เคาะแล้ว ขยายเวลาลดอัตราเงินสมทบประกันสังคม 2564 เพิ่ม
นับตั้งแต่เกิดวิกฤตโควิด-19 รัฐบาลต้องประกาศใช้มาตรการที่เข้มข้นเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 เริ่มตั้งแต่มาตรการล็อกดาวน์จังหวัดพื้นที่เสี่ยง ด้วยหวังลดการแพร่กระจายเชื้อและลดการเดินทางข้ามจังหวัด ส่งผลให้ประชาชนต้องปรับเปลี่ยนการใช้ชีวิต จากที่เคยเดินทางไปทำงานเปลี่ยนมา Work Form Home การเรียนการสอนให้ปรับมาเรียนออนไลน์แทน แม้กระทั่งการซื้ออาหารหรือของใช้จำเป็นต่าง ๆ ก็เปลี่ยนมาใช้บริการ Food Delivery และสั่งของจากซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์แทนการออกไปซื้อด้วยตนเอง ขณะที่ร้านค้า ผู้ประกอบการ ตลอดจนภาคธุรกิจก็ได้รับผลกระทบไม่น้อย
ด้วยเหตุนี้เองรัฐบาลได้ออกมาตรการเยียวยาโควิด-19 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ทั้งโครงการคนละครึ่ง โครงการเราชนะ เพิ่มเงินอุดหนุนในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ลดค่าน้ำประปา-ค่าไฟฟ้า มอบเงินเยียวยานายจ้าง-ผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และมาตรา 40 ไปจนถึงปรับลดเงินสมทบประกันสังคม 2564 เพิ่มเติม ซึ่งเรื่องนี้ทำให้นายจ้าง ลูกจ้างหลายคนเกิดข้อสงสัยว่า ตามประกาศลดเงินสมทบประกันสังคม 2564 ล่าสุด ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราเท่าไหร่
เงินสมทบประกันสังคม คืออะไร
เป็นเงินที่นายจ้างและลูกจ้างต้องนำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมทุกเดือน เพื่อเป็นหลักประกันคุ้มครองจากรัฐบาลเพื่อสร้างมั่นคงให้กับประชาชน โดยอัตราเงินสมทบประกันสังคมที่ต้องนำส่ง มาจากค่าจ้างที่ลูกจ้างได้รับในอัตรา 5% ของฐานค่าจ้างที่นำมาคำนวณต่ำสุดเดือนละ 1,650 บาท และสูงสุดไม่เกินเดือนละ 15,000 บาท เท่ากับว่า อัตราเงินสมทบขั้นต่ำสูงอยู่ที่เดือนละ 83 บาท แต่ไม่เกินเดือนละ 750 บาท นอกจากนี้ฐบาลจะออกเงินสมทบเข้ากองทุนด้วยอีกส่วนหนึ่ง
ใครบ้างที่ต้องส่งเงินสมทบกองทุนประกันสังคม
นายจ้างของผู้ประกันตน มาตรา 33
สำหรับนายจ้างหรือผู้ประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป ต้องขึ้นทะเบียนนายจ้างพร้อมกับขึ้นทะเบียนลูกจ้างเป็นผู้ประกันตน เพื่อไม่ให้พลาดสิทธิประโยชน์ที่ควรได้รับ
ผู้ประกันตน มาตรา 33
ลูกจ้างที่ทำงานให้กับนายจ้างที่อยู่ในสถานประกอบการที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไป โดยมีนายจ้างขึ้นทะเบียนให้ลูกจ้างเป็นผู้ประกันตนภาคบังคับตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เพื่อรับสิทธิประโยชน์จากกองทุนประกันสังคม
ผู้ประกันตน มาตรา 39
เป็นการประกันตนภาคสมัครใจ สำหรับบุคคลที่เคยทำงานในบริษัทและอยู่ในมาตรา 33 มาก่อน ภายหลังได้ลาออกจากงาน แต่ไม่เกิน 6 เดือน หรืออยู่ในสภาวะว่างงาน ทั้งเคยส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือนขึ้นไป แล้วยังต้องการรับสิทธิประโยชน์จากประกันสังคมอยู่ จึงยื่นขอต่อประกันสังคมเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39
ผู้ประกันตน มาตรา 40
เป็นประกันสังคมสำหรับแรงงานนอกระบบ ไม่ว่าจะเป็นเกษตรกร พ่อค้าแม่ค้า หรือผู้ประกอบอาชีพอิสระ สามารถสมัครประกันสังคมมาตรานี้ เพื่อรับความคุ้มครองจากประกันสังคมได้เช่นกัน
เป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียน ยามขาดสภาพคล่องด้วยบัตรกดเงินสด...กรอกข้อมูลที่นี่
ข้อดีของการลดเงินสมทบประกันสังคม 2564 คือ
การปรับลดอัตราเงินสมทบประกันสังคมของผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 และนายจ้างครั้งนี้ แม้จำนวนเงินสมทบที่นำส่งเข้ากองทุนประกันสังคมลดลง แต่มาตรการนี้มีข้อดีเพราะช่วยเสริมสภาพคล่อง ลดปัญหาทางการเงินของนายจ้างและผู้ประกันตน ทำให้นายจ้างช่วยใหญ่สามารถรักษาระดับการจ้างงานต่อไปได้ แม้ยังต้องเผชิญวิกฤตเศรษฐกิจจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
ประกันสังคม ปรับลดเงินสมทบประกันสังคมอีกกี่เดือน
เพื่อช่วยบรรเทาความเดือดร้อนแก่นายจ้างและลูกจ้างที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 โดยเฉพาะกลุ่มผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 และนายจ้าง เมื่อวันที่ 14 กันยายน 2564 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) มีมติเห็นชอบขยายระยะเวลาปรับลดอัตราเงินสมทบปี 2564 ต่ออีก 3 เดือน ตั้งแต่เดือนกันยายน - พฤศจิกายน 2564 หลังจากที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติเห็นชอบอนุมัติและให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่เดือนมิถุนายน - สิงหาคม 2564 ที่ผ่านมา
ทั้งนี้ผู้ที่ได้รับสิทธิตามประกาศลดเงินสมทบประกันสังคม 2564 ล่าสุด ประกอบด้วย
- นายจ้างของผู้ประกันตน มาตรา 33
- ผู้ประกันตน มาตรา 33
- ผู้ประกันตน มาตรา 39
เช็คมาตรการลดเงินสมทบประกันสังคม เหลือเท่าไหร่
คำนวณเงินสมทบประกันสังคม 2564
ผู้ประกันตน มาตรา 33 และนายจ้าง
สำหรับผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ทั้งฝ่ายนายจ้างและลูกจ้าง ประกันสังคมปรับการจ่ายเงินสมทบจากเดิมฝ่ายละ 5% ลดเหลือฝ่ายละ 2.5% ของค่าจ้างผู้ประกันตนต่อเดือน เมื่อคำนวณโดยนำเงินเดือน x 5% จะได้จำนวนเงินที่ถูกหักออกไปในแต่ละเดือน เพื่อส่งเงินสมทบประกันสังคม มาตรา 33 ดังนี้
- เงินเดือน 15,000 x 2.5% (เงินหักเข้าประกันสังคม) = 375 (จำนวนเงินที่ถูกหัก)
ผู้ประกันตน มาตรา 40
จากเดิมผู้ประกันตน มาตรา 39 ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนประกันสังคมในอัตราเดือนละ 432 บาท ลดลงเหลือเดือนละ 235 บาท
แม้ปรับลดเงินสมทบประกันสังคม 2564 แต่สิทธิประโยชน์ที่พึงได้รับยังอยู่ครบ ไม่ว่าจะเป็นค่ารักษาพยาบาล เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย เงินสงเคราะห์บุตร เงินทดแทนระหว่างการว่างงาน รวมถึงการชดเชยกรณีขาดรายได้จากการเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาล แม้มีสวัสดิการตรงส่วนนี้อยู่ คุณก็สามารถเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือเหตุฉุกเฉินในอนาคต อาทิ สมัครบัตรเครดิตไว้รูดซื้อสินค้าหรือบริการแล้วค่อยผ่อนชำระคืนทีหลัง หรือสมัครบัตรกดเงินสด เพื่อเป็นอีกตัวเลือกยามต้องการเงินก้อนสำหรับใช้จ่ายในยามฉุกเฉิน สุดท้ายนี้เพื่อสุขภาพทางการเงินที่ดีและมั่นคง แนะนำให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทางการเงินอย่างมีสติ ไม่สร้างภาระให้ตัวเองต้องลำบากในภายหลัง
อ้างอิงข้อมูล : สำนักงานคณะกรรมการข้อมูลข่าวสารของราชการ, สำนักงานประกันสังคม
เสริมเครดิตทางการเงิน ด้วยบัตรเครดิต...คลิกที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
สมัครบัตรกดเงินสด ผู้ช่วยยามฉุกเฉิน...ที่นี่
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา