รถโดนชนเป็นฝ่ายถูก เคลมค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมได้ไหม
เมื่อเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนนไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือรุนแรง สิ่งแรกที่ผู้ใช้รถจะทำคือการติดต่อบริษัทประกันภัยรถยนต์ของตน เพื่อให้เจ้าหน้าที่มาเจรจาไกล่เกลี่ย ประเมินความเสียหาย และออกใบเคลม ซึ่งถ้าคุณเป็นฝ่ายถูกสามารถเรียกค่าสินไหมชดเชยจากฝ่ายผิดได้ และหนึ่งในนั้นคือ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คำศัพท์ที่ผู้ใช้รถหลายคนอาจเคยได้ยินแต่ไม่รู้ว่าคืออะไร วันนี้พี่เบิ้มจะพาไปทำความรู้จักกับ ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ คืออะไร สามารถเรียกร้องได้ในกรณีใด มีขั้นตอนและใช้เอกสารอะไรบ้างในการเรียกร้องค่าขาดประโยชน์
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- ทำความรู้จัก ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
- เรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ในกรณีไหนได้บ้าง
- จำนวนเงินค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
- ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ นับวันยังไง
- ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ สูงสุดกี่วัน
- ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ใช้เวลากี่วันถึงได้เงิน
- เรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ใช้เอกสารใดบ้าง
- ขั้นตอนการเคลมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
ทำความรู้จัก ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ หรือค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อม เป็นค่าสินไหมทนแทนหรือเงินชดเชยจากการเกิดอุบัติเหตุที่ฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องค่าเสียเวลารถใช้ระหว่างซ่อมจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี (ฝ่ายผิด) เพื่อใช้เป็นค่าเดินทางในระหว่างที่รถยนต์ไม่สามารถใช้งานรถยนต์ได้ โดยผู้ที่เป็นฝ่ายถูกสามารถนำบิลใบเสร็จค่าใช้จ่ายในการเดินทาง เช่น ค่าแท็กซี่ ค่ารถเมล์ หรือค่ารถไฟฟ้า มาทำเรื่องเบิกกับบริษัทประกันภัยของคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด
เรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ในกรณีไหนได้บ้าง
กรณีชนแบบมีคู่กรณี
เมื่อเกิดอุบัติเหตุขึ้นแล้วเป็นฝ่ายถูกและมีคู่กรณี ไม่ว่ารถยนต์ของคุณจะมีประกันภัยรถยนต์หรือไม่ได้ทำเอาไว้ ถ้ารถยนต์ได้รับความเสียหายจนเป็นเหตุให้ต้องส่งซ่อมที่ศูนย์บริการหรืออู่ซ่อม กรณีนี้ฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์กับทางบริษัทประกันภัยของคู่กรณีได้ด้วยตัวเองในฐานะของการเป็นผู้เสียหาย ซึ่งถ้าคู่กรณีมีประกันภัยรถยนต์ บริษัทประกันภัยจะให้ความคุ้มครองชดเชยค่าสินไหมทดแทนในกรณีที่เกิดการสูญเสียหรือเกิดความเสียหายต่อบุคคลภายนอก
ส่วนกรณีที่คู่กรณีไม่ได้ทำประกันภัยรถยนต์หรือมีประกันแต่ความคุ้มครองไม่ครอบคลุมถึงเรื่องนี้ คุณในฐานะฝ่ายถูกก็ยังสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถจากคู่กรณีโดยตรงได้เช่นกัน แต่ต้องทำหนังสือระบุเป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนเรื่องการชดใช้ค่าเสียหายว่าเป็นจำนวนเท่าไหร่ จ่ายภายในระยะเวลาไหน เพื่อใช้เป็นหลักฐานในกรณีที่คู่กรณีไม่ยอมชดใช้ตามที่ระบุไว้
กรณีชนแบบไม่มีคู่กรณี
สำหรับอุบัติเหตุทางรถยนต์แบบไม่มีคู่กรณี ไม่สามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้ เนื่องจากค่าสินไหมทนแทนหรือเงินชดเชยจากการเกิดอุบัติเหตุในลักษณะนี้จะสามารถเรียกร้องได้เมื่อมีฝ่ายคู่กรณีเท่านั้น แต่ถ้ารถยนต์ของคุณทำประกันภัยรถยนต์ ชั้น 1 แม้ไม่มีคู่กรณีก็สามารถเคลมได้ หากทำประกันภัยรถยนต์ชั้นอื่นที่ไม่มีความคุ้มครองตรงส่วนนี้ ต้องรับผิดชอบค่าซ่อมและความเสียหายที่เกิดขึ้นเองทั้งหมด
เว้นแต่มีกล้องติดหน้ารถหรือจดจำทะเบียนรถคู่กรณีได้ ให้ดำเนินการแจ้งความพร้อมนำสำเนาใบแจ้งความและหลักฐานอื่น ๆ มายื่นเรื่องที่กรมการขนส่งทางบกหรือสำนักงานขนส่งใกล้บ้าน เพื่อขอเช็กหมายเลขทะเบียนรถคู่กรณีว่าเป็นของใคร เมื่อทราบตัวคู่กรณีก็สามารถดำเนินคดี พร้อมเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้
จำนวนเงินค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
ค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมเป็นเงินชดเชยที่ฝ่ายถูกมีสิทธิเรียกร้อง
ทางสำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) ได้กำหนดอัตราค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถของรถยนต์แต่ละประเภทไว้ หากคุณเป็นฝ่ายถูกสามารถเรียกร้องจากประกันภาคสมัครใจได้ดังนี้
(1) รถยนต์ส่วนบุคคลไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 500 บาท
(2) รถยนต์รับจ้างสาธารณะขนาดไม่เกิน 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 700 บาท
(3) รถยนต์ขนาดเกินกว่า 7 ที่นั่ง กำหนดอัตราไม่น้อยกว่าวันละ 1,000 บาท
(4) รถประเภทอื่น ๆ ที่ไม่ได้เป็นไปตามข้อ 1-3 เช่น รถจักรยานยนต์ รถบิ๊กไบค์ หรือรถบรรทุก สามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ได้เช่นกัน โดยให้พิจารณาหลักฐานความเสียหายเป็นกรณีไป
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ นับวันยังไง
การนับวันวันขาดประโยชน์จากใช้รถระหว่างซ่อม ให้เริ่มนับตั้งแต่วันที่รถเกิดอุบัติเหตุใช้งานไม่ได้หรือวันที่นำรถเข้าอู่ซ่อม แม้ว่าจะยังไม่เริ่มการซ่อมรถ รวมถึงนับรวมวันเสาร์ วันอาทิตย์ ไม่เว้นวันหยุดราชการ และวันหยุดนัตฤกษ์ เนื่องจากบริษัทประกันภัยมีหน้าที่เป็นผู้ควบคุมจัดการให้อู่ซ่อมดำเนินการซ่อมรถผู้เสียหายให้แล้วเสร็จ
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ สูงสุดกี่วัน
โดยทั่วไปแล้วการคุ้มครองค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถในระหว่างซ่อมอยู่ที่ประมาณ 20-30 วัน แต่ถ้ารถยนต์ได้รับความเสียหายหนักถึงขั้นต้องสั่งซื้อและรอให้อะไหล่จัดส่งมา รวมไปถึงกรณีที่อู่ซ่อมหรือศูนย์บริการมีคิวในการซ่อมยาว ทำให้ใช้เวลาซ่อมรถนานเกินกว่า 20-30 วัน กรณีนี้สามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถได้เพิ่มขึ้น เช่น
- ต้องรออะไหล่และใช้เวลาซ่อมนานถึง 3 เดือน ผู้ใช้รถสามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ได้ 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ความเสียหายที่เกิดขึ้น แต่ต้องพิสูจน์ให้ได้ว่าเป็นการสั่งซ่อมจริง
ค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ใช้เวลากี่วันถึงได้เงิน
กรณีที่ฝ่ายถูกยื่นเรื่องเพื่อเรียกร้องค่าเสียเวลารถใช้ระหว่างซ่อมจากบริษัทประกันภัยของคู่กรณี หากส่งเอกสารและหลักฐานครบถ้วนตามที่กำหนด ทางบริษัทฯ จะใช้เวลาในการพิจารณา และทำการเจรจาหาข้อสรุปค่าชดเชยที่จะต้องทำการจ่ายให้ เมื่อได้ข้อสรุปเป็นที่เรียบร้อย คุณในฐานะฝ่ายถูกจะได้รับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถภายในเวลา 7 วันทำการ
เช็กลิสต์เอกสารเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
เรียกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ ใช้เอกสารใดบ้าง
- เอกสารใบเคลม
- เอกสารนำรถยนต์เข้าซ่อมที่กำหนดวันส่งรถ-รับรถไว้ชัดเจน
- สำเนาทะเบียนรถยนต์
- สำเนาตารางกรมธรรม์ประกันภัยรถยนต์
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาใบขับขี่รถยนต์
- เอกสารประกอบการใช้รถยนต์แต่ละวัน (ถ้ามี)
- ใบเสร็จค่าเช่ารถหรือค่าใช้จ่ายการเดินทางในระหว่างที่ใช้รถไม่ได้ (ถ้ามี)
- สำเนาหน้าบัญชีธนาคาร
- หนังสือเรียกร้องค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถ
*** หมายเหตุ บริษัทประกันภัยบางแห่งอาจใช้หรือไม่ใช้เอกสารบางอย่าง แต่เบื้องต้นควรเตรียมไปให้พร้อมทุกอย่าง จะได้ไม่เป็นการเสียเวลาในการติดต่อดำเนินการ
ขั้นตอนการเคลมค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
- แจ้งบริษัทประกันของคู่กรณีที่เป็นฝ่ายผิด เพื่อแจ้งความประสงค์ขอเบิกค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
- นำรถยนต์ไปที่ศูนย์หรืออู่ซ่อม พร้อมให้ศูนย์หรืออู่ซ่อมประเมินความเสียหายส่งเป็นเอกสารให้เราเก็บไว้ด้วย พร้อมยื่นใบเคลมเพื่อแจ้งซ่อม
- แจ้งศูนย์หรืออู่ให้ถ่ายรูปตอนซ่อมรถแล้วส่งมาให้ด้วย เพื่อเก็บไว้เป็นหลักฐานในการยื่นแบบฟอร์มเรียกร้องสินไหมค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อม
- เมื่อรถซ่อมเสร็จก็ให้ไปรับรถ พร้อมขอสำเนาใบรับรถหรือหนังสือส่งมอบรถเสร็จที่ระบุวันที่ไว้อย่างชัดเจน
- รวบรวมใบเสร็จ เอกสารค่าใช้จ่ายต่าง ๆ เช่น ค่ารถเมล์ ค่ารถแท็กซี่ และค่ารถไฟฟ้า ที่เกิดขึ้นระหว่างที่ใช้งานรถยนต์ไม่ได้ เพื่อเป็นหลักฐานในการขอรับค่าขาดประโยชน์จากการใช้รถ
- จัดเตรียมเอกสารต่าง ๆ ให้เรียบร้อย ตรวจสอบรายละเอียดความถูกต้อง และยื่นเอกสารกับบริษัทประกันภัย
สำหรับค่าขาดประโยชน์ระหว่างซ่อมรถนี้ ผู้ที่มีสิทธิเรียกร้องต้องเป็นฝ่ายถูกเมื่อเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น ผู้ที่เป็นฝ่ายผิดไม่สามารถเรียกร้องค่าขาดประโยชน์จากบริษัทประกันภัยของอีกฝ่ายได้ นอกจากนี้ผู้ใช้รถควรมีใบขับขี่ ต่อ พ.ร.บ.รถยนต์ และต่อภาษีรถประจำปีให้เรียบร้อย เพื่อให้ไม่พลาดความคุ้มครองจากบริษัทประกันภัยเวลาเกิดอุบัติเหตุ รวมถึงการใช้งานรถทะเบียนขาดบนท้องถนนถือว่าเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย ส่วนใครที่ต่อภาษีรถยนต์เกิน 7 ปี อย่าลืมนำรถไปตรวจสภาพรถที่ ตรอ. ให้เรียบร้อยก่อน แล้วค่อยยื่นเรื่องต่อภาษีออนไลน์
อย่างไรก็ดี ใบขับขี่ พ.ร.บ.รถยนต์ ป้ายวงกลม (ป้ายภาษี) รวมถึงกรมธรรม์ประกันภัย ไม่ได้เป็นเพียงเอกสารสำคัญที่ต้องมีไว้แสดงเวลาใช้รถบนท้องถนนหรือตอนเกิดอุบัติเหตุเท่านั้น เอกสารบางอย่างผู้ใช้รถต้องมีไว้ประกอบการยื่นขอสินเชื่อทะเบียนรถ เมื่อต้องการเปลี่ยนรถเป็นเงินเพื่อนำวงเงินที่ได้มาเสริมสภาพคล่องในชีวิตประจำวันหรือลงทุนทำธุรกิจ หากคุณกำลังมองหาสินเชื่อแบบไม่โอนเล่มที่สมัครได้ง่ายผ่านช่องทางออนไลน์ ขอแนะนำ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน ที่เปิดรับทุกอาชีพ เพียงมีเอกสารแสดงรายได้อย่างชัดเจน มีโอกาสได้รับวงเงินใหญ่ รับเงินโอนเข้าบัญชีทันทีเมื่อทราบผล และมีบริการพี่เบิ้ม Delivery เพิ่มความสะดวก ไม่ต้องเดินทางมาสมัครด้วยตนเอง พร้อมมอบบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้ม สำหรับกดเงินสดฉุกเฉินยามจำเป็น เห็นข้อเสนอสุดคุ้มแบบนี้ คนมีรถปลอดภาระที่ต้องการเงินด่วนฉุกเฉินไม่ควรมองข้ามเด็ดขาด
ปลอดปัญหาเรื่องการเงินติดขัด กับสินเชื่อ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน
บทความ

จองทะเบียนรถ เปิดทุกขั้นตอน ได้เลขที่ชอบ เสริมดวงสายมูได้ง่ายๆ
การจองทะเบียนรถยนต์ออนไลน์มีความสะดวก ทำได้ง่าย ใช้เวลาไม่นาน ช่วยให้เจ้าของรถได้รับทะเบียนรถเลขที่ชอบและถูกโฉลก แต่ควรศึกษารายละเอียดก่อนการจองทุกครั้ง

เล่มทะเบียนรถ มีความสำคัญอย่างไร จำนำทะเบียนรถต้องใช้ไหม
คนมีรถต้องรู้เล่มทะเบียนรถสิ่งสำคัญที่ควรมีติดรถยนต์ไว้ตลอดเวลา ไม่เพียงการตรวจสอบจากเจ้าหน้าที่และการต่อภาษี ยังสำคัญต่อการยื่นขอสินเชื่อจำนำทะเบียนอีกด้วย

จำนำทะเบียนรถยนต์ ใช้อัตราดอกเบี้ยแบบไหน? คุ้มกว่าสินเชื่อตัวอื่นหรือไม่?
การจำนำทะเบียนรถยนต์ เป็นการนำรถปลอดภาระมาเปลี่ยนเป็นเงินแบบถูกกฎหมาย ก่อนยื่นขอสินเชื่อควรศึกษาอัตราดอกเบี้ยรถแลกเงิน เพื่อให้การกู้ยืมเงินมีความคุ้มค่าที่สุด