เคล็ดลับการซื้อประกันสุขภาพ หากเจ็บป่วยจนต้องแอดมิทนอนโรงพยาบาล (IPD) ต้องขาดรายได้ในช่วงรักษาตัว คือการมีประกันเพื่อรับเงินชดเชยรายได้ ที่ถือเป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับคนวัยทำงาน ช่วยแบ่งเบาค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น และทำให้ไม่ขาดสภาพคล่องทางการเงิน แต่ในหลายๆ แพ็กเกจประกันสุขภาพ อาจไม่ได้ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายตรงนี้ การทำประกันชดเชยรายได้เพิ่มเติม มีข้อดีคือการได้เงินชดเชยในระหว่างรักษาตัวที่โรงพยาบาล ทั้งจากความเจ็บป่วย หรือจากอุบัติเหตุ จนทำให้ไม่สามารถไปทำงานได้ อย่างไรก็ดี ก่อนการเลือกซื้อประกัน ควรทำความเข้าใจและศึกษาข้อมูล ดูวิธีเลือกประกันชดเชยรายได้ และข้อควรรู้ต่างๆ ก่อน ดังนี้
ประกันชดเชยรายได้ (Income Protection Insurance) ช่วยชดเชยการสูญเสียรายได้จากการเจ็บป่วย
ประกันชดเชยรายได้ คืออะไร
ประกันชดเชยรายได้ (Income Protection Insurance) เป็นประกันที่ถูกออกแบบมาเพื่อชดเชยรายได้ในช่วงที่ผู้ทำประกันพักรักษาตัวในโรงพยาบาลจนไม่สามารถทำงานได้ ทำให้สูญเสียรายได้ในระหว่างนั้น โดยจะมีการจ่ายเงินชดเชยรายวัน นับจากจำนวนวันที่นอนโรงพยาบาล เป็นผู้ป่วยใน (IPD) ซึ่งเงินค่าชดเชยรายได้นี้จะขึ้นอยู่กับแพ็กเกจและเงื่อนไขของกรมธรรม์ที่ได้ทำไว้
ทำไมต้องมีประกันชดเชยรายได้
เพราะประกันชดเชยรายได้ ช่วยให้ได้เงินชดเชยในขณะพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ทำให้ยังมีรายรับแม้ขาดงาน หรือเสียโอกาสในการทำงานเนื่องจากเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ และยังช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นขณะรักษาตัวได้
อาชีพอะไรเหมาะกับประกันชดเชยรายได้
ผู้ที่เหมาะกับการซื้อประกันชดเชยรายได้คือผู้ที่อยู่ในวัยทำงานทุกคน โดยเฉพาะพนักงานรายวันที่หากขาดงานจะสูญเสียรายได้ทันที รวมถึงฟรีแลนซ์ แม่ค้า นักดนตรี และอาชีพอิสระอื่นๆ เพราะหากเจ็บป่วย ก็จะเสียโอกาสในการทำงาน
ประกันชดเชยรายได้ต้องจ่ายอย่างไร
การชำระค่าเบี้ยสำหรับซื้อประกันชดเชยรายได้ สามารถเลือกได้ว่าจะชำระแบบรายเดือน หรือรายปี ส่วนใหญ่มักจะซื้อไปพร้อมกับประกันสุขภาพ แต่สามารถซื้อแยกได้ สำหรับค่าชดเชยจะจ่ายตามจำนวนวันที่นอนรักษาตัวเป็นผู้ป่วยใน พร้อมเงื่อนไขตามแพ็กเกจที่ซื้อ
วิธีเลือกประกันชดเชยรายได้
หากสนใจประกันชดเชยรายได้ วิธีการเลือกซื้อประกันนั้นไม่ซับซ้อนเหมือนประกันอื่นๆ โดยสามารถพิจารณาข้อมูล ดังต่อไปนี้
- เบี้ยประกัน เลือกแพ็กเกจประกันจากค่าเบี้ยที่ชำระไหว อย่าให้ค่าเบี้ยประกันเป็นสิ่งที่ทำให้เกิดความเครียด หรือขาดสภาพคล่องทางการเงิน ไปจนถึงการเป็นหนี้ หรือต้องกู้ยืม
- วงเงินประกัน เป็นสิ่งที่ต้องพิจารณาโดยละเอียด โดยอาจดูว่าค่าชดเชยรายได้สำหรับแผนประกันนั้นๆ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่อาจเกิดขึ้นหรือไม่ คุ้มค่ากับค่าเบี้ยที่ต้องชำระหรือไม่
- ประเมินความเสี่ยง โดยประเมินว่าอาชีพที่ทำมีความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุหรือความเจ็บป่วยมากน้อยเพียงใด การทำประกันชดเชยรายได้จะเป็นตัวช่วยสำคัญเพื่อให้ไม่เกิดการขาดสภาพคล่องเมื่อต้องพักรักษาตัว
- เช็กสิทธิ์โรงพยาบาลที่เบิกประกันได้ ตรวจสอบรายชื่อโรงพยาบาลที่สะดวก เพื่อดูว่าเข้าร่วมประกันหรือไม่ เพื่อความสะดวกในการเดินทางและการเบิกประกัน
ประกันชดเชยรายได้มีระยะรอคอยหรือไม่
ปกติแล้วประกันชดเชยได้ จะมีระยะรอคอยกรณีเจ็บป่วยทั่วไปที่ 30 วัน และ 120 วัน สำหรับโรคที่มีระยะก่อโรคนาน เช่น มะเร็ง ริดสีดวงทวาร ต้อกระจก เป็นต้น สำหรับกรณีที่เพิ่งสมัครกรมธรรม์เล่มใหม่ที่มีผลบังคับใช้เป็นครั้งแรก แต่หากเคยทำประกันชดเชยรายได้มาก่อนแล้วอย่างน้อย 1 ปี จะไม่มีระยะเวลารอคอย ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขของกรมธรรม์
เชื่อว่าไม่มีใครอยากเจ็บป่วย หรืออยากนอนโรงพยาบาลรักษาตัวเป็นเวลานาน แต่เรื่องของสุขภาพหรืออุบัติเหตุนั้นเป็นเรื่องที่ไม่อาจคาดเดาได้ การซื้อประกันชดเชยรายได้เผื่อวันที่ขาดรายได้ถือเป็นการวางแผนการเงินสำหรับอนาคต พร้อมเลือกชำระค่าเบี้ยประกันด้วยบัตรเครดิต KTC ที่สามารถแบ่งยอดผ่อนชำระได้ ทำให้ไม่ต้องจ่ายเงินก้อนในคราวเดียว ทั้งยังได้รับสิทธิประโยชน์อื่นๆ ที่มาพร้อมกับบัตร อาทิ คะแนนสะสมที่สามารถใช้แลกรับเป็นส่วนลดหรือเครดิตเงินคืนได้ รวมถึงโปรโมชั่นจากพาร์ทเนอร์ชั้นนำ และร้านค้าดังมากมาย กดสมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง สมัครง่ายอาชีพไหนก็สมัครได้
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC