โรงรับจำนำเป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ต้องการเงินทุนระยะสั้น โดยนำทรัพย์สินมีค่าไปจำนำเพื่อรับเงินสดมาใช้จ่าย อย่างไรก็ตาม หลายคนอาจยังไม่เข้าใจถึงวิธีการคิดดอกเบี้ยของโรงจำนำ รวมถึงข้อแตกต่างระหว่างโรงรับจำนำของรัฐบาลกับเอกชน ซึ่งมีผลต่อค่าใช้จ่ายและเงื่อนไขต่างๆ KTC จะช่วยทำความเข้าใจวิธีคิดดอกเบี้ยของโรงรับจำนำ และเปรียบเทียบโรงรับจำนำเอกชนกับรัฐบาลเพื่อความเข้าใจอย่างถูกต้องในบทความนี้
โรงรับจำนำเอกชน มีรูปแบบอย่างไร?
โรงรับจำนำเอกชนดำเนินการโดยผู้ประกอบการที่ไม่ใช่ภาครัฐ จุดเด่นของโรงรับจำนำเอกชนคือมีความยืดหยุ่นในการกำหนดเงื่อนไขและการให้บริการ และมักตั้งอยู่ในเมืองใหญ่หรือตามชุมชน คนทั่วไปจึงสามารถเข้าใช้บริการได้ง่าย
ข้อดีของโรงรับจำนำเอกชน
- ความรวดเร็วในการให้บริการ: โรงรับจำนำเอกชนมักให้บริการที่รวดเร็ว ไม่มีขั้นตอนซับซ้อน
- ยืดหยุ่นในการกำหนดดอกเบี้ยและเงื่อนไข: สามารถเจรจาเรื่องดอกเบี้ยและระยะเวลาคืนเงินได้
- รับสินค้าหลากหลายประเภท: นอกจากทรัพย์สินทั่วไป เช่น ทองคำ นาฬิกา โรงรับจำนำเอกชนบางแห่งอาจรับจำนำสิ่งของที่ไม่เป็นที่นิยม เช่น เครื่องใช้ไฟฟ้า อุปกรณ์เทคโนโลยี หรือยานพาหนะ เป็นต้น
ข้อเสียของโรงรับจำนำเอกชน
- ดอกเบี้ยสูงกว่า: มักมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่สูงกว่าโรงรับจำนำของรัฐบาล
- เงื่อนไขอาจไม่โปร่งใส: บางครั้งโรงรับจำนำเอกชนบางแห่งก็อาจไม่ชี้แจงรายละเอียดของเงื่อนไขอย่างชัดเจน เช่น ค่าธรรมเนียมการรับจำนำ
โรงรับจำนำของรัฐบาล มีรูปแบบอย่างไร?
โรงรับจำนำของรัฐบาลจัดตั้งขึ้นเพื่อช่วยเหลือประชาชนที่ต้องการเงินทุนระยะสั้น โดยอยู่ภายใต้การควบคุมของรัฐ ทำให้มีการกำหนดเงื่อนไขและดอกเบี้ยที่ชัดเจน
ข้อดีของโรงรับจำนำรัฐบาล
- ดอกเบี้ยต่ำกว่า: โรงรับจำนำของรัฐบาลมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ต่ำกว่าโรงรับจำนำเอกชน เพราะจุดประสงค์ของโรงรับจำนำรัฐบาลคือเพื่อช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย
- เงื่อนไขชัดเจน: การดำเนินงานเป็นไปตามข้อกำหนดของภาครัฐ มีการแสดงเงื่อนไขการให้บริการอย่างชัดเจน
- ความน่าเชื่อถือ: เนื่องจากเป็นหน่วยงานของรัฐบาลจึงมีความน่าเชื่อถือ ผู้จำนำจึงมั่นใจได้ในความโปร่งใสและความปลอดภัยของทรัพย์สินที่จำนำไว้
ข้อเสียของโรงรับจำนำรัฐบาล
- มีหลายขั้นตอนในการดำเนินงาน: บางครั้งการจำนำของอาจต้องผ่านกระบวนการที่ใช้เวลานานมากกว่าโรงรับจำนำเอกชน
- ประเภทสินค้าที่รับจำนำมีน้อยกว่า: โรงรับจำนำของรัฐบาลมักจำกัดการรับจำนำเฉพาะทรัพย์สินที่มีมูลค่าสูง เช่น ทองคำ หรือเครื่องประดับ และอาจไม่รับสิ่งของบางประเภทที่โรงรับจำนำเอกชนรับ
ดอกเบี้ยโรงรับจำนำ ส่วนมากจะคิดตามอัตราร้อยละของเงินต้นที่ต้องการ ของรัฐ 0.25% ต่อเดือน ของเอกชนอาจสูง 2-3%
ตารางเปรียบเทียบโรงรับจำนำเอกชน และโรงรับจำนำรัฐบาล
ประเภทโรงรับจำนำ |
โรงรับจำนำเอกชน |
โรงรับจำนำรัฐบาล |
ดอกเบี้ย |
สูงกว่า |
ต่ำกว่า |
ความยืดหยุ่น |
ยืดหยุ่นสูง |
ควบคุมโดยกฎระเบียบของรัฐ |
เงื่อนไข |
เจรจาได้ |
เงื่อนไขคงที่และชัดเจน |
สินค้าที่รับจำนำ |
หลากหลายประเภท |
มักจำกัดเฉพาะสินค้ามูลค่าสูง |
ความน่าเชื่อถือ |
ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงของแต่ละแห่ง |
น่าเชื่อถือเพราะเป็นหน่วยงานของรัฐ |
ดอกเบี้ยโรงจำนำคิดอย่างไร?
วิธีคำนวณดอกเบี้ยโรงจำนำ
วิธีคิดดอกเบี้ยโรงรับจำนำแตกต่างกันไปตามประเภทของโรงรับจำนำ แต่ส่วนมากจะคิดตามอัตราร้อยละของเงินต้นที่ต้องการ โดยโรงรับจำนำของรัฐมักมีการกำหนดดอกเบี้ยที่เป็นมาตรฐานและต่ำกว่าของเอกชน
- โรงรับจำนำของรัฐ: จะคิดดอกเบี้ยตามเงินต้นที่ต้องการ เช่น เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท ดอกเบี้ยจะอยู่ที่ประมาณ 0.25% ต่อเดือน แต่หากต้องการเงินต้นมากกว่านั้น ดอกเบี้ยก็จะเพิ่มขึ้นตามลำดับ เช่น 1% ต่อเดือน สำหรับเงินต้นตั้งแต่ 10,001 บาทขึ้นไป
ลำดับขั้นอัตราดอกเบี้ย
- เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดดอกเบี้ย 0.25% ต่อเดือน
- เงินต้นมากกว่า 5,001 บาท แต่ไม่เกิน 10,000 บาท คิดดอกเบี้ย 0.75% ต่อเดือน
- เงินต้นมากกว่า 10,001 บาท แต่ไม่เกิน 20,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1.00% ต่อเดือน
- เงินต้นมากกว่า 20,001 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท คิดดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน
- โรงรับจำนำเอกชน: อัตราดอกเบี้ยจะขึ้นกับนโยบายของแต่ละแห่ง ซึ่งอาจสูงถึง 2-3% ต่อเดือน ขึ้นอยู่กับเงื่อนไขที่กำหนด
ตัวอย่าง
เงินต้นไม่เกิน 5,000 บาท คิดดอกเบี้ย 2% ต่อเดือน
เงินต้นส่วนที่เกิน 5,000 บาทขึ้นไป คิดอัตราดอกเบี้ย 1.25% ต่อเดือน (15% ต่อปี และไม่เกิน 24% ต่อปี)
เช่น จำนำไว้ 10,000 บาท จะเสียดอกเบี้ยต่อเดือนดังนี้ 5,000 x 2% = 100 บาท ส่วนที่เกินอีก 5,000 x 1.25% = 62.5 บาท รวมดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายทั้งสิ้น 100 + 62.5 = 162.5 บาท ต่อเดือน
การคำนวณดอกเบี้ยยังขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่จำนำด้วย หากมีการต่ออายุการจำนำหลายครั้ง ดอกเบี้ยที่ต้องจ่ายก็จะเพิ่มขึ้นตามไปด้วย
หากไม่ต้องการจำนำ มีวิธีอื่นในการได้เงินทุนระยะสั้นอย่างไรบ้าง?
หากไม่ต้องการนำทรัพย์สินมาจำนำ ก็ยังมีทางเลือกอื่นๆ ในการหาเงินทุนระยะสั้นที่อาจเหมาะสมกว่า อาทิ
- บัตรเครดิต: สามารถใช้ในการชำระสินค้าและบริการล่วงหน้าแล้วค่อยชำระคืนภายหลังได้โดยไม่เสียดอกเบี้ยหากชำระเต็มจำนวนภายในรอบบิล พร้อมรับสิทธิประโยชน์ที่มาพร้อมกับบัตรฯ เช่น คะแนนสะสม ส่วนลด โปรโมชั่นผ่อน 0%
- บัตรกดเงินสด: เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกในการเข้าถึงเงินสดโดยไม่ต้องจำนำทรัพย์สิน โดยสามารถกดเงินสดจากบัตรฯ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง และคิดดอกเบี้ยแบบรายวันตามจำนวนเงินที่กด
- สินเชื่อส่วนบุคคล: สำหรับผู้มีรายได้ประจำ การขอสินเชื่อส่วนบุคคลจากธนาคารหรือสถาบันการเงินเป็นอีกทางเลือกที่สามารถช่วยให้ได้รับเงินทุนระยะสั้นโดยไม่ต้องจำนำทรัพย์สิน
- กู้ยืมจากคนรู้จัก: การขอความช่วยเหลือทางการเงินจากคนใกล้ชิดอาจเป็นทางเลือกที่มีค่าใช้จ่ายน้อยที่สุด หากไม่ต้องเสียดอกเบี้ยหรือมีเงื่อนไขอื่นๆ ที่ซับซ้อน
โรงรับจำนำเป็นทางเลือกที่มีประโยชน์สำหรับผู้ที่ต้องการเงินทุนระยะสั้น แต่การเลือกโรงรับจำนำเอกชนหรือโรงรับจำนำรัฐบาลนั้น ขึ้นอยู่กับความสะดวกของแต่ละบุคคล อาทิ ความยืดหยุ่นในประเภททรัพย์สินที่รับจำนำ ความสะดวกในการเข้าใช้บริการ อัตราดอกเบี้ย อย่างไรก็ดี ยังมีทางเลือกอื่นๆ สำหรับการหาเงินทุนระยะสั้น เช่น บัตรเครดิต บัตรกดเงินสด และสินเชื่อส่วนบุคคล โดยเฉพาะการใช้บัตรเครดิต KTC ที่นอกจากจะใช้ชำระค่าสินค้าและบริการ พร้อมรับส่วนลดและโปรโมชั่นผ่อน 0% จากพาร์ทเนอร์ชั้นนำมากมายแล้ว ยังสามารถเปลี่ยนยอดชำระเต็มเป็นผ่อนชำระในอัตราดอกเบี้ยพิเศษได้ด้วยตนเองผ่านแอป KTC Mobile นอกจากนี้หากจำเป็นต้องใช้เงินด่วนฉุกเฉิน ก็สามารถเบิกถอนเงินสดจากวงเงินบัตรฯ โอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ หรือเบิกถอนจากตู้ ATM ก็ได้ สมัครบัตรเครดิต KTC ผ่านช่องทางออนไลน์ ได้ตลอด 24 ชั่วโมง สมัครง่ายๆ อาชีพไหนก็สมัครได้
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC