การทำธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดใหญ่ หนึ่งในปัจจัยที่สำคัญอย่างยิ่งต่อความอยู่รอดและการเติบโตของธุรกิจก็คือ "กระแสเงินสด" ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญที่บ่งบอกถึงสุขภาพทางการเงินของธุรกิจ เพราะการมีเงินสดเพียงพอในกิจการจะช่วยให้สามารถดำเนินธุรกิจได้อย่างราบรื่น และยังช่วยป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาการเงินในระยะยาว โดยในบทความนี้ KTC จะอธิบายถึงเรื่องราวเกี่ยวกับกระแสเงินสด คืออะไร Cash Flow คืออะไร กระแสเงินสด คํานวณอย่างไร ในแบบฉบับเข้าใจง่ายให้ทุกคนได้ทราบกัน
Cash Flow หรือ กระแสเงินสด คืออะไร ?
Cash Flow หรือ กระแสเงินสด คือ การเคลื่อนไหวของเงินสด ที่เข้าและออกจากธุรกิจในช่วงระยะเวลาหนึ่ง ทั้งนี้ กระแสเงินสดไม่ใช่เพียงแค่การที่ธุรกิจมีเงินทุนสำรอง แต่ยังหมายถึงการบริหารจัดการรายรับและรายจ่ายให้สมดุลกัน หากเอารายได้ลบรายจ่ายแล้วเหลือเงิน ก็หมายความว่ากระแสเงินสดเป็นบวก (Positive Cash Flow) ธุรกิจมีสภาพคล่อง โดย
ธุรกิจมีกระแสเงินสดที่ดีจะต้องมีรายรับมากกว่ารายจ่ายอย่างต่อเนื่อง
กิจกรรมในงบกระแสเงินสด มีอะไรบ้าง ?
งบกระแสเงินสดแบ่งออกเป็น 3 กิจกรรมหลัก คือ
1. กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities)
เป็นกระแสเงินสดที่เกิดจากการดำเนินงานหลักของธุรกิจ เช่น รายได้จากการขายสินค้าหรือบริการ การจ่ายเงินเดือนพนักงาน ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน การรับชำระหนี้จากลูกค้า การจ่ายเงินให้แก่เจ้าหนี้
2. กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน (Investing Activities)
เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการลงทุน การซื้อหรือขายสินทรัพย์ระยะยาว เช่น อาคาร เครื่องจักร การลงทุนในหลักทรัพย์ การซื้อหุ้นในบริษัทอื่นๆ การขายสินทรัพย์ เป็นต้น กิจกรรมนี้แสดงให้เห็นถึงการใช้เงินลงทุนเพื่อขยายธุรกิจหรือปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิต
3. กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน (Financing Activities)
เป็นกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการจัดหาเงินทุนหรือชำระหนี้ เช่น การออกหุ้นใหม่ การกู้ยืมเงิน การจ่ายเงินปันผลให้กับผู้ถือหุ้น การชำระหนี้ เป็นต้น กิจกรรมนี้แสดงให้เห็นถึงโครงสร้างทางการเงินของธุรกิจและความสามารถในการชำระหนี้
กระแสเงินสด หรือ Cash Flow ที่ดีจะช่วยให้ธุรกิจบริษัทนั้นๆ เป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง
กระแสเงินสด สำคัญอย่างไร ?
กระแสเงินสดมีความสำคัญต่อธุรกิจหลายอย่าง เช่น
- ช่วยวัดสภาพคล่องทางธุรกิจ ทำให้เห็นว่าธุรกิจมีเงินสดเพียงพอ ที่จะชำระหนี้ระยะสั้นและดำเนินกิจการต่อไปได้หรือไม่
- ประเมินความสามารถในการทำกำไร แสดงให้เห็นว่าธุรกิจสามารถสร้างเงินสดจากการดำเนินงานได้มากน้อยเพียงใด
- ช่วยในการตัดสินใจเกี่ยวกับการลงทุนและการขยายธุรกิจในอนาคต
- กระแสเงินสดที่แข็งแกร่งจะสามารถดึงดูดนักลงทุนและเพิ่มโอกาสในการระดมทุนได้
- ช่วยในการระบุความเสี่ยงทางการเงินและวางแผนรับมือได้อย่างทันเวลา
กระแสเงินสดที่ดีเป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้การดำเนินธุรกิจเป็นไปได้อย่างต่อเนื่อง หากธุรกิจขาดสภาพคล่องทางการเงินหรือไม่สามารถจัดการกระแสเงินสดได้ดี ธุรกิจอาจพบปัญหาได้ เช่น ขาดทุน การชำระหนี้ล่าช้า หรือแม้กระทั่งการล้มละลายได้ ดังนั้น การมีเงินสดสำรองหรือการจัดการที่มีประสิทธิภาพ จะช่วยให้ธุรกิจสามารถรับมือกับปัญหาฉุกเฉินได้ รวมถึงช่วยให้มีเงินเพียงพอในการขยายกิจการในอนาคต
ตัวอย่างงบกระแสเงินสด
ต่อไปนี้เป็นตัวอย่างแบบง่ายๆ ของงบกระแสเงินสดสำหรับบริษัท XYZ จำกัด สำหรับปี 2567
ที่แสดงการเคลื่อนไหวของเงินสดใน 3 กิจกรรมหลัก คือ กิจกรรมดำเนินงาน (Operating Activities) กิจกรรมการลงทุน (Investing Activities) และกิจกรรมจัดหาเงิน (Financing Activities)
บริษัท XYZ จำกัด
งบกระแสเงินสด สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2567
(หน่วย: บาท)
รายการ |
จำนวนเงิน (บาท) |
กระแสเงินสดจากกิจกรรมดำเนินงาน |
|
เงินสดรับจากลูกค้า |
1,000,000 |
เงินสดจ่ายให้แก่ผู้ขาย |
(500,000) |
เงินสดจ่ายค่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน |
(200,000) |
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมดำเนินงาน |
300,000 |
กระแสเงินสดจากกิจกรรมลงทุน |
|
เงินสดจ่ายซื้อเครื่องจักรใหม่ |
(100,000) |
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมลงทุน |
(100,000) |
กระแสเงินสดจากกิจกรรมจัดหาเงิน |
|
เงินสดรับจากการกู้ยืมเงิน |
200,000 |
เงินสดสุทธิจากกิจกรรมจัดหาเงิน |
200,000 |
เงินสดคงเหลือ ณ สิ้นงวด |
400,000 |
จากตัวอย่างกระแสเงินสด คำนวณด้านบนนี้ แสดงให้เห็นว่า
- กิจกรรมดำเนินงาน : บริษัทมีเงินสดเหลือจากการดำเนินงาน 300,000 บาท หมายความว่า บริษัทสามารถสร้างกำไรและมีเงินสดเหลือจากการดำเนินงานหลัก
- กิจกรรมลงทุน : บริษัทใช้เงินสดไป 100,000 บาท เพื่อซื้อเครื่องจักรใหม่ ซึ่งเป็นการลงทุนเพื่อขยายธุรกิจ
- กิจกรรมจัดหาเงิน : บริษัทกู้ยืมเงินมา 200,000 บาท เพื่อนำมาใช้ในการลงทุนหรือเพิ่มสภาพคล่อง
- เงินสดคงเหลือ : ณ สิ้นงวด บริษัทมีเงินสดคงเหลือ 400,000 บาท ซึ่งแสดงให้เห็นถึงสภาพคล่องของบริษัท
หมายเหตุ : ตัวอย่างนี้เป็นเพียงตัวอย่างง่ายๆ เพื่อให้เข้าใจหลักการของงบกระแสเงินสด ในงบกระแสเงินสดจริงจะมีรายละเอียดและรายการที่ซับซ้อนมากกว่านี้
เมื่อพูดถึงการบริหารกระแสเงินสด หนึ่งในเครื่องมือที่ช่วยให้การจัดการกระแสเงินสดเป็นเรื่องง่ายขึ้นก็คือ "บัตรเครดิต" โดยเฉพาะบัตรเครดิต KTC ที่มาพร้อมกับสิทธิประโยชน์มากมาย ที่เหมาะสำหรับผู้ที่ต้องการบริหารจัดการเงินในธุรกิจ เพราะมีบัตรเครดิตให้เลือกหลายประเภท เช่น บัตรเครดิต KTC สำหรับเติมน้ำมัน & รถยนต์ ที่เหมาะสำหรับธุรกิจที่ต้องเดินทางบ่อย หรือต้องการบริหารจัดการค่าใช้จ่ายน้ำมันรถอย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งมาพร้อมเครดิตเงินคืน ส่วนลดพิเศษต่างๆ ช่วยให้ทุกการใช้จ่ายเรื่องการเดินทางคุ้มค่า
หรือ บัตรเครดิต KTC สำหรับท่องเที่ยว ที่เหมาะสำหรับผู้ที่เดินทางไปทำธุรกิจต่างประเทศบ่อย โดยบัตรประเภทนี้จะให้สิทธิพิเศษด้านการเดินทาง เช่น บริการห้องรับรองพิเศษที่สนามบินทั่วโลก ส่วนลดพิเศษในการจองที่พัก หรือการสะสมไมล์ ซึ่งช่วยให้การจัดการค่าใช้จ่ายในการเดินทางคุ้มค่าและช่วยเสริมสภาพคล่องทางการเงินให้กับธุรกิจได้ไปในตัว
การใช้บัตรเครดิต KTC ไม่เพียงแค่ช่วยเพิ่มสภาพคล่องทางการเงินให้กับธุรกิจ แต่ยังทำให้คุณสามารถจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพในทุกสถานการณ์อีกด้วย สำหรับท่านใดที่สนใจ สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ทางออนไลน์ได้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC