ประกันสังคม มาตรา 39 Vs ประกันสังคม มาตรา 40 เหมือนหรือต่างกันยังไง
ปัจจุบันการมองหาความคุ้มครองหรือหลักประกันต่าง ๆ ในการดำเนินชีวิตถือเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะหลักประกันด้านสุขภาพและสิทธิประโยชน์อื่น ๆ ที่ควรได้รับ และประกันสังคมถือเป็นหนึ่งในสวัสดิการที่ภาครัฐมอบให้แก่ลูกจ้างและนายจ้างที่ส่งเงินสบทบเข้ากองทุนประกันสังคมตามที่กฎหมายกำหนด โดยผู้ประกันตนที่สามารถรับสิทธิประกันสังคมได้ถูกแบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ ผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ผู้ประกันตนตามมาตรา 39 และผู้ประกันตนตามมาตรา 40 ที่ต้องทำการจ่ายเงินสมทบเข้าประกันสังคมทุกเดือน เพื่อรักษาสิทธิประโยชน์ที่ได้รับจากหลักประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในการดำรงชีวิตของผู้ประกันตน เช่น การเจ็บป่วย การรักษาพยาบาล ทุพพลภาพ ชราภาพ การว่างงาน หรือการเสียชีวิต แต่เชื่อว่ามีหลายคนยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับประกันสังคม มาตรา 39 และประกันสังคม มาตรา 40 ว่าแตกต่างกันอย่างไร ใครสมัครได้บ้าง ได้สิทธิประโยชน์อะไร โดยวันนี้ KTC จะพาไปไขข้อสงสัยกัน
ประกันสังคมมาตรา 39 คืออะไร
สำหรับประกันสังคม มาตรา 39 คือ ผู้ประกันตนโดยสมัครใจที่อาจเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 มาก่อน แล้วลาออกจากงานแต่ต้องการรักษาสิทธิประกันสังคมให้ต่อเนื่อง หรือผู้ที่เคยเป็นพนักงานเอกชนแล้วลาออก โดยมีเงื่อนไขคือต้องนำส่งเงินสมทบมาแล้วไม่น้อยกว่า 12 เดือน และออกจากงานไม่เกิน 6 เดือน ไม่เป็นผู้รับประโยชน์ทดแทนกรณีทุพพลภาพจากกองทุนประกันสังคม
ประกันสังคม มาตรา 39
ประกันสังคมมาตรา 39 สิทธิประโยชน์
สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 39 จะได้สิทธิประโยชน์ 6 กรณี ดังนี้
เจ็บป่วย
กรณีเจ็บป่วยปกติ มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลตามสิทธิการรักษาพยาบาลในประกันสังคม โดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย ในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินหรือเกิดอุบัติเหตุ ทางประกันสังคมเป็นผู้จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้
คลอดบุตร
กรณีคลอดบุตร สามารถฝากครรภ์และคลอดบุตรได้ทุกโรงพยาบาล รวมถึงเบิกค่าคลอดได้
สงเคราะห์บุตร
กรณีสงเคราะห์บุตร จะได้รับเงินเหมาจ่ายเดือนละ 600 บาทต่อบุตรหนึ่งคน
ทุพพลภาพ
กรณีทุพพลภาพ ในส่วนของค่ารักษาพยาบาลสามารถเข้ารับบริการทางการแพทย์ในสถานพยาบาลของรัฐไม่เสียค่าใช้จ่าย
ชราภาพ
กรณีชราภาพ เมื่อผู้ประกันตนมีอายุครบ 55 ปีบริบูรณ์ จะได้รับเงินบำเหน็จหรือเงินบำนาญตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมกำหนด
เสียชีวิต
กรณีเสียชีวิตจะได้รับเงินสงเคราะห์ โดยแบ่งเป็นเงินค่าทำศพและเงินสงเคราะห์ตามเงื่อนไขที่ประกันสังคมกำหนด
*สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 39 ได้เข้าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 (ได้มีการทำงานในสถานประกอบการหรือนายจ้างใหม่) นายจ้างสามารถดำเนินการแจ้งขึ้นทะเบียนผู้ประกันตนได้ภาย ใน 30 วันนับแต่วันที่เข้าทำงานโดยผู้ประกันตนไม่ต้องไปดำเนินการลาออกจากการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39
สมัครบัตรเครดิต เพื่อวงเงินสำรองใช้จ่ายฉุกเฉิน…ที่นี่
ประกันสังคมมาตรา 40
ประกันสังคมมาตรา 40 คืออะไร สำหรับผู้ประกันตนมาตรา 40 สิทธิประโยชน์สำหรับผู้ประกอบอาชีพอิสระ ฟรีแลนซ์ พ่อค้าแม่ค้า โดยมีทางเลือกสิทธิประโยชน์และการจ่ายเงินสบทบกองทุนประกันสังคม 3 ทางเลือกด้วยกันคือ
ประกันสังคม มาตรา 40
ทางเลือกที่ 1
จ่ายเงิน 70 บาท/เดือน รับสิทธิประโยชน์ 3 กรณี
- เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ
- กรณีเสียชีวิต (ค่าทำศพ)
ทางเลือกที่ 2
จ่ายเงิน 100 บาท/เดือน รับสิทธิประโยชน์ 4 กรณี
- เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ
- กรณีชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จ
- กรณีเสียชีวิต (ค่าทำศพ)
ทางเลือกที่ 3
จ่ายเงิน 300 บาท/เดือน รับสิทธิประโยชน์ 5 กรณี
- เงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีประสบอันตรายหรือเจ็บป่วย
- เงินทดแทนการขาดรายได้กรณีทุพพลภาพ
- เงินสงเคราะห์บุตร
- กรณีชราภาพ จะได้รับเงินบำเหน็จ
- กรณีเสียชีวิต (ค่าทำศพ)
ประกันสังคมมาตรา 40 ดีไหม
ประกันสังคมมาตรา 40 ถือเป็นอีกหนึ่งสวัสดิการของรัฐที่เปิดโอกาสให้ผู้ประกอบอาชีพอิสระสามารถเข้าร่วมประกันสังคม พร้อมจ่ายเงินสมทบเพื่อเป็นหลักประกันหากเกิดไม่คาดฝันก็ได้รับความคุ้มครองประกันสังคม นอกจากนี้ยังมีสิทธิรับเงินเยียวยาประเภทต่าง ๆ ที่ทางประกันสังคมหรือรัฐบาลมอบให้แก่ผู้ประกันตน อาทิ เงินเยียวยาประกันสังคมที่มอบให้ผู้ประกันตนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19
ประกันสังคม มาตรา 39 กับ 40 ต่างกันอย่างไร
สรุปง่าย ๆ ให้เข้าใจ คือ ประกันสังคมมาตรา 39 เหมาะสำหรับผู้ที่เคยทำงานประจำหรือเคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อน เมื่อออกจากงานแล้วยังต้องการคงสภาพความคุ้มครองประกันสังคมอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประกันสังคมมาตรา 40 เหมาะกับผู้ประกอบอาชีพอิสระ หรือแรงงานนอกระบบที่ไม่เคยทำประกันสังคมมาก่อนและต้องการได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ จากสำนักงานประกันสังคมตามเงินสบทบที่จ่าย
แม้สิทธิประโยชน์ประกันสังคมดูเหมือนให้ความคุ้มครองครอบคลุมเรื่องค่ารักษายามเจ็บป่วย กรณีคลอดบุตร ว่างงาน ชราภาพ หรือเสียชีวิต แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าการวางแผนทางด้านการเงินถือเป็นเรื่องจำเป็น โดยเฉพาะการเตรียมวงเงินสำรองเพื่อการใช้จ่ายในยามฉุกเฉินอย่างการออมเงินแล้ว การเลือกสมัครบัตรกดเงินสด หรือเลือกใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตที่มาพร้อมสิทธิประโยชน์หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคะแนนสะสม โปรโมชั่นผ่อน 0% หรือโปรโมชั่นส่วนลดสินค้าต่าง ๆ ที่ให้คุณเลือกรับความคุ้มค่า ปัจจุบันคุณสามารถสมัครบัตรเครดิตผ่านช่องทางออนไลน์ โดยไม่ต้องเดินทางไปที่ธนาคารโดยตนเองอีกด้วย
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานประกันสังคม ประกันสังคมมาตรา 40, ประกันสังคมมาตรา 39
สมัครบัตรเครดิต เพื่อการใช้จ่ายที่คล่องตัว…ที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
เปลี่ยนวงเงินในบัตรกดเงินสด เป็นทุนสำรองยามฉุกเฉิน...ที่นี่
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา