ใครๆ ก็อยากมีเงินจำนวนมากอยู่ในบัญชีธนาคารของตัวเอง แต่การมีเงินเข้าบัญชีธนาคารเป็นจำนวนมาก อาจทำให้หลายคนเกิดข้อสงสัยว่า ถ้าเป็นเงินหมุนเวียนในบัญชี เสียภาษีไหม ? แล้วเงินเข้าบัญชีเท่าไหร่ถึงเสียภาษี ? เช่น เงินเข้าบัญชีเกิน 2 ล้าน เสียภาษีเท่าไหร่ มีเกณฑ์การตรวจสอบอย่างไร KTC จะอธิบายเรื่องการคำนวณภาษีที่เกี่ยวข้องกับเงินหมุนเวียนในบัญชีธนาคาร พร้อมข้อมูลสำคัญที่คุณควรรู้ เพื่อการวางแผนภาษีอย่างมีประสิทธิภาพ
เงินหมุนเวียนในบัญชี เสียภาษีไหม ?
ต้องทำความเข้าใจก่อนว่า “เงินหมุนเวียนในบัญชีธนาคาร” อาจไม่ใช่รายได้ทั้งหมดที่ต้องเสียภาษี โดยกรมสรรพากรจะพิจารณาว่าเงินที่เข้าและออกบัญชีเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีหรือไม่ ขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้ เช่น รายได้จากเงินเดือนหรือการจ้างงาน รายได้จากการขายสินค้าและบริการ ดอกเบี้ยหรือเงินปันผล
เพราะหากเป็นเพียงเงินฝาก เงินโอนระหว่างบัญชีของตนเอง หรือเงินยืมชั่วคราวจากผู้อื่น ไม่ได้หมายความว่าเป็นรายได้ที่ต้องเสียภาษีเสมอไป แต่จำเป็นต้องมีเอกสารยืนยันแหล่งที่มาของเงินให้ชัดเจน เพราะกรมสรรพากรจะนำข้อมูลนี้ไปประมวลผลร่วมกับข้อมูลอื่นๆ เพื่อป้องกันการฟอกเงิน และดำเนินการประเมินภาษี เพื่อไม่ให้เกิดภาระและกระทบต่อพฤติกรรมทางการเงินของผู้สุจริต
เงินเข้าบัญชีเท่าไหร่ถึงโดนตรวจสอบ
- บุคคลธรรมดาที่มีรายได้สุทธิเกิน 150,000 บาทต่อปี จะต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91)
- ผู้ที่ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป
- ผู้ที่ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป
เงินเข้าบัญชีเท่าไหร่ถึงเสียภาษี?
ตามหลักเกณฑ์ของกรมสรรพากร การเสียภาษีขึ้นอยู่กับประเภทของรายได้และเกณฑ์รายได้สุทธิที่ได้รับในแต่ละปี โดยบุคคลธรรมดาที่มีรายได้สุทธิเกิน 150,000 บาทต่อปี ต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด. 90 หรือ ภ.ง.ด. 91) และเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนด
นอกจากนี้ ตามพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 48) พ.ศ. 2562 กำหนดให้สถาบันการเงินและผู้ให้บริการเงินอิเล็กทรอนิกส์ส่งข้อมูลให้กรมสรรพากรด้วย โดยรายงานข้อมูลเกี่ยวกับบุคคลที่มี “ธุรกรรมลักษณะเฉพาะ” ดังต่อไปนี้
- ผู้ที่ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 400 ครั้ง และมียอดรวมของธุรกรรมฝากหรือรับโอนรวมกันตั้งแต่ 2,000,000 บาทขึ้นไป
- ผู้ที่ฝากหรือรับโอนเงินทุกบัญชีรวมกันตั้งแต่ 3,000 ครั้งขึ้นไป
ทั้งนี้ ข้อมูลการรับโอนเงินที่กรมสรรพากรได้รับนั้น จะถูกนำไปใช้ประมวลผลร่วมกับข้อมูลอื่นๆ รวมถึงจะได้พิจารณาอย่างรอบคอบในการดำเนินการ เพื่อไม่ให้เกิดภาระและกระทบต่อพฤติกรรมทางการเงินของผู้สุจริต เนื่องจากกรมสรรพากรตระหนักดีว่า ธุรกรรมลักษณะเฉพาะหรือการรับเงินผ่านบัญชีธนาคารนั้น ไม่ได้หมายความว่าเงินจำนวนทั้งหมดนั้นเป็นรายได้ที่ต้องนำไปเสียภาษี เพราะในหลายๆ กรณีเป็นการรับเงินโอนที่ไม่ใช่รายได้ของเรา เช่น การรับโอนเงินจากบิดา มารดา การคืนเงินกู้ยืม การรับเงินเพื่อนำไปทำบุญ ฯลฯ
ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องเก็บเอกสารของที่มาในการรับโอนเงินนั้นไว้เป็นหลักฐาน เพื่อใช้ประกอบการชี้แจง
หากเงินเข้าบัญชี 2 ล้านบาท เสียภาษี 30% จะเสียภาษีสูงสุด ประมาณ 900,000 บาท
เงินหมุนเวียนในบัญชี คิดยังไง ?
หากเงินหมุนเวียนในบัญชี เกิดจากการทำงาน ประกอบธุรกิจ มีรายได้เข้ามา จะต้องเสียภาษีตามเกณฑ์ที่กรมสรรพากรกำหนด ดังนี้
ตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เงินได้สุทธิ (บาท) |
อัตราภาษี |
ภาษีสูงสุดในแต่ละขั้นเงินได้ (บาท) |
ภาษีสะสมสูงสุดของขั้น (บาท) |
0 - 150,000 |
ยกเว้น |
ยกเว้น |
0 |
150,000 - 300,000 |
5% |
7,500 |
7,500 |
300,001 - 500,000 |
10% |
20,000 |
27,500 |
500,00 - 750,000 |
15% |
37,500 |
65,000 |
750,001 - 1,000,000 |
20% |
50,000 |
115,000 |
1,000,001 - 2,000,000 |
25% |
250,000 |
365,000 |
2,000,001 - 5,000,000 |
30% |
900,000 |
1,265,000 |
5,000,001 บาทขึ้นไป |
35% |
คำนวณตามจริง |
คำนวณตามจริง |
เงินเข้าบัญชีเกิน 2 ล้าน เสียภาษีเท่าไหร่ ?
สำหรับผู้ที่สงสัยว่าเงินเข้าบัญชีเกิน 2 ล้าน เสียภาษีเท่าไหร่ คำตอบก็คือ หากเงิน 2 ล้านบาทนั้น เกิดจากการทำงาน การประกอบธุรกิจ เป็นรายได้ที่หักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนทั้งหมดแล้ว ก็จะต้องเสียภาษีสูงสุด 365,000 บาท ตามตารางอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาที่ได้ระบุไว้ด้านบน
ทั้งนี้ การวางแผนบริหารจัดการการเงินอย่างมีประสิทธิภาพ สามารถช่วยให้คุณวางแผนภาษีได้ดียิ่งขึ้น สมัครบัตรเครดิต KTC เพื่อรับสิทธิประโยชน์ที่ตอบโจทย์ทั้งการใช้จ่าย และการเก็บบันทึกข้อมูลการเงินใช้จ่ายอย่างเป็นระบบ พร้อมรับโปรโมชั่นพิเศษและคะแนนสะสมทุกการใช้จ่าย สำหรับใครที่สนใจ สามารถสมัครบัตรเครดิต KTC ออนไลน์ ได้เลยตอนนี้ทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC
ที่มาของข้อมูล :