แม้ว่ารายได้จะเป็นเรื่องที่ไม่ค่อยแน่นอน แต่ “ภาษี” คือเรื่องที่แน่นอน แล้วเงินเดือนเท่าไรต้องยื่นเสียภาษี ตามกฎหมายระบุว่าผู้มีรายได้ต่อปีตั้งแต่ 120,000 บาท หรือเดือนละ 10,000 บาท มีหน้าที่ต้องทำการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้ แต่จะเสียภาษีหรือไม่ ต้องดูที่ “รายได้สุทธิ” ที่คิดจากรายได้ตลอดทั้งปี หลังหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อนแล้ว
โดยเราสามารถยื่นแบบแสดงรายการปีละครั้ง ภายในวันที่ 31 มีนาคมของปีถัดไป และยื่นภาษีได้ทั้งช่องทางออนไลน์ ผ่านเว็บไซต์กรมสรรพากร หรือแอปพลิเคชัน RD Smart Tax หรือหากสะดวกยื่นภาษีด้วยตัวเองก็ยื่นได้ที่กรมสรรพากร หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่
ทำประกันลดหย่อนภาษีได้
ทำประกันลดหย่อนภาษีได้ไหม ทำแบบไหนลดหย่อนภาษีได้ ?
การทำประกันเป็นวิธีหนึ่งที่นิยมกันมากในการลดหย่อนภาษี แต่หลายคนอาจสงสัยว่า ทำไมการซื้อประกันจึงช่วยให้เราเสียภาษีน้อยลง คำตอบคือ เนื่องจากรัฐบาลต้องการส่งเสริมให้ประชาชนมีหลักประกันในชีวิต และสุขภาพ จึงอนุญาตให้นำค่าใช้จ่ายจากการซื้อประกันบางประเภทมาลดหย่อนภาษีได้ เพราะมองว่าการซื้อประกันคือการสร้างความมั่นคงอย่างหนึ่ง และถือเป็นการช่วยลดภาระของภาครัฐอีกด้วย แล้วประกันชีวิต สุขภาพ ลดหย่อนภาษีแบบไหน ยังไง เท่าไหร่ดีในปี 2567 มาทำความเข้าใจไปพร้อมกัน
ก่อนอื่นต้องรู้ว่าการทำประกันลดหย่อนภาษีได้ แต่ไม่ใช่ทุกประกัน โดยประกันที่เข้าเงื่อนไขต้องเป็นไปตามที่สรรพากรกำหนด และแต่ละรูปแบบก็มีเงื่อนไขในการลดหย่อนภาษีที่ต่างกัน ซึ่งในปัจจุบันกฎหมายอนุญาตให้ประกัน 4 ประเภท สามารถนำเบี้ยประกันภัยไปลดหย่อนภาษี ได้แก่
1. ประกันชีวิตแบบทั่วไป
คือประกันที่ให้ความคุ้มครองชีวิตแก่ผู้ที่ทำประกัน โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินผลประโยชน์ตามเงื่อนไขเมื่อครบสัญญา หรือเมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต โดยประกันชีวิตที่สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ มีดังนี้
- ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life) คุ้มครองชีวิตระยะยาว และจ่ายเบี้ยฯ เพียงช่วงระยะเวลาหนึ่ง จุดเด่นคือไม่ต้องจ่ายเบี้ยประกันทิ้ง โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินให้ผู้เอาประกันภัยในกรณีที่มีชีวิตอยู่ครบสัญญา หรือจ่ายเงินให้กับผู้รับประโยชน์ในกรณีผู้เอาประกันภัยเสียชีวิต
- ประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา (Term) คุ้มครองชีวิตในระยะเวลาหนึ่ง และมีเบี้ยประกันภัยไม่สูง โดยบริษัทประกันจะจ่ายเงินให้กับผู้รับประโยชน์เมื่อผู้เอาประกันภัยเสียชีวิตเท่านั้น หากครบกำหนดแล้วผู้เอาประกันภัยยังมีชีวิตอยู่จะไม่ได้รับเงินคืน
- ประกันชีวิตเพื่อการสะสมทรัพย์ (Endowment) การออมเงินในรูปแบบประกันที่นอกจากจะได้รับความคุ้มครองตามกรมธรรม์แล้วยังได้ออมเงินด้วยเพื่อมีเงินก้อนสำรองในอนาคต หรือมีเงินผลประโยชน์ส่งต่อให้คนที่รัก
- ประกันชีวิตควบการลงทุน (Investment Linked Life Insurance หรือ Unit-Linked) เป็นการทำประกันชีวิตควบคู่กับการลงทุนในกองทุนรวม โดยสามารถลดหย่อนภาษีได้เฉพาะในส่วนของค่าเบี้ยประกันชีวิตเท่านั้น
เงื่อนไข : การลดหย่อนภาษีประกันชีวิตแบบทั่วไป
- เป็นประกันชีวิต เฉพาะบริษัทประกันในประเทศไทย
- ประกันชีวิตต้องมีระยะเวลาคุ้มครองมากกว่า 10 ปี
- กรณีมีการจ่ายเงินคืนทุกปีระหว่างทาง เงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยรายปี
- กรณีมีการจ่ายเงินคืนตามช่วงเวลา เงินที่ได้รับคืนต้องไม่เกิน 20% ของเบี้ยสะสมของแต่ละช่วงเวลา
- กรณีมีการเลิกสัญญา หรือเวนคืนกรมธรรม์ก่อนครบ 10 ปี จะไม่สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ และต้องจ่ายคืนภาษีย้อนหลังที่ได้ใช้สิทธิ์ลดหย่อนไป พร้อมดอกเบี้ย 1.5% ต่อเดือน
2. ประกันชีวิตแบบบำนาญ
ประกันชีวิตชนิดเก็บเงินไว้ใช้หลังจากเกษียณ จ่ายเบี้ยประกันต่อเนื่องไปจนกว่าจะเริ่มรับเงินบำนาญ ซึ่งบริษัทประกันจะจ่ายเงินคล้ายระบบเงินบำนาญ คือจ่ายเป็นรายปีจนกว่าจะครบกำหนดสัญญา
เงื่อนไข : การลดหย่อนภาษีประกันชีวิตแบบบำนาญ
- เป็นประกันชีวิต เฉพาะบริษัทประกันในประเทศไทย
- ประกันชีวิตมีระยะคุ้มครองมากกว่า 10 ปี
- มีการจ่ายผลประโยชน์อย่างสม่ำเสมอ โดยกำหนดช่วงอายุการจ่ายผลประโยชน์เป็น 55-85 ปี และต้องจ่ายเบี้ยประกันครบแล้วก่อนรับผลประโยชน์เงินบำนาญ
3. ประกันสุขภาพตนเอง
ประกันสุขภาพก็สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้เช่นเดียวกับประกันชีวิต โดยใช้ได้ทั้ง
- ประกันสุขภาพ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาล กรณีเจ็บป่วยและการบาดเจ็บ
- ประกันภัยอุบัติเหตุ คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลเมื่อประสบอุบัติเหตุ รวมถึงการสูญเสียอวัยวะ กระดูกแตกหัก ทุพพลภาพ
- ประกันภัยโรคร้ายแรง คุ้มครองเมื่อตรวจเจอโรคร้ายแรงบางชนิด เช่น โรคมะเร็ง
- ประกันภัยการดูแลระยะยาว คุ้มครองกรณีที่ผู้เอาประกันไม่สามารถทำกิจกรรมบางอย่างได้ด้วยตนเอง เช่น การเปลี่ยนจากนอนไปนั่ง การเดิน การแต่งกาย การอาบน้ำชำระร่างกาย การรับประทานอาหาร (ต่อเนื่องติดต่อกันไม่น้อยกว่า 180 วัน)
4. ประกันสุขภาพของพ่อแม่
ประกันสุขภาพของพ่อแม่ของเราเองหรือพ่อแม่ของคู่สมรส เป็นอีกประกันที่สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้ โดยผู้มีเงินได้ต้องแจ้งความประสงค์ที่จะใช้สิทธิ์ยกเว้นภาษีเงินได้ต่อผู้รับประกันภัยที่ได้เอาประกันไว้
เงื่อนไข : การลดหย่อนภาษีประกันสุขภาพของพ่อแม่
- เป็นประกันสุขภาพ เฉพาะบริษัทประกันในประเทศไทย
- สำหรับประกันสุขภาพพ่อแม่เราหรือคู่สมรส โดยต้องเป็นลูกตามกฎหมาย (ลูกบุญธรรมไม่ได้)
- พ่อแม่ต้องมีรายได้ต่อปีไม่เกิน 30,000 บาท
- เราอยู่ในประเทศไทยครบ 180 วันในปีนั้นๆ
ตารางอธิบายประกันลดหย่อนภาษี แต่ละแบบรวมแล้วไม่เกินเท่าไหร่ ?
ประเภทของประกัน |
ความคุ้มครอง |
ลดหย่อนภาษีได้ |
1.ประกันชีวิตแบบทั่วไป |
ประกันชีวิต / ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ |
ลดหย่อนได้ตามเบี้ยประกันที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 100,000 บาท |
2.ประกันชีวิตแบบบำนาญ |
ประกันชีวิตชนิดเก็บเงินไว้ใช้หลังจากเกษียณ |
ลดหย่อนได้ตามเบี้ยประกันที่จ่ายจริง สูงสุด 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษี แต่ไม่เกิน 200,000 บาทต่อปี และเมื่อรวมกับ SSF RMF กองทุนสำรองเลี้ยงชีพกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) ต้องไม่เกิน 500,000 บาทต่อปี |
3. ประกันสุขภาพตนเอง |
ประกันสุขภาพ / ประกันภัยอุบัติเหตุ / ประกันโรคร้าย / ประกันภัยการดูแลระยะยาว |
ลดหย่อนภาษีได้ตามเบี้ยประกันที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 25,000 บาทต่อปี และเมื่อรวมกับประกันชีวิตทั่วไป (ข้อ 1) แล้วต้องไม่เกิน 100,000 บาทต่อปี |
4. ประกันสุขภาพของพ่อแม่ |
สุขภาพของพ่อแม่ของเรา / คู่สมรส |
ลดหย่อนได้ตามเบี้ยประกันที่จ่ายจริง สูงสุดไม่เกิน 15,000 บาทต่อปี |
วิธีคำนวณจากฐานภาษี ซื้อประกันลดหย่อนภาษีให้คุ้มที่สุด
สำหรับมนุษย์เงินเดือน หรือผู้มีรายได้ที่อยู่ในเกณฑ์ต้องเสียภาษีและกำลังมองหาประกันที่ใช้ลดหย่อนภาษี แนะนำ 3 ขั้นตอนประกันลดหย่อนภาษีให้คุ้มที่สุด ดังนี้
ขั้นตอน ที่ 1 ประเมินเงินภาษีที่ต้องจ่ายในแต่ละปี
สำหรับคนที่มีรายได้ประจำ หรือมนุษย์เงินเดือนที่มีรายได้ทางเดียว อาจจะประเมินง่ายกว่า เพราะคิดจากเงินเดือนกับเงินโบนัสที่ได้จากบริษัท แล้วดูค่าใช้จ่ายกับค่าลดหย่อนภาษีประจำปี แล้วลองดูว่าซื้อประกันลดหย่อนภาษีได้เท่าไร ใน ขั้นตอน ต่อไป
ขั้นตอน ที่ 2 เลือกประกันที่ใช้ลดหย่อนภาษี
ประกันที่จะใช้ลดหย่อนภาษี ตามรูปแบบที่กล่าวมาข้างต้น โดยคำนึงถึงการใช้ประโยชน์จริง ไม่ใช่คิดจากผลพลอยได้จากการใช้ลดหย่อนภาษีเพียงอย่างเดียว
ขั้นตอน ที่ 3 เลือกจ่ายเบี้ยประกันให้คุ้มที่สุด
เมื่อรู้แล้วว่าจะซื้อประกันลดหย่อนภาษีตัวไหนดี ก็ถึงเวลาเลือกราคาของเบี้ยประกันภัยที่ต้องการใช้ในการคุ้มครอง โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้ซื้อประกัน 10-20% ของรายได้เพื่อไม่ให้เป็นภาระทางการเงิน และเลือกซื้อประกันลดหย่อนภาษีที่ตอบโจทย์ความต้องการและรองรับความเสี่ยงของเรา หากต้องการซื้อประกันที่ลดหย่อนภาษีได้เยอะ อาจจะเพิ่มในส่วนของประกันชีวิตบำนาญ หรือประกันชีวิตสะสมทรัพย์ ซึ่งจะช่วยเพิ่มเงินออมและช่วยให้เราสามารถเกษียณได้อย่างมั่นคง
นอกจากนี้ การจ่ายเบี้ยประกันผ่านบัตรเครดิต KTC ยังดีกว่าการจ่ายเป็นเงินสด เพราะนอกจากจะได้เรื่องความสะดวก ป้องกันการลืม ยังได้สิทธิประโยชน์ในด้านอื่นๆ เช่น
กรณีชำระเต็มจำนวน
- เลือกรับเครดิตเงินคืนสูงสุด 1% หรือคะแนนพิเศษเพิ่ม 25% เมื่อชำระเบี้ยประกันทั้งปีแรกและปีต่ออายุ ผ่านบัตรเครดิต KTC
รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
- รับเครดิตเงินคืนสูงสุด 13% เมื่อชำระค่าเบี้ยประกันภัยด้วยบัตรเครดิต KTC
- รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
โปรโมชั่นผ่อนเบี้ยประกันทั้งเบี้ยปีแรกและปีต่ออายุ
- ผ่อนเบี้ยปีแรก 0% นานสูงสุด 6 เดือน
- ผ่อนเบี้ยปีต่อ อัตราดอกเบี้ยพิเศษ ทั้งเบี้ยปีแรกและปีต่ออายุ กับบัตรเครดิต KTC
- รายละเอียดเพิ่มเติม คลิกที่นี่
แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะให้ความสนใจซื้อประกันเพื่อลดหย่อนภาษีกันในช่วงปลายปี เพราะคำนวณภาษีได้ค่อนข้างแม่นยำแต่รู้หรือไม่ว่า การซื้อประกันสำหรับลดหย่อนภาษีตั้งแต่เนิ่นๆ จะช่วยให้เราสามารถวางแผนจัดการการเงินได้ดีกว่า รวมถึงประกันบางชนิดอาจต้องใช้เวลาในการอนุมัติ หากตัดสินใจช้าเกินไปก็อาจจะไม่สามารถใช้ลดหย่อนภาษีได้ทันภายในปีนี้
และสำหรับผู้ที่อยากได้สิทธิพิเศษที่มีให้สำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTC เท่านั้น ก็สามารถสมัครบัตรเครดิตออนไลน์ได้เลย โปรโมชั่น ส่วนลด กับพาร์ทเนอร์ชั้นนำมากมายรออยู่
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC