ชีวิตวนเวียนอยู่กับการจ่ายหนี้ ทั้งหนี้บัตรเครดิต หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ ฯลฯ ก็ไม่ต้องเครียดไป เป็นหนี้เยอะแค่ไหนก็หาทางปลดหนี้ได้ด้วยเทคนิคที่เรียกว่าการกู้เงินปิดหนี้ ซึ่งช่วยให้หนี้หลายก้อนเหลือเพียงก้อนเดียว ว่าแต่การกู้เงินปิดหนี้ทำได้อย่างไร และเมื่อไหร่บ้างที่เราควรเริ่มกู้เงินปิดหนี้ มาหาคำตอบพร้อมกันได้ในบทความนี้
เลือกอ่านตามหัวข้อ
กู้เงินปิดหนี้ คืออะไร
กู้เงินปิดหนี้ คือ การขอสินเชื่อก้อนใหม่ เพื่อนำเงินไปเคลียร์ภาระหนี้ที่มีอยู่ โดยจากเดิมที่มีหนี้หลายก้อน ไม่ว่าจะเป็นหนี้บ้าน หนี้รถยนต์ หรือหนี้บัตรเครดิต ฯลฯ แต่หลังจากขอสินเชื่อก้อนใหม่แล้ว ก็จะปิดหนี้ก้อนเก่าได้ทั้งหมด และย้ายมาผ่อนชำระกับหนี้ใหม่เพียงก้อนเดียวในจำนวนที่ลดลง โดยสินเชื่อที่เราขอ เพื่อเงินมาปิดหนี้ก้อนอื่นนั้น เรียกอีกชื่อหนึ่งว่าสินเชื่อรวมหนี้นั่นเอง
ซึ่งรูปแบบการของสินเชื่อรวมหนี้มีทั้งหมด 3 ประเภท ได้แก่
1.การรวมหนี้ต่างสถาบันการเงิน เป็นการนำหนี้ที่มีอยู่จากสถาบันการเงินอื่นๆ และหนี้นอกระบบ มารวมไว้ภายใต้สินเชื่อของสถาบันการเงินแห่งใหม่
2.การรวมหนี้ภายในสถาบันการเงินแห่งเดียว คือ การขอสินเชื่อใหม่กับสถาบันการเงินแห่งเดิม และจ่ายหนี้ที่มีอยู่ทั้งหมดกับสถาบันการเงินแห่งนั้น
3.การรวมหนี้บ้านกับสินเชื่ออื่นๆ วิธีนี้จะรวมสินเชื่อออนไลน์ และสินเชื่อส่วนบุคคลต่างๆ เข้ามาไว้ในสินเชื่อบ้าน ซึ่งอัตราดอกเบี้ยของสินเชื่อที่รวมเข้ากับสินเชื่อบ้าน จะไม่เกินกว่าอัตราดอกเบี้ยบ้านหลังช่วงส่งเสริมการขาย + 2% ต่อปี
การกู้เงินปิดหนี้ รวมหนี้เป็นก้อนเดียวดียังไง
หลังจากรู้แล้วว่าการกู้เงินปิดหนี้คืออะไร และมีการรวมหนี้อยู่กี่รูปแบบ แต่ก่อนจะขอรวมหนี้ได้นั้น ก็ควรรู้เสียก่อนว่าการรวมหนี้เป็นก้อนเดียวดียังไง? โดยการรวมหนี้มีข้อดีดังต่อไปนี้
1.ลดอัตราดอกเบี้ย
สินเชื่อรวมหนี้จะคิดอัตราดอกเบี้ยในเรตเดียว ซึ่งหากมีหนี้หลายก้อนที่คิดอัตราดอกเบี้ยแตกต่างกัน เช่น สินเชื่อส่วนบุคคล อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี หนี้บัตรเครดิตอัตราดอกเบี้ย 16% ต่อปี และหนี้นอกระบบที่คิดอัตราดอกเบี้ยมากกว่า 33% ต่อปีแล้ว เมื่อรวมหนี้เป็นก้อนเดียวจะช่วยให้อัตราดอกเบี้ยโดยรวมลดลง หากคุณสามารถขอรวมหนี้กับสินเชื่อที่ให้อัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าเดิมได้
2.ขยายเวลาผ่อนชำระ และลดยอดผ่อนชำระมากกว่าเดิม
สินเชื่อรวมหนี้นอกจากจะช่วยลดอัตราดอกเบี้ยแล้ว ยังช่วยขยายระยะเวลาผ่อนชำระได้ด้วย เช่น นาย A รายได้ 40,000 บาท เป็นหนี้นอกระบบ 100,000 บาทที่ต้องจ่ายดอกเบี้ยวันละ 500 บาท และค่าบัตรเครดิต 2 ใบรวมกัน 100,000 บาท โดยเลือกจ่ายขั้นต่ำ 8% เป็นเงินเดือนละ 8,000 บาท ซึ่งเมื่อรวมหนี้ทั้งสองอย่างเข้าด้วยกันจะได้ว่านาย A ต้องจ่ายหนี้เฉลี่ยเดือนละ 21,000 บาท
แต่หากขอสินเชื่อรวมหนี้วงเงินกู้ 200,000 บาท ที่คิดอัตราดอกเบี้ย 23% ต่อปี โดยเลือกผ่อนชำระ 36 เดือนแล้ว จะผ่อนชำระต่ำลงเหลือเพียงแค่ 7,742 บาท พร้อมปิดหนี้นอกระบบและหนี้บัตรเครดิตได้ทั้งหมด ทำให้มีสภาพคล่องมากขึ้นและไม่ทำให้การเงินตึงตัวจนกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวันอีกด้วย
3.ป้องกันการเกิดหนี้เสีย
สินเชื่อปิดหนี้ช่วยป้องกันการเกิดปัญหาหนี้เสีย หรือ NPL ได้เป็นอย่างดี เพราะหากขาดการผ่อนชำระเกินกว่า 90 วัน สถานะการผ่อนชำระจะกลายเป็นหนี้เสีย ส่งผลให้ขอสินเชื่ออื่นๆ ยากยิ่งขึ้น แต่เมื่อขอสินเชื่อรวมหนี้แล้ว ก็เคลียร์หนี้ที่กำลังจะกลายเป็นหนี้เสียได้ทันที ซึ่งช่วยรักษาประวัติทางการเงินให้ต่อยอดทำธุรกรรมอื่นๆ ในอนาคต เช่น สามารถกู้ซื้อที่ดิน หรือกู้เงินมาทำธุรกิจได้นั่นเอง
เมื่อไหร่ที่ควรตัดสินใจกู้เงินปิดหนี้
วิธีการแก้ปัญหาหนี้นอกเหนือจากการกู้เงินปิดหนี้มีหลายวิธี เช่น การเจรจาประนอมหนี้ หรือทำแฮร์คัทหนี้ ซึ่งบางคนอางสงสัยว่าเมื่อไหร่ถึงควรใช้วิธีการกู้เงินปิดหนี้แทนที่จะเป็นการแก้ปัญหาด้วยวิธีอื่นๆ โดยหากคุณอยู่ในสถานการณ์ดังต่อไปนี้ ก็อาจจะถึงเวลาแล้วที่ควรขอสินเชื่อปิดหนี้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
1.เริ่มมีหนี้หลายก้อนมากเกินไป
การมีหนี้หลายก้อน เช่น หนี้บ้าน หนี้รถยนต์ หรือหนี้บัตรเครดิต ในคราวเดียวกัน ปัญหาที่จะตามมา คือ มักลืมชำระหนี้ เพราะหนี้แต่ละก้อนวันถึงกำหนดชำระไม่พร้อมกัน บางก้อนต้นเดือน บางก้อนปลายเดือน ส่งผลให้ถูกเบี้ยปรับจากการทวงถามบ่อยครั้ง โดยหลังจากขอสินเชื่อรวมหนี้ทั้งหมดมาเป็นก้อนเดียวแล้ว ไม่ต้องยุ่งยากกับการจ่ายหลายที่ ลดความเครียดจากการถูกทวงหนี้ และทำให้คุณสามารถจัดการการเงินได้ง่ายขึ้นในระยะยาว!
2.เกิดปัญหาหมุนเงินไม่ทัน
หากรู้สึกว่าเริ่มหมุนเงินไม่ทัน เช่น มีภาระค่าใช้จ่ายสูงขึ้น หรือโดนลดเงินเดือนกะทันหัน ในขณะที่ยังต้องจ่ายหนี้เท่าเดิม และกำลังจะจ่ายหนี้งวดล่าสุดไม่ได้ เมื่อเห็นดังนี้แล้ว ก็ควรรีบขอสินเชื่อรวมหนี้เพื่อขยายระยะเวลาผ่อนชำระออกไปและช่วยให้ค่างวดต่อเดือนต่ำลงอีกด้วย
3.ต้องการใช้เงินด่วน
เงินหมดต้องการใช้เงินด่วน ก็ขอสินเชื่อรวมหนี้ได้เช่นเดียวกัน เพราะสามารถนำเงินส่วนที่เหลือจากการชำระหนี้ก้อนเดิมมาใช้จ่ายต่อได้ เช่น หากเป็นหนี้ก้อนเดิมอยู่ 100,000 บาท เมื่อตัดสินใจขอสินเชื่อรวมหนี้วงเงินกู้ 200,000 บาทแล้ว หลังจากจ่ายหนี้เดิมทั้งหมด ส่วนต่างเงินที่เหลือ 100,000 บาท ก็ค่อยเอามาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน
อยากปิดหนี้ กู้เงินแบบไหนดี
หากอยากรวมหนี้เป็นก้อนเดียว สินเชื่อรวมหนี้มีหลายแบบทั้งการรวมหนี้ผ่านสินเชื่อบ้าน หรือการรวมหนี้ผ่านสินเชื่อส่วนบุคคลต่างๆ ซึ่งการกู้เงินปิดหนี้ผ่านสินเชื่อส่วนบุคคลได้รับความนิยมมากที่สุด เพราะไม่ต้องใช้หลักทรัพย์ค้ำประกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
สินเชื่อส่วนบุคคล
สินเชื่อส่วนบุคคลมีหลายประเภททั้งสินเชื่อแบบเงินก้อน หรือบัตรกดเงินสด ซึ่งสินเชื่อส่วนบุคคลชนิดบัตรกดเงินสด จะมีความยืดหยุ่นในการใช้งานมากกว่าสินเชื่อแบบเงินก้อน เพราะสามารถเบิกเงินสดออกมาเท่าไหร่ก็ได้ตามที่ต้องการ แต่ต้องไม่เกินกว่าวงเงินที่ได้รับ ซึ่งบัตรกดเงินสด KTC PROUD ให้วงเงินกู้สูงสุดถึง 1 ล้านบาท พร้อมให้คุณเบิกเงินสดมาปิดหนี้ก้อนอื่นได้ตลอด 24 ชั่วโมง
วิธีการคำนวณหนี้สินก่อนกู้เงินปิดหนี้
นอกจากจะพิจารณาจาก 3 ปัจจัยข้างต้นที่ได้แนะนำมาข้างต้นแล้วว่าควรกู้เงินปิดหนี้เมื่อไหร่ ทั้งนี้ก็มีสูตรในการคำนวณที่ช่วยในการตัดสินใจได้ว่าหากมีหนี้อยู่ในระดับเท่าไหร่ถึงควรตัดสินใจกู้หนี้แล้ว ดังนี้
อัตราส่วนภาระหนี้ต่อรายได้ (Debt to service Ratio) = หนี้ทั้งหมดที่ต้องจ่ายต่อเดือน/รายได้ต่อเดือน X100
ซึ่งตัวเลข Debt to service Ratio ไม่ควรสูงเกินกว่า 40% ของรายได้ โดยหากสูงกว่านี้ไม่ควรก่อหนี้เพิ่มและควรเริ่มกู้เงินปิดหนี้ เพราะจะเริ่มส่งกระทบต่อการใช้ชีวิตประจำวัน
ตัวอย่างเช่น นาย A มีรายได้ต่อเดือนอยู่ที่ 40,000 บาท ต้องจ่ายหนี้ 20,000 บาท แสดงว่า Debt to service Ratio ของนาย A เท่ากับ 20,000/40,000x100 = 50%
ซึ่งจะเห็นได้ว่าตัวเลข Debt to Service Ratio ของนาย A มากกว่า 50% ดังนั้นนาย A อาจต้องระมัดระวังการใช้จ่าย และกู้เงินปิดหนี้หากมีหนี้หลายก้อน
เรื่องต้องรู้! ก่อนกู้เงินปิดหนี้
เมื่อตัดสินใจกู้เงินปิดหนี้แล้ว ก็มีสิ่งที่ควรรู้ดังต่อไปนี้ เพื่อให้การวางแผนเคลียร์หนี้เป็นไปอย่างราบรื่น
1.ขอสินเชื่อรวมหนี้ในช่วงเวลาจัดโปรโมชัน
สินเชื่อรวมหนี้มีหลายรูปแบบตามที่ได้กล่าวไปข้างต้นทั้งสินเชื่อรวมหนี้ในสถาบันการเงินเดียวกัน และสินเชื่อรวมหนี้ต่างสถาบันการเงิน ซึ่งในบางช่วงเวลาสถาบันการเงินจะจัดโปรโมชันสินเชื่อรวมหนี้เพื่อแก้ไขปัญหาหนี้สินตามนโยบายของรัฐบาล โดยในช่วงนี้อัตราดอกเบี้ยจะต่ำกว่าเวลาปกติ ทำให้เหมาะอย่างยิ่งในการขอสินเชื่อรวมหนี้
2.จัดเตรียมเอกสาร
เมื่อได้สินเชื่อรวมหนี้ที่ต้องการได้แล้วให้เตรียมเอกสารดังต่อไปนี้
- สำเนาบัตรประชาชน
- สำเนาทะเบียนบ้าน
- หนังสือแสดงรายการเดินบัญชีย้อนหลังอย่างน้อย 6 เดือน
- หนังสือรับรองเงินเดือน/สลิปเงินเดือนเดือนล่าสุด
- สำเนาหน้าแรกของสมุดบัญชีที่ต้องการโอนพร้อมระบุชื่อธนาคาร และเลขที่บัญชีของผู้กู้
3.วางแผนการเงินในระยะยาว
หลังจากขอสินเชื่อรวมหนี้ผ่านแล้ว ขั้นตอนต่อไปให้วางแผนการเงินว่าจะจัดการภาระหนี้ก้อนใหม่อย่างไร ถึงจะสามารถปิดหนี้ได้ โดยการวางแผนเคลียร์หนี้ในระยะยาว ควรเริ่มต้นจากการชำระหนี้ก้อนใหม่ให้ตรงเวลา หลีกเลี่ยงการค้างชำระ และไม่กู้หนี้เพิ่มโดยไม่จำเป็น ทั้งนี้ก็เพื่อรักษาประวัติทางการเงินให้ดี เพราะเมื่อเกิดการผิดนัดชำระขึ้นใหม่ จะขอหนี้ก้อนใหม่ยาก เนื่องจากไม่มีสินเชื่อใดที่อนุมัติง่าย และไม่เช็กภาระหนี้ย้อนหลังในอดีต
กู้เงินปิดหนี้ เทคนิคเคลียร์หนี้ง่ายๆ ที่ทุกคนต้องรู้
การกู้เงินปิดหนี้ด้วยสินเชื่อรวมหนี้เป็นหนึ่งในเทคนิคที่จะช่วยให้ปลดหนี้ได้ แต่ทั้งนี้ใช่ว่าจะได้สินเชื่อมาแล้ว ปัญหาจะหมดไปในทันที เพราะมีหนี้ก้อนใหม่ที่รออยู่ตรงหน้า ดังนั้นควรจ่ายหนี้ก้อนใหม่ให้ตรงเวลา ไม่ค้างชำระ รวมถึงการหลีกเลี่ยงการสร้างหนี้ใหม่ จะเป็นกุญแจสำคัญที่ช่วยให้คุณปลดหนี้ได้จริง ๆ และเดินหน้าไปสู่การเงินที่มั่นคงในอนาคต
หากคุณกำลังมองหาสินเชื่อรวมหนี้ที่ช่วยให้การจัดการการเงินเป็นเรื่องง่าย ขอแนะนำบัตรกดเงินสด KTC PROUD ที่อนุมัติไวภายในหนึ่งสัปดาห์ วงเงินอนุมัติสูงสุด 1 ล้านบาท ช่วยให้คุณแก้ปัญหาสภาพคล่องได้อย่างครอบคลุม ไม่ต้องกังวลกับหนี้หลายก้อนอีกต่อไป สมัครง่าย อนุมัติไว ช่วยให้การบริหารการเงินของคุณเป็นไปอย่างสะดวกและรวดเร็ว!
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี
เกิดเหตุฉุกเฉินใช้เงินด่วน นึกถึงบัตรกดเงินสด KTC PROUD