วางแผนบริหารเงินเดือนยังไง ให้รอดช่วงโควิด-19 ระบาด
ช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ผ่านมา เชื่อว่ามีหลายคนได้รับผลกระทบไม่มากก็น้อย โดยเฉพาะปัญหาทางการเงินทั้งจากรายได้ลดลงเนื่องจากมีการปรับลดเงินเดือนหรือต้องหยุดกิจการชั่วคราวตามมาตรการล็อกดาวน์ แม้ภาครัฐออกนโยบายเยียวยาโควิด-19 เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชน ไม่ว่าโครงการคนละครึ่ง โครงการ ม.33 เรารักกัน มาตรการเพิ่มเงินอุดหนุนในบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ หรือเยียวยาประกันสังคมก็ยังไม่เพียงพอต่อรายจ่ายในแต่ละเดือนที่ไม่มีทีท่าลดลง เมื่อเป็นเช่นนี้หลายคนต่างกางบัญชีรายรับรายจ่ายเพื่อหาวิธีการบริหารเงินเดือนเพื่อให้ตัวเองและครอบครัวผ่านวิกฤตครั้งนี้ไปให้ได้ แต่สำหรับใครที่ไม่รู้ว่าควรสูตรแบ่งเงินเดือนอย่างไร ในการบริหารเงินเดือน 15,000 บาท ตามมาดูทริคบริหารเงินยุคโควิด-19 กัน
แนะ 7 เคล็ดลับเอาตัวรอดทางการเงิน ช่วงวิกฤตโควิด-19
(1) วางแผนการใช้จ่ายใหม่
สภาวะที่สภาพเศรษฐกิจไม่มั่นคงหลายคนมีรายได้ต่อเดือนลดลง ฉะนั้นควรวางแผนการใช้จ่ายใหม่ทั้งหมด โดยเริ่มต้นดังนี้
- เช็คสภาพคล่องทางการเงิน : ขอให้เปิดบัญชีเงินฝากทั้งหมดของคุณ เพื่อดูว่ามีเงินเก็บเหลือมากน้อยเพียงใด คาดว่าจะอยู่ได้ถึงกี่วัน กี่เดือน
- สำรวจสินทรัพย์ตัวเอง : นอกจากบัญชีเงินฝากแล้ว ลองดูว่าคุณมีสลากออมสิน พันธบัตรรัฐบาล กองทุนรวม หรือทองแท่ง ทองรูปพรรณหรือไม่ เพราะหากฉุกเฉินจริง ๆ คุณสามารถนำสิ่งเหล่านั้นไปแปลงเป็นเงินสดมาไว้หมุนประทังชีวิตได้
- รวมบัญชีหนี้สินต่าง ๆ : บรรดาหนี้สินที่ต้องชำระในแต่ละเดือนไม่ว่าจะเป็นการผ่อนชำระขั้นต่ำหรือชำระแบบเต็มจำนวน ข้อมูลเหล่านี้ช่วยให้คุณประเมินความพร้อมได้ว่า หากรายได้ลดลงหรือไม่มีรายได้เลยเมื่อชำระหนี้สินตรงส่วนนี้ จะมีเงินพอใช้จ่ายอีกกี่เดือน ก่อนวางแผนหารายได้เสริมเพิ่มเติม
(2) ศึกษาช่องทางช่วยเหลือของภาครัฐ ภาคเอกชน
จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ทางรัฐบาลได้มีมาตรการเยียวยาและดูแลผู้ที่ได้รับผลกระทบทางเศรษฐกิจมากมาย ฉะนั้นควรศึกษาข้อมูลเหล่านี้ให้ละเอียดจะได้วางแผนเพื่อเอาตัวรอดทางการเงินช่วง โควิด-19 อย่างราบรื่น โดยมาตรการช่วยเหลือของภาครัฐ อาทิ
- ลดเงินสมทบประกันสังคมของผู้ประกันตน มาตรา 33 มาตรา 39 มาตรา 40 และของนายจ้าง
- เลื่อนการชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
- ออกสินเชื่อฉุกเฉินเพื่อสภาพคล่องชั่วคราวแก่ประชาชน
- ปรับลดค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ
ขณะเดียวกันภาคเอกชนหลายแห่งโดยเฉพาะสถาบันการเงินได้ออกมาตรการช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 อาทิ
- ขยายวงเงินสินเชื่อให้แก่ SMEs ที่เดิมมีวงเงินสินเชื่อเดิมต่ำ หรือไม่มีวงเงินกับสถาบันการเงิน
- ปรับลดอัตราการผ่อนชำระขั้นต่ำบัตรเครดิตเหลือ 5% ในปี 2564 และ 2565 ฯลฯ
บัตรเครดิต เพื่อนคู่คิดยามเกิดวิกฤตทางการเงิน...กรอกข้อมูลที่นี่
(3) ไม่สร้างหนี้ใหม่
เมื่อไม่อาจรู้ว่าจะควบคุมการแพร่ระบาด COVID-19 ได้เมื่อไหร่ การลดการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือยลงช่วยให้คุณมีเงินเหลือใช้ในกรณีฉุกเฉินมากขึ้น ดังนั้นใครที่มีแพลนซื้อสินค้ามูลค่าสูงขอให้ยั้งใจไว้ก่อน เพราะสภาวะเช่นนี้การใช้จ่ายอย่างระมัดระวัง ถือเป็นการเซฟตัวเองที่ดีที่สุด
(4) เร่งเคลียร์หนี้สินทั้งหมด เพื่อไม่ให้เป็นภาระ
ใครที่มีหนี้สินที่ต้องชำระขอให้เร่งสรุปหนี้ทั้งหมดว่ามีเท่าไหร่ ระยะเวลาที่ผ่อนชำระ จำนวนเงินที่ต้องจ่ายในแต่ละเดือน เพื่อวางแผนบริหารเงินเดือนให้เคลียร์หนี้ได้เร็วขึ้น แม้ไม่สามารถปิดยอดหนี้ได้ทั้งหมด แต่ก็ลดภาระหนี้บางส่วนทำให้มีเงินเหลือเก็บมากขึ้น
(5) หาช่องทางสร้างรายได้เสริม
คุณสามารถเปลี่ยนความรู้หรืองานอดิเรกมาเปลี่ยนเป็นเงินได้ ด้วยการมาเป็นติวเตอร์ออนไลน์สอนเรื่องการลงทุน ทำเว็บไซต์ สอนดนตรี สอนทำอาหาร หรือรับงานฟรีแลนซ์ อย่างเขียนบทความ ทำกราฟิก หรือดูแลเพจ Facebook เป็นต้น
(6) ตุนอาหารให้พอดี สลับกับสั่งเดลิเวอรี่บ้าง
ช่วง Work From Home หลายคนเลือกซื้ออาหารแห้งและอาหารสดผ่านซูเปอร์มาร์เก็ตออนไลน์เพื่อลดความเสี่ยงในการติดต่อสัมผัสกับผู้ติดเชื้อโควิด-19 แต่อย่าลืมว่าการซื้ออาหารเกินจำเป็นอาจทำให้สูญเงินโดยเปล่าประโยชน์ เพราะอาหารแต่ละชนิดมีระยะเวลาในการจัดเก็บไม่เท่ากันจึงมีโอกาสเน่าเสียได้ง่าย ฉะนั้นลองวางแผนก่อนว่า ใน 1 สัปดาห์คุณทำอาหารทานเองกี่วัน มีเมนูอะไรบ้าง เพื่อกำหนดปริมาณผัก เนื้อสัตว์ เครื่องปรุงรสที่ต้องซื้อได้อย่างถูกต้อง แล้วมื้อที่เหลือค่อยสั่งอาหารออนไลน์ผ่าน GrabFood, FoodPanda, LINE MAN หรือ Robinhood บ้าง แถมบางแอปพลิเคชันมีดีลพิเศษที่ช่วยให้คุณประหยัดค่าอาหารอีกด้วย
(7) มองหาโปรโมชั่นหรือส่วนลด
สำหรับขาช้อป ช่วงโควิดนี้ต้องบอกว่าร้านค้าออนไลน์และบริการสั่งอาหารเดลิเวอรี่ได้รับความสนใจเป็นอย่างมาก แต่เพื่อความคุ้มค่าลองเช็คโปรโมชั่นหรือส่วนลดต่าง ๆ ก็ช่วยเซฟเงินได้ไม่น้อยทีเดียว
อย่างไรก็ดี มีการคาดการณ์ว่าวิกฤตครั้งนี้น่าจะอยู่กับเราไปอีกสักพักใหญ่ ๆ ดังนั้นขอให้ทุกคนลองนำทริคทั้ง 7 ข้อข้างต้นลองไปปรับใช้ เพื่อให้ได้สูตรในการใช้เงินเดือนที่เหมาะสมกับตัวเอง ควบคู่กับการใช้จ่ายอย่างมีสติ ตัดค่าใช้จ่ายที่ไม่จำเป็นออกไป รวมถึงหารายได้เสริม เพียงเท่านี้ก็ช่วยให้คุณยืนหยัดต่อสู้กับวิกฤตครั้งนี้ไปได้ แต่ถ้ามีเหตุจำเป็นต้องใช้เงินด่วนเพราะเจ็บป่วยเข้าโรงพยาบาลหรือหาเงินทุนหมุนเวียนเพื่อเพิ่มสภาพคล่องธุรกิจ อาจเลือกใช้บัตรกดเงินสดที่ดอกเบี้ยต่ำ ไม่มีค่าธรรมเนียมก่อน แล้วรีบชำระเงินคืนตามระยะเวลาที่กำหนด เพื่อป้องกันปัญหาหนี้สะสม
รูดชำระค่าสินค้า ค่าบริการด้วยบัตรเครดิต ลดการใช้เงินก้อน...คลิกที่นี่
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
สมัครบัตรกดเงินสด ติดไว้อุ่นใจยามเกิดเหตุฉุกเฉิน
เบิกถอนเงินสด แบ่งผ่อนชำระได้ทุกที่ทุกเวลา