• Credit Card
    • Credit Card
    • Rewards Program
    • Installment Payment
    • Donation
    • Auto Payment
    • Rates and Fees
    • KTC Device Pay
  • Personal Loan
    • Loan Product
    • Installment Payment
    • Rates and Fees
  • Promotions
  • Merchant
    • Merchant Service
    • EDC Service
    • QR Code Payment
    • Online Payment Gateway
    • Auto Payment Service
    • Link Payment
    • ALIPAY & ALIPAY+
  • KTC WORLD
  • KTC U SHOP
  • Customer Service
    • Contact KTC
    • KTC MOBILE APPLICATION
    • Payment Channel
    • KTC E-Book
    • Download Manual / Form
    • FAQ
Credit Card
Credit Card
  • Credit Card
  • Forever Rewards
  • Flexi Installment
  • Donation
  • Auto Payment
  • Rates and Fees
  • KTC Device Pay
Personal Loan
Personal Loan
  • Loan Product
  • Flexi Installment
  • Rates and Fees
PromotionsPromotions
Merchant
Merchant
  • Merchant Service
  • EDC Service
  • QR Code Payment
  • Online Payment Gateway
  • Auto Payment Service
  • Link Payment
  • ALIPAY & ALIPAY+
KTC WORLDKTC WORLD KTC U SHOPKTC U SHOP
Customer Service
Customer Service
  • Contact KTC
  • KTC MOBILE APPLICATION
  • Payment Channel
  • KTC E-Book
  • Download Manual / Form
  • FAQ
เปลี่ยนภาษา

EN

TH

KTC Search Icon KTC Search Icon
Apply Card
KTC Login KTC Login Login KTC Login
KTC Profile

My Account

  • KTC Profile

    My Product

  • KTC Promotions

    My Promotions

  • KTC Logout

    Log out

KTC Profile
  1. Home
  2. /
  3. Article
  4. /
  5. Knowledge
  6. /
  7. ดอกเบี้ยทบต้น คืออะไร ชวนศึกษาก่อนเริ่มวางแผนการเงิน
  1. Home
  2. /
  3. Article
  4. /
  5. Knowledge
  6. /
  7. ดอกเบี้ยทบต้น คืออะไร ชวนศึกษาก่อนเริ่มวางแผนการเงิน
ดอกเบี้ยทบต้น คืออะไร ชวนศึกษาก่อนเริ่มวางแผนการเงิน

ดอกเบี้ยทบต้น คืออะไร เรื่องพื้นฐานที่ควรรู้ เพื่อวางแผนการเงินในอนาคต

Category : Knowledge

ผู้ที่พึ่งจะเริ่มต้นศึกษาเกี่ยวกับการวางแผนด้านการเงินคงเคยได้ยินคำว่าดอกเบี้ยทบต้น ทบดอกกันมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่เข้าใจว่ากลไกของดอกเบี้ยทบต้น คืออะไร ทำไมผลตอบแทนดอกเบี้ยสะสมในระยะยาวถึงเพิ่มขึ้น และจะลงทุนอะไรดีที่ให้อัตราดอกเบี้ยทบต้นสูงจนกลายเป็น Passive Income ได้ในอนาคตในระยะยาว ใครที่อยากวางแผนการเงินเพื่ออนาคต และทองการณ์ไกลไปจนถึงวัยเกษียณ บทความนี้มีความรู้เกี่ยวกับการลงทุนดี ๆ มาแชร์ให้กับคุณ

KEY TAKEAWAY

  • ดอกเบี้ยทบต้น คือ ดอกเบี้ยสะสมที่ได้รับจากผลตอบแทนดอกเบี้ยและเงินต้นในงวดก่อนหน้า
  • ปัจจัยที่ทำให้ได้ดอกเบี้ยทบต้นจำนวนมาก ประกอบด้วย 1.จำนวนเงินต้น 2.ระยะเวลาที่ใช้ในการออม และ 3.อัตราดอกเบี้ย
  • สูตรคำนวณหาดอกเบี้ยทบต้น คือ (เงินต้น+ดอกเบี้ยในงวดก่อนหน้า) x อัตราดอกเบี้ยในปีปัจจุบัน
  • สร้างผลตอบแทนด้วยดอกเบี้ยทบต้นอย่างยั่งยืน ด้วย 3 เทคนิค ได้แก่ 1.ศึกษาความเสี่ยงให้ดีก่อนลงทุน 2.เลือกลงทุนด้วยจำนวนเงินต้นไม่มาก 3.เน้นการลงทุนแบบสะสมมูลค่า

เลือกอ่านตามหัวข้อ

  • ดอกเบี้ยทบต้น คืออะไร
  • ลงทุนอย่างไร ให้ได้ดอกเบี้ยทบต้นสูงยิ่งขึ้น
  • ลงทุนอะไรได้ เพื่อให้ได้กำไรจากดอกเบี้ยทบต้น
  • แนะนำวิธีการลดความเสี่ยงจากการขาดทุน
  • ดอกเบี้ยทบต้น ความลับที่รู้แล้ว ชนะทุกเกมการเงิน!

ดอกเบี้ยทบต้น คืออะไร

ดอกเบี้ยทบต้น (Compound interest) คือ ดอกเบี้ยสะสมที่ได้รับจากผลตอบแทนดอกเบี้ยพร้อมเงินต้นในงวดก่อนหน้า ดังนั้นเงินต้นและดอกเบี้ยครั้งก่อนยิ่งสูงมากเท่าไหร่ ดอกเบี้ยที่ได้รับครั้งต่อไปยิ่งเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น ด้วยเหตุนี้ถึงแม้จะมีเงินต้นไม่มาก แต่ถ้าออมหรือลงทุนในระยะยาวแล้ว ผลตอบแทนจากดอกเบี้ยที่ได้รับ ก็จะไปทบต้นกับงวดก่อนหน้า และจะมีเงินก้อนใหญ่ในท้ายที่สุด

เพื่อให้เห็นภาพว่าดอกเบี้ยทบต้น ช่วยให้คุณมีเงินก้อนใหญ่ได้อย่างไร สามารถศึกษาจากวิธีคิดดอกเบี้ยทบต้น ในช่วง 10 ปี จากตารางดังต่อไปนี้

ปีที่เงินต้นอัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยที่ได้รับเงินปลายงวด
1 30,000 5% 30,000*5% = 1,500 31,500
2 31,500 5% 1,575 33,075
3 33,075 5% 1,653.75 34,728.75
4 34,728.75 5% 1,736.43 36,465.18
5 36,465.18 5% 1,823.25 38,288.43
6 38,288.43 5% 1,914.42 40,202.85
7 40,202.85 5% 2,010.14 42,212.99
8 42,212.99 5% 2,110.64 44,323.63
9 44,323.63 5% 2,216.18 46,539.81
10 46,539.81 5% 2,326.99 48,866.8

จากตารางการคิดดอกเบี้ยทบต้น จะเห็นได้ว่า หากฝากเงินในบัญชีธนาคาร ด้วยเงินต้น 30,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 5% ต่อปี ในปีที่ 1 จะได้ดอกเบี้ย 1,500 บาท ทำให้เมื่อรวมเงินต้นและดอกเบี้ยที่ได้รับเข้าด้วยกัน จะมีเงินปลายงวดรวมทั้งสิ้น 31,500 บาท

เมื่อเข้าสู่ปีที่ 2 เงินต้นจะกลายเป็น 31,500 บาท และคราวนี้ดอกเบี้ยที่ได้รับจะเป็นจำนวนทั้งสิ้น 1,575 บาท ซึ่งดอกเบี้ยมากกว่าปีแรกอยู่ 75 บาท สาเหตุที่เป็นเช่นนี้เนื่องจากรวมผลตอบแทนดอกเบี้ยที่ได้รับจากปีที่ 1 เข้าไปด้วย ทำให้หลังจากคิดดอกเบี้ยทบต้นในปีที่ 2 เมื่อคำนวณเงินปลายงวดออกมาจะเท่ากับ 33,075 บาท

และหากคงเงินฝากไว้ ไม่ถอนเงินเลยเป็นเวลา 10 ปี จะได้รับผลตอบแทนเงินต้นพร้อมดอกเบี้ยรวมกันเป็นจำนวนถึง 48,866.8 บาท หรือคิดเป็นผลตอบแทนเท่ากับ 62.88%

ลงทุนอย่างไร ให้ได้ดอกเบี้ยทบต้นสูงยิ่งขึ้น

สูตรคำนวณดอกเบี้ยทบต้นจากตารางข้างต้น จะเห็นได้ว่าองค์ประกอบที่ทำให้ได้รับผลตอบแทนดอกเบี้ยทบต้นจำนวนมาก เกิดจาก 3 ปัจจัย คือ 1.จำนวนเงินต้น 2.ระยะเวลาที่ใช้ในการออมหรือลงทุน และ 3.อัตราดอกเบี้ยหรือผลตอบแทน ดังรายละเอียดต่อไปนี้

เงินต้นที่สูง

เงินต้นเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดว่าดอกเบี้ยทบต้นที่ได้รับจะเป็นเท่าไหร่ เพราะในสูตรคำนวณจะนำเงินต้นในปีก่อนหน้า บวกด้วยดอกเบี้ยปีปัจจุบัน ถ้าเงินต้นในปีก่อนหน้าน้อย ย่อมส่งผลให้ดอกเบี้ยในปีปัจจุบันน้อยตามเงินต้นไปด้วย ดังตัวอย่างการออมเงินของนาย A และนาย B ต่อไปนี้

นาย A ลงทุนด้วยเงินต้น 10,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 3% ต่อปี เป็นเวลา 3 ปี

นาย B ลงทุนด้วยเงินต้น 5,000 บาท อัตราดอกเบี้ย 3 % เป็นเวลา 3 ปี

จะได้ว่า

ดอกเบี้ยทบต้นของนาย A

ปีที่เงินต้นอัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยที่ได้รับเงินปลายงวด
1 10,000 3% 10,000*3% = 300 10,300
2 10,300 3% 309 10,609
3 10,609 3% 318.27 10,927.27

ดอกเบี้ยทบต้นของนาย B

ปีที่เงินต้นอัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยที่ได้รับเงินปลายงวด
1 5,000 3% 5,000*3% = 150 5,150
2 5,150 3% 154.5 5,304.5
3 5,304.5 3% 159.13 5,463.63

จากตัวอย่างการออมของนาย A และนาย B จะเห็นได้อย่างชัดเจนว่านาย A ได้รับผลตอบแทนดอกเบี้ยในปีแรก 300 บาท ในขณะที่นาย B ได้รับผลตอบแทนในปีแรก 150 บาทเท่านั้น ซึ่งน้อยกว่านาย A ถึง 50%

ระยะเวลาที่ใช้ลงทุน

นอกจากจำนวนเงินต้นที่กำหนดว่าดอกเบี้ยทบต้นจะได้มากหรือน้อยแล้ว ระยะเวลาก็มีผลเช่นเดียวกัน เพราะหากถอนเงินออกมาเร็วจนเกินไป ย่อมทำให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยที่ควรได้รับน้อยกว่าที่ควรจะเป็น

ซึ่งจากตัวอย่างของนาย A และ B ข้างต้น หากสมมติให้นาย B ออมเงินแค่ 2 ปี จะเหลือเงินปลายงวดเท่ากับ 5,304.5 บาท แต่ถ้านาย A ยังลงทุน 3 ปี เท่าเดิม ก็จะมีเงินปลายงวดเท่ากับ 10,927.27 และเมื่อคิดผลตอบแทนรวมออกมาแล้ว พบว่านาย A ได้ผลตอบแทนถึง 9.27% ในขณะที่ นาย B ได้ผลตอบแทนเพียง 6.09% เท่านั้น

ผลตอบแทน

ถึงแม้ว่าจะลงทุนเป็นเวลานาน แต่ถ้าเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทนต่ำ ดอกเบี้ยทบต้นที่ได้รับก็น้อยกว่าผู้ที่ลงทุนด้วยจำนวนเงินต้นที่น้อยกว่าได้เช่นกัน จากตัวอย่างนาย A และนาย B ข้างต้น หากนาย B เลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทน 20% ต่อปี เป็นเวลา 5 ปี และนาย A ลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทน 1 % เป็นเวลา 5 ปี จะได้ว่า

ดอกเบี้ยทบต้นของนาย A

ปีที่เงินต้นอัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยที่ได้รับเงินปลายงวด
1 10,000 1% 10,000*1% = 100 10,100
2 10,100 1% 101 10,201
3 10,201 1% 102.01 10,303.01
4 10,303.01 1% 103.03 10,406.04
5 10,406.04 1% 104.06 10,510.01

ดอกเบี้ยทบต้นของนาย B

ปีที่เงินต้นอัตราดอกเบี้ยดอกเบี้ยที่ได้รับเงินปลายงวด
1 5,000 20% 10,000*20% = 1,000 6,000
2 6,000 20% 1,200 7,200
3 7,200 20% 1,440 8,640
4 8,640 20% 1,728 10,368
5 10,368 20% 2,073.6 12,441.6

จากตัวอย่างข้างต้น แม้นาย B จะเริ่มต้นลงทุนด้วยเงินต้นเพียง 5,000 บาท แต่หลังจากลงทุนในสินทรัพย์ที่ให้ผลตอบแทน 20% นาน 5 ปีติดต่อกัน ก็จะมีเงินปลายงวดเท่ากับ 12,441.6 บาท คิดเป็นผลตอบแทนรวมทั้งสิ้น 148% ซึ่งมากกว่าผลตอบแทนที่นาย A ได้รับ

ลงทุนอะไรได้ เพื่อให้ได้กำไรจากดอกเบี้ยทบต้น

compound interest

หลังจากทราบกันไปแล้วว่าดอกเบี้ยทบต้น คืออะไร หลายคนคงเริ่มสนใจลงทุนในช่องทางต่างๆ ที่ได้ดอกเบี้ยทบต้นสูง แต่การลงทุนก็มีหลายรูปแบบ ทำให้ไม่รู้ว่าควรลงทุนที่ไหนดี? ซึ่งสามารถศึกษารายละเอียดการลงทุนที่น่าสนใจได้ดังต่อไปนี้

หุ้น

การลงทุนในหุ้นให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยทบต้นสูงกว่าการลงทุนประเภทอื่น เนื่องจากหากลงทุนในบริษัทที่ทำผลประกอบการได้ดี มีโอกาสที่ราคาหุ้นจะปรับตัวมากกว่า 20% ภายในปีเดียว และนอกจากผลตอบแทนด้านส่วนต่างราคาหุ้นแล้ว การลงทุนในหุ้นยังสามารถสร้างผลตอบแทนจากเงินปันผลได้เช่นกัน

กองทุนรวม

หากไม่เชี่ยวชาญการลงทุนในหุ้น การลงทุนในกองทุนรวมอาจเป็นทางเลือกที่เหมาะสมมากกว่า เนื่องจากผู้จัดการกองทุนมักเลือกลงทุนในสินทรัพย์คุณภาพดี ที่ในอนาคตสามารถสร้างผลตอบแทนได้อย่างสม่ำเสมอ ทำให้การลงทุนระยะยาวกับกองทุนรวม มีโอกาสสร้างผลตอบแทนดอกเบี้ยทบต้นได้จำนวนมาก

ตราสารหนี้

หากถามว่ามือใหม่ควรลงทุนอะไรดี? เราแนะนำให้ลงทุนในตราสารหนี้ เช่น พันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้ จะปลอดภัยมากกว่าสินทรัพย์ประเภทอื่น เนื่องจากตราสารเหล่านี้มักจ่ายผลตอบแทนในรูปแบบดอกเบี้ยทบต้นเป็นประจำทุกปี อย่างไรก็ตาม ตราหนี้ก็มีโอกาสเกิดการผิดนัดชำระหนี้ได้เช่นเดียวกัน หากรัฐบาล หรือบริษัทที่ออกหุ้นกู้ขาดสภาพคล่องทางการเงิน

อสังหาริมทรัพย์

การลงทุนในอสังหาริมทรัพย์สามารถคาดหวังผลตอบแทนดอกเบี้ยทบต้นได้ 2 รูปแบบ ได้แก่ 1.การเก็งกำไรในราคาอสังหาฯ 2. ผลตอบแทนจากค่าเช่า ซึ่งไม่ว่าจะลงทุนแบบไหนก็ควรมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับอสังหาฯ ที่สนใจเป็นอย่างดี เพราะหากซื้ออสังหาฯ ผิดทำเล นอกจากราคาจะไม่ปรับตัวขึ้นแล้ว ยังต้องเสียค่าดูแลบำรุงรักษา และการสร้างอสังหาเพื่อเช่า ก็มีความเสี่ยงที่ผู้เช่าไม่จ่ายค่าเช่าด้วยเช่นกัน

แนะนำวิธีการลดความเสี่ยงจากการขาดทุน

ดอกเบี้ยทบต้น ทบดอก

แม้ว่า 4 ช่องทางการลงทุนที่ได้แนะนำไปข้างต้น จะให้ผลตอบแทนดอกเบี้ยทบต้นสูง แต่ก็แลกมาด้วยความเสี่ยงเช่นเดียวกัน กล่าวคือ นักลงทุนมีโอกาสขาดทุนจำนวนมาก ทำให้นอกจากจะต้องศึกษาวิธีสร้างผลตอบแทนแล้ว ยังต้องเรียนรู้ถึงวิธีลดความเสี่ยงจากการขาดทุนด้วย ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

ศึกษาความเสี่ยง และเลือกลงทุนให้เหมาะสมกับตัวเอง

สินทรัพย์แต่ละประเภทมีความเสี่ยงแตกต่างกันออกไป ทำให้ต้องเลือกลงทุนในสินทรัพย์ที่เหมาะแก่ตนเองมากที่สุด เช่น หุ้น และกองทุนรวมความเสี่ยงสูงกว่าประเภทอื่น จึงเหมาะแก่วัยเริ่มต้นทำงานที่สามารถรับความเสี่ยงจากการขาดทุนได้ ส่วนพันธบัตรรัฐบาล หรือหุ้นกู้ ให้ผลตอบแทนต่ำ ความเสี่ยงน้อย ทำให้เหมาะแก่ผู้ที่อยู่ในวัยเกษียณแล้ว เป็นต้น

เลือกลงทุนที่ไม่ต้องลงทุนสูงมากในช่วงต้น

ดอกเบี้ยทบต้น หมายถึง การให้ดอกเบี้ยงวดก่อนหน้าสะสมไปเรื่อยๆ จนผลตอบแทนดอกเบี้ยงวดใหม่สูงกว่าเดิม ซึ่งจากความหมายดังกล่าว เราไม่จำเป็นต้องลงทุนด้วยเงินต้นจำนวนมาก แค่ลงทุนด้วยจำนวนเงินเล็กน้อย และรอคอยเวลาให้ดอกเบี้ยทำงานด้วยตนเอง เพียงเท่านี้ก็ได้ผลตอบแทนจำนวนมากในระยะยาว

เน้นการลงทุนแบบสะสมมูลค่า

การลงทุนแบบสะสมมูลค่าจะนำผลตอบแทนที่ได้จากลงทุน ไปลงทุนต่อยอด โดยไม่นำผลตอบแทนที่ได้ มาใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น เมื่อได้รับเงินปันผลหุ้นมา แทนที่จะนำเงินไปใช้จ่าย ก็นำเงินไปซื้อทองคำแท่ง หรือทองคำรูปพรรณเก็บสะสมไว้ และถ้าราคาทองคำปรับตัวเพิ่มขึ้น ก็ทำให้มีความมั่งคั่งเพิ่มตามไปด้วย

ดอกเบี้ยทบต้น ความลับที่รู้แล้ว ชนะทุกเกมการเงิน!

ดอกเบี้ยทบต้น หมายถึง

การทำความเข้าใจว่าดอกเบี้ยทบต้น คืออะไร จะช่วยให้ไม่รีบร้อนลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงสูงมากจนเกินไป รวมทั้งลดโอกาสในการขาดทุนได้ และเลือกวางแผนลงทุนระยะยาวเพื่อสร้างผลตอบแทนทบต้น แทนที่จะซื้อสินทรัพย์มาแล้วขายไประยะสั้นๆ ในลักษณะการเก็งกำไร ซึ่งมีโอกาสขาดทุนสูง

แต่การลงทุนระยะยาวเพื่อให้ได้ผลตอบแทนดอกเบี้ยทบต้นจำนวนมาก เราไม่สามารถถอนเงินฝากออกจากธนาคาร หรือขายสินทรัพย์ได้ในทันที ซึ่งในระหว่างลงทุนอยู่ ก็อาจเกิดวิกฤตที่ต้องใช้เงินได้ทุกเมื่อ ด้วยเหตุนี้เราจึงต้องใช้ตัวช่วยจัดการสภาพคล่องยามฉุกเฉินอย่าง บัตรกดเงินสด KTC PROUD บัตรกดเงินสดที่ให้วงเงินสูงถึง 1 ล้านบาท อนุมัติไว ที่สำคัญไม่เสียค่าธรรมเนียมเมื่อเบิกถอนเงินสดสะดวกสบาย โอนเงินผ่านแอป KTC Mobile ตลอด 24 ชม. หรือ กดเงินที่ตู้ ATM ทั่วไทย ฟรีค่าธรรมเนียม

กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี

หมุนเงินไม่ทัน ขาดสภาพคล่อง ให้บัตรกดเงินสด KTC PROUD ช่วยคุณ

สมัครบัตรกดเงินสด KTC PROUD คลิกเลย!

Apply Online Service

KTC Credit cards and KTC PROUD

QR Code สมัครออนไลน์ด้วยตนเอง
Scan QR Code
to apply online service
Learn more

Apply Online Service

KTC Credit cards
and KTC PROUD

Apply Now Learn more

Add your contact details
for call back service.

Get advice and help with applying KTC products.

บัตรเครดิต KTC KTC Credit Card สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH KTC CASH KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC P BERM
Car for Cash (Big bike)
บัตรกดเงินสด KTC PROUD KTC PROUD สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC P BERM
Car for Cash (Car)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC P BERM
Car for Cash
(Motorcycle)
บัตรเครดิต KTC KTC Credit Card บัตรกดเงินสด KTC PROUD KTC PROUD สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH KTC CASH สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC P BERM
Car for Cash (Car)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC P BERM
Car for Cash (Big bike)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC P BERM
Car for Cash
(Motorcycle)

About KTC

  • Vision / Mission
  • General Information
  • Group’s Shareholding
  • Organization Structure
  • Board of Directors
  • Executives
  • Company Secretary
  • Compliance and Internal Audit
  • Financial Controller
  • Data Protection Notice
  • Cookies Notice
  • PR News
  • Article
  • Career / Internship

Customer Services

  • Online Services
  • Rates and Fees
  • Interest / Fee Calculator
  • Payment Channels
  • KTC Auto Payment
  • Download
  • Announcement
  • FAQ
  • Site Map

Sustainability Development

  • Economic Dimension
  • Social Dimension
  • Environmental Dimension
  • Internal Control
    and Risk Management
  • Information Security Management System (ISO/IEC 27001:2013) Certification

Investor Relations

  • Financial Hightlight
  • Publications and Webcast
  • Shareholder
  • Bondholder
  • Policy
  • IR Contact

KTC PHONE

02 123 5000
CAC Certified

Download App

KTC Mobile
KTC Mobile KTC Mobile KTC Mobile
ติดตามข่าวสารได้ที่
KTC LINE KTC LINE KTC Facebook KTC Facebook KTC instagram KTC instagram KTC Youtube KTC Youtube KTC TikTok KTC TikTok KTC twitter KTC twitter
© 2020 Krungthai Card PCL.
Follow us on
KTC LINE KTC LINE KTC Facebook KTC Facebook KTC instagram KTC instagram KTC Youtube KTC Youtube KTC TikTok KTC TikTok KTC twitter KTC twitter

EN

TH

KTC LIVE CHAT

Live Chat

KTC LIVE CHAT
สมัครบัตรเครดิต KTC
สมัครกดเงินสด KTC PROUD
All
Promotion
Credit card
Article
News
0 Result
คุณกำลังหมายถึง?
    See more

    Not found

    Check your search keywords and try again.
    Try searching with fewer keywords.
    History Search
    History empty
    Clear all
    KTC
    Filter promotion
    All category
    • Select all
    • Clear all
    All brand
    • Select all
    • Clear all
    Choose Product

    KTC Credit Card

    KTC PROUD

    KTC CASH

    สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ <span>KTC พี่เบิ้ม</span>

    KTC P BERM

    Filter

    ตัวกรอง

    Search
    www.ktc.co.th ไม่รองรับเบราว์เซอร์ Internet Explorer
    หากดำเนินการต่อ การใช้งานในบางเมนู/รายการอาจไม่สมบูรณ์

    © 2019 Krungthai Card PCL.

    EN

    TH

    Live Chat