• Credit Card
    • Credit Card
    • Rewards Program
    • Installment Payment
    • Donation
    • Auto Payment
    • Rates and Fees
    • KTC Device Pay
  • Personal Loan
    • Loan Product
    • Installment Payment
    • Rates and Fees
  • Promotions
  • Merchant
    • Merchant Service
    • EDC Service
    • QR Code Payment
    • Online Payment Gateway
    • Auto Payment Service
    • Link Payment
    • ALIPAY & ALIPAY+
  • KTC WORLD
  • KTC U SHOP
  • Customer Service
    • Contact KTC
    • KTC MOBILE APPLICATION
    • Payment Channel
    • KTC E-Book
    • Download Manual / Form
    • FAQ
Credit Card
Credit Card
  • Credit Card
  • Forever Rewards
  • Flexi Installment
  • Donation
  • Auto Payment
  • Rates and Fees
  • KTC Device Pay
Personal Loan
Personal Loan
  • Loan Product
  • Flexi Installment
  • Rates and Fees
PromotionsPromotions
Merchant
Merchant
  • Merchant Service
  • EDC Service
  • QR Code Payment
  • Online Payment Gateway
  • Auto Payment Service
  • Link Payment
  • ALIPAY & ALIPAY+
KTC WORLDKTC WORLD KTC U SHOPKTC U SHOP
Customer Service
Customer Service
  • Contact KTC
  • KTC MOBILE APPLICATION
  • Payment Channel
  • KTC E-Book
  • Download Manual / Form
  • FAQ
เปลี่ยนภาษา

EN

TH

KTC Search Icon KTC Search Icon
Apply Card
KTC Login KTC Login Login KTC Login
KTC Profile

My Account

  • KTC Profile

    My Product

  • KTC Promotions

    My Promotions

  • KTC Logout

    Log out

KTC Profile
  1. Home
  2. /
  3. Article
  4. /
  5. Knowledge
  6. /
  7. ขาหัก นิ้วหัก กระดูกหัก เบิกประกันสังคมได้ไหม ได้เท่าไหร่ มีคำตอบ!
  1. Home
  2. /
  3. Article
  4. /
  5. Knowledge
  6. /
  7. ขาหัก นิ้วหัก กระดูกหัก เบิกประกันสังคมได้ไหม ได้เท่าไหร่ มีคำตอบ!
เบิก ประกันสังคม กรณี กระดูกหัก

ขาหัก นิ้วหัก กระดูกหัก เบิกประกันสังคมได้ไหม ได้เท่าไหร่ มีคำตอบ!

Category : Knowledge

สิทธิประโยชน์กรณีเจ็บป่วยฉุกเฉิน หรือเกิดอุบัติเหตุไม่คาดฝัน นับเป็นหนึ่งในสิทธิ์บริการทางการแพทย์ที่สำนักงานประกันสังคม มอบให้กับผู้ประกันตน ซึ่งเงื่อนไขนี้จะเกิดได้เมื่อผู้ประกันตนจ่ายเงินสมทบครบ 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือน ก่อนเดือนที่รับบริการทางการแพทย์ รวมถึงผู้ประกันตนได้เลือกสถานพยาบาลหลักในการเข้ารับการรักษาตัว สำหรับในกรณีแขนหัก ขาหัก นิ้วหัก ประกันสังคมเบิกได้ไหม กระดูกหักต่างๆ มีคำตอบให้แล้วทุกข้อสงสัย

ประกันสังคม อุบัติเหตุ ครอบคลุมอะไรบ้าง?

กรณีที่ผู้ประกันตนไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ เนื่องจากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน ประกันสังคมได้ให้สิทธิสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ใกล้ที่สุด และแจ้งโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ โดยเร็ว ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะทำการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น ตามความจำเป็นไม่เกิน 72 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ โดยไม่รวมระยะเวลาในวันหยุดราชการ และโรงพยาบาล

สำหรับค่ารักษาพยาบาลที่เกิดขึ้นก่อนการแจ้งสิทธิต่อโรงพยาบาลที่ผู้ประกันตนสํารองจ่าย ทางสำนักงานประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลกรณีฉุกเฉินหรืออุบัติเหตุให้ ดังนี้

  1. หากเป็นโรงพยาบาลรัฐบาลจ่ายให้ตามจริงตามความจําเป็น สำหรับค่าห้องค่าอาหารจ่ายวันละไม่เกิน 700 บาท
  2. หากเป็นโรงพยาบาลเอกชน
  • กรณีผู้ป่วยนอก ค่ารักษาพยาบาลจะจ่ายให้เท่าที่จ่ายจริงไม่เกิน ครั้งละ 1,000 บาท และจ่ายเพิ่มตามรายการการรักษาที่กำหนด
  • กรณีผู้ป่วยใน ค่ารักษาพยาบาลจะจ่ายให้วันละไม่เกิน 2,000 บาท ค่าห้องค่าอาหารไม่เกินวันละ 700 บาท แต่ถ้าเจ็บหนักต้องนอนในห้องไอซียูจ่ายให้ไม่เกินวันละ 4,500 บาท พร้อมสามารถเบิกรายการค่ารักษาอื่น ๆ ได้ตามรายการที่สํานักงานประกันสังคมประกาศกําหนด เช่น ทํา CT scan เบิกได้ 4,000 บาท ทํา MRI เบิกได้ 8,000 บาท เป็นต้น

และหากต้องมีการผ่าตัดเฉพาะค่าผ่าตัดใหญ่จะเบิกคืนได้ ดังนี้

  • ใช้เวลาผ่าตัดไม่เกิน 1 ชั่วโมงเบิกได้ไม่เกิน 8,000 บาท
  • ใช้เวลาผ่าตัดเกิน 1 ชั่วโมงแต่ไม่เกิน 2 ชั่วโมงเบิกได้ไม่เกิน 12,000 บาท
  • ใช้เวลาผ่าตัดเกิน 2 ชั่วโมงเบิกได้ 16,000 บาท
  • กรณีฉุกเฉิน เบิกได้ปีละไม่เกิน 4 ครั้ง (ผู้ป่วยนอก 2 ครั้ง ผู้ป่วยใน 2 ครั้ง)
  • กรณีอุบัติเหตุ ไม่จํากัดจำนวนครั้ง

เบิกประกันสังคม กรณีกระดูกหัก

ขาหัก นิ้วหัก กระดูกหัก เบิกประกันสังคมได้ โดยไม่ต้องสำรองจ่าย

ขาหัก นิ้วหัก กระดูกหัก เบิกประกันสังคมได้ไหม?

เรื่องที่หลายคนสงสัยว่า ขาหัก นิ้วหัก กระดูกหัก เบิกประกันสังคมได้หรือไม่ กรณีเบิกค่ารักษาพยาบาล คำตอบคือ ผู้ประกันตนสามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ ได้ทันที (โดยไม่ต้องสำรองจ่าย) แต่หากประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยฉุกเฉิน และไม่สามารถเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ สำนักงานประกันสังคมจะทำการจ่ายค่าบริการทางการแพทย์เฉพาะค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นตามความจำเป็นไม่เกิน 72 ชั่วโมง นับตั้งแต่เวลาที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการทางการแพทย์ และต้องแจ้งโรงพยาบาลตามบัตรรับรองสิทธิฯ โดยเร็ว

สำหรับกรณีการเบิกเงินประกันสังคม เพื่อชดเชยรายได้ที่เสียไประหว่างที่พักรักษาตัว เมื่อขาหัก นิ้วหัก กระดูกหัก เรียกว่า “เงินทดแทนการขาดรายได้” ในส่วนนี้จะเบิกประกันสังคมได้ไหม ได้เท่าไหร่ เบิกได้กี่วัน มีเงื่อนไขอย่างไรบ้าง มาดูกัน

เงินทดแทนการขาดรายได้ คืออะไร?

สำหรับเงินทดแทนการขาดรายได้ เป็นเงินที่สํานักงานประกันสังคมจ่ายให้กับผู้ประกันตนทุกมาตรา กรณีที่ต้องหยุดพักทำงานเพื่อรักษาตัวตามคำสั่งของแพทย์ โดยทั่วไปผู้ประกันตนสามารถหยุดพักได้ครั้งละไม่เกิน 90 วัน และไม่เกิน 180 วันต่อปี

เว้นแต่ป่วยด้วยโรคเรื้อรัง จะได้รับเงินทดแทนสูงสุด 365 วันต่อปี ซึ่งในปัจจุบันกําหนดไว้ทั้งหมด 6 โรค คือ

  1. โรงมะเร็ง
  2. โรคไตวายเรื้อรัง
  3. โรคเอดส์
  4. อัมพาตที่มีที่มาจากอาการบาดเจ็บของสมอง เส้นเลือดสมองหรือกระดูกสันหลัง
  5. ความผิดปกติของกระดูกหัก ที่มีภาวะแทรกซ้อน ได้แก่ กระดูกหักที่มีการติดเชื้อ, กระดูกติดช้า, กระดูกไม่ติด, กระดูกผิดปกติ หรือเหล็กดามกระดูกหัก
  6. โรคหรือการเจ็บป่วยอื่นๆ ที่ต้องรักษาตัวนานติดต่อกันเกิน 180 วัน (ระหว่างการรักษา ไม่สามารถทํางานได้)

การใช้สิทธิเบิกประกันสังคม มาตรา 33, มาตรา 39, มาตรา 40

ขาหัก เบิกประกันสังคมได้เท่าไหร่? ผู้ประกันตนที่สามารถเบิกเงินได้ต้องเข้าเงื่อนไขอะไรบ้าง? เบิกเงินประกันสังคม กรณีเจ็บป่วย กี่วันได้? เรื่องนี้ต้องอธิบายว่าการจ่ายเงินทดแทนของผู้ประกันตนแต่ละมาตรา มีจำนวนเงินทดแทนที่ผู้ประกันตนได้รับ และเงื่อนไขการได้รับเงินแตกต่างกันออกไป ดังนี้

ผู้ประกันตนมาตรา 33

จำนวนเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีลาป่วย ขาหัก นิ้วหัก กระดูกหัก จะได้รับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง และหากหยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกกรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย 

โดยจะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน สูงสุดไม่เกินปีละ 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

เงื่อนไข

ส่งเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันที่เจ็บป่วย

ทั้งนี้ กรณีนายจ้างจ่ายเงินเดือนให้ จะเบิกประกันสังคมไม่ได้ โดยเบิกได้เฉพาะช่วงที่ขาดรายได้จริงเท่านั้น

ผู้ประกันตนมาตรา 39

จำนวนเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีขาหัก นิ้วหัก กระดูกหัก จะได้รับเงินทดแทนขาดรายได้ 50% โดยคิดจากฐานอัตราการนำส่งเงินสมทบที่ 4,800 บาท ครั้งละไม่เกิน 90 วัน ปีละไม่เกิน 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

เงื่อนไข

ส่งเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนวันที่เจ็บป่วย

หากเป็นเหตุที่เกิดจากการทำงาน สำหรับผู้ประกันตน มาตรา 33 และมาตรา 39 จะได้รับเงินค่ารักษาพยาบาลจากกองทุนเงินทดแทน ดังนี้

  • กรณีประสบอันตราย จ่ายค่ารักษาพยาบาล 50,000 บาท (สูงสุดไม่เกิน 2,000,000 บาท หรือสิ้นสุดการรักษา เงื่อนไขตามที่กฎหมายกำหนด)
  • ได้ค่าทดแทน 70% ของค่าจ้างรายเดือน หากต้องหยุดงานตั้งแต่ 1 วัน แต่ไม่เกิน 1 ปี
  • กรณีสูญเสียอวัยวะและสมรรถภาพในการทำงาน ได้ค่าทดแทน 70% ของค่าจ้างรายเดือน ในการหยุดพักรักษาตัว แต่ไม่เกิน 10 ปี
  • ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูฯ ตามที่กฎหมายกำหนด

ผู้ประกันตนมาตรา 40

จำนวนเงินทดแทนการขาดรายได้ กรณีขาหัก นิ้วหัก กระดูกหัก จะได้รับเงินทดแทนการขาดรายได้ตามทางเลือก 1-2-3 โดยมีรายละเอียดดังนี้

การใช้สิทธิประกันสังคม

ทางเลือกที่ 1 (จ่าย 70 บาทต่อเดือน)

ทางเลือกที่ 2 (จ่าย 100 บาทต่อเดือน)

ทางเลือกที่ 3 (จ่าย 300 บาทต่อเดือน)

ผู้ป่วยใน นอนพักรักษาตัว 1 วันขึ้นไป

300 บาท/วัน

300 บาท/วัน

300 บาท/วัน

ผู้ป่วยนอก แต่มีใบรับรองแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัวตั้งแต่ 3 วันขึ้นไป

200 บาท/วัน

200 บาท/วัน

200 บาท/วัน

ผู้ป่วยนอก ที่ไปพบแพทย์ และมีใบรับรองแพทย์มาแสดง

50 บาท 

(ไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี)

50 บาท 

(ไม่เกิน 3 ครั้ง/ปี)

-

ระยะเวลารับเงินฯ สูงสุด

30 วัน

30 วัน

90 วัน

เงื่อนไข

ส่งเงินสมทบมาแล้วอย่างน้อย 3 เดือน ภายในระยะเวลา 4 เดือนก่อนวันที่เจ็บป่วย

ขั้นตอนการยื่นขอเงินทดแทนการขาดรายได้

หากผู้ประกันตนประสบอุบัติเหตุ ขาหัก นิ้วหัก กระดูกหัก และต้องการเบิกประกันสังคม ให้ยื่นขอเงินทดแทนการขาดรายได้ ตามขั้นตอน ดังนี้

1.เตรียมเอกสารที่กำหนดไว้ตามแต่ละมาตราให้พร้อม

2.ตรวจสอบเอกสารให้ถูกต้องครบถ้วน

3.ยื่นเอกสารได้ 2 แบบ คือ

ยื่นด้วยตนเองที่สำนักงานประกันสังคมสาขาที่สะดวกได้ทั้งกรุงเทพ และต่างจังหวัด ยกเว้นสำนักงานใหญ่ในบริเวณกระทรวงสาธารณสุข สามารถตรวจสอบจุดบริการได้ที่นี่

ส่งไปรษณีย์ไปยังสำนักงานประกันสังคม

4.รับเงินผ่านช่องทางต่างๆ เช่น

รับเงินด้วยตนเอง/หรือมอบอำนาจรับเงินแทน

รับเงินทางธนาณัติ

รับเงินผ่านธนาคาร สามารถเช็กธนาคารที่เข้าร่วมได้ที่นี่

เบิกประกันสังคม กรณีกระดูกหัก

เงินทดแทนรายได้ จะเบิกได้ตั้งแต่ วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยจะได้รับเงินทดแทนประมาณ 7,500 บาท/เดือน ครั้งละไม่เกิน 3 เดือน

เบิกเงินประกันสังคม กรณีเจ็บป่วย กี่วันได้?

สำหรับการเบิกเงินประกันสังคม กรณีลาป่วย ทดแทนรายได้ เมื่อรับค่าจ้าง 30 วันแรกจากนายจ้าง และหากหยุดรักษาตัวเกิน 30 วัน สามารถเบิกกรณีขาดรายได้จากสำนักงานประกันสังคม ตั้งแต่วันที่ 31 ของการลาป่วย โดยจะได้รับเงินทดแทน 50% ของค่าจ้าง แต่ไม่เกิน 15,000 บาท (ประมาณ 7,500 บาท) ครั้งละไม่เกิน 90 วัน สูงสุดไม่เกินปีละ 180 วัน ยกเว้นโรคเรื้อรังไม่เกิน 365 วัน

สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม พร้อมบัตรประจำตัวประชาชนหรือได้ที่เว็บไซต์ สำนักงานประกันสังคม หรือสายด่วน 1506 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

แม้ว่าการเป็นผู้ประกันตนของมนุษย์เงินเดือนจะได้รับสิทธิประกันสังคม ซึ่งช่วยลดเรื่องค่าใช้จ่าย และเงินทดแทนการขาดรายได้ แต่การมีเงินสำรองฉุกเฉินจากวินัยการออมเงิน หรือการมีวงเงินยามฉุกเฉินจากการบัตรเครดิต บัตรกดเงินสด เพื่อเป็นวงเงินสำรองยามเจ็บป่วยหรือฉุกเฉิน ก็เป็นตัวเลือกที่คนวัยทำงานไม่ควรมองข้าม สามารถ สมัครบัตรเครดิต KTC พร้อมการใช้จ่ายที่ตอบโจทย์มนุษย์เงินเดือน ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้า และรายปี สมัครออนไลน์ได้อย่างสะดวกสบาย ตลอด 24 ชั่วโมง

ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC

Apply Online Service

KTC Credit cards and KTC PROUD

QR Code สมัครออนไลน์ด้วยตนเอง
Scan QR Code
to apply online service
Learn more

Apply Online Service

KTC Credit cards
and KTC PROUD

Apply Now Learn more

Add your contact details
for call back service.

Get advice and help with applying KTC products.

บัตรเครดิต KTC KTC Credit Card สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH KTC CASH KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC P BERM
Car for Cash (Big bike)
บัตรกดเงินสด KTC PROUD KTC PROUD สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC P BERM
Car for Cash (Car)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC P BERM
Car for Cash
(Motorcycle)
บัตรเครดิต KTC KTC Credit Card บัตรกดเงินสด KTC PROUD KTC PROUD สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH KTC CASH สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC P BERM
Car for Cash (Car)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC P BERM
Car for Cash (Big bike)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC P BERM
Car for Cash
(Motorcycle)

About KTC

  • Vision / Mission
  • General Information
  • Group’s Shareholding
  • Organization Structure
  • Board of Directors
  • Executives
  • Company Secretary
  • Compliance and Internal Audit
  • Financial Controller
  • Data Protection Notice
  • Cookies Notice
  • PR News
  • Article
  • Career / Internship

Customer Services

  • Online Services
  • Rates and Fees
  • Interest / Fee Calculator
  • Payment Channels
  • KTC Auto Payment
  • Download
  • Announcement
  • FAQ
  • Site Map

Sustainability Development

  • Economic Dimension
  • Social Dimension
  • Environmental Dimension
  • Internal Control
    and Risk Management
  • Information Security Management System (ISO/IEC 27001:2013) Certification

Investor Relations

  • Financial Hightlight
  • Publications and Webcast
  • Shareholder
  • Bondholder
  • Policy
  • IR Contact

KTC PHONE

02 123 5000
CAC Certified

Download App

KTC Mobile
KTC Mobile KTC Mobile KTC Mobile
ติดตามข่าวสารได้ที่
KTC LINE KTC LINE KTC Facebook KTC Facebook KTC instagram KTC instagram KTC Youtube KTC Youtube KTC TikTok KTC TikTok KTC twitter KTC twitter
© 2020 Krungthai Card PCL.
Follow us on
KTC LINE KTC LINE KTC Facebook KTC Facebook KTC instagram KTC instagram KTC Youtube KTC Youtube KTC TikTok KTC TikTok KTC twitter KTC twitter

EN

TH

KTC LIVE CHAT

Live Chat

KTC LIVE CHAT
สมัครบัตรเครดิต KTC
สมัครกดเงินสด KTC PROUD
All
Promotion
Credit card
Article
News
0 Result
คุณกำลังหมายถึง?
    See more

    Not found

    Check your search keywords and try again.
    Try searching with fewer keywords.
    History Search
    History empty
    Clear all
    KTC
    Filter promotion
    All category
    • Select all
    • Clear all
    All brand
    • Select all
    • Clear all
    Choose Product

    KTC Credit Card

    KTC PROUD

    KTC CASH

    สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ <span>KTC พี่เบิ้ม</span>

    KTC P BERM

    Filter

    ตัวกรอง

    Search
    www.ktc.co.th ไม่รองรับเบราว์เซอร์ Internet Explorer
    หากดำเนินการต่อ การใช้งานในบางเมนู/รายการอาจไม่สมบูรณ์

    © 2019 Krungthai Card PCL.

    EN

    TH

    Live Chat

    ประกาศปิดปรับปรุงระบบแอป KTC Mobile ชั่วคราว
    KTC จะทำการปิดปรับปรุงระบบแอป KTC Mobile ในวันพุธที่ 14 พฤษภาคม 2568 เวลา 00:00 - 04:00 น. ซึ่งจะส่งผลให้ไม่สามารถใช้งานแอป KTC Mobile ได้ในช่วงเวลาดังกล่าว

    หากสมาชิกบัตรต้องการความช่วยเหลือ หรือต้องการอายัดบัตรฯ ชั่วคราว สามารถติดต่อ KTC PHONE 02 123 5000 ได้ตลอด 24 ชั่วโมง

    ขออภัยในความไม่สะดวก



    KTC Mobile App Maintenance Announcement
    KTC will be performing maintenance on the KTC Mobile App on Wednesday, May 14, 2025, from 12:00 AM to 4:00 AM. During this period, the KTC Mobile App will be temporarily unavailable.

    If KTC cardmembers require assistance or need to temporarily block their card, please contact KTC PHONE at 02 123 5000

    We apologize for any inconvenience caused.