การมีเงินเก็บออมเป็นสิ่งที่ดี แต่การมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีนั้นสำคัญยิ่งกว่า เพราะมันหมายถึงความมั่นคงและความยืดหยุ่นทางการเงินในชีวิตของเรา บทความนี้จะพาคุณไปทำความรู้จักกับสภาพคล่องทางการเงิน และวิธีสร้างสภาพคล่องที่ดี เพื่อชีวิตที่มั่นคงและไร้กังวล
เลือกอ่านตามหัวข้อ
สภาพคล่องทางการเงิน คืออะไร
สภาพคล่องทางการเงิน (Liquidity) คือ ความสามารถของธุรกิจหรือบุคคลในการแปลงสินทรัพย์ที่มีอยู่ให้เป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็วและมีความสะดวก โดยไม่ส่งผลกระทบต่อมูลค่าของสินทรัพย์นั้นมากนัก หรือหากพูดให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือการมีเงินสดพร้อมใช้ในยามจำเป็น
โดยสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงมีหลายอย่าง เช่น เงินสดจากการออมเงิน เงินฝากธนาคาร และหลักทรัพย์ที่สามารถขายได้ในตลาดรองทันที ในขณะที่สินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องต่ำ เช่น ที่ดิน, อาคาร, หรือเครื่องจักรขนาดใหญ่ ต้องใช้เวลาและกระบวนการในการซื้อขายหรือแปลงเป็นเงินสดมากกว่า
ทำไมการบริหารสภาพคล่องทางการเงินถึงสำคัญ
การบริหารสภาพคล่องทางการเงินอย่างมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งสำคัญ เพราะช่วยให้สามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินทางการเงินต่าง ๆ ได้ ดังนี้
- รับมือกับเหตุการณ์ฉุกเฉิน: ชีวิตเต็มไปด้วยเหตุการณ์ที่ไม่คาดฝัน เช่น เจ็บป่วย อุบัติเหตุ ตกงาน หรือค่าใช้จ่ายซ่อมแซมเร่งด่วน การมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีจะช่วยให้คุณมีเงินสดเพียงพอที่จะรับมือกับเหตุการณ์เหล่านี้ได้โดยไม่ต้องกู้หนี้ยืมสิน หรือขายสินทรัพย์ในราคาต่ำกว่าตลาด
- ใช้จ่ายในชีวิตประจำวันอย่างราบรื่น: การมีสภาพคล่องที่ดีช่วยให้คุณจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ ได้ตรงเวลา เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ค่าเล่าเรียนบุตร ทำให้ชีวิตประจำวันเป็นไปอย่างราบรื่น ไม่ติดขัด
- ใช้ประโยชน์จากโอกาส: บางครั้งอาจมีโอกาสดีๆ เข้ามา เช่น สินค้าราคาพิเศษ หรือโอกาสในการลงทุน การมีเงินสดพร้อมใช้จะช่วยให้คุณคว้าโอกาสเหล่านั้นไว้ได้
- ลดความเครียดและความกังวล: การรู้ว่ามีเงินสำรองเพียงพอจะช่วยลดความเครียดและความกังวลเกี่ยวกับปัญหาทางการเงิน ทำให้มีสมาธิกับเรื่องอื่นๆ ในชีวิตได้มากขึ้น
- สร้างความมั่นคงทางการเงิน: การบริหารสภาพคล่องที่ดีเป็นรากฐานสำคัญของการวางแผนการเงินระยะยาว ช่วยให้คุณบรรลุเป้าหมายทางการเงิน เช่น ซื้อบ้าน แต่งงาน หรือเกษียณอย่างมีความสุข
การเข้าใจสภาพคล่องทางการเงินของตัวเองจะช่วยเสริมสร้างความมั่นใจในการใช้ชีวิตและการวางแผนการเงินในระยะยาว จึงเป็นสาเหตุที่คนสนใจว่าอายุ 30 ควรมีเงินเก็บเท่าไหร่ เพราะเราจะได้คำนวณถูกว่าด้วยอายุเท่านี้ เราควรมีสินทรัพย์ที่ทำให้มีสภาพคล่องเท่าไหร่นั่นเอง
ปัญหาขาดสภาพคล่องคืออะไร
การขาดสภาพคล่องทางการเงินเป็นสถานการณ์ที่ธุรกิจหรือบุคคลไม่สามารถแปลงสินทรัพย์เป็นเงินสดได้ทันเวลา ซึ่งอาจส่งผลให้ไม่สามารถจ่ายหนี้สิน ไม่มีเงินจ่ายค่าบ้าน ค่ารักษาพยาบาลได้และในกรณีที่รุนแรง อาจต้องเผชิญกับสภาวะล้มละลาย
- การไม่สามารถชำระหนี้สินตามกำหนด เช่น ค่าบัตรเครดิต ค่างวดรถ หรือค่าผ่อนบ้าน จะทำให้เกิดดอกเบี้ยทบต้น และค่าปรับ ทำให้ภาระหนี้สินเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ อาจนำไปสู่การถูกฟ้องร้อง และเสียเครดิตทางการเงิน ซึ่งอาจส่งผลต่อการขอสินเชื่อในอนาคต
- การต้องขายสินทรัพย์ในราคาต่ำกว่ามูลค่า เมื่อธุรกิจหรือบุคคลต้องการเงินสดอย่างเร่งด่วน อาจจำเป็นต้องขายสินทรัพย์ที่มีอยู่ เช่น ที่ดิน อาคาร หรือหุ้น ในราคาที่ต่ำกว่ามูลค่าจริง เพื่อนำเงินมาใช้หนี้
- การสูญเสียความเชื่อมั่นจากนักลงทุนและเจ้าหนี้ ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจในระยะยาว เพราะธุรกิจที่ขาดสภาพคล่องจะไม่สามารถลงทุนในโครงการใหม่ๆ หรือขยายธุรกิจได้ ทำให้พลาดโอกาสในการเติบโต
- ความเสี่ยงต่อการล้มละลาย หากปัญหาการขาดสภาพคล่องไม่สามารถแก้ไขได้ทันเวลา ธุรกิจอาจต้องเผชิญกับภาวะล้มละลาย ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่เลวร้ายที่สุด
สภาพคล่องทางการเงินกำลังมีปัญหา ดูยังไง
การประเมินว่าเรากำลังขาดสภาพคล่องทางการเงินหรือไม่ สามารถทำได้ด้วยการตรวจสอบสถานการณ์ทางการเงินของเราอย่างละเอียด ดังนี้ดังนี้
- เมื่อรายจ่ายมากกว่ารายรับ นั่นเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสภาพคล่องทางการเงินของคุณไม่ดี ทั้งนี้ต้องประเมินว่ารายจ่ายดังกล่าวเกิดจากอะไร เพื่อหาวิธีลดรายจ่ายดังกล่าวไม่ให้กระทบกับการบริหารเงินในอนาคต
- ประเมินสินทรัพย์ที่มีสภาพคล่องสูงที่มีอยู่ เช่น เงินสดและเงินฝากธนาคาร รวมไปถึงสินทรัพย์อื่น ๆ ที่สามารถเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดได้ในเวลาอันรวดเร็ว
- มีหนี้สินเยอะจนเริ่มมีปัญหาในการใช้เงิน ไม่สามารถจ่ายหนี้ได้ตามเวลาที่กำหนด
- ไม่มีรายรับเพิ่มหรือรายรับเท่าเดิมมาตลอดหลายปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อสูงขึ้นเรื่อย ๆ
วิธีการตรวจสอบสภาพคล่องทางการเงินของตัวเอง
สภาพคล่องทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญ เพราะเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการจัดการกับสถานการณ์ทางการเงินที่ไม่คาดคิด แต่หากเราประสบวิกฤตขาดสภาพคล่อง อาจนำไปสู่ปัญหาทางการเงินที่รุนแรงได้ การรับมือกับสถานการณ์ดังกล่าวอย่างรวดเร็วเพื่อแก้ไขปัญหาให้ทันท่วงทีจึงเป็นสิ่งสำคัญ โดยวิธีการรับมือเมื่อประสบปัญหาขาดสภาพคล่อง มีดังนี้
ทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย
สภาพคล่องทางการเงินดูได้จากปัจจัยอะไรบ้าง อันดับแรกให้เริ่มต้นจากการดูบัญชีรายรับ-รายจ่าย โดยเริ่มจากการบันทึกรายได้และค่าใช้จ่ายทั้งหมดในแต่ละเดือน สิ่งนี้จะช่วยให้เห็นภาพรวมของกระแสเงินสดว่ามีรายได้มากกว่ารายจ่ายหรือไม่ และควรพิจารณารวมถึงสินทรัพย์สภาพคล่อง คือสิ่งที่สามารถเปลี่ยนเป็นเงินได้ง่ายและรวดเร็ว
หากมีรายจ่ายมากกว่ารายได้เป็นประจำ อาจบ่งบอกถึงปัญหาการขาดสภาพคล่องในอนาคต การปรับลดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นและหาทางเพิ่มรายได้ จะช่วยให้รายได้มากกว่ารายจ่ายอย่างสม่ำเสมอ ซึ่งเป็นกุญแจสำคัญในการรักษาสภาพคล่องที่ดี
คำนวณอัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงินและอัตราส่วนการออม
การคำนวณอัตราส่วนสภาพคล่องทางการเงินเป็นสิ่งสำคัญในการประเมินสุขภาพทางการเงินของบุคคลและธุรกิจ ช่วยให้สามารถวางแผนและบริหารจัดการเงินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การประเมินสภาพคล่องทางการเงินยังสามารถทำได้ด้วยวิธีการต่อไปนี้
- อัตราส่วนสภาพคล่อง การคำนวณอัตราส่วนสภาพคล่อง เช่น อัตราส่วนเงินทุนหมุนเวียน (Current Ratio) จะช่วยให้เห็นภาพความสามารถในการชำระหนี้สินระยะสั้น อัตราส่วนนี้มากกว่า 1 แสดงว่ามีสภาพคล่องที่ดี
- วิธีคำนวณคือนำเอาสินทรัพย์หมุนเวียน ÷ หนี้สินหมุนเวียน
อธิบาย: หากเรามีเงินสดและเงินฝาก 100,000 บาท และมีหนี้บัตรเครดิต 30,000 บาท Liquidity Ratio = 100,000 / 30,000 = 3.33
หากคำนวณออกมาแล้วอัตราส่วนดังกล่าวมีมากกว่า 1 นั่นหมายถึงคุณมีอัตราส่วนสภาพคล่องที่ดีและมีศักยภาพในการชำระหนี้สินระยะสั้นได้
- อัตราส่วนเงินออม การมีเงินออมเพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายในระยะเวลา 3 ถึง 6 เดือนจะช่วยให้มีสภาพคล่องที่ดีและสามารถรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถวางแผนการเงินในระยะยาวได้อย่างมั่นคง โดยมีวิธีการคำนวณแบบง่าย ๆ ดังนี้
- อัตราส่วนการออม = (รายได้ - ค่าใช้จ่าย) / รายได้ x 100
อธิบาย: หากเรามีรายได้ 40,000 บาท และค่าใช้จ่าย 30,000 บาท อัตราส่วนการออม = (40,000 - 30,000) / 40,000 x 100 = 25%
หากคำนวณออกมาแล้วอัตราส่วนดังกล่าวมีมากกว่า 10% ขึ้นไป นั่นหมายถึงคุณมีอัตราส่วนการออมที่ดี
ตรวจสอบงบดุลส่วนบุคคล
การตรวจสอบงบดุลส่วนบุคคลเป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจถึงสถานะทางการเงินของเราได้อย่างชัดเจน โดยการคำนวณความมั่งคั่งสุทธิจากสินทรัพย์ทั้งหมดลบด้วยหนี้สินทั้งหมด หากความมั่งคั่งสุทธิเป็นบวก แสดงว่ามีสภาพคล่องที่ดี แต่หากเป็นลบ อาจบ่งบอกถึงปัญหาการขาดสภาพคล่อง การจัดทำงบดุลส่วนบุคคลจะช่วยให้สามารถวิเคราะห์สภาพคล่องได้ดีขึ้น และวางแผนการเงินในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ
สภาพคล่องทางการเงิน เกราะป้องกันความเสี่ยง พร้อมรับมือทุกสถานการณ์
การมีสภาพคล่องทางการเงินที่ดีเป็นกุญแจสำคัญในการรับมือกับสถานการณ์ฉุกเฉินได้อย่างมีประสิทธิภาพ เพราะเป็นตัวชี้วัดความสามารถในการเปลี่ยนสินทรัพย์สภาพคล่องเป็นเงินสดได้อย่างรวดเร็ว โดยสินทรัพย์สภาพคล่อง ได้แก่ เงินสด เงินฝากธนาคาร หุ้น หรือกองทุนรวม ซึ่งช่วยให้สามารถจ่ายหนี้สินและรับมือกับค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิดได้อย่างทันท่วงที
ในการตรวจสอบสภาพคล่องของตัวเอง สามารถทำได้โดยการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย คำนวณอัตราส่วนการออมเงิน และตรวจสอบงบดุลส่วนบุคคล การมีแผนการเงินที่ชัดเจนและเครื่องมือทางการเงินที่เหมาะสม
บัตรกดเงินสด KTC PROUD จะช่วยให้คุณสามารถจัดการกับสถานการณ์ทางการเงินได้อย่างมั่นใจและวางแผนการเงินในระยะยาวได้อย่างมีประสิทธิภาพ ให้ความคล่องตัวทุกการใช้จ่าย ไม่ว่าจะเบิกถอนเงินผ่าน ATM ได้ 24 ชั่วโมง โอนเงินผ่านแอป สะดวกทุกที่ ทุกเวลา หรือจะรูดซื้อ และผ่อนสินค้า 0% ก็สะดวก ทั้งที่ร้านค้า และออนไลน์ที่ร่วมรายการ สมัครง่าย อนุมัติไว เงินเดือน 12,000 บาท ก็สมัครได้
บัตรกดเงินสด KTC PROUD ตัวช่วยยามฉุกเฉินเพื่อการเงินที่มั่นคง