การเติบโตทางสายงานเป็นเรื่องสำคัญที่พนักงานประจำหลาย ๆ คนต้องวางแผนอย่างรอบคอบ เพื่อให้สามารถก้าวหน้าในหน้าที่การงานได้อย่างมั่นคงและสอดคล้องกับเป้าหมายชีวิตการทำงานของตนเอง ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาทักษะและการสร้างเครือข่าย ซึ่งหากคุณเป็นหนึ่งที่อยากจะเติบโตและทำงานในสาย General Manager (GM) หรือผู้จัดการทั่วไปแล้วล่ะก็ KTC ได้รวบรวมข้อมูลต่าง ๆ ของสายงานนี้มาให้แล้ว
General Manager คืออะไร ?
General Manager หรือผู้จัดการทั่วไป เป็นตำแหน่งงานในระดับบริหาร ที่มีบทบาทสำคัญในการกำหนดทิศทาง ดูแลการดำเนินงานขององค์กรหรือแผนกให้ราบรื่น โดยต้องเข้าใจโครงสร้างงาน วางแผน จัดการ และควบคุมงานให้เป็นไปตามเป้าหมาย ครอบคลุมการบริหารงบประมาณ การขาย ต้นทุน กำไร การตลาด การผลิต และดูแลบุคลากรให้ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ ทักษะสำคัญสำหรับตำแหน่ง General Manager ก็ได้แก่ การบริหารจัดการ การทำงานหลายอย่างพร้อมกัน การบริหารเวลา การสื่อสารที่ดี เพื่อประสานงานระหว่างแผนก อีกทั้งต้องมี ความสามารถในการตัดสินใจและการบริหารทีม เป็นต้น
General Manager มีหน้าที่อะไรบ้าง ?
หน้าที่ของ General Manager (GM) ประกอบด้วยหลายด้านที่สำคัญเพื่อการบริหารจัดการและขับเคลื่อนองค์กรให้ประสบความสำเร็จ โดยทั่วไปหน้าที่หลักของ GM จะรวมถึง
- ดูแลให้ขั้นตอนการทำงานของแผนกหรือองค์กรในแต่ละวันเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและราบรื่น
- เข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบข้อมูลสำคัญ เช่น งบประมาณประจำปี การจ้างงาน การตลาด หรือการดำเนินงานอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อถ่ายทอดข้อมูลนี้ให้กับทีมงานและประสานงานให้การทำงานเป็นไปได้ด้วยดี
- ติดตามผลการทำงานของทีมงานเพื่อให้มั่นใจว่าทุกคนทำงานตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ และปฏิบัติตามกฎระเบียบขององค์กร
- ดูแลการจัดการงบประมาณในการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน
- รับผิดชอบในการสรรหาพนักงานใหม่ในตำแหน่งที่ขาดแคลน และฝึกสอนพนักงานให้พร้อมสำหรับการทำงาน
- พัฒนาระบบการทำงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น
- จัดเตรียมรายงานการทำงานและปัญหาที่เกิดขึ้นให้คณะผู้บริหารทราบเพื่อการตัดสินใจที่เหมาะสม
หน้าที่ GM คือรับผิดชอบในการดูแลและจัดการการดำเนินงานประจำวันขององค์กรหรือแผนกภายในบริษัท
General Manager กับ Managing Director กับ CEO ต่างกันอย่างไร ?
General Manager (GM), Managing Director (MD), และ CEO ต่างมีบทบาทการบริหารที่คล้ายกัน แต่มีความแตกต่างในระดับความรับผิดชอบและขอบเขตของการตัดสินใจ ดังนี้
General Manager (GM)
- หน้าที่และความรับผิดชอบ: GM รับผิดชอบในการดูแลและจัดการการดำเนินงานประจำวันขององค์กรหรือแผนกภายในบริษัท เช่น การบริหารทีมงาน การควบคุมงบประมาณ และการทำให้แน่ใจว่าองค์กรหรือแผนกบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้
- ขอบเขตการทำงาน: GM มักจะทำงานในระดับปฏิบัติการ โดยเน้นการดำเนินงานให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้ และรับผิดชอบในการจัดการทรัพยากรภายในองค์กร
- สถานะในองค์กร: อยู่ในระดับกลางของโครงสร้างการบริหาร รายงานตรงต่อ MD หรือ CEO
Managing Director (MD)
- หน้าที่และความรับผิดชอบ: กรรมการผู้จัดการ เป็นตำแหน่งที่นำนโยบายจากคณะกรรมการบริษัทมาดำเนินการ และกำกับดูแลองค์กรทั้งหมด ตัดสินใจเชิงกลยุทธ์ ที่มีผลกระทบต่อองค์กรในวงกว้าง สรุปคือมีหน้าที่ในการดำเนินกลยุทธ์ที่เกี่ยวข้องกับการเติบโตและการพัฒนาในระยะยาวขององค์กร
- ขอบเขตการทำงาน: MD ทำงานในระดับสูงมากขึ้นโดยมีการบริหารองค์กรในภาพรวม รวมถึงการตัดสินใจด้านกลยุทธ์และทิศทางของบริษัท
- สถานะในองค์กร: เป็นผู้บริหารระดับสูง อาจรายงานตรงต่อ CEO
Chief Executive Officer (CEO)
- หน้าที่และความรับผิดชอบ: ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร คือตำแหน่งที่กำหนดวิสัยทัศน์และทิศทาง ขององค์กรในระยะยาว วางแผนกลยุทธ์ระดับสูง เพื่อให้บริษัทเติบโตและสร้างผลกำไร มีอำนาจตัดสินใจสำคัญระดับองค์กร เช่น การควบรวมกิจการ การลงทุนขนาดใหญ่ เป็นตัวแทนองค์กรในการติดต่อกับนักลงทุน สื่อมวลชน และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียสำคัญ สร้างและรักษาวัฒนธรรมองค์กร ให้สอดคล้องกับค่านิยมและพันธกิจของบริษัท รับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ในการสร้างผลตอบแทนทางการเงิน รวมไปถึง การตัดสินใจครั้งสำคัญ ที่มีผลต่ออนาคตขององค์กร
- ขอบเขตการทำงาน: CEO เป็นผู้ที่รับผิดชอบต่อการดำเนินงานทั้งหมดขององค์กรและเป็นตัวแทนของบริษัทในด้านต่าง ๆ เช่น การทำงานกับคณะกรรมการบริหาร และการสื่อสารกับผู้ถือหุ้นหรือสาธารณะ
- สถานะในองค์กร: เป็นผู้บริหารสูงสุดในโครงสร้างองค์กร
General Manager มีคุณสมบัติอะไรบ้าง ?
General Manager ที่ดีจะต้องมีทั้งทักษะในการบริหารจัดการ การสื่อสาร และความสามารถในการตัดสินใจที่ดีเพื่อให้การดำเนินงานขององค์กรหรือแผนกมีประสิทธิภาพและเป็นไปตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ โดยสามารถแบ่งเป็นทักษะหลัก ๆ ได้แก่
- ทักษะการบริหารจัดการ: General Manager คือผู้บริหารที่รับผิดชอบดูแลการดำเนินงานประจำวันของธุรกิจ ฉะนั้น ทักษะที่จำเป็นคือ การจัดการพนักงาน งบประมาณ และดูแลให้แผนการหรือโปรเจกต์ให้บรรลุเป้าหมาย
- ทักษะการตัดสินใจและแก้ปัญหา: ด้วยความเป็นผู้นำ General Manager จะต้องมีทักษะในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ ได้อย่างรวดเร็วและแม่นยำ มีความสามารถในการประเมินข้อมูลและสถานการณ์เพื่อเลือกทางเลือกที่ดีที่สุด และสามารถจัดการกับปัญหาและความเสี่ยงได้ดี
- ทักษะการสื่อสาร: General Manager ต้องมีทักษะทางด้านการสื่อสารได้อย่างชัดเจนทั้งภายในและภายนอกองค์กร มีความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีทั้งกับทีมงาน, ลูกค้า และพันธมิตรทางธุรกิจ และสามารถให้คำแนะนำและการฝึกสอนพนักงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
- ความรู้ในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจ : General Manager ต้องมีความเข้าใจในอุตสาหกรรมหรือธุรกิจที่องค์กรดำเนินการอยู่ สามารถใช้ข้อมูลจากตลาดและการวิเคราะห์เพื่อพัฒนากลยุทธ์และการดำเนินงาน รวมถึงควบคุมงบประมาณได้
ตําแหน่ง General Manager เงินเดือน เท่าไร? เริ่มต้น-สูงสุดเท่าไหร่ในปี 2568 ?
ด้วยเป็นหนึ่งในตำแหน่งงานที่มีบทบาทสำคัญในการบริหารจัดการองค์กรและทีมงาน โดย General Manager นั้นจะรับผิดชอบการดูแลและบริหารทีมงานให้ทำงานบรรลุตามเป้าในแต่ละวัน และด้วยความสำคัญของหน้าที่ที่ต้องรับผิดชอบ เงินเดือนของ General Manager จึงถือว่าอยู่ในระดับที่สูงพอสมควร ขึ้นอยู่กับขนาดขององค์กร สถานที่ทำงาน และอุตสาหกรรมที่เกี่ยวข้อง
โดย WorkVenture Technologies Co., Ltd. ได้สำรวจข้อมูล ณ วันที่ 20 มีนาคม 2568 สรุปรายได้เฉลี่ยต่อเดือนสำหรับตำแหน่ง General Manager ในประเทศไทยคือ 66,959 บาท ซึ่งส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงระหว่าง 32,000 บาท คิดเป็น 25 เปอร์เซ็นต์ ถึง 120,000 บาท คิดเป็น 75 เปอร์เซ็นต์ในประเทศไทย
ขอบคุณข้อมูลจาก : https://th.jobsdb.com/th/career-advice/role/general-manager
https://www.workventure.com/salaries/general-manager/jobtitle-jed2EBJ4EJLnR
จะเห็นได้ว่า General Manager นั้นเป็นตำแหน่งสำคัญที่รับผิดชอบในการบริหารจัดการการดำเนินงานในระดับสูงขององค์กรหรือแผนกต่าง ๆ โดยตำแหน่งนี้ต้องการทักษะในการบริหารจัดการที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นการตัดสินใจที่รวดเร็ว การสื่อสารที่ดี หรือการพัฒนาบุคลากร ซึ่งหากคุณเป็นคนหนึ่งที่สนใจในตำแหน่ง General Manager ก็ต้องคำนึงถึงการพัฒนาทักษะการบริหารจัดการและความเป็นผู้นำ เพราะสิ่งเหล่านี้จะช่วยให้คุณก้าวสู่ตำแหน่งนี้ได้ พร้อมกับโอกาสในการได้รับเงินเดือนและผลประโยชน์ที่สูงขึ้นตามความสามารถและความสำเร็จในการทำงาน
อย่างไรก็ดี เมื่อจะวางแผนพัฒนาทักษะใด ๆ แล้วตัดสินใจลงคอร์สออนไลน์ ก็สามารถใช้บัตรเครดิต KTC เพื่อรับสิทธิประโยชน์และข้อเสนอพิเศษต่าง ๆ ได้ ไม่ว่าจะเป็นการสะสมคะแนน KTC FOREVER ที่สามารถนำไปแลกได้หลากหลาย แลกสินค้า / แลกคูปอง / แลกจ่ายบิล / แลกเพื่อบริจาค / แลกแทนเงินสด ใช้จ่ายในครั้งถัดไป นอกจากนี้ บัตรเครดิต KTC ยังมอบความสะดวกสบายในการชำระเงินสำหรับคอร์สออนไลน์จากแพลตฟอร์มชั้นนำทั่วโลก ช่วยให้คุณสามารถพัฒนาทักษะใหม่ ๆ ได้อย่างต่อเนื่อง โดยไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับเรื่องการชำระเงิน การใช้บัตรเครดิต KTC จึงเป็นตัวเลือกที่เหมาะสมในการลงทุนพัฒนาศักยภาพของตัวเองได้อย่างคุ้มค่า
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC