ในฤดูฝน อุณหภูมิจะลดลงเป็นบางช่วง อากาศเริ่มเย็นและมีความชื้นสูงขึ้น เป็นสาเหตุไม่สบาย ป่วยง่าย และมีหลายโรคแพร่ระบาดได้อย่างรวดเร็ว ไม่อยากเสี่ยงเจ็บไข้ได้ป่วย ต้องเติมความรู้ เกี่ยวกับโรคต่างๆ ที่มาในช่วงหน้าฝน และสิ่งสำคัญคือดูแลสุขภาพเพื่อเตรียมพร้อมป้องกันรับมืออาการป่วย ได้อย่างรวดเร็ว
โปรโมชั่นแลกคะแนนรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13% แบบไม่จำกัดตลอดรายการ ที่โรงพยาบาลและคลินิกทั่วประเทศ
เพียงใช้จ่ายผ่านบัตรฯ แบบเต็มจำนวนครบทุก 1,000 บาท/เซลส์สลิป และแลกคะแนน KTC FOREVER ทุก 1,000 คะแนน รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 130 บาท
- ระยะเวลาโปรโมชั่น : 1 ต.ค. 67 - 31 ธ.ค. 68
1. โรคไข้เลือดออก (Dengue Haemorrhagic Fever, Haemorrhagic fever)
โรคไข้เลือดออก เกิดได้กับทุกเพศทุกวัย โดยมียุงลายเป็นตัวพาหะนำโรค โรคนี้เป็นโรคติดต่อ จากเชื้อไวรัสเดงกี โดยไข้เลือดออกจะระบาดในช่วงหน้าฝน เนื่องจากมีน้ำขังตามพื้นที่ต่างๆ ซึ่งเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง
- สาเหตุ : โรคไข้เลือดออกเกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี (Dengue virus: DENV) ซึ่งการแพร่กระจายของไวรัสอาศัยยุงลายบ้าน และยุงลายสวน เป็นพาหะนำโรคจากคนหนึ่งไปสู่อีกคนหนึ่ง
- อาการ : ไข้เลือดออก โรคที่มากับหน้าฝน มีระยะเวลาระยะฟักตัวในคน 3 - 7 วัน มีอาการไม่รุนแรงไปจนถึงรุนแรง ได้แก่ มีไข้ร่วมกับปวดศีรษะ ปวดเมื่อยตัว มีไข้สูง ปวดกระบอกตา ปวดกระดูก มีผื่น อาจมีจุดเลือดออกที่ผิวหนัง มีไข้สูงร่วมกับอาการเลือดออก ตับโต และมีภาวะช็อกในรายที่รุนแรงอาจถึงขั้นเสียชีวิตได้
- การรักษา : ในปัจจุบันยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสเดงกี เป็นการรักษาโรคไข้เลือดออกตามอาการ สำหรับหลักการดูแลรักษาเบื้องต้นเมื่อเป็นไข้เลือดออก ได้แก่ พักผ่อนให้เพียงพอ, หากมีไข้ให้รับประทานยาพาราเซตามอลหรือเช็ดตัวเพื่อลดไข้ ห้ามรับประทานยาประเภท NSAIDs และ Steroids เช่น แอสไพริน ไอบูโพรเฟ่น เนื่องจากอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติในทางเดินอาหาร เกิดภาวะตับ/ไตวายเฉียบพลัน, ควรรับประทานอาหารอ่อน ย่อยง่าย, ดื่มน้ำเกลือแร่หรือน้ำผลไม้แทนน้ำเปล่า เนื่องจากผู้ป่วยส่วนใหญ่มีไข้สูง เบื่ออาหาร และอาเจียน ทำให้ขาดน้ำและเกลือแร่ หากไม่ดีขึ้นอาการรุนแรงดังนี้ ไข้ลดลงแต่อาการไม่ดีขึ้น อ่อนเพลีย ไม่มีแรง กระสับกระส่าย, ปวดท้องหรืออาเจียนมากกว่า 3 ครั้ง/วัน, หน้ามืด จะเป็นลม เวียนศีรษะ หรือมือและเท้าเย็น ซึมลง, ปัสสาวะลดลงหรือไม่มีปัสสาวะใน 4 - 6 ชั่วโมงที่ผ่านมา, เลือดออกผิดปกติ เช่น เลือดกำเดาไหล อุจจาระสีดำ อาเจียนเป็นเลือด ประจำเดือนมานอกรอบหรือมามากผิดปกติ ปัสสาวะสีน้ำตาลเข้มหรือดำ ให้รีบไปพบแพทย์ทันที
- การป้องกัน : ไม่ให้ถูกยุงกัด ได้แก่ ทายากันยุง นอนในมุ้ง ให้เสื้อแขนยาว กางเกงขายาว หมั่นเปลี่ยนน้ำในแจกันทุกสัปดาห์ ใช้ทรายกำจัดลูกน้ำในภาชนะน้ำใช้ ปิดฝาภาชนะน้ำกิน/น้ำใช้ให้มิดชิด คว่ำภาชนะที่ไม่ใช้ ไม่ให้มีน้ำขัง เก็บบ้านให้ปลอดโปร่ง ไม่ให้มีมุมอับ เพื่อป้องกันยุงลายมาเกาะพัก
ร่างกายแข็งแรง เป็นเกราะป้องกันไม่ให้เราป่วยในช่วงหน้าฝนได้ แต่หากป่วยเป็นไข้หวัดขึ้นมา สิ่งแรกที่ต้องทำคือพักผ่อนให้เพียงพอ
2. โรคไข้หวัดใหญ่ (Influenza, Flu)
ไข้หวัดใหญ่เป็นการติดเชื้อไวรัสที่ระบบทางเดินหายใจแบบเฉียบพลัน โดยมีลักษณะทางคลินิกที่สำคัญคือ มีไข้สูงแบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลีย
- สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งมี 3 ชนิด คือ A, B และ C ไวรัสชนิด A เป็นชนิดที่ทำให้เกิดการระบาดอย่างกว้างขวางทั่วโลก ไวรัสชนิด B ทำให้เกิดการระบาดในพื้นที่ระดับภูมิภาค ส่วนชนิด C มักเป็นการติดเชื้อที่แสดงอาการอย่างอ่อนหรือไม่แสดงอาการ และไม่ทำให้เกิดการระบาด โดยเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ติดต่อทางการหายใจ โดยจะได้รับเชื้อที่ออกมาปนเปื้อนอยู่ในอากาศเมื่อผู้ป่วยไอ จาม หรือพูด รวมถึงการสัมผัสฝอยละอองน้ำมูก น้ำลายของผู้ป่วย จากมือที่สัมผัสกับพื้นผิวที่มีเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ แล้วใช้มือสัมผัสที่จมูกและปาก
- อาการ : จะเริ่มสังเกตหลังได้รับเชื้อ 1-4 วัน ผู้ป่วยจะมีไข้แบบทันทีทันใด ปวดศีรษะ หนาวสั่น ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ อ่อนเพลียมาก และอาจพบอาการคัดจมูก เจ็บคอ ถ้าป่วยเป็นระยะเวลานานอาจจะมีอาการไอจากหลอดลมอักเสบ อาการจะรุนแรงและป่วยนานกว่าไข้หวัดธรรมดา ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะหายเป็นปกติภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่มีบางรายที่มีอาการรุนแรง เนื่องจากมีภาวะแทรกซ้อนที่สำคัญคือ ปอดบวม ซึ่งอาจทำให้เสียชีวิตได้
- การรักษา : ให้ยาต้านไวรัส Amantadine hydrochloride หรือยา rimantidine hydrochloride ภายใน 48 ชั่วโมง นาน 3-5 วัน จะช่วยลดอาการและจำนวนเชื้อไวรัสชนิด A ในสารคัดหลั่งที่ทางเดินหายใจได้ ทั้งนี้ หากป่วยให้พักอยู่บ้าน จนกว่าจะหาย ดูแลสุขอนามัย รับประทานยาตามแพทย์สั่ง พักผ่อนให้เพียงพอ
- การป้องกัน : วิธีป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ได้แก่ ฉีดวัคซีนป้องกันโรคไข้หวัดใหญ่ทุกปี, หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดกับผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่, หลีกเลี่ยงการไปในสถานที่ที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่สะดวก, ล้างมือให้สะอาดบ่อยๆ, หลีกเลี่ยงการสัมผัสบริเวณดวงตา จมูก หรือปาก เพราะเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่สามารถติดต่อได้ตามช่องทางเหล่านี้, สวมหน้ากากอนามัย
3. โรคฉี่หนู (Leptospirosis, Weil Disease)
โรคฉี่หนู หรือ โรคเล็ปโตสไปโรซิส เป็นโรคของสัตว์ที่สามารถติดต่อมาสู่คน ซึ่งเป็นกลุ่มอาการของโรคจากเชื้อแบคทีเรียที่ติดต่อมาจากสัตว์หลายชนิด ก่ออาการหลากหลายขึ้นกับชนิดของเชื้อ และปริมาณเชื้อที่ได้รับ การติดเชื้อมีได้ตั้งแต่ไม่ปรากฏอาการ มีอาการอย่างอ่อน อาการรุนแรง หรือถึงขั้นเสียชีวิต
- สาเหตุ : เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียชื่อว่า เชื้อเลปโตสไปรา โดยเชื้อถูกปล่อยออกมากับปัสสาวะของสัตว์ที่ติดเชื้อ และปนเปื้อนอยู่ตามน้ำ ดินที่เปียกชื้น หรือพืช ผัก โดยเชื้อสามารถเข้าสู่ร่างกายทางบาดแผล รอยขีดข่วน รอยถลอกตามผิวหนัง เยื่อบุตา จมูก ปาก หรือโดยการไชเข้าทางผิวหนังที่แช่น้ำเป็นเวลานาน โรคฉี่หนูจึงได้ชื่อว่าเป็นโรคที่มากับหน้าฝนเนื่องจากมักระบาดในหน้าฝนและโดยเฉพาะหลังน้ำลด
- อาการ : อาการอาจแตกต่างกันออกไป ขึ้นกับชนิดและปริมาณของเชื้อ อาการที่พบบ่อยได้แก่ ไข้เฉียบพลัน ปวดศีรษะรุนแรง หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้ออย่างรุนแรง ตาแดง อาจมีไข้ติดต่อกันหลายวันสลับกับระยะไข้ลด และมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ มีผื่นที่เพดานปาก โลหิตจาง มีจุดเลือดออกตามผิวหนังและเยื่อบุ ตับและไตวาย ดีซ่าน อาจมีเยื่อหุ้มสมองอักเสบ ทำให้รู้สึกสับสน เพ้อ ซึม กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ อาจมีอาการทางระบบทางเดินหายใจ ไอมีเสมหะ เจ็บหน้าอก
- การรักษา : การรักษาโรคควรประกอบด้วยการให้ยาปฏิชีวนะที่รวดเร็วและเหมาะสม การรักษาตามอาการเพื่อแก้ไขความผิดปกติ และภาวะแทรกซ้อน ร่วมกับการรักษาประคับประคอง การให้ยาปฏิชีวนะโดยเร็วที่สุด จะช่วยลดความรุนแรงและป้องกันอาการแทรกซ้อนของโรคได้ ซึ่ง Penicillin ถือเป็นปฏิชีวนะที่ให้ผลการรักษาที่ได้ผลดีที่สุด
- การป้องกัน : หลีกเลี่ยงพื้นที่ที่มีน้ำขัง พื้นที่ชื้นแฉะ การลุยน้ำท่วมหรือโคลน โดยเฉพาะเมื่อมีบาดแผล รอยถลอก ขีดข่วน ควรสวมรองเท้าผ้าใบ สำหรับเกษตรกรผู้สัมผัสมูลสัตว์ หรือสิ่งสกปรกควรล้างมือ ล้างเท้า อาบน้ำชำระร่างกายทันทีหลังเสร็จจากการทำงาน และต้องใส่ถุงมือ หรือชุดป้องกัน นอกจากนี้ยังต้องรักษาความสะอาดบริเวณบ้านเรือน กำจัดขยะเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งอาหารของหนู เก็บอาหารและน้ำดื่มให้มิดชิด ดื่มน้ำต้มสุกหรือน้ำสะอาด รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่ๆ ด้วยความร้อน
4. โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน (Acute diarrhea)
ในช่วงฤดูฝนทำให้มีความชื้นในอากาศมากเชื้อโรคเจริญเติบโตและแพร่เชื้อได้ดี ส่งผลให้อาหารและน้ำดื่มมีโอกาสปนเปื้อนเชื้อโรคเพิ่มขึ้น นำไปสู่การเกิดโรคของระบบทางเดินอาหารได้ง่าย โดยเฉพาะโรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน
- สาเหตุ : เกิดได้ทั้งจากเชื้อแบคทีเรียและเชื้อไวรัส โดยได้รับเชื้อผ่านการรับประทานอาหารหรือน้ำที่ปนเปื้อนเชื้ออยู่ การรับประทานอาหารสุกๆ ดิบๆ หรืออาหารที่มีแมลงวันตอม
- อาการ : ถ่ายอุจจาระเหลวกว่าปกติเกิน 3 ครั้งต่อวันหรือถ่ายเป็นน้ำ 1 ครั้งต่อวัน หรือถ่ายมีมูกปนเลือด 1 ครั้งต่อวันอาจมีไข้ ปวดท้อง คลื่นไส้อาเจียน ทั้งนี้ โรคอุจจาระร่วงเฉียบพลัน จะมีภาวะแทรกซ้อนในเด็กและผู้สูงอายุ โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคหัวใจ โรคไต อาจจะมีภาวะขาดน้ำรุนแรง ทำให้ร่างกายสูญเสียทั้งน้ำและแร่ธาตุจำเป็น รวมทั้งมีความผิดปกติของสมดุลเกลือแร่ในเลือดเหงื่อออกตัวเย็น มือเท้าเย็น
- การรักษา : กรณีที่เป็นเด็กให้รับประทานอาหารเหลว ส่วนวัยทั่วไปรวมถึงผู้สูงอายุให้รับประทานอาหารตามปกติ แต่ควรเป็นอาหารอ่อน และย่อยง่าย ที่สำคัญควรให้ผู้ป่วยดื่มน้ำละลายผงน้ำตาลเกลือแร่เพื่อป้องกันการขาดน้ำ ไม่ควรกินยาเพื่อให้หยุดถ่าย เพราะจะทำให้เชื้อโรคค้างอยู่ในร่างกาย ซึ่งจะเป็นอันตรายมากขึ้น ทั้งนี้ หากพบผู้ป่วยที่มีอาการไข้ขึ้นสูง อาเจียนมาก ถ่ายเหลวมาก ควรนำไปพบแพทย์ทันที ถ้าล่าช้าอาจทำให้ไตวายหรือเสียชีวิตได้
- การป้องกัน : ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่และน้ำสะอาดทุกครั้งก่อนปรุงหรือรับประทานอาหารและภายหลังการเข้าห้องน้ำ, ดื่มน้ำสะอาด เช่น น้ำต้มสุก น้ำบรรจุขวดถูกสุขลักษณะ, เลือกรับประทานอาหารที่สะอาดสุกใหม่ๆ, หากจะบริโภคผักผลไม้สด ควรล้างทำความสะอาดด้วยน้ำสะอาดหลายๆ ครั้ง รวมทั้งกําจัดสิ่งปฏิกูล ขยะมูลฝอยเพื่อไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงวัน และไม่ควรรับประทานอาหารที่สุกๆ ดิบๆ
โรคตาแดง เกิดได้ตลอดทั้งปี แต่เป็นอีกหนึ่งโรคที่ในช่วงหน้าฝนจะเป็นกันเยอะ เนื่องจาก มีเชื้อโรคที่สามารถติดต่อทางน้ำฝนด้วย
5. โรคเยื่อบุตาอักเสบ (Hemorrhagic Conjunctivitis)
โรคเยื่อบุตาอักเสบ หรือโรคตาแดง เป็นโรคระบาดทางตาที่สามารถติดต่อกันได้ง่าย และ รวดเร็ว พบได้ตลอดทั้งปี แต่ได้ชื่อว่าเป็นโรคที่มากับหน้าฝน เพราะมักจะระบาดมากในช่วงหน้าฝนเนื่องจากเชื้อมีการกระจายตัวได้ง่ายขึ้น
- สาเหตุ : เกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ติดเชื้อ ภูมิแพ้ ถูกสารเคมี เป็นต้น ชนิดที่จะกล่าวถึงที่พบได้บ่อยและติดต่อกันได้ง่ายมาก คือ โรคเยื่อบุตาอักเสบจากเชื้อไวรัส ชนิดที่พบมากที่สุดคือ อะดีโนไวรัส (Adenovirus) เชื้อโรคติดต่อทางน้ำตา ผ่านทางการสัมผัสโดยตรงจากมือหรือของใช้ และไปสัมผัสตาของอีกคน หรือถูกน้ำสกปรกเข้าตา
- อาการ : อาการของโรคจะพบหลังจากที่มือหรือวัตถุที่มีเชื้อโรคมาสัมผัสตาโดยตรง ประมาณ 1-2 วัน จะเริ่มมีอาการเยื่อบุตา ที่คลุมภายในหนังตา และคลุมตาขาว เกิดการอักเสบ บวม เคืองตามาก น้ำตาไหล เจ็บตา มักจะมีขี้ตามากร่วมด้วย อาจเป็นเมือกใสหรือมีสีเหลืองอ่อน ส่วนใหญ่จะเป็นที่ตาข้างใดข้างหนึ่ง ยกเว้นจะติดเชื้อพร้อมๆ กัน แต่อย่างไรก็ตามอีกข้างมักจะติดเชื้อด้วยเนื่องจากไม่ได้ระมัดระวัง การติดเชื้อมักมีอาการมากในช่วง 4-7 วันแรกแต่จะหายได้เอง ในเวลาประมาณ 7-14 วัน ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน
- การรักษา : รักษาตามลักษณะอาการของโรค และจำกัดการแพร่เชื้อจนกว่าอาการจะหายดี เนื่องจากยังไม่มียาฆ่าเชื้อไวรัสนี้โดยตรง หากมีขี้ตามากให้รักษาด้วยการหยอดยาปฏิชีวนะ ถ้ามีไข้ เจ็บคอ ให้รักษาโดยใช้ยาแก้อักเสบร่วมกับยาลดไข้ และยาลดปวด ทั้งนี้ไม่ควรออกนอกบ้านจนกว่าจะหาย เพื่อไม่ให้โรคตาแดงลุกลามหรือติดต่อสู่ผู้อื่น
- การป้องกัน : หมั่นล้างมือให้สะอาดอยู่เสมอ ก่อนเอามือสัมผัสหรือขยี้ตา, ไม่คลุกคลีใกล้ชิดกับผู้ป่วยตาแดง หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ให้ล้างมือหลังสัมผัสผู้ป่วย ไม่ใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วย, ไม่ใช้มือแคะ แกะ เกาหน้าตา ถ้ามีฝุ่นละออง หรือน้ำสกปรกเข้าตา ควรล้างตาด้วยน้ำสะอาดทันที, อย่าปล่อยให้แมลงหวี่หรือแมลงวันตอมตา นอกจากนี้ ควรหมั่นดูแลรักษาความสะอาดของร่างกาย สิ่งของเครื่องใช้ต่างๆ เช่น ผ้าเช็ดตัว ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าเช็ดหน้า ให้สะอาดอยู่เสมอ
6. โรคมือ เท้า ปาก (Hand, Foot and Mouth Disease)
โรคมือ เท้า ปาก เป็นโรคที่มักระบาดมากในช่วงฤดูฝน ส่วนใหญ่พบในเด็กอายุน้อยกว่า 10 ปี โดยเฉพาะอายุต่ำกว่า 5 ปี มีอาการไข้ร่วมกับตุ่มเล็กๆ เกิดขึ้นที่ผิวหนังบริเวณฝ่ามือ ฝ่าเท้า และในปาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง หายได้เอง ส่วนน้อยอาจมีอาการทางสมองร่วมด้วย ซึ่งอาจทำให้รุนแรงถึงเสียชีวิตได้
- สาเหตุ : เกิดจากเชื้อไวรัสกลุ่มที่อยู่ในลำไส้ของคน (Enteroviruses) ซึ่งมีหลายสายพันธุ์ สำหรับสายพันธุ์ที่ก่อโรคมือ เท้า ปาก เช่น Coxsackievirus Group A, type 16, enterovirus 71 ติดต่อโดยการกินเชื้อผ่านเข้าปากโดยตรงจากมือที่เปื้อนน้ำมูก น้ำลาย และอุจจาระของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ หรือน้ำในตุ่มพองหรือแผลของผู้ป่วย และโดยการหายใจเอาเชื้อที่แพร่กระจายจากละอองฝอยของการไอ จาม ของผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อ
- อาการ : มีอาการไข้สูงอาจเกิน 39 องศาเซลเซียส 2 วันแล้วจะมีไข้ต่ำๆ ประมาณ 37.5 - 38.5 องศาเซลเซียส อีก 3-5 วัน บางครั้ง อาจบ่นเจ็บในปากกลืนน้ำลายไม่ได้ ไม่กินอาหาร พบตุ่มแผลในปาก ส่วนใหญ่พบที่เพดานอ่อนลิ้น กระพุ้งแก้ม เป็นสาเหตุให้เด็กไม่ดูดนม ไม่กินอาหารเพราะเจ็บ อาจมีน้ำลายไหล พบตุ่มพอง สีขาวขุ่นบนฐานรอบสีแดง บริเวณด้านข้างของนิ้วมือ นิ้วเท้า หรือที่ฝ่ามือ ฝ่าเท้า ส้นเท้า เวลากดจะเจ็บ ส่วนใหญ่ไม่ค่อยแตกเป็นแผล จะหายไปได้เองในเวลาประมาณ 1 สัปดาห์ ในเด็กเล็กๆ บางครั้งจะพบมีผื่นนูนสีแดงเล็กที่ก้น ส้นเท้า ซึ่งจะหายไปได้เองภายใน 1-3 วัน
- การรักษา : รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาลดไข้ แก้ปวด ทายาที่ลดอาการปวดในรายที่มีแผลที่ลิ้นหรือกระพุ้งแก้ม แต่ในกรณีผู้ป่วยมีอาการแทรกซ้อนรุนแรง เช่น รับประทานอาหารหรือนมไม่ได้ มีอาการสมองอักเสบ/เยื่อหุ้มสมองอักเสบ ภาวะปอดบวมน้ำ กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ กล้ามเนื้ออ่อนแรง ต้องให้การรักษาแบบ intensive care และดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญ
- การป้องกัน : ไม่ควรนำเด็กเล็กไปในที่แออัด ควรอยู่ในที่ที่มีการระบายถ่ายเทอากาศได้ดี, หลีกเลี่ยงการสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยและระมัดระวังการไอจามรดกันให้ใช้ผ้าปิดปากปิดจมูก, ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังเตรียมอาหาร ก่อนรับประทานอาหาร และภายหลังการขับถ่าย, ใช้ช้อนกลางและหลีกเลี่ยงการใช้แก้วน้ำหรือหลอดดูดน้ำร่วมกัน
7. โรคปอดอักเสบ (Pneumonia)
โรคปอดอักเสบ หรือ โรคปอดบวม เป็นโรคที่อันตรายที่มากับหน้าฝน โดยพบผู้ป่วยเป็นโรคนี้มากในช่วงฤดูฝน โรคนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคนที่ไม่ค่อยแข็งแรงและมีภูมิต้านทานโรคต่ำ โดยมากจะพบกับผู้ป่วยที่เคยมีอาการไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ต่อมทอนซิลอักเสบ หัด อีสุกอีใส ไอกรน ฯลฯ อยู่แล้ว
- สาเหตุ : โรคปอดอักเสบอาจเกิดได้ทั้งจากไวรัส แบคทีเรีย และเชื้อรา ซึ่งแตกต่างกันในแต่ละกลุ่มอายุ และสภาพแวดล้อมที่เกิดปอดอักเสบ โดยเชื้อโรคจะแพร่กระจายโดยการไอ จาม หรือหายในรดกัน
- อาการ : มีไข้ขึ้นสูงประมาณ 39-40 องศาเซลเซียส และอาจมีอาการจับไข้ตลอดเวลา หนาวสั่น (โดยเฉพาะในระยะที่เริ่มเป็น), หายใจหอบ, หน้าแดง ริมฝีปากแดง ลิ้นเป็นฝ้า, ในระยะแรกอาจมีอาการไอแห้งๆ ไม่มีเสมหะ แต่ต่อมาเสมหะจะมีสีขุ่นข้นออกเป็นสีเหลือง สีเขียว หรือมีเลือดปน, ส่วนอาการที่พบในเด็กโตและผู้ใหญ่นั้นอาจมีอาการเจ็บแปล๊บในหน้าอกเวลาหายใจเข้า หรือเวลาไอแรงๆ บางครั้งอาจมีอาการปวดร้าวไปที่หัวไหล่ สีข้าง หรือท้องด้วย ส่วนในเด็กเล็กอาจมีอาการปวดท้อง ท้องอืด ท้องเดิน อาเจียน กระสับกระส่าย หรือชัก ถ้าเป็นมากๆ อาจมีอาการตัวเขียว ริมฝีปากเขียว ลิ้นเขียว
- การรักษา : สำหรับผู้ป่วยที่เริ่มเป็น ยังไม่มีอาการหอบ ให้ดื่มน้ำมากๆ ใช้ผ้าชุบน้ำเช็ดตัวเวลามีไข้สูง ให้ยาลดไข้และให้ยาปฏิชีวนะ ถ้าอาการดีขึ้นใน 3 วัน ควรให้ยาปฏิชีวนะต่อไปอีก 1 สัปดาห์ แต่ถ้าไม่ดีขึ้นหรือกลับมีอาการหอบควรไปโรงพยาบาล ถ้ามีอาการหอบ หรือสงสัยว่ามีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ รีบให้ยาปฏิชีวนะ แล้วส่งโรงพยาบาลโดยด่วน หากรักษาไม่ทัน อาจเสียชีวิตได้ ถ้ามีภาวะขาดน้ำ ควรให้น้ำเกลือระหว่างเดินทางไปด้วย
- การป้องกัน : ปอดอักเสบเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่เมื่อใดที่ร่างกายอ่อนแอก็สามารถกลับมาป่วยด้วยโรคนี้ได้ดังเดิม ดังนั้นการป้องกันและรักษาสุขภาพให้แข็งแรง จึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยการหมั่นดูแลความสะอาด, หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด, รับประทานอาหารตามหลักโภชนาการ, ไม่สูบบุหรี่และหลีกเลี่ยงควันบุหรี่, ควรแยกของเล่นชิ้นเล็กๆ ออกห่างจากมือเด็ก เพื่อป้องกันไม่ให้เด็กนำเข้าปาก, เมื่อเป็นไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ หัด อีสุกอีใส ฯลฯ ควรดูแลรักษาเสียแต่เนิ่นๆ หากมีอาการไม่ดีขึ้นให้รีบไปพบแพทย์
วิธีดูแลและป้องกันตัวเองจากโรคที่มากับหน้าฝนเบื้องต้น
- ดูแลและหมั่นออกกำลังกายสม่ำเสมอ : หลีกเลี่ยงการตากฝน ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ พักผ่อนให้เพียงพอ
- รักษาความสะอาด : ล้างมือบ่อย ๆ อาบน้ำทันทีหลังจากเปียกฝน
- ดูแลสุขภาพช่องปากและระบบทางเดินหายใจ : ใส่หน้ากากอนามัย ดื่มน้ำอุ่น
- ป้องกันตัวเองไม่ให้ติดเชื้อ : เช็คจุดน้ำขังภายในบ้าน ทายากันยุง หรือสวมเสื้อผ้าที่ปกปิดร่างกายอย่างมิดชิด
แม้จะดูแลตัวเองเป็นอย่างดี แต่อาการป่วยก็อาจเกิดขึ้นได้ และมักมาเยือนโดยที่ไม่ทันได้ตั้งตัว การมีเงินสำรองไว้ใช้จ่ายในกรณีเจ็บป่วยจึงเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ว่าจะทำประกันภัยสุขภาพไว้แล้ว แต่บางกรณีอาจต้องสำรองจ่ายไปก่อน เลือกชำระด้วยบัตรเครดิตสะดวก และรวดเร็ว
แนะนำให้ทำบัตรเครดิต KTC ติดตัวไว้สักใบ เพื่อความสะดวกหากเกิดเหตุฉุกเฉิน อีกทั้งยังมีสิทธิประโยชน์ โปรโมชั่นมากมาย สนใจสมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์ สมัครได้เลย สมัครง่าย อาชีพไหนก็สมัครได้
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC