• Credit Card
    • Credit Card
    • Rewards Program
    • Installment Payment
    • Donation
    • Auto Payment
    • Rates and Fees
    • KTC Device Pay
  • Personal Loan
    • Loan Product
    • Installment Payment
    • Rates and Fees
  • Promotions
  • Merchant
    • Merchant Service
    • EDC Service
    • QR Code Payment
    • Online Payment Gateway
    • Auto Payment Service
    • Link Payment
    • ALIPAY & ALIPAY+
  • KTC WORLD
  • KTC U SHOP
  • Customer Service
    • Contact KTC
    • KTC MOBILE APPLICATION
    • Payment Channel
    • KTC E-Book
    • Download Manual / Form
    • FAQ
Credit Card
Credit Card
  • Credit Card
  • Forever Rewards
  • Flexi Installment
  • Donation
  • Auto Payment
  • Rates and Fees
  • KTC Device Pay
Personal Loan
Personal Loan
  • Loan Product
  • Flexi Installment
  • Rates and Fees
PromotionsPromotions
Merchant
Merchant
  • Merchant Service
  • EDC Service
  • QR Code Payment
  • Online Payment Gateway
  • Auto Payment Service
  • Link Payment
  • ALIPAY & ALIPAY+
KTC WORLDKTC WORLD KTC U SHOPKTC U SHOP
Customer Service
Customer Service
  • Contact KTC
  • KTC MOBILE APPLICATION
  • Payment Channel
  • KTC E-Book
  • Download Manual / Form
  • FAQ
เปลี่ยนภาษา

EN

TH

KTC Search Icon KTC Search Icon
Apply Card
KTC Login KTC Login Login KTC Login
KTC Profile

My Account

  • KTC Profile

    My Product

  • KTC Promotions

    My Promotions

  • KTC Logout

    Log out

KTC Profile
  1. Home
  2. /
  3. Article
  4. /
  5. Knowledge
  6. /
  7. 25 กลโกงมิจฉาชีพออนไลน์ มีอะไรบ้าง ? หากรู้ทันรับมือได้แน่นอน
  1. Home
  2. /
  3. Article
  4. /
  5. Knowledge
  6. /
  7. 25 กลโกงมิจฉาชีพออนไลน์ มีอะไรบ้าง ? หากรู้ทันรับมือได้แน่นอน
มิจฉาชีพออนไลน์

25 กลโกงมิจฉาชีพออนไลน์ มีอะไรบ้าง ? หากรู้ทันรับมือได้แน่นอน

Category : Knowledge

เมื่อเทคโนโลยีก้าวหน้า เหล่าบรรดามิจฉาชีพออนไลน์ก็สรรหากลโกงที่มีความซับซ้อน และแนบเนียนมากขึ้น ทำให้หลาย ๆ คนตกเป็นเหยื่อโดยไม่รู้ตัว ปัจจุบันมิจฉาชีพออนไลน์จะใช้เทคนิคหลากหลายรูปแบบในการขโมยข้อมูลทางการเงิน เช่น การหลอกให้กรอกข้อมูลส่วนตัว การแฮ็กบัญชี หรือการโจรกรรมข้อมูลบัตรเครดิต ดังนั้น หากเรารู้ว่ามิจฉาชีพออนไลน์ มีอะไรบ้าง และรู้เท่าทันกลโกงต่าง ๆ ก็จะสามารถป้องกันตัวเอง และลดความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมทางการเงินได้

25 กลโกงมิจฉาชีพยอดนิยม

1. Phishing : หลอกให้กรอกข้อมูลผ่านอีเมลหรือเว็บไซต์ปลอม

  • วิธีสังเกต : คุณจะได้รับอีเมลหรือ SMS โดยอ้างว่าติดต่อจากธนาคาร หรือแอปพลิเคชันสั่งซื้อสินค้าออนไลน์ แต่ใช้ชื่อโดเมนแปลก ๆ หรือเร่งให้กรอกข้อมูลด่วน
  • วิธีป้องกันและรับมือ : อย่าคลิกลิงก์จากอีเมลที่ส่งมาโดยบุคคลที่ไม่น่าเชื่อถือ และควรตรวจสอบข้อมูลกับหน่วยงานโดยตรง และปัจจุบันธนาคารหรือสถาบันการเงินยกเลิกการส่ง SMS และอีเมลที่แนบลิงก์แล้ว หากได้รับ SMS หรืออีเมลที่มีลิงก์ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่ามสจากมิจฉาชีพ

2. ATM Skimming : การติดตั้งอุปกรณ์ดักข้อมูลและรหัสบัตรที่เครื่อง ATM

  • วิธีสังเกต : ช่องเสียบบัตรที่ตู้ ATM หลวม มีร่องรอยผิดปกติ หรือปุ่มกดดูแปลกไป เนื่องจากมิจฉาชีพจะใช้วิธีทำปุ่มกดปลอมและเครื่องอ่านบัตรปลอมขึ้นมา ประกบกับอุปกรณ์จริงบนตู้ ATM เพื่อดูดข้อมูล
  • วิธีป้องกันและรับมือ : สังเกตตู้ ATM ว่าอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ และตั้งอยู่ในจุดที่ปลอดภัยหรือไม่

3. Malware/Spyware : คอมพิวเตอร์โดนไวรัส

  • วิธีสังเกต : คอมพิวเตอร์ทำงานช้าผิดปกติ มีโฆษณาเด้งขึ้นมาเอง เนื่องจากคอมพิวเตอร์โดนไวรัสแล้วมิจฉาชีพจะขโมยข้อมูลส่วนตัว เช่น ข้อมูลทางการเงิน รหัสผ่าน เป็นต้น
  • วิธีป้องกันและรับมือ : ติดตั้งโปรแกรมป้องกันไวรัสบนคอมพิวเตอร์, หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดไฟล์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ, ไม่คลิกข้อความโฆษณาหรือหน้าต่าง POP-UP ที่ไม่น่าไว้วางใจ, ระมัดระวังการใช้งานอุปกรณ์เชื่อมต่อต่าง ๆ เช่น USB

4. Social Engineering : หลอกให้เปิดเผยข้อมูลทางโทรศัพท์/SMS

  • วิธีสังเกต : ได้รับโทรศัพท์จากผู้ที่ไม่รู้จัก หรือโทรมาแอบอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่ธนาคาร หรือหน่วยงานราชการต่าง ๆ หรือได้รับข้อความที่ขอข้อมูลส่วนตัว ขอรหัส OTP
  • วิธีป้องกันและรับมือ : ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวทางโทรศัพท์ และตรวจสอบกับองค์กรหรือคนใกล้ชิดที่ถูกแอบอ้างชื่อหรือเกี่ยวข้องโดยตรง

5. SIM Swap : การแฮ็กซิมการ์ดเพื่อขอรับ OTP

  • วิธีสังเกต : ไม่สามารถโทรออกหรือส่งข้อความได้, ไม่สามารถเข้าถึงบัญชีธนาคารได้ เพราะก่อนหน้านี้มิจฉาชีพจะหลอกให้คุณเปิดเผยข้อมูลส่วนตัว เช่น เบอร์โทรศัพท์ รหัสผ่าน แล้วนำข้อมูลที่ได้ ไปหลอกผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์มือถือว่าคุณทำซิมการ์ดหาย แล้วให้ทางเครือข่ายส่งซิมการ์ดใหม่ไปให้ในที่อยู่ใหม่
  • วิธีป้องกันและรับมือ : ไม่ให้ข้อมูลส่วนตัวกับใครทางโทรศัพท์, เปลี่ยนรหัสผ่านโทรศัพท์มือถือและรหัส Mobile Banking เป็นประจำ โดยรหัสต้องคาดเดาได้ยากและไม่บอกใครเด็ดขาด, เพิ่มรหัสความปลอดภัยของบัญชี เช่น ใช้ 2FA, Face ID เป็นต้น

มิจฉาชีพออนไลน์

เพื่อความปลอดภัยในการใช้บัตรเครดิต ควรจำกัดวงเงินต่อวันในการใช้ และแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการใช้งาน

6. Carding : ขโมยข้อมูลบัตรเครดิตไปใช้

  • วิธีสังเกต : สังเกตยอดการใช้จ่ายในใบแจ้งหนี้ หากพบรายการแปลก ๆ หรือมีการใช้จ่ายในสถานที่ที่คุณไม่เคยไป อาจเป็นสัญญาณว่าข้อมูลบัตรเครดิตของคุณถูกขโมยไปใช้
  • วิธีป้องกันและรับมือ : ตรวจสอบรายการธุรกรรมบัตรเครดิตเป็นประจำ หากพบสิ่งผิดปกติให้รีบแจ้งธนาคาร, เปิดระบบแจ้งเตือนการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันธนาคาร เพื่อรับการแจ้งเตือนทุกครั้งที่มีการใช้บัตร, หลีกเลี่ยงการกรอกข้อมูลบัตรในเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ, ไม่ซื้อสินค้าผ่านลิงก์ที่ไม่รู้จัก, ใช้บัตรเครดิตแบบ Virtual Card สำหรับการซื้อสินค้าออนไลน์ เพื่อลดความเสี่ยง

7. Wi-Fi สาธารณะ : ดักจับข้อมูลผ่านเครือข่ายที่ไม่ปลอดภัย

  • วิธีสังเกต : เครือข่าย Wi-Fi แสดงขึ้นมาให้เชื่อมต่อฟรีโดยไม่ต้องใช้รหัสผ่าน หรือตั้งชื่อ มีชื่อ Wi-Fi คล้ายกับสถานที่จริง ซึ่งอาจเป็น Wi-Fi ปลอมที่สร้างขึ้นมาเพื่อดักจับข้อมูลของคุณ
  • วิธีป้องกันและรับมือ : หลีกเลี่ยงการทำธุรกรรมทางการเงิน หรือการล็อกอินเข้าแอปธนาคารผ่าน Wi-Fi สาธารณะ, ปิดการเชื่อมต่อ Wi-Fi อัตโนมัติบนอุปกรณ์ของคุณ เพื่อลดโอกาสในการเชื่อมต่อกับเครือข่ายที่ไม่ปลอดภัย ใช้เครือข่ายมือถือ (4G/5G) แทนการใช้ Wi-Fi สาธารณะเมื่อต้องการทำธุรกรรมที่สำคัญ

8. แฮ็กบัญชีธนาคารออนไลน์ : เข้าถึงบัญชีด้วยรหัสผ่านที่คาดเดาง่าย

  • วิธีสังเกต : ไม่สามารถเข้าสู่ระบบบัญชีธนาคารออนไลน์ได้ เพราะรหัสผ่านถูกเปลี่ยน หรือได้รับการแจ้งเตือนว่ารหัสผ่านถูกเปลี่ยนโดยที่คุณไม่ได้ทำเอง
  • วิธีป้องกันและรับมือ : ใช้รหัสผ่านที่ปลอดภัย คาดเดายาก, ไม่บอกรหัสผ่านกับใคร, หลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านซ้ำกันระหว่างบัญชีธนาคารและบัญชีอื่น ๆ , เปิดใช้งาน 2-Factor Authentication (2FA) เพื่อเพิ่มความปลอดภัยอีกชั้น, หลีกเลี่ยงการเข้าสู่ระบบบัญชีธนาคารจากอุปกรณ์หรือเครือข่ายที่ไม่ปลอดภัย

9. หลอกให้ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันธนาคารปลอม

  • วิธีสังเกต : แอปมีรีวิวต่ำ ชื่อแอปคล้ายของจริงแต่สะกดผิด หรือมีโลโก้ที่แตกต่างไปจากแอปธนาคารจริง
  • วิธีป้องกันและรับมือ : ดาวน์โหลดแอปธนาคารจาก App Store หรือ Google Play Store เท่านั้น, ตรวจสอบชื่อผู้พัฒนาแอปให้แน่ใจว่าเป็นของธนาคารจริง, ไม่ดาวน์โหลดแอปจากลิงก์ที่ได้รับทาง SMS อีเมล หรือโซเชียลมีเดีย

10. Money Mule : บัญชีม้าหรือการใช้คนกลางโอนเงินผิดกฎหมาย

  • วิธีสังเกต : มีคนแปลกหน้าหรือแม้แต่คนรู้จัก ขอให้รับโอนเงินเข้าบัญชีของคุณและให้โอนไปยังบัญชีอื่น โดยอ้างเหตุผลต่าง ๆ เช่น เป็นการขอความช่วยเหลือ หรือหากทำให้จะให้ค่าตอบแทน
  • วิธีป้องกันและรับมือ : อย่ารับโอนเงินให้ใครโดยไม่ทราบที่มา เพราะอาจเป็นเงินที่ได้มาจากกิจกรรมผิดกฎหมาย, หากมีข้อเสนอให้ใช้บัญชีของคุณเพื่อโอนเงิน ให้ปฏิเสธทันที, แจ้งเจ้าหน้าที่ตำรวจหรือธนาคารหากสงสัยว่าเกี่ยวข้องกับการฟอกเงิน

11. ขโมยบัตรเครดิตไปรูดที่เครื่อง EDC

  • วิธีสังเกต : เมื่อไปใช้บริการในสถานที่ต่าง ๆ เช่น ร้านอาหาร สปา ฟิตเนส ปั๊มน้ำมัน แล้วพนักงานนำบัตรเครดิตของคุณไปรูดโดยที่คุณไม่ได้เห็น หรือใช้เครื่อง EDC ที่แฝงอุปกรณ์สแกนข้อมูลบัตร
  • วิธีป้องกันและรับมือ : เก็บบัตรเครดิตไว้กับตัวเสมอ, อย่าให้พนักงานนำบัตรของคุณออกไปจากสายตา, ตรวจสอบวงเงินบัตรเครดิตเป็นประจำ หากพบรายการใช้จ่ายที่ไม่รู้จักให้รีบแจ้งธนาคาร, ตั้งวงเงินจำกัดการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต เพื่อป้องกันการใช้จ่ายเกินความจำเป็น

12. Fake Shopping : หลอกขายของออนไลน์แล้วไม่ส่งสินค้า

  • วิธีสังเกต : ราคาสินค้าถูกกว่าปกติมาก เว็บไซต์หรือเพจร้านค้าไม่มีข้อมูลติดต่อชัดเจน ไม่มีรีวิวจากลูกค้าจริง หรือมีแต่รีวิวปลอม
  • วิธีป้องกันและรับมือ : ตรวจสอบรีวิวของร้านค้าในหลายช่องทางก่อนซื้อสินค้า, ใช้บริการเก็บเงินปลายทางเพื่อลดความเสี่ยง, ตรวจสอบเลขบัญชีร้านค้าผ่านเว็บไซต์ Blacklistseller.com เพื่อดูว่ามีประวัติการโกงหรือไม่

13. หลอกให้โอนเงินก่อนทำงาน

  • วิธีสังเกต : เสนอรายได้สูงเกินจริง อ้างว่างานทำง่าย ไม่ต้องมีประสบการณ์ แต่ต้องจ่ายค่าสมัครหรือค่าดำเนินการก่อนเริ่มงาน
  • วิธีป้องกันและรับมือ : อย่าโอนเงินก่อนเริ่มงาน เพราะบริษัทที่น่าเชื่อถือจะไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายล่วงหน้า, ตรวจสอบชื่อบริษัทจากแหล่งข้อมูลทางการ เช่น กระทรวงแรงงาน หรือรีวิวจากพนักงานเก่า, หากสงสัยว่าเป็นการหลอกลวง ให้ลองสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติม และสังเกตว่ามีการตอบกลับที่น่าสงสัยหรือไม่

14. หลอกให้ทำงานเสริมผ่านช่องทางออนไลน์

  • วิธีสังเกต : มิจฉาชีพจะสร้างประกาศรับสมัครงานพาร์ทไทม์ที่ดูน่าสนใจ เช่น ให้ค่าคอมมิชชันสูง, ไม่ต้องมีทักษะใด ๆ ก็สามารถทำได้ เพียงแค่มีสมาร์ตโฟนเครื่องเดียว, สามารถทำงานจากที่บ้านได้, ให้โอนเงินค้ำประกันก่อนเริ่มงาน, ใช้บัญชีหรือเบอร์โทรศัพท์ที่ไม่สามารถตรวจสอบได้ เป็นต้น โดยงานเหล่านี้มักเป็นงานหลอกลวงให้กดไลก์ กดแชร์ เพิ่มยอดวิว แกล้งรับออเดอร์ หรือทำสต๊อกสินค้า แต่แท้จริงแล้วไม่ได้มีการจ้างงานจริง จุดประสงค์คือหลอกให้เหยื่อโอนเงินค้ำประกันหรือทำตามเงื่อนไข ก่อนที่มิจฉาชีพจะหายไปพร้อมเงินทั้งหมดที่เราได้มาจากลูกค้า
  • วิธีป้องกันและรับมือ : อย่าโอนเงินให้ใครก่อนเริ่มงาน ควรตรวจสอบชื่อบริษัทหรือแพลตฟอร์มที่ใช้รับสมัคร หากสงสัย ให้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม

15. หลอกลงทุน : โครงการปลอมที่ให้ผลตอบแทนสูง

  • วิธีสังเกต : มิจฉาชีพจะสร้างโครงการลงทุนปลอมที่ให้ผลตอบแทนสูงเกินจริง เช่น ลงทุนเพียงหลักพัน แต่รับกำไรเป็นหลักหมื่นในเวลาไม่กี่วัน หรืออ้างว่าเป็นการลงทุนที่ไม่มีความเสี่ยง โดยใช้ชื่อบริษัทที่ดูน่าเชื่อถือ หรือมีเอกสารปลอมแสดงความโปร่งใสเพื่อให้เหยื่อหลงเชื่อ
  • วิธีป้องกันและรับมือ : ตรวจสอบใบอนุญาตของบริษัทผ่านหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กลต. (สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์) ก่อนตัดสินใจลงทุน

16. ปล่อยเงินกู้ปลอม

  • วิธีสังเกต : มิจฉาชีพจะแฝงตัวมาในรูปแบบของโฆษณาให้กู้เงินด่วน อ้างว่าอนุมัติเร็ว ไม่เช็กเครดิตบูโร และใช้เอกสารน้อย แต่มีเงื่อนไขว่าต้องโอนค่าธรรมเนียม ค่ามัดจำ หรือค่าเปิดบัญชีล่วงหน้าก่อนถึงจะได้รับเงินกู้ สุดท้ายเมื่อเหยื่อโอนเงินให้แล้ว กลับไม่ได้รับเงินกู้จริง และไม่สามารถติดต่อผู้ให้กู้ได้อีก
  • วิธีป้องกันและรับมือ : ตรวจสอบว่าเป็นบริษัทที่มีใบอนุญาตจากธนาคารแห่งประเทศไทยหรือไม่ ก่อนทำธุรกรรมใด ๆ

17. หลอกว่าเป็นผู้โชคดีได้รับรางวัล

  • วิธีสังเกต : อีกหนึ่งกลโกงมิจฉาชีพออนไลน์ที่พบเป็นประจำก็คือส่งข้อความ SMS แจ้งทางอีเมล หรือโทรศัพท์มาหลอกว่าได้รับรางวัลใหญ่ เช่น เงินสด รถยนต์ หรือโทรศัพท์มือถือ ทั้งที่เราไม่เคยร่วมกิจกรรมใด ๆ และเงื่อนไขก็คือ ต้องโอนเงินค่าธรรมเนียมหรือค่าภาษีก่อนจึงจะได้รับรางวัล
  • วิธีป้องกันและรับมือ : อย่าให้ข้อมูลส่วนตัว หรือโอนเงินโดยไม่ตรวจสอบต้นทาง

18. หลอกขายแพ็กเกจทัวร์ราคาถูก

  • วิธีสังเกต : มิจฉาชีพจะตั้งเพจหรือเว็บไซต์ขายแพ็กเกจทัวร์ในราคาถูกกว่าท้องตลาดมาก ๆ บางรายอ้างว่ามีโปรโมชั่นพิเศษจากสายการบินหรือโรงแรม แต่เมื่อเหยื่อโอนเงินจองไปแล้ว มิจฉาชีพก็จะปิดเพจ หนีหาย หรือให้ตั๋วปลอมที่ไม่สามารถใช้ได้จริง โดยวิธีสังเกตก็คือราคาจะถูกมาก ไม่มีรีวิวที่น่าเชื่อถือ หรือเมื่อลองเช็กเลขจดทะเบียนบริษัทพบว่าไม่มีอยู่จริง
  • วิธีป้องกันและรับมือ : ควรตรวจสอบว่าเพจหรือเว็บไซต์ที่คุณเห็นเป็นช่องทาง Official หรือไม่ นอกจากนี้ ควรตรวจสอบรีวิว เลขจดทะเบียนบริษัท และช่องทางติดต่อให้ชัดเจนก่อนตัดสินใจซื้อ

19. ใช้ AI ปลอมเสียงและใบหน้า

  • วิธีสังเกต : เทคโนโลยี Deepfake ทำให้มิจฉาชีพออนไลน์สามารถปลอมเสียงหรือใบหน้าของบุคคลที่เหยื่อรู้จักได้ เช่น ปลอมเป็นเพื่อนสนิทหรือญาติ แล้วส่งข้อความเสียงหรือวิดีโอขอให้โอนเงินด่วน ด้วยน้ำเสียงเร่งรีบ มีท่าทีผิดแปลกไปจากเดิม หรือแอบอ้างเป็นผู้มีอำนาจ สั่งให้เหยื่อทำธุรกรรมทางการเงิน
  • วิธีป้องกันและรับมือ : หากได้รับโทรศัพท์โดยอ้างว่าเป็นคนรู้จัก ให้โทรกลับหาคนที่คุณรู้จักจริง ๆ ก่อน เพื่อตรวจสอบว่าเป็นบุคคลนั้นจริงหรือไม่ และอย่ารีบโอนเงินเพียงเพราะได้รับคลิปเสียงหรือวิดีโอเพียงอย่างเดียว

20. หลอกลวงให้สมัครสมาชิกบริการต่าง ๆ

  • วิธีสังเกต : บางเว็บไซต์หรือแอปพลิเคชันจะเสนอให้ทดลองใช้งานฟรี 7-30 วัน แต่มีเงื่อนไขแอบแฝงว่า หลังจากหมดช่วงทดลอง ระบบจะหักเงินจากบัญชีอัตโนมัติ ซึ่งคุณจะต้องผูกบัญชีหรือบัตรเครดิตเพื่อยินยอมให้ตัดเงินอัตโนมัติ
  • วิธีป้องกันและรับมือ : อ่านเงื่อนไขให้รอบคอบก่อนสมัคร และตรวจสอบให้แน่ใจว่ามีตัวเลือกให้ยกเลิกก่อนถูกหักเงิน

21. หลอกให้ไปทำงานต่างประเทศ

  • วิธีสังเกต : มิจฉาชีพจะแฝงตัวมาในรูปแบบของนายหน้าจัดหางาน เสนอค่าจ้างสูง งานสบาย ไม่ต้องใช้ทักษะ แต่ไม่มีสัญญาที่ชัดเจนหรือไม่มีสถานที่ทำงานที่แน่ชัด พร้อมหลอกให้เหยื่อจ่ายค่าเดินทาง ค่าวีซ่า หรือค่าดำเนินการก่อน เมื่อเดินทางไปถึงแล้วกลับไม่ได้งานจริง หรือถูกบังคับให้ทำงานผิดกฎหมาย
  • วิธีป้องกันและรับมือ : ตรวจสอบข้อมูลบริษัทและนายหน้ากับกระทรวงแรงงานก่อนเดินทาง และอย่าโอนเงินล่วงหน้าให้ใครโดยไม่มั่นใจในความถูกต้องของงาน

22. หลอกให้บริจาค

  • วิธีสังเกต : มิจฉาชีพมักโพสต์ข้อความขอรับบริจาคผ่านโซเชียลมีเดีย โดยใช้ภาพหรือเรื่องราวที่น่าสงสารเพื่อให้เหยื่อโอนเงินช่วยเหลือ เช่น ภาพเด็กขาดแคลน ภาพสัตว์พิการ หรือเป็นการขอรับบริจาคเพื่อทำบุญสร้างวัด สร้างโบสถ์ แต่ไม่มีแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ มีแต่เลขบัญชีส่วนตัวหลอกให้โอนเงิน
  • วิธีป้องกันและรับมือ : ตรวจสอบชื่อมูลนิธิหรือองค์กรที่อ้างถึงก่อนโอนเงิน เช็กบัญชีรับบริจาคจากเว็บไซต์ทางการ หลีกเลี่ยงการโอนเงินเข้าบัญชีส่วนตัว

23. หลอกให้เล่นแชร์ลูกโซ่

  • วิธีสังเกต : อ้างว่าลงทุนน้อยแต่ได้ผลกำไรมหาศาลในเวลาอันสั้น ชักชวนให้หาสมาชิกเพิ่มเพื่อรับค่าตอบแทน ไม่มีข้อมูลบริษัทหรือผลิตภัณฑ์ที่ชัดเจน
  • วิธีป้องกันและรับมือ : หลีกเลี่ยงการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนสูงผิดปกติ ตรวจสอบบริษัทกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ก.ล.ต. หรือ ธปท. และอย่าหลงเชื่อโฆษณาที่เกินจริง

24. โทรมาหลอกและข่มขู่ให้เกิดความกลัว

  • วิธีสังเกต : มิจฉาชีพจะโทรศัพท์มาอ้างว่าเป็นตำรวจ หรือหน่วยงานราชการ แจ้งว่าผู้รับสายมีคดีความหรือพัวพันเกี่ยวกับการกระทำความผิดฐานฟอกเงิน หรือการส่งพัสดุที่ผิดกฎหมาย หรือยาเสพติด และต้องโอนเงินเพื่อเคลียร์ปัญหา
  • วิธีป้องกันและรับมือ : ตั้งสติและห้ามให้ข้อมูลส่วนตัว และบล็อกเบอร์โทรต้องสงสัยทันที

25. เรียกค่าไถ่ทางคอมพิวเตอร์ (Ransomware)

  • วิธีสังเกต : มิจฉาชีพจะแฮ็กข้อมูลและล็อกไฟล์ในคอมพิวเตอร์เพื่อเรียกเงิน โดยเจ้าของจะไม่สามารถเปิดไฟล์สำคัญในคอมพิวเตอร์ได้ และมีข้อความเรียกค่าไถ่ให้โอนเงินเพื่อปลดล็อกข้อมูล
  • วิธีป้องกันและรับมือ : หลีกเลี่ยงการดาวน์โหลดไฟล์จากอีเมลหรือเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ, อัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสเป็นประจำ, สำรองข้อมูลไว้เสมอเพื่อป้องกันการสูญเสียข้อมูล

นิสัยที่ช่วยให้คุณไม่ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ

  • ไม่เปิดเผยข้อมูลส่วนตัวโดยไม่จำเป็น : หลีกเลี่ยงการโพสต์ข้อมูลบนช่องทางออนไลน์หรือให้ข้อมูลส่วนตัวกับบุคคลอื่น เช่น หมายเลขบัตรประชาชน เลขบัญชี หรือรหัส OTP กับบุคคลที่ไม่น่าไว้ใจ
  • ตรวจสอบแหล่งที่มาของอีเมลและข้อความทุกครั้ง : หากได้รับอีเมลหรือ SMS แปลก ๆ โดยอ้างว่าเป็นเจ้าหน้าที่จากธนาคารหรือหน่วยงานรัฐ ให้เช็ก URL หรือเบอร์ติดต่อกับเว็บไซต์ทางการก่อนดำเนินการใด ๆ
  • ไม่กดลิงก์จากแหล่งที่ไม่น่าเชื่อถือ : หลีกเลี่ยงการคลิกลิงก์ในข้อความที่ไม่ได้ร้องขอ หรือโฆษณาที่ดูน่าสงสัย ซึ่งอาจนำไปสู่เว็บไซต์ปลอมเพื่อขโมยข้อมูล
  • ดาวน์โหลดแอปพลิเคชันจากแหล่งที่เชื่อถือได้เท่านั้น : หากต้องการดาวน์โหลดแอปใด ๆ ให้ใช้ App Store หรือ Google Play Store เท่านั้น และตรวจสอบชื่อผู้พัฒนา รีวิว และจำนวนดาวก่อนติดตั้ง
  • ตั้งรหัสผ่านที่แข็งแกร่งและไม่ใช้รหัสซ้ำกัน : ใช้รหัสผ่านที่ประกอบด้วยตัวอักษร ตัวเลข และสัญลักษณ์ และเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นประจำเพื่อความปลอดภัย
  • ติดตั้งและอัปเดตโปรแกรมป้องกันไวรัสอยู่เสมอ : ป้องกันมัลแวร์และภัยคุกคามไซเบอร์ด้วยซอฟต์แวร์รักษาความปลอดภัยที่ได้รับการอัปเดตสม่ำเสมอ
  • หลีกเลี่ยงการเชื่อมต่อ Wi-Fi สาธารณะในการทำธุรกรรมสำคัญ : หากจำเป็นต้องใช้ ให้เชื่อมต่อผ่าน VPN เพื่อเพิ่มความปลอดภัย
  • ตรวจสอบรายการธุรกรรมและบัญชีออนไลน์เป็นประจำ : ตรวจสอบความเคลื่อนไหวของบัญชีธนาคารและบัตรเครดิต หากพบธุรกรรมที่ไม่รู้จัก ให้รีบแจ้งสถาบันการเงินทันที

ทุกวันนี้ภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์มาในหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการขโมยข้อมูลบัตรเครดิต หลอกให้โอนเงิน หรือธุรกรรมผิดปกติที่เกิดขึ้นโดยเราไม่รู้ตัว หนึ่งในวิธีป้องกันที่มีประสิทธิภาพคือ การใช้บัตรเครดิตที่มีระบบป้องกันที่ปลอดภัย และหากเลือกใช้บัตรเครดิต KTC คุณสามารถดูแลความปลอดภัยของบัญชีได้ง่าย ๆ ผ่านแอป KTC Mobile ด้วยวิธีการดังต่อไปนี้

  • เปิดการแจ้งเตือนธุรกรรม รู้ทันทุกการใช้จ่าย ปลอดภัยกว่าเดิม
  • ตรวจสอบรายการใช้จ่ายได้ตลอดเวลา หากพบธุรกรรมผิดปกติ สามารถติดต่อ KTC PHONE 02 123 5000 ได้ทันที
  • ปรับวงเงินบัตรได้เองผ่านแอปพลิเคชัน KTC Mobile สามารถควบคุมการใช้จ่าย เพื่อลดความเสี่ยงจากการถูกโจรกรรมข้อมูล
  • หากเกิดเหตุฉุกเฉิน สามารถอายัดบัตรชั่วคราวได้ด้วยตัวเองผ่านแอปพลิเคชัน KTC Mobile นานสูงสุด 7 วัน หากเกินกำหนดทาง KTC จะออกบัตรใหม่ให้ (มีค่าธรรมเนียมเพิ่มเติม)
  • สามารถดูรายละเอียดขั้นตอนการใช้งานแอปฯ และดาวน์โหลดแอปฯ KTC Mobile ได้ที่ www.ktc.co.th/ktcmobile

เพื่อความปลอดภัยทางการเงินที่เหนือกว่า สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์ ได้เลยตอนนี้ ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง

ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC

Apply Online Service

KTC Credit cards and KTC PROUD

QR Code สมัครออนไลน์ด้วยตนเอง
Scan QR Code
to apply online service
Learn more

Apply Online Service

KTC Credit cards
and KTC PROUD

Apply Now Learn more

Add your contact details
for call back service.

Get advice and help with applying KTC products.

บัตรเครดิต KTC KTC Credit Card สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH KTC CASH KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC P BERM
Car for Cash (Big bike)
บัตรกดเงินสด KTC PROUD KTC PROUD สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC P BERM
Car for Cash (Car)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC P BERM
Car for Cash
(Motorcycle)
บัตรเครดิต KTC KTC Credit Card บัตรกดเงินสด KTC PROUD KTC PROUD สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH KTC CASH สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC P BERM
Car for Cash (Car)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC P BERM
Car for Cash (Big bike)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC P BERM
Car for Cash
(Motorcycle)

About KTC

  • Vision / Mission
  • General Information
  • Group’s Shareholding
  • Organization Structure
  • Board of Directors
  • Executives
  • Company Secretary
  • Compliance and Internal Audit
  • Financial Controller
  • Data Protection Notice
  • Cookies Notice
  • PR News
  • Article
  • Career / Internship

Customer Services

  • Online Services
  • Rates and Fees
  • Interest / Fee Calculator
  • Payment Channels
  • KTC Auto Payment
  • Download
  • Announcement
  • FAQ
  • Site Map

Sustainability Development

  • Economic Dimension
  • Social Dimension
  • Environmental Dimension
  • Internal Control
    and Risk Management
  • Information Security Management System (ISO/IEC 27001:2013) Certification

Investor Relations

  • Financial Hightlight
  • Publications and Webcast
  • Shareholder
  • Bondholder
  • Policy
  • IR Contact

KTC PHONE

02 123 5000
CAC Certified

Download App

KTC Mobile
KTC Mobile KTC Mobile KTC Mobile
ติดตามข่าวสารได้ที่
KTC LINE KTC LINE KTC Facebook KTC Facebook KTC instagram KTC instagram KTC Youtube KTC Youtube KTC TikTok KTC TikTok KTC twitter KTC twitter
© 2020 Krungthai Card PCL.
Follow us on
KTC LINE KTC LINE KTC Facebook KTC Facebook KTC instagram KTC instagram KTC Youtube KTC Youtube KTC TikTok KTC TikTok KTC twitter KTC twitter

EN

TH

KTC LIVE CHAT

Live Chat

KTC LIVE CHAT
สมัครบัตรเครดิต KTC
สมัครกดเงินสด KTC PROUD
All
Promotion
Credit card
Article
News
0 Result
คุณกำลังหมายถึง?
    See more

    Not found

    Check your search keywords and try again.
    Try searching with fewer keywords.
    History Search
    History empty
    Clear all
    KTC
    Filter promotion
    All category
    • Select all
    • Clear all
    All brand
    • Select all
    • Clear all
    Choose Product

    KTC Credit Card

    KTC PROUD

    KTC CASH

    สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ <span>KTC พี่เบิ้ม</span>

    KTC P BERM

    Filter

    ตัวกรอง

    Search
    www.ktc.co.th ไม่รองรับเบราว์เซอร์ Internet Explorer
    หากดำเนินการต่อ การใช้งานในบางเมนู/รายการอาจไม่สมบูรณ์

    © 2019 Krungthai Card PCL.

    EN

    TH

    Live Chat