การวางแผนการเงินให้ลูกตั้งแต่ยังเล็กถือว่าเป็นสิ่งสำคัญ หลายครอบครัวจึงเลือกเปิดบัญชีให้ลูกเพื่อเก็บออมเงินค่าขนม เงินอั่งเปา หรือเงินขวัญถุงที่ได้รับในโอกาสพิเศษ ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในวิธีที่ช่วยปลูกฝังนิสัยการออมให้กับลูก และช่วยสร้างอนาคตที่มั่นคงให้กับลูกได้ แต่ก่อนจะเปิดบัญชีให้ลูกในปี 2025 นั้น มาดูกันว่า ถ้าต้องการเปิดบัญชีให้ลูกใช้เอกสารอะไรบ้าง มีเงื่อนไขอะไรบ้างที่ควรรู้ และควรเลือกเปิดบัญชีให้ลูกธนาคารไหนดี มาดูกันเลย!
เด็กเปิดบัญชีได้ตอนกี่ขวบ
โดยทั่วไป เด็กสามารถมีบัญชีเงินฝากตั้งแต่แรกเกิด แต่ต้องมีผู้ปกครองที่มีความสัมพันธ์ทางกฎหมายกับเด็ก เช่น บิดา มารดา หรือผู้รับอุปการะโดยชอบด้วยกฎหมายเป็นผู้เปิดให้
เงื่อนไขในการเปิดบัญชีให้ลูก
การเปิดบัญชีให้ลูกนั้นมีเงื่อนไขที่ต้องรู้ โดยทั่วไปธนาคารจะกำหนดว่าเด็กต้องมีผู้ปกครองหรือผู้ดูแลตามกฎหมายเป็นผู้เปิดบัญชีให้ ซึ่งผู้ปกครองจะเป็นผู้ควบคุมบัญชีจนกว่าเด็กจะมีอายุถึงเกณฑ์ที่สามารถจัดการบัญชีได้เอง โดยเงื่อนไขที่พบบ่อย ได้แก่
- เด็กอายุต่ำกว่า 15 ปี ต้องมีผู้ปกครองเปิดบัญชีให้
- ผู้ปกครองต้องมีความสัมพันธ์ทางกฎหมายกับเด็ก เช่น บิดา มารดา หรือผู้รับอุปการะโดยชอบด้วยกฎหมาย
- สามารถเปิดบัญชีได้คนละ 1 บัญชีเท่านั้น ในนามตัวผู้ฝากเอง หรือผู้ปกครองที่เปิดบัญชีให้ผู้ฝาก หรือผู้ฝากที่มีผู้ปกครองเป็นผู้ดำเนินการเปิดบัญชีให้
- มีการกำหนดเงินเปิดบัญชีขั้นต่ำ เช่น 2,000 บาท
ไม่ใช่พ่อแม่เปิดบัญชีให้ลูกได้ไหม
ในกรณีที่ผู้ฝากไม่มีทั้งบิดาโดยชอบด้วยกฎหมายและมารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย สามารถให้ผู้ปกครองตามคำสั่งศาล หรือผู้ปกครองที่มีชื่อร่วมอยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกับผู้ฝาก สามารถเปิดบัญชีให้ได้
การเปิดบัญชีให้ลูก ไม่จำเป็นต้องเป็นพ่อแม่ก็เปิดให้ได้ แต่ผู้เปิดให้ต้องมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกัน
สิ่งที่ควรรู้ในการเปิดบัญชีให้ลูก
- เลือกบัญชีที่ให้ดอกเบี้ยสูง เพื่อให้เงินออมเติบโตได้เร็วขึ้น
- ตรวจสอบอัตราดอกเบี้ยรวมถึงเงื่อนไขต่างๆ ว่ามีข้อจำกัดอะไรบ้างก่อนการเปิดบัญชี เช่น จำนวนเงินขั้นต่ำในการเปิดบัญชี, จำนวนเงินขั้นต่ำในการฝากแต่ละเดือน, จำเป็นต้องฝากต่อเนื่องทุกเดือนหรือไม่, จำนวนครั้งในการถอนแต่ละวัน, ค่าธรรมเนียมในการโอนหรือการถอน, จำนวนครั้งในการขาดฝากว่าสามารถขาดได้ไม่เกินกี่ครั้ง, การเบิกถอนต่างสาขาว่าสามารถทำได้หรือไม่ เป็นต้น
- หากดอกเบี้ยเงินฝากออมทรัพย์ที่ได้รับเกินจำนวน 20,000 บาท ธนาคารจะหักภาษี ณ ที่จ่าย 15% ของดอกเบี้ยที่ได้รับ แต่สำหรับดอกเบี้ยไม่เกิน 20,000 บาท ธนาคารจะไม่หักภาษี ณ ที่จ่าย (อ้างอิง https://www.s-momclub.com/articles/baby/saving-money-for-children#1)
- พิจารณาความสะดวกในการบริหารการเงิน เช่น การใช้งานผ่านแอปพลิเคชันหรือบริการออนไลน์ของธนาคาร
- สอนลูกให้เข้าใจเรื่องการออม แนะนำให้เด็กจดบันทึกรายรับรายจ่าย และตั้งเป้าหมายการออม
- ดูโปรโมชั่นและสิทธิพิเศษ เช่น บางธนาคารอาจมีของขวัญพิเศษหรือสิทธิประโยชน์เพิ่มเติมสำหรับเด็กที่เปิดบัญชี
- ตรวจสอบระยะเวลาการถือครองบัญชี ว่าหากเด็กอายุเท่าไหร่ถึงจะสามารถเปลี่ยนเป็นบัญชีออมทรัพย์ปกติได้
- ไม่สามารถเปิดบัญชีให้ลูกออนไลน์ได้ เพราะจำเป็นต้องใช้เอกสารในการยืนยันตัวตนและ เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้เยาว์หลายฉบับ จึงจำเป็นต้องเดินทางไปที่สาขาเท่านั้น
เปิดบัญชีให้ลูก ใช้เอกสารอะไรบ้าง ?
การเปิดบัญชีเงินฝากให้ลูกในปี 2025 จะต้องเตรียมเอกสารให้ครบถ้วนตามที่ธนาคารกำหนด โดยแต่ละธนาคารก็จะแตกต่างกันไป ยกตัวอย่างเอกสารสำหรับเปิดบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษสำหรับผู้เยาว์ (Krungthai Kids Savings) ของธนาคารกรุงไทย จำกัด มีดังต่อไปนี้
- กรณีผู้เยาว์ที่อายุไม่เกิน 7 ปี
- (1) บัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) ที่ยังไม่หมดอายุของผู้ปกครอง
- (2) สูติบัตรของผู้เยาว์ที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน
(3) เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้เยาว์ เช่น สูติบัตร ทะเบียนบ้าน เป็นต้น
- กรณีผู้เยาว์ที่อายุตั้งแต่ 7 ปีขึ้นไป และไม่เกิน 15 ปี
- (1) บัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) ที่ยังไม่หมดอายุ ของผู้เยาว์
- (2) บัตรประจำตัวประชาชนแบบอเนกประสงค์ (Smart Card) ที่ยังไม่หมดอายุ ของผู้ปกครอง
(3) เอกสารแสดงความสัมพันธ์ระหว่างผู้ปกครองและผู้เยาว์ เช่น สูติบัตร ทะเบียนบ้าน เป็นต้น
หมายเหตุ :
- กรณีบัตรประจำตัวประชาชนแบบสมาร์ทการ์ด ไม่สามารถอ่านข้อมูลในบัตรได้ ให้ใช้เอกสารเพิ่มเติม ดังนี้ ทะเบียนบ้าน หรือ บัตรที่ออกโดยหน่วยงานของรัฐ ที่มีรูปถ่ายพร้อมระบุเลขประจำตัวประชาชนและยังไม่หมดอายุ เช่น บัตรประจำตัวข้าราชการ บัตรประจำตัวพนักงานรัฐวิสาหกิจ บัตรประจำตัวพนักงานองค์การของรัฐ หรือ หนังสือเดินทาง (Passport) หรือ ใบอนุญาตขับรถที่ระบุเลขประจำตัวประชาชน เป็นต้น
- ผู้ปกครอง หมายถึง บิดา/มารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย หรือในกรณีที่ผู้เยาว์ไม่มีทั้งบิดา/มารดาโดยชอบด้วยกฎหมาย ให้หมายถึง ผู้ปกครองของผู้เยาว์ตามคำสั่งศาล หรือผู้ปกครองของผู้เยาว์ที่มีชื่อร่วมอยู่ในทะเบียนบ้านเดียวกับผู้เยาว์
เปิดบัญชีให้ลูก ธนาคารไหนดี ?
หากคุณกำลังมองหาธนาคารที่เหมาะกับการเปิดบัญชีให้ลูก เราขอแนะนำธนาคารกรุงไทย จำกัด ด้วยบัญชีเงินฝากออมทรัพย์พิเศษสำหรับผู้เยาว์ (Krungthai Kids Savings) ที่มาพร้อมสะดวกสบายในการทำธุรกรรมทางการเงินเช่นเดียวกับเงินฝากออมทรัพย์ ไม่ต้องฝากต่อเนื่องทุกเดือน พร้อมจ่ายอัตราดอกเบี้ยเท่ากับบัญชีออมทรัพย์ปกติ จ่ายดอกเบี้ยทุกวันสิ้นเดือน และหากฝากมากกว่าถอนจะได้โบนัสเพิ่ม 100% จากอัตราดอกเบี้ยที่ได้รับทุกต้นเดือนถัดจากเดือนที่จ่ายดอกเบี้ยอีกด้วย
การเปิดบัญชีให้ลูกเป็นก้าวแรกที่ช่วยสร้างวินัยทางการเงินและส่งเสริมการออม ซึ่งถือว่าเป็นเรื่องดี นอกจากนี้ หากคุณพ่อคุณแม่ท่านไหนต้องการเพิ่มความสะดวกในการบริหารการเงินของครอบครัว บัตรเครดิต KTC พร้อมเป็นอีกหนึ่งตัวช่วยทางการเงินที่มาพร้อมสิทธิประโยชน์มากมายตลอดทั้งปี เช่น ส่วนลดร้านอาหาร ที่พัก สายการบิน ร้านค้าออนไลน์ อีกทั้งยังมีโปรโมชั่นผ่อน 0% และสิทธิพิเศษอีกมากมาย สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์ได้ง่ายๆ ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC