เมื่ออินเทอร์เน็ตได้เข้ามามีบทบาทกับชีวิตประจำวันของมนุษย์ และข้อมูลทุกอย่างได้ถูกอัพเดทในระบบออนไลน์ อาชีพที่เกี่ยวข้องกับ Cyber Security หรือการปกป้องข้อมูลทางออนไลน์จึงเป็นตำแหน่งที่สำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในองค์กรใหญ่ที่มีฐานข้อมูลสำคัญในระดับความลับทางการค้า ความมั่นคงทางการเงิน แม้แต่ข้อมูลสำคัญของลูกค้า หรือผู้ใช้งาน ซึ่งถ้าใครสนใจอยากสมัครงานอาชีพ Cyber Security หรือกำลังย้ายสายงาน แนะนำลองอ่านบทความนี้ที่จะพาคุณไปรู้จักอาชีพ Cyber Security ให้มากยิ่งขึ้น พร้อมข้อมูลฐานเงินเดือนอัพเดทปี 2568 เพื่อประกอบการตัดสินใจ
Cyber Security มีหน้าที่ปกป้องข้อมูล คอยเฝ้าระวัง รวมถึงแก้ปัญหาเมื่อเกิดการรั่วไหลของข้อมูลสำคัญ
Cyber Security คืออะไร
อาชีพ Cyber Security คือ ตำแหน่งผู้รักษาความปลอดภัยในโลกไซเบอร์ หรือโลกออนไลน์ โดยมีหน้าที่ปกป้องข้อมูล คอยเฝ้าระวัง รวมถึงต้องแก้ปัญหาเมื่อถูกโจมตี แฮกระบบ หรือการรั่วไหลของฐานข้อมูลสำคัญ โดยคุณจำเป็นต้องมีทักษะในด้านความรู้เกี่ยวกับ IT หรือระบบ Software และ Hardware ซึ่งในปัจจุบันนี้ บางบริษัทกำหนดเงื่อนไขของตำแหน่งให้ต้องรู้จักระบบคลาวด์ (Cloud) หรือโปรแกรมออนไลน์ต่าง ๆ
ทำไม Cyber Security ถึงสำคัญต่อองค์กร
เนื่องจากองค์กรทั้งภาครัฐและเอกชนในปัจจุบันมีฐานข้อมูลที่สำคัญต่อธุรกิจ ซึ่งอาจเป็นความลับทางการค้าและเป็นส่วนสำคัญต่อความมั่นคงทางธุรกิจ บริษัทจึงต้องการแผนก Cyber Security เพื่อป้องกันข้อมูลรั่วไหล และลดความเสี่ยงที่บริษัทจะเสียหายจากการถูกโจรกรรมข้อมูล เพราะหน้าที่ของ Cyber Security คือการปกป้องข้อมูลสำคัญขององค์กร รวมถึงป้องกันและปกป้องการถูกโจมตีทางโลกออนไลน์
Cyber Security มีกี่ประเภท ประกอบไปด้วยอะไรบ้าง
รายละเอียด และองค์ประกอบของอาชีพ Cyber Security นั้นมีมากมาย เพราะการป้องกันข้อมูล และแก้ปัญหาการถูกโจมตี จำเป็นจะต้องมีความรู้ และความเข้าใจเกี่ยวกับระบบพื้นฐาน รวมถึงยังมีทักษะที่ต้องเรียนรู้ ซึ่งประกอบไปด้วย 5 ประเภทหลัก ดังนี้
- ความปลอดภัยของเครือข่าย (Network Security)
ความรู้และความเข้าใจหลักการรักษาความปลอดภัยขั้นพื้นฐานเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเกี่ยวกับความเชื่อมโยงของเครือข่าย ทักษะที่ต้องใช้ในสายงานนี้คือ การใช้ Firewall, VPN, ระบบตรวจจับการบุกรุก (IDS/IPS) ต่าง ๆ ความรู้ด้านนี้จะเน้นการป้องกันการบุกรุก ปกป้องข้อมูลจากคนภายใน และลดการถูกดักจับข้อมูล
- ความปลอดภัยของข้อมูล (Information Security)
เพราะข้อมูลขององค์กรเป็นสิ่งสำคัญ เนื่องจากมีทั้งข้อมูลที่เป็นความลับ ข้อมูลส่วนตัว ข้อมูลเกี่ยวกับความมั่นคงของบริษัท และอื่น ๆ ทำให้ทักษะ Cyber Security ในประเภทนี้เป็นสิ่งสำคัญ คุณจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องการป้องกันการเข้าถึงระบบ ข้อมูล หรือการแฮกพาสเวิร์ด ทั้งข้อมูลที่อยู่บนคลาวด์ (Cloud) หรือออฟไลน์ทั้งหมด
- ความปลอดภัยบนคลาวด์ (Cloud Security)
มีหลายองค์กรทั้งขนาดเล็กและขนาดใหญ่ ทยอยนำข้อมูลสำคัญ หรือตัวเลขสถิติอัพเดทขึ้นบนคลาวด์ เพื่อความสะดวกในการเก็บรักษา และสามารถดาวน์โหลด และเรียกใช้ข้อมูล ดังนั้น คุณควรมีทักษะการปกป้องข้อมูล หรือจัดการกับระบบคลาวด์ (Cloud) ซึ่งเป็นสายงานที่ได้รับความนิยมมาก เพราะเป็นเทคโนโลยีที่หลายบริษัท ซึ่งเปลี่ยนฐานข้อมูลจากระบบออฟไลน์มาเป็นระบบคลาวด์ทั้งหมด
- ความปลอดภัยของแอปพลิเคชัน (Application Security)
ผู้ที่มีทักษะรักษาความปลอดภัยและปกป้องการเข้าถึงข้อมูลของแอปพลิเคชัน เป็นที่ต้องการอย่างมาก เพราะองค์กรที่หันมาพัฒนาระบบแอปพลิเคชันเพิ่มขึ้นมากในปัจจุบันนี้ และถ้าหากว่าข้อมูลสามารถถูกลักลอบเข้าถึง แฮกเกอร์จะสามารถนำข้อมูลไปใช้ หรือทำให้แอปพลิเคชันของคุณไม่สามารถใช้งานได้ ซึ่งส่งผลกระทบ และสร้างความเสียหายในมูลค่าหลักแสน หรือหลักล้านบาทแน่นอน
- ความปลอดภัยของระบบโครงสร้างพื้นฐาน (Critical Infrastructure Security)
ถ้าหากคุณยังไม่มีทักษะเฉพาะทาง แต่อยากเริ่มงานในตำแหน่ง Cyber Security ควรพัฒนาทักษะนี้ เพราะคุณจะได้เรียนรู้ และนำทักษะการรักษาความปลอดภัยของโครงสร้างในระบบพื้นฐานไปใช้ต่อยอดในสายงานอื่นได้ โดยทักษะที่ต้องใช้ ได้แก่ การวางโครงสร้างความปลอดภัย การรักษาความปลอดภัยจากการถูกโจมตีเบื้องต้น และอื่น ๆ
สายงาน Cyber Security มีอะไรบ้าง
สายงาน Cyber Security สามารถจำแนกออกเป็นหลายประเภท ซึ่งขึ้นอยู่กับหน้าที่ความรับผิดชอบ และทักษะพิเศษเฉพาะด้าน (Specialist) แนะนำผู้สมัครงานแผนก Cyber Security ลองศึกษาสายงานแต่ละประเภท เพื่อเตรียมตัวให้พร้อมก่อนสัมภาษณ์งาน
- สายงานด้านเทคนิค (Technical Roles)
ตำแหน่งงานด้าน Cyber Security ทุกตำแหน่งล้วนจำเป็นต้องอาศัยความสามารถเชิงเทคนิค เนื่องจากต้องมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับโปรแกรม การตรวจสอบและการจัดการระบบรักษาความปลอดภัย นอกจากนี้ ความสามารถเชิงเทคนิคยังเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการติดตั้งระบบ การติดตั้งและการจัดการโปรแกรม และระบบข้อมูลต่าง ๆ อย่างรอบคอบและระมัดระวัง
- สายงานปฏิบัติการและตรวจสอบ (Operational & Monitoring Roles)
เนื่องจากฐานข้อมูลและโปรแกรมที่ใช้จัดการข้อมูล จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบและป้องกันการถูกแฮกหรือสแปมอย่างต่อเนื่อง งานด้านนี้ส่วนใหญ่จึงต้องใช้เวลาทั้งหมดไปกับการตรวจสอบข้อมูลและทดสอบระบบ ซึ่งตารางงานของสายงานปฏิบัติการและตรวจสอบ จะค่อนข้างเป็น Routine อาจจะต้องทำหน้าที่ซ้ำ ๆ ในทุก ๆ วัน
- สายงานเฉพาะทาง (Specialized Roles)
หากคุณมีทักษะเฉพาะทางในตำแหน่งงาน Cyber Security จะช่วยเพิ่มโอกาสในการเติบโต และได้ค่าทักษะพิเศษ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าหากคุณทำงานให้กับองค์กรที่ต้องใช้ทักษะเฉพาะทาง อาทิ การปกป้องระบบ SCADA หรือออกแบบโครงสร้าง ปกป้องข้อมูลบนคลาวด์ (Cloud) ซึ่งในปัจจุบันนี้มีคลาสเรียนออนไลน์เพื่อเพิ่มพูนทักษะเฉพาะทางที่น่าสนใจมากมาย
- สายงานวิจัยและพัฒนา (Research & Development)
ถ้าคุณมีทักษะการวิเคราะห์ข้อมูลเป็นเลิศ แนะนำให้ต่อยอดสายงาน Cyber Security ที่เกี่ยวข้องกับการวิจัยและพัฒนาระบบ เพราะสามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็ว และเป็นตำแหน่งสำคัญขององค์กร นอกจากนั้น คุณสามารถเก็บเกี่ยวประสบการณ์ เพื่อเปิดบริษัทของตนเอง หรือสร้างซอฟต์แวร์ หรือเครื่องมือรักษาความปลอดภัยสำเร็จรูปเพื่อนำมาขายได้อีกด้วย
- สายงานบริหารความเสี่ยงและนโยบาย (Risk Management & Governance)
เพราะตำแหน่ง Cyber Security จำเป็นจะต้องมีตำแหน่งหัวหน้าทีม หรือผู้บริหาร เนื่องจากส่วนมาก แผนกนี้จะทำงานร่วมกันเป็นทีม และมีหัวหน้าคอยตรวจสอบการทำงาน รวมถึงการจัดการความเสี่ยงและวางนโยบายความปลอดภัย ซึ่งตำแหน่งงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานนี้ ได้แก่ หัวหน้าทีมกลยุทธ์ ที่ปรึกษาเรื่องความปลอดภัย และคนที่คอยตรวจสอบระบบ เป็นต้น
Cyber security เงินเดือนเท่าไร
เงินเดือนของตำแหน่ง Cyber security ขึ้นอยู่กับประสบการณ์ ความชำนาญ และทักษะเฉพาะทาง โดยเงินเดือนสามารถแบ่งออกเป็นรายระดับตามตำแหน่ง ดังนี้
- Junior Cyber Security หรือ Officer เริ่มต้นที่ 30,000 - 50,000 บาท ขึ้นไป
- Senior Cyber security เริ่มต้นที่ 50,000 - 70,000 บาท ขึ้นไป
- Cyber Security Manager เริ่มต้นที่ 100,000 บาท ขึ้นไป
- Cyber Security Specialist รวมค่าทักษะเฉพาะทาง 50,000 บาท ขึ้นไป
เงินเดือน Cyber Security เริ่มต้น-สูงสุดเท่าไหร่ในปี 2568
ฐานเงินเดือนสำหรับอาชีพ Cyber Security เริ่มต้นที่ประมาณ 30,000 และสามารถเงินเดือนสูงสุด 100,000 บาท ขึ้นไป สำหรับตำแหน่งในประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก https://th.jobsdb.com/
หากคุณสนใจงานด้าน Cyber Security สามารถพัฒนาทักษะที่จำเป็นและเรียนรู้เพิ่มเติมได้ด้วยตนเองผ่านคอร์สออนไลน์ต่าง ๆ เนื่องจากงานด้านนี้ต้องการความรู้และทักษะที่หลากหลาย เพื่อนำมาประยุกต์ใช้กับตำแหน่งงาน Cyber Security ที่แตกต่างกันไป เพิ่มโอกาสในการเติบโตก้าวหน้าในสายอาชีพ คุณสามารถเริ่มต้นเส้นทางสายอาชีพนี้ได้ทันทีด้วยการลงเรียนคอร์สออนไลน์ โดยใช้บัตรเครดิต KTC ชำระเงินและแบ่งชำระรายเดือนด้วยอัตราดอกเบี้ยพิเศษ 0.74% ต่อเดือน นานสูงสุด 10 เดือน
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC