สิทธิประโยชน์ดี ๆ ที่ไม่ควรปล่อยหลุดมือแม้ไม่มีงานประจำ
ประกันสังคมเป็นสวัสดิการรูปแบบหนึ่งที่รัฐมอบให้แก่ลูกจ้างในสถานประกอบกิจการหรือบริษัท โดยลูกจ้างถูกหักเงินจากเงินเดือน 5% ของค่าจ้าง สูงสุดไม่เกิน 750 บาท/เดือน เข้ากองทุนประกันสังคม รวมกับเงินสมทบจากนายจ้าง เพื่อนำเงินส่วนนี้ไปเป็นกองทุนรวมและช่วยเหลือภายใต้เงื่อนไขที่สำนักงานประกันสังคมกำหนด
ความคุ้มครองของประกันสังคม
ประกันสังคมช่วยดูแลยามเจ็บป่วย
ประกันสังคมเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐาน คนทำงานทุกคนควรรู้เกี่ยวกับสิทธิประโยชน์ที่จะได้รับจากการมีประกันสังคม โดยแบ่งสิทธิประโยชน์ออกเป็น 7 กรณีหลัก ๆ ดังนี้
- การเจ็บป่วยหรือมีเหตุอันตราย
สิทธิประกันสังคมช่วยคุ้มครองกรณีเจ็บป่วยเมื่อต้องเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาล ทั้งกรณีผู้ป่วยใน (OPD) และกรณีผู้ป่วยนอก (IPD) รวมถึงการทำทันตกรรมด้วย นอกจากนั้นยังมีเงินชดเชยสำหรับการขาดรายได้กรณีนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาล
- เงินชดเชยในกรณีทุพพลภาพ
หากผู้ประกันตนทุพพลภาพ ทางประกันสังคมจะจ่ายค่ารักษาต่อเนื่อง พร้อมมอบเงินชดเชยในกรณีขาดรายได้เมื่อต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล
- เงินเยียวยาในกรณีเสียชีวิต
กรณีที่ผู้ประกันตนเสียชีวิต ประกันสังคมจะมอบเงินค่าทำศพ จำนวน 50,000 บาท และมีเงินสงเคราะห์ในกรณีนี้ด้วย โดยแบ่งให้ผู้รับที่ระบุไว้ในหนังสือทำประกัน แต่ถ้าไม่ได้ระบุทางสำนักงานประกันสังคมแบ่งให้บิดา มารดา ทายาท สามีหรือภรรยาในจำนวนเท่า ๆ กัน
- ค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย
การใช้สิทธิประกันสังคมในการคลอดบุตรจะมีเงินค่าคลอดบุตรแบบเหมาจ่าย จำนวน 13,000 บาท คนหนึ่งสามารถเบิกได้ 2 ครั้ง
- การสงเคราะห์บุตร
เงินสงเคราะห์บุตรเป็นเงินที่โอนเข้าบัญชีออมทรัพย์ของธนาคารของผู้ประกันตนจนกว่าบุตรจะอายุครบ 6 ขวบ สามารถยื่นขอเงินสงเคราะห์บุตรได้ครั้งละ 2 คน ไม่จำกัดจำนวนครั้ง
- เงินสมทบชราภาพ
เงินที่ประกันสังคมจ่ายให้ผู้ประกันตนที่มีอายุ 55 ปีขึ้นไป และสิ้นสุดการเป็นสมาชิกประกันสังคม โดยเงินสมทบชราภาพของผู้ประกันตน แบ่งเป็น 2 กรณี ดังนี้
เงินบำเหน็จ - ผู้ที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมไม่ถึง 180 เดือน รับเงินก้อน โดยจำนวนเงินที่ได้จะขึ้นอยู่กับระยะเวลาการส่งเงินสมทบประกันสังคม
เงินบำนาญ – ผู้ที่จ่ายเงินสมทบประกันสังคมตั้งแต่ 180 เดือนขึ้นไป รับเงินบำนาญแต่ละเดือนจนเสียชีวิต โดยได้รับเงินอย่างน้อย 20% ของเงินเดือนเฉลี่ย 60 เดือนสุดท้ายในการทำงาน หากเสียชีวิตภายใน 60 เดือนหลังรับเงินบำนาญ ทายาทจะได้รับบำเหน็จ 10 เท่าจากเงินบำนาญที่ได้รับอยู่
- เงินชดเชยกรณีว่างงาน
ผู้ประกันตนที่อยู่ในสถานะว่างงานต้องไปขึ้นทะเบียนผู้ว่างงาน เพื่อรับเงินชดเชยช่วงว่างงาน ทั้งนี้ผู้ประกันตนที่ว่างงานได้รับเงินชดเชย 2 กรณี คือ
ถูกไล่ออกจากงาน ด้วยเหตุผลที่ไม่เกี่ยวกับความบกพร่องด้านการปฏิบัติหน้าที่ ได้รับเงินชดเชย 50% ของเงินเดือน นานสูงสุด 6 เดือน
ลาออกด้วยความสมัครใจ ได้รับเงินชดเชย 30% ของเงินเดือน นานสูงสุด 3 เดือน
ความคุ้มครองของประกันสังคมถือเป็นประโยชน์ต่อลูกจ้างมาก ด้วยมอบเงินชดเชยรายได้ค่อนข้างครอบคลุม ทำให้สำนักงานประกันสังคมกำหนดให้สิทธิประกันสังคมเป็นสวัสดิการขั้นพื้นฐานของลูกจ้างทุกคน และนายจ้างต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
ประเภทของผู้ประกันตนประกันสังคม
ผู้ประกันตนประกันสังคม สามารถแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภท ดังนี้
- ผู้ประกันตนมาตรา 33
คุณสมบัติ: เป็นผู้ที่ทำงานในบริษัทเอกชน อายุไม่ต่ำกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี
ความคุ้มครอง: ครบทั้ง 7 กรณี ได้แก่ เงินค่ารักษาพยาบาล, เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ, เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต, เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย, เงินสงเคราะห์บุตร, เงินสมทบชราภาพ และเงินกรณีว่างงาน
- ผู้ประกันตนมาตรา 39
คุณสมบัติ: ผู้ที่เคยเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 มาก่อนระยะเวลาหนึ่ง และส่งเงินสมทบไม่น้อยกว่า 12 เดือน และลาออกไม่เกิน 6 เดือน
ความคุ้มครอง: ได้รับการคุ้มครอง 6 กรณี ได้แก่ เงินค่ารักษาพยาบาล, เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ, เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต, เงินค่าคลอดบุตรเหมาจ่าย, เงินสงเคราะห์บุตร และเงินสมทบชราภาพ
- ผู้ประกันตนมาตรา 40
คุณสมบัติ: แรงงานนอกระบบอายุมากกว่า 15 ปี แต่ไม่เกิน 60 ปี และไม่เคยสมัครเป็นผู้ประกันตนมาตรา 33 และมาตรา 39 มาก่อน
ความคุ้มครอง: สามารถเลือกความคุ้มครองได้เองตามยอดที่จ่าย คือ จ่าย 100 บาท/เดือน ความคุ้มครอง 3 กรณี ได้แก่ เงินค่ารักษาพยาบาล, เงินชดเชยกรณีทุพพลภาพ, เงินชดเชยกรณีเสียชีวิต และอีกกรณีจ่าย 150 บาท/เดือน ความคุ้มครอง 4 กรณี โดยเพิ่มเงินสมทบชราภาพเข้ามา
ผู้ประกันตนที่อยู่ในมาตรา 39 และมาตรา 40 ที่ต้องหักเงินประกันสังคมเอง สามารถเลือกหักเงินผ่านบัตรเครดิตได้ด้วย เพิ่มความสะดวกสบายไปอีกขั้น
จ่ายประกันสังคมผ่านบัตรเครดิต สะดวกคนจ่าย สิทธิประกันสังคมไม่ขาด
การต่อประกันสังคมเมื่อออกจากงาน
การต่อประกันสังคมระหว่างหางานใหม่
สถานะผู้ประกันตนประกันสังคมจะเกิดขึ้นเมื่อผู้ประกันตนเข้าทำงานในองค์กร โดยประกันสังคมทำการหักเงินสมทบจากเงินเดือนทุกเดือน สูงสุด 750 บาท สำหรับผู้ที่มีเงินเดือน 15,000 บาทขึ้นไป แต่เมื่อออกจากงานแล้ว หลายคนกลับปล่อยให้ประกันสังคมขาดการตัดเงินสมทบ ทั้งที่จริงผลประโยชน์จากประกันสังคมยังคงอยู่หากมีการต่อประกันสังคม เพียงจ่ายค่าเบี้ยประกันเดือนละ 432 บาท โดยสามารถตัดผ่านบัญชีธนาคารได้ แต่ปัจจุบันการต่อประกันสังคมผ่านออนไลน์ยังไม่ครอบคลุมการยื่นขอต่อประกันสังคมเป็นผู้ประกันตรมาตรา 39 กระทั่งเกิดวิกฤตโควิด-19 ในประเทศไทย ได้มีพระราชกิจจานุเบกษาระเบียบสำนักงานประกันสังคม ว่าด้วยการเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 39 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ. 2533 (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2563 กล่าวว่าผู้ที่ต้องการยื่นเป็นผู้ประกันตนมาตรา 39 สามารถดาวน์โหลดเอกสารทางออนไลน์แล้วยื่นทางไปรษณีย์ โทรสาร อีเมล หรือไลน์ได้
การต่อประกันสังคมมีประโยชน์สำหรับผู้ที่ออกจากงานเดิมเพื่อเปลี่ยนงานใหม่ เพราะทำให้ระยะเวลาการส่งประกันสังคมไม่ขาดช่วง มีผลต่อการรับเงินสมทบชราภาพได้ในอนาคต หรือหากใครมองหาประกันภัยเพิ่มเติมก็พิจารณาที่ความคุ้มครองนอกเหนือจากประกันสังคม หรือช่วยเติมค่าใช้จ่ายของประกันสังคม เพราะประกันภัยในยุคนี้สามารถจ่ายยอดผ่านบัตรเครดิตได้ และบัตรเครดิตหลายใบก็มีโปรโมชั่นการจ่ายเบี้ยประกันประจำปีด้วย เพิ่มความสะดวกได้อีกขั้น และเพิ่มความคุ้มค่าในการจ่ายอีกระดับ หรือหากกังวลเหตุฉุกเฉินที่ต้องเข้ารับการรักษาแล้วต้องใช้เงินก้อนสำรองจ่ายไปก่อนก็สามารถพิจารณาทำบัตรกดเงินสดเพื่อสำรองค่าใช้จ่ายไปก่อนได้
จ่ายเบี้ยประกันภัยง่าย ๆ ผ่านบัตรเครดิต
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
มีเงินก้อนสำรองฉุกเฉิน เมื่อต้องเข้าโรงพยาบาล
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา