• Credit Card
    • Credit Card
    • Rewards Program
    • Installment Payment
    • Donation
    • Auto Payment
    • Rates and Fees
    • KTC Device Pay
  • Personal Loan
    • Loan Product
    • Installment Payment
    • Rates and Fees
  • Promotions
  • Merchant
    • Merchant Service
    • EDC Service
    • QR Code Payment
    • Online Payment Gateway
    • Auto Payment Service
    • Link Payment
    • ALIPAY & ALIPAY+
  • KTC WORLD
  • KTC U SHOP
  • Customer Service
    • Contact KTC
    • KTC MOBILE APPLICATION
    • Payment Channel
    • KTC E-Book
    • Download Manual / Form
    • FAQ
Credit Card
Credit Card
  • Credit Card
  • Forever Rewards
  • Flexi Installment
  • Donation
  • Auto Payment
  • Rates and Fees
  • KTC Device Pay
Personal Loan
Personal Loan
  • Loan Product
  • Flexi Installment
  • Rates and Fees
PromotionsPromotions
Merchant
Merchant
  • Merchant Service
  • EDC Service
  • QR Code Payment
  • Online Payment Gateway
  • Auto Payment Service
  • Link Payment
  • ALIPAY & ALIPAY+
KTC WORLDKTC WORLD KTC U SHOPKTC U SHOP
Customer Service
Customer Service
  • Contact KTC
  • KTC MOBILE APPLICATION
  • Payment Channel
  • KTC E-Book
  • Download Manual / Form
  • FAQ
เปลี่ยนภาษา

EN

TH

KTC Search Icon KTC Search Icon
Apply Card
KTC Login KTC Login Login KTC Login
KTC Profile

My Account

  • KTC Profile

    My Product

  • KTC Promotions

    My Promotions

  • KTC Logout

    Log out

KTC Profile
  1. Home
  2. /
  3. Article
  4. /
  5. Knowledge
  6. /
  7. Copayment ประกันสุขภาพร่วมจ่ายคืออะไร มีอะไรที่คนทำประกันต้องรู้
  1. Home
  2. /
  3. Article
  4. /
  5. Knowledge
  6. /
  7. Copayment ประกันสุขภาพร่วมจ่ายคืออะไร มีอะไรที่คนทำประกันต้องรู้
co payment คือ

Copayment ประกันสุขภาพร่วมจ่ายคืออะไร มีอะไรที่คนทำประกันต้องรู้

Category : Knowledge

ปีหน้าต้องจ่ายค่าประกันสุขภาพเท่าไหร่? เป็นเรื่องที่คนทำประกันอยากรู้ ซึ่งล่าสุดเมื่อกลไกการทำประกันและการเคลมประกัน ปรับตัวตามอัตราเงินเฟ้อของต้นทุนการดูแลสุขภาพ (Medical Inflation) ทำให้เกณฑ์การคำนวณค่าเบี้ยประกันรายปีครั้งใหม่มีการปรับเปลี่ยนไปเช่นกัน


เพราะปัจจุบันคนเราเจ็บป่วยมากขึ้น ทั้งจากการเพิ่มขึ้นของผู้สูงอายุ โรคอุบัติใหม่ รวมถึงมลพิษทางน้ำและอากาศ ทำให้เกิดการเคลมประกันมากขึ้น บวกกับความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทางการแพทย์ ทั้งหมดจึงทำให้ต้นทุนการดูแลสุขภาพของบริษัทประกันเพิ่มสูงขึ้น ภาคธุรกิจประกันภัย โดยสมาคมประกันชีวิตไทย จึงจำเป็นต้องบริหารจัดการต้นทุนให้เหมาะสม เพื่อให้เกิดความยั่งยืน และการเข้าถึงประกันสุขภาพได้ในระยะยาว โดยกำหนดมาตรฐานใหม่ที่เรียกว่า “Copayment” “co-payment” หรือ “co-pay” แล้ว Copayment ประกันสุขภาพร่วมจ่ายคืออะไร มีอะไรที่คนทำประกันต้องรู้ มาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน

Copayment คืออะไร ?

Copayment เป็นค่าใช้จ่ายที่ผู้ป่วยต้องจ่ายเองเมื่อใช้บริการสุขภาพหรือประกันสุขภาพ

Copayment คืออะไร?

Copayment คือเงื่อนไขการประกันสุขภาพร่วมจ่าย หมายถึงทุกค่ารักษาแบบผู้ป่วยใน (IPD) หากเข้าข่ายตามที่กำหนด ผู้เอาประกันจะต้องจ่ายเบี้ยประกันเพิ่มขึ้น 30%-50% ในการต่อเบี้ยประกันในปีถัดไป (พิจารณาเป็นรายปีต่อปี) เพื่อเน้นลดการใช้สิทธิ์เกินจำเป็น โดยเฉพาะในโรคป่วยเล็กน้อย (Simple Diseases) พร้อมกระตุ้นให้คนเราดูแลสุขภาพตัวเองมากขึ้น

โดยสมาคมประกันชีวิตไทย จะใช้เงื่อนไขประกันสุขภาพร่วมจ่าย (Copayment) กับกรมธรรม์ประกันสุขภาพฉบับใหม่ ที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป



ประกันสุขภาพร่วมจ่าย แตกต่างกับประกันสุขภาพเหมาจ่ายอย่างไร ?

โดยปกติแล้วในแผนประกันสุขภาพส่วนใหญ่จะเป็น “ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่าย” คือมีกำหนดวงเงินให้ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจากการเจ็บป่วยหรือจากอุบัติเหตุ ครอบคลุมทั้งค่ารักษาพยาบาลผู้ป่วยใน IPD และผู้ป่วยนอก OPD โดยกำหนดวงเงินค่ารักษาพยาบาลต่อรอบปีกรมธรรม์หรือต่อครั้ง ซึ่งมากพอที่จะครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นจริง เป็นประกันสุขภาพที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในปัจจุบัน

ส่วน “ประกันสุขภาพร่วมจ่าย” คือข้อกำหนดใหม่ที่มีการเพิ่มส่วนต่างในการต่อประกันครั้งใหม่ พิจารณาเฉพาะกรณีเข้ารักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) หากรวมแล้วในแต่ละปีมีการเคลมมากเกินจำนวนครั้ง หรือมีการเคลมโรคป่วยเล็กน้อย (Simple Diseases) ซึ่งเข้าเงื่อนไขตามที่สมาคมประกันชีวิตไทยกำหนด โดยบริษัทประกันภัยจะมีหนังสือแจ้งล่วงหน้าก่อนครบชำระเบี้ยประกันภัยไม่น้อยกว่า 15 วัน

ดังนั้น ถ้าเคลมป่วยจริง จำนวนไม่มาก ไม่เข้าข่าย Simple Diseases บริษัทประกันก็ต่อประกันสุขภาพเหมาจ่ายตามปกติ แต่ถ้าเคลมรักษาตัวในฐานะผู้ป่วยใน (IPD) เกินจำเป็นและมากกว่าจำนวนครั้งที่กำหนด ก็เข้าเงื่อนไขต้องมีส่วนร่วมจ่าย (Copayment) หรือต้องต่อประกันแพงขึ้นนั่นเอง


(อ้างอิง : เนื้อหาทำความเข้าใจมาจาก https://www.youtube.com/watch?v=1Ay69xnEzhk)

Simple diseases คืออะไร มีโรคอะไรบ้าง

Simple diseases คือการป่วยเล็กน้อยทั่วไป ใน 5 กลุ่มโรค ประกอบด้วย

  1. โรคระบบทางเดินหายใจส่วนบนอักเสบ (Upper Respiratory Tract Infection)
  2. ไข้หวัดใหญ่(Influenza)
  3. ท้องเสียเฉียบพลัน (Acute Diarrhea)
  4. โรคเวียนศีรษะ (Vertigo)
  5. โรคอื่นๆ ที่ไม่ปรากฏโรคหรือภาวะแทรกซ้อน หรือเป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการรุนแรงหรือป่วยด้วยโรคอื่นตามมา อาการไม่รุนแรง ไม่ส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันในระยะยาว รักษาง่ายด้วยการใช้ยาสามัญประจำบ้าน หรือหายเองได้ด้วยการพักผ่อนโดยไม่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล

ข้อดี-ข้อเสียของ Copayment

ข้อดี

  • ลดการเคลมเล็กน้อย เงื่อนไข Copayment จะป้องกันการเคลมในกรณีเล็กน้อยและไม่จำเป็น เช่น ไข้หวัด ท้องเสีย ซึ่งพักรักษาตัวเองที่บ้านได้
  • ลดการรักษาตัวในโรงพยาบาลราคาแพง ด้วยเงื่อนไข Copayment ผู้เอาประกันจะต้องพิจารณาเรื่องค่าใช้จ่ายก่อนเลือกโรงพยาบาล ทำให้มีแนวโน้มเลือกโรงพยาบาลทั่วไปมากกว่าโรงพยาบาลเอกชนที่ราคาแพง

ข้อเสีย

  • เพิ่มภาระให้ผู้เอาประกัน ประกันสุขภาพแบบเหมาจ่ายจึงเป็นที่นิยมมากกว่า เพราะไม่เพิ่มภาระให้ผู้เอาประกัน
  • อัตรา Copayment ที่เพิ่มขึ้น อาจกระทบต่อเป้าหมายของประกันสุขภาพ ทำให้ผู้เอาประกันไม่เข้าถึงการรักษาที่จำเป็น
  • ประโยชน์น้อยหากมีการเคลม แม้เบี้ยประกันจะถูกกว่า แต่หากเกิดเหตุฉุกเฉิน ผู้เอาประกันอาจต้องจ่ายส่วนแบ่งที่สูงจากเงินเก็บ

ประกันสุขภาพแบบ Copayment เหมาะกับใคร ?

การเลือกประกันสุขภาพขึ้นอยู่กับไลฟ์สไตล์ของแต่ละคน หากผู้เอาประกันภัยดูแลสุขภาพมีร่างกายแข็งแรงและมีโอกาสเคลมน้อย ประกันสุขภาพแบบ Copayment จะเป็นตัวช่วยให้ประหยัดค่าเบี้ยประกัน แต่ถ้าผู้เอาประกันมีปัญหาสุขภาพหรือมีความเสี่ยงต้องเคลมบ่อย การเลือกประกันสุขภาพแบบไม่มี Copayment ก็จะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า

Copayment คืออะไร ?

เกณฑ์การเข้าเงื่อนไข Copayment จากสมาคมประกันชีวิตไทย
ขอบคุณรูปภาพจาก https://images.app.goo.gl/oq7igzSUrrcGsWzE8

Copayment มีเงื่อนไขอะไรบ้าง ?

สำหรับกรมธรรม์ประกันสุขภาพฉบับใหม่ (ที่เริ่มคุ้มครองตั้งแต่วันที่ 20 มีนาคม 2568 เป็นต้นไป) จะเข้าเงื่อนไขประกันสุขภาพร่วมจ่าย Copayment สามารถพิจารณาตามหลักเกณฑ์ใน 3 กรณีดังนี้

กรณีที่ 1ร่วมจ่าย 30%

  • มีการเคลมเป็นผู้ป่วยในด้วยกลุ่มโรค ที่ป่วยเล็กน้อย (Simple Diseases) ไม่มีข้อบ่งชี้ทางการแพทย์ให้ต้องรักษาตัวแบบผู้ป่วยใน
  • มีการเคลมตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป
  • มีอัตราการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนรวมกันตั้งแต่ 200%

ผู้เอาประกันภัยร่วมจ่าย 30% ของค่ารักษาที่ได้รับความคุ้มครองในปีถัดไป

กรณีที่ 2ร่วมจ่าย 30%

  • มีการเคลมเป็นผู้ป่วยในด้วยโรคทั่วไป (ไม่รวมโรคร้ายแรงและการผ่าตัดใหญ่)
  • มีการเคลมตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป
  • มีอัตราการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนรวมกัน ตั้งแต่ 400%

ผู้เอาประกันภัยร่วมจ่าย 30% ของค่ารักษาที่ได้รับความคุ้มครองในปีถัดไป

กรณีที่ 3 ร่วมจ่าย 50%

หากเข้าหลักเกณฑ์ทั้งกรณีที่ 1 และกรณีที่ 2 ข้างต้น จะต้องร่วมจ่าย Copayment แต่รวมกันแล้วจะไม่เกิน 50% ของค่ารักษาในปีถัดไป

ตัวอย่าง

ค่าเบี้ยประกันสุขภาพ 20,000 บาทต่อปี

มีการเคลมค่าใช้จ่ายในการรักษาผู้ป่วยใน (IPD) สำหรับการเจ็บป่วยเล็กน้อย ครั้งที่ 1 จำนวน 10,000 บาท, ครั้งที่ 2 จำนวน 15,000 บาท, ครั้งที่ 3 จำนวน 20,000 บาท

พิจารณาแล้วมีการรักษาตั้งแต่ 3 ครั้งขึ้นไป และรวมอัตราการเคลมมากกว่า 200% (เคสนี้เกิน 40,000 บาท) ดังนั้น ผู้เอาประกันภัยจะต้องจ่าย Copayment 30% สำหรับค่ารักษาในปีกรมธรรม์ถัดไป

สิ่งที่ต้องรู้คือ หากเข้าเงื่อนไข Copayment แล้ว เบี้ยประกันภัยจะไม่มีการลดลงและมีผลปีต่อปี ดังนั้น หากปีหน้าเคลมไม่เกินตามเกณฑ์ที่กำหนด ก็จะยกเลิกการมีส่วนร่วมจ่าย Copayment ในการต่อประกันนั่นเอง

(อ้างอิง : https://www.tlaa.org/page_bx.php?cid=23&cname=&cno=1935)

การเคลมแบบไหนที่ไม่ถูกนับเข้าเงื่อนไข Copayment

  1. การเคลมสำหรับโรคที่รุนแรง หรืออาการที่จำเป็นต้องนอนโรงพยาบาล
  2. การเคลมสำหรับผ่าตัด ที่ต้องใช้ยาสลบ หรือการบล็อกเฉพาะส่วน
  3. การเคลมสำหรับโรคร้ายแรง เช่น เนื้องอกในสมองชนิดที่ไม่ใช่มะเร็ง, โรคมะเร็งระยะลุกลาม, โรคกล้ามเนื้อ, โรคสมองเสื่อมชนิดอัลไซเมอร์หัวใจ, โรคเยื่อหุ้มสมอง และไขสันหลังอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย, โรคหลอดลมปอดอุดกั้นเรื้อรังขั้นรุนแรง/โรคปอดระยะสุดท้าย, ไตวายเรื้อรัง, ตาบอด, การสูญเสียการได้ยิน, การสูญเสียการดำรงชีพอย่างอิสระ, การทุพพลภาพถาวรสิ้นเชิง, การสูญเสียความสามารถในการพูด, แผลไหม้ฉกรรจ์, การบาดเจ็บที่ศีรษะอย่างรุนแรง หรือการผ่าตัดเปลี่ยนอวัยวะหรือปลูกถ่ายไขกระดูก เป็นต้น

ทั้งนี้ สมาคมประกันชีวิตไทย แนะนำให้ประชาชนศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรการดังกล่าว และเช็กรายชื่อโรคร้ายแรง เพื่อประโยชน์สูงสุดของผู้เอาประกันภัย

โปรโมชั่น ktc

ทำความเข้าใจเงื่อนไข Copayment ประกันสุขภาพร่วมจ่ายคืออะไร มีอะไรที่คนทำประกันต้องรู้ กันไปแล้ว ลองเลือกประกันสุขภาพที่ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์ และ จ่ายเบี้ยประกันสุขภาพกับ KTC มีโปรโมชั่น คุ้มค่า มีให้เลือกหลากหลายหมวดหมู่ที่ครอบคลุม กับหลากหลายบริษัทประกันชั้นนำ ดูรายละเอียดประกันเพิ่มเติม คลิกที่นี่ สนใจสิทธิพิเศษดีๆ ยังไม่มีบัตรเครดิต KTC สมัครออนไลน์ได้เลย ตอนนี้ สมัครง่าย สะดวกไม่ต้องเดินทางไปที่สาขา

ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC

Apply Online Service

KTC Credit cards and KTC PROUD

QR Code สมัครออนไลน์ด้วยตนเอง
Scan QR Code
to apply online service
Learn more

Apply Online Service

KTC Credit cards
and KTC PROUD

Apply Now Learn more

Add your contact details
for call back service.

Get advice and help with applying KTC products.

บัตรเครดิต KTC KTC Credit Card สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH KTC CASH KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC P BERM
Car for Cash (Big bike)
บัตรกดเงินสด KTC PROUD KTC PROUD สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC P BERM
Car for Cash (Car)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC P BERM
Car for Cash
(Motorcycle)
บัตรเครดิต KTC KTC Credit Card บัตรกดเงินสด KTC PROUD KTC PROUD สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH KTC CASH สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC P BERM
Car for Cash (Car)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC P BERM
Car for Cash (Big bike)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC P BERM
Car for Cash
(Motorcycle)

About KTC

  • Vision / Mission
  • General Information
  • Group’s Shareholding
  • Organization Structure
  • Board of Directors
  • Executives
  • Company Secretary
  • Compliance and Internal Audit
  • Financial Controller
  • Data Protection Notice
  • Cookies Notice
  • PR News
  • Article
  • Career / Internship

Customer Services

  • Online Services
  • Rates and Fees
  • Interest / Fee Calculator
  • Payment Channels
  • KTC Auto Payment
  • Download
  • Announcement
  • FAQ
  • Site Map

Sustainability Development

  • Economic Dimension
  • Social Dimension
  • Environmental Dimension
  • Internal Control
    and Risk Management
  • Information Security Management System (ISO/IEC 27001:2013) Certification

Investor Relations

  • Financial Hightlight
  • Publications and Webcast
  • Shareholder
  • Bondholder
  • Policy
  • IR Contact

KTC PHONE

02 123 5000
CAC Certified

Download App

KTC Mobile
KTC Mobile KTC Mobile KTC Mobile
ติดตามข่าวสารได้ที่
KTC LINE KTC LINE KTC Facebook KTC Facebook KTC instagram KTC instagram KTC Youtube KTC Youtube KTC TikTok KTC TikTok KTC twitter KTC twitter
© 2020 Krungthai Card PCL.
Follow us on
KTC LINE KTC LINE KTC Facebook KTC Facebook KTC instagram KTC instagram KTC Youtube KTC Youtube KTC TikTok KTC TikTok KTC twitter KTC twitter

EN

TH

KTC LIVE CHAT

Live Chat

KTC LIVE CHAT
สมัครบัตรเครดิต KTC
สมัครกดเงินสด KTC PROUD
All
Promotion
Credit card
Article
News
0 Result
คุณกำลังหมายถึง?
    See more

    Not found

    Check your search keywords and try again.
    Try searching with fewer keywords.
    History Search
    History empty
    Clear all
    KTC
    Filter promotion
    All category
    • Select all
    • Clear all
    All brand
    • Select all
    • Clear all
    Choose Product

    KTC Credit Card

    KTC PROUD

    KTC CASH

    สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ <span>KTC พี่เบิ้ม</span>

    KTC P BERM

    Filter

    ตัวกรอง

    Search
    www.ktc.co.th ไม่รองรับเบราว์เซอร์ Internet Explorer
    หากดำเนินการต่อ การใช้งานในบางเมนู/รายการอาจไม่สมบูรณ์

    © 2019 Krungthai Card PCL.

    EN

    TH

    Live Chat