอนการขอสินเชื่อเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว ธนาคารหลายแห่งให้บริการสินเชื่อสำหรับการซื้อสินทรัพย์ประเภทนี้โดยเฉพาะ ผู้ซื้อสามารถเปรียบเทียบอัตราดอกเบี้ยและเงื่อนไขต่าง ๆ ของแต่ละธนาคาร เพื่อเลือกธนาคารที่เหมาะสมกับตนเองได้
ขั้นตอนการซื้อบ้าน NPA กับธนาคาร
หากคุณกำลังมองหาบ้านหรือต้องการกู้ซื้อที่ดินราคาประหยัด การซื้อบ้าน NPA อาจเป็นทางเลือกที่ดีสำหรับคุณ สำหรับขั้นตอนการซื้อบ้านที่รอการขายโดยธนาคารอาจมีขั้นตอนที่แตกต่างกันไปตามแต่นโยบายของแต่ละธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน โดยขั้นตอนที่พบได้ทั่วไป มีดังนี้่
1. การค้นหาทรัพย์สิน : เราสามารถเข้าดูรายการทรัพย์สินบนเว็บไซต์ของธนาคารหรือสถาบันทางการเงิน ยกตัวอย่างเช่น NPA Krungthai Bank โดยทรัพย์ NPA คือทรัพย์สินที่ลูกหนี้ผิดนัดชำระหนี้กับธนาคาร จากนั้นก็เลือกทรัพย์สินที่ตรงกับความต้องการ เช่น ทำเล ราคา และประเภทอสังหาริมทรัพย์
2. การตรวจสอบทรัพย์สิน : เริ่มต้นจากการตรวจสอบสถานะของทรัพย์สิน เช่น สภาพบ้าน เอกสารสิทธิ์ และหนี้สินที่อาจติดอยู่กับทรัพย์ หากเจอบ้านที่ถูกใจก็สามารถลงพื้นที่ตรวจดูบ้านจริง เพื่อประเมินความคุ้มค่าก่อนได้
3. การเตรียมเอกสาร : โดยเอกสารสำคัญ ได้แก่ บัตรประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน เอกสารรายได้ และสำเนาบัญชีเงินฝาก หากต้องการขอสินเชื่อ ต้องเตรียมเอกสารเพิ่มเติม เช่น หนังสือรับรองเงินเดือน
4. การติดต่อธนาคาร : เมื่อพร้อมแล้วให้ติดต่อธนาคารเจ้าของทรัพย์สินเพื่อแจ้งความประสงค์ในการซื้อ หลังจากนั้นธนาคารจะนัดวันประมูลหรือเสนอราคาซื้อขาย
5. การขอสินเชื่อ : ธนาคารหรือสถาบันทางการเงินเจ้าของทรัพย์สินมักมีข้อเสนอสินเชื่อพิเศษสำหรับผู้ซื้อ ให้เราเปรียบเทียบข้อเสนอจากหลายธนาคารเพื่อเลือกที่ดีที่สุด จากนั้นก็สามารถดำเนินการขอสินเชื่อได้ตามปกติ
ข้อควรรู้ก่อนซื้อบ้านมือสอง NPA
การซื้อ NPA ไม่ได้ยุ่งยากอย่างที่คิด หากคุณเตรียมตัว วางแผนมาเป็นอย่างดี และเข้าใจขั้นตอนต่างๆ การซื้อขายก็จะราบรื่นและคุณจะได้บ้านในราคาที่คุ้มค่า มาดูขั้นตอนการซื้อทรัพย์สิน NPA อย่างละเอียดกันเลย
ค่าใช้จ่าย
นอกจากราคาซื้อบ้านแล้ว ยังมีค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่ต้องเตรียม ดังนี้
- ค่าธรรมเนียมการประมูล : หากเป็นการซื้อบ้านผ่านการประมูล จะมีค่าธรรมเนียมการประมูล
- ค่าโอนกรรมสิทธิ์ : ค่าใช้จ่ายในการโอนกรรมสิทธิ์จากธนาคารมายังชื่อของผู้ซื้อ
- ค่าภาษีธุรกิจเฉพาะ : ภาษีที่ต้องชำระเมื่อโอนกรรมสิทธิ์ในอสังหาริมทรัพย์
- ค่าอากรแสตมป์ : ค่าอากรที่ต้องชำระสำหรับสัญญาซื้อขาย
- ค่าจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม : ค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่สำนักงานที่ดิน
- ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ : อาจมีค่าใช้จ่ายอื่น ๆ เพิ่มเติม เช่น ค่าประเมินราคาทรัพย์สิน ค่าทนายความ (หากมี)
ขั้นตอนการทำสัญญาซื้อขาย
- การจอง : เมื่อตัดสินใจเลือกบ้านที่ต้องการเรียบร้อยแล้ว เราจะต้องทำการจอง โดยชำระเงินจองตามที่ธนาคารกำหนด
- ทำสัญญาเบื้องต้น : หลังจากจองแล้ว ธนาคารจะจัดทำสัญญาเบื้องต้นให้ผู้ซื้อพิจารณา
- ตรวจสอบเอกสาร : ตรวจสอบเอกสารสัญญาผ่อนบ้านกับธนาคารให้ละเอียดก่อนลงนาม
- ทำสัญญาซื้อขาย : เมื่อตกลงกันได้ทั้งสองฝ่าย จะทำสัญญาซื้อขายฉบับสมบูรณ์
- ชำระเงิน : ชำระเงินตามเงื่อนไขที่ระบุในสัญญา ซึ่งอาจเป็นการชำระเงินดาวน์ หลังจากนั้นก็ผ่อนต่อ หรือชำระเงินทั้งหมด
การตรวจรับบ้านก่อนเข้าอยู่
ก่อนทำการโอนกรรมสิทธิ์ ควรตรวจสอบสภาพของบ้านอย่างละเอียด เพื่อให้มั่นใจว่าบ้านอยู่ในสภาพที่สามารถเข้าอยู่อาศัยได้ โดยสามารถทำได้ดังนี้
- ตรวจสอบโครงสร้าง : ตรวจสอบโครงสร้างของบ้าน เช่น ผนัง พื้น หลังคา ว่ามีรอยร้าวหรือเสียหายหรือไม่
- ระบบไฟฟ้าและประปา : ตรวจสอบระบบไฟฟ้า ประปา ว่าใช้งานได้ดีหรือไม่
- สุขภัณฑ์ : ตรวจสอบสุขภัณฑ์ต่างๆ ว่าใช้งานได้สมบูรณ์
- สิ่งอำนวยความสะดวก : ตรวจสอบสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ที่ติดมากับบ้าน เช่น แอร์ เครื่องทำน้ำอุ่น ว่าใช้งานได้หรือไม่
- เอกสารสิทธิ์ : ตรวจสอบเอกสารสิทธิ์ของบ้านให้ครบถ้วน
NPA ก้าวแรกสู่การเป็นเจ้าของบ้านด้วยงบประมาณจำกัด โอกาสทองที่ใครก็อยากได้
การซื้อบ้าน NPA เป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ที่ต้องการมีบ้านเป็นของตัวเองในราคาที่คุ้มค่า โดยบ้านมือสอง NPA มีข้อดีมากมาย ไม่ว่าจะเป็น ราคาถูกกว่าบ้านมือหนึ่ง ไม่ต้องเป็นหนี้เยอะ พร้อมเข้าอยู่ ทำเลดี และมีโอกาสในการลงทุน อย่างไรก็ตาม การซื้อบ้านประเภทนี้ก็ยังมีความซับซ้อนอยู่บ้าง ก่อนตัดสินใจซื้อเราจึงควรศึกษาข้อมูลให้ละเอียด และเตรียมตัวให้พร้อมทั้งในเรื่องของเอกสาร สินเชื่อ รวมถึงค่าใช้จ่ายต่างๆ เพื่อให้การซื้อขายเป็นไปอย่างราบรื่น
สำหรับใครที่อยากเพิ่มความมั่นคงทางการเงิน และต้องการเตรียมแผนสำรองที่ช่วยให้เข้าถึงเงินฉุกเฉินได้ตลอดเวลา ขอแนะนำบัตรกดเงินสด KTC PROUD ตัวช่วยด้านการเงินยามฉุกเฉิน สำหรับคนที่ต้องการวางแผนการเงินให้รอบคอบ ขั้นตอนการสมัครง่าย อนุมัติไวภายในหนึ่งสัปดาห์ วงเงินสูงสุดถึง 1 ล้านบาท เงินเดือน 12,000 บาท ขึ้นไป สามารถใช้ผ่อนโปรโมชั่น 0% กับสินค้าที่ร่วมรายการได้ ไม่มีค่าธรรมเนียมเบิกถอนเงินทุกกรณี
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี
เข้าถึงเงินก้อนฉุกเฉินได้ทุกสถานการณ์ด้วยบัตรกดเงินสด KTC PROUD