7 รูปแบบมิจฉาชีพออนไลน์ ภัยร้ายที่ควรระวัง
มิจฉาชีพออนไลน์คือภัยร้ายแรงของสังคมที่ต้องระวังในปัจจุบัน เรามักจะเห็นข่าวมิจฉาชีพหลอกโอนเงินบ่อย ๆ อาจมีหลายคนที่กลายเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ อาจเป็นคนใกล้ตัว หรือแม้แต่ตัวคุณเองก็มีสิทธิ์โดนหลอกหากไม่ระวังตัวให้ดี
กลโกงของมิจฉาชีพออนไลน์ในสมัยนี้มีหลากหลายรูปแบบที่ต้องระวัง ก่อนหน้านี้เราอาจเห็นข่าวมิจฉาชีพออนไลน์หลอกโอนเงินในกลุ่มของผู้สูงอายุ แต่ปัจจุบันคนหนุ่มสาวก็โดนมิจฉาชีพออนไลน์หลอกเช่นกัน ดังนั้น เราควรรู้เท่าทันว่ามิจฉาชีพออนไลน์มีอะไรบ้าง และก่อนจะทำธุรกรรมทางการเงินใด ๆ ควรมีสติทุกครั้งและเช็กก่อนโอนเงินให้ละเอียด เพื่อไม่ให้เสียสุขภาพจิตที่หลัง
เลือกอ่านตามหัวข้อ
7 กลโกงยอดฮิตของมิจฉาชีพออนไลน์
1. แอบอ้างเป็นสมาชิกในครอบครัว เพื่อน หรือคนรู้จัก
หนึ่งในกลโกงยอดฮิตอันดับต้น ๆ ที่หลายคนอาจจะเคยเจอคือ การแอบอ้างเป็นสมาชิกในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นเพื่อนเก่าหรือคนที่เรารู้จัก โดยวิธีที่มิจฉาชีพออนไลน์ทำคือ โทรหาเหยื่อแล้วแกล้งบอกว่า ‘จำได้ไหม นี่เราเองนะ’ การที่มิจฉาชีพออนไลน์พูดแบบนี้คือต้องการให้เหยื่อพูดชื่อของคนรู้จักขึ้นมาเอง แล้วก็จะแอบอ้างเป็นคนนั้น ทำเป็นพูดคุยสนิทชิดเชื้อเหมือนรู้จักกันมานาน หลังจากนั้นก็จะมาในรูปแบบขอความช่วยเหลือ สุดท้ายเหยื่อก็จะถูกหลอกให้โอนเงิน
นอกจากนี้ มิจฉาชีพออนไลน์อาจเอารายชื่อรวมถึงใช้รูปคนที่เรารู้จักปลอมทักมาในช่องทางออนไลน์ เช่น Line, Facebook หรือ Instagram ทำให้เราหลงเชื่อว่าเป็นคนที่เรารู้จัก แต่แท้จริงเป็นบัญชีโจร แล้วทำการหลอกให้โอนเงินไปหานั่นเอง
2. ส่ง SMS มาแอบอ้างเป็นองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ
การใช้วิธีส่ง SMS มาแอบอ้างเป็นองค์กรหรือหน่วยงานต่าง ๆ ก็เป็นวิธีที่หลายคนเจอ โดยมิจฉาชีพออนไลน์จะส่ง SMS มาเป็นลิงก์เว็บโกงเพื่อหลอกล่อให้เหยื่อกดเข้าไปในลิงก์ดังกล่าว หลังจากนั้นก็แฮ็กข้อมูลของเหยื่อทั้งหมด รวมถึงแฮ็กข้อมูลในการทำธุรกรรมด้วย SMS ที่มักเจอจะเป็นเกี่ยวกับการได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ เช่น ได้รับของสมนาคุณจากการซื้อของ โดยหลอกให้คุณลงทะเบียนข้อมูลส่วนตัว รวมไปถึงให้เลขบัญชีธนาคารด้วย
3. สร้างเว็บไซต์ปลอมเพื่อหลอกเอาข้อมูล
สำหรับกลโกงหลอกลวงออนไลน์ด้วยการสร้างเว็บปลอมจะคล้ายกับการส่ง SMS แต่ดูน่าเชื่อถือกว่า ส่วนมากที่เหยื่อหลายคนโดนหลอกจะเกี่ยวกับธนาคาร มิจฉาชีพออนไลน์จะส่งลิงก์เว็บไซต์ของธนาคารปลอมมาให้เรา แล้วแจ้งว่าธนาคารของเรามีปัญหา หลังจากนั้น มิจฉาชีพจะหลอกขอเลขบัญชี รวมถึงรหัสผ่านธนาคารด้วย ซึ่งกว่าเหยื่อจะรู้ตัวว่าถูกหลอกก็สูญเงินไปเสียแล้ว หรืออีกอย่างหนึ่งคือหลอกให้สมัครบัตรเครดิตต่าง ๆ หรือบัตรกดเงินสดผ่านช่องทางออนไลน์ โดยอ้างถึงความสะดวกรวดเร็วพร้อมใช้งานได้ทันทีให้เหยื่อหลงกล
4. หลอกให้ลงทุนออนไลน์ แต่ที่จริงแล้วเป็นเว็บไซต์พนัน
การหลอกให้ลงทุนออนไลน์เป็นวิธีที่พบผู้เสียหายเยอะมากเช่นกัน วิธีนี้มิจฉาชีพออนไลน์จะใช้ความโลภของเหยื่อมาบังตา สำหรับคนที่หมุนเงินไม่ทันมักจะหลงเชื่อในกลโกงนี้ ซึ่งมิจฉาชีพออนไลน์จะหลอกให้เหยื่อลงทุนหรือหลอกทำภารกิจให้โอนเงิน โดยอ้างว่าจะได้รับผลตอบแทนสูง ได้เงินเป็น passive income ยิ่งลงทุนเท่าไหร่ก็จะได้มากขึ้นเท่านั้น
ยกตัวอย่างเช่น หากลงทุน 200 บาท จะได้กลับคืนมา 500 บาท เหยื่อหลายคนจึงมักถูกหลอกให้โอนเงินไปยังบัญชีม้า ซึ่งเป็นบัญชีคนโกง แล้วเมื่อเหยื่อเริ่มเข้าสู่กลโกงนี้ก็จะโอนเงินไปหลาย ๆ ครั้ง เนื่องจากโอนครั้งแรกจะได้รับเงินกลับมาก่อน แต่เมื่อเริ่มติดกับดักของมิจฉาชีพออนไลน์ เงินที่โอนไปจำนวนเยอะ ๆ ก็กลายเป็นศูนย์ ไม่สามารถถอนออกมาได้ หากเกิดกรณีนี้ สิ่งที่เหยื่อควรทำเป็นอันดับแรกคือแจ้งอายัดบัญชีออนไลน์
5. ให้สินค้าและวางดาวน์ในราคาที่ถูกเกินความเป็นจริง
หลายคนน่าจะเคยเห็นข่าวกลโกงของมิจฉาชีพออนไลน์ที่เพิ่งเกิดไม่นานนี้ เกี่ยวกับการซื้อขายสินค้าที่ให้เหยื่อสามารถซื้อสินค้าโดยผ่อนเป็นเดือน เมื่อผ่อนจนครบแล้วถึงจะได้สินค้า แต่สุดท้ายสินค้าที่ส่งมากลับเป็นของปลอมแทน ส่วนมากสินค้าที่ถูกใช้ในกลโกงนี้มักเป็นสินค้าจำพวกไอที หรือสินค้าที่ต้องใช้เร่งด่วน และเป็นสินค้ามีราคาสูง เมื่อเหยื่อเห็นว่ามิจฉาชีพให้ราคาสินค้าที่ถูกกว่าท้องตลาด มักจะตกเป็นเหยื่อและโอนเงินให้ทันที
หลายคนที่ประสบปัญหานี้อาจมีคำถามว่าหากโอนเงินแล้วไม่ส่งของ คุณสามารถแจ้งความออนไลน์ เรื่องโดนหลอกโอนเงินได้ทันที แต่ทางที่ดีสำหรับการป้องกันกลโกงนี้ ควรใช้บัตรผ่อนสินค้าและทำการซื้อขายกับตัวแทนจำหน่ายที่สามารถตรวจสอบได้จริง
6. ปล่อยเงินกู้ทิพย์ หลอกกินดอกเบี้ยจากคนร้อนเงิน
สำหรับคนที่ร้อนเงิน ต้องการใช้เงินด่วน มักถูกมิจฉาชีพออนไลน์หลอกผ่านแอปกู้เงิน ซึ่งเหยื่อจะไม่ได้รับเงินจริงจากมิจฉาชีพ อีกทั้งยังโดนหลอกเอาข้อมูลทางธุรกรรม เลขบัญชีธนาคาร หลอกเอาเงินค้ำประกันจากเหยื่อ บางรายอาจถูกให้โอนเงินเพิ่มให้กับมิจฉาชีพก่อนเพื่อได้รับเงินกู้อีกด้วย
กลอุบายของมิจฉาชีพออนไลน์คือ ใช้โฆษณาชวนเชื่อ กู้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องมีหลักประกัน หรือใช้วิธีกินดอกเบี้ยจากเหยื่อ โดยเรียกดอกเบี้ยโหดเกินจริง นอกจากนี้ยังหลอกเอาข้อมูลเบอร์ติดต่อคนใกล้ตัวของเหยื่อเพื่อโทรไปข่มขู่ระรานให้เกิดความระหวาดระแวงอีกด้วย ใครที่ต้องการใช้เงินด่วนขอแนะนำว่าให้ขอสินเชื่อถูกกฎหมายกับ KTC เพราะปลอดภัยและได้เงินจริง ไม่เสี่ยงโดนหลอกทางธุรกรรมการเงิน
7. แอพหาคู่รัก หลอกส่งเงินให้
อีกหนึ่งกลโกงของมิจฉาชีพออนไลน์ที่ชาวเล่นแอปหาคู่ต้องระวังคือ การแชทกับชาวต่างชาติ หลายคนมักโดนฝรั่งหลอกว่าจะส่งของมา ให้หรือส่งเงินใส่กล่องมาจากต่างประเทศ แต่ของติดอยู่ที่ศุลกากรและมีค่าใช้จ่ายที่ต้องให้เหยื่อออกเงินให้ก่อน แล้วเดี๋ยวจะโอนเงินมาคืน โดยมิจฉาชีพออนไลน์จะทำเป็นขบวนการ มีคนปลอมเป็นเจ้าหน้าที่ศุลกากร เจ้าหน้าที่ตำรวจ เพื่อมาหลอกให้เหยื่อโอนเงิน หลังจากเหยื่อโอนเงินเรียบร้อย เหล่ามิจฉาชีพออนไลน์ก็จะทำการบล็อกแล้วขาดการติดต่อทันที
วิธีป้องกันตนเองไม่ให้ตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์
ในปัจจุบัน มิจฉาชีพออนไลน์มีกลโกงหลายรูปแบบ เราจึงต้องรู้เท่าทันวิธีป้องกันภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์ โดยหัวข้อนี้ KTC จะมาแนะนำวิธีป้องกันการถูกหลอกให้โอนเงิน ดังนี้
- คอยติดตามข่าวสารเรื่องมิจฉาชีพออนไลน์อยู่เสมอ เนื่องจากในทุกวันนี้ หลายคนเจอถูกหลอกให้โอนเงินอยู่มาก ไม่ว่าจะเป็นคนใกล้ตัวหรือคนในสังคมที่เรามักจะเห็นข่าวตามออนไลน์ โดยมิจฉาชีพออนไลน์ก็มาในรูปแบบใหม่ ๆ เช่น การปลอมเสียงโดยใช้ AI มาหลอกให้โอนเงิน หรือหลอกว่ามีพัสดุตกค้างเกี่ยวข้องกับคดีค้ายาเสพติดนั่นเอง
- ก่อนทำธุรกรรมการเงิน หรือซื้อของออนไลน์ ควรเช็กบัญชีมิจฉาชีพเสียก่อน โดยสามารถตรวจสอบบัญชีโกงได้จากเว็บไซต์คนโกงเงิน หรือแค่พิมพ์ชื่อพร้อมเลขบัญชีของมิจฉาชีพลงใน Google ก็จะเจอผู้เสียหายที่เจอแบบเดียวกันออกมาเตือน
- ไม่คลิกลิงก์ที่ไม่น่าเชื่อถือ หรือเว็บไซต์ที่มีโดเมนเนมแปลก ๆ และไม่ควรกรอกข้อมูลส่วนตัวเด็ดขาด โดยเฉพาะข้อมูลทางธุรกรรมการเงิน
- ไม่โหลดแอปที่ไม่น่าเชื่อถือลงโทรศัพท์ เนื่องจากอาจเป็นไวรัสและสามารถเป็นช่องทางให้มิจฉาชีพออนไลน์แฮ็กข้อมูลทางโทรศัพท์ได้
- ควรมีสติทุกครั้งที่ทำเกี่ยวกับธุรกรรมทางการเงิน ยิ่งเงินไม่พอใช้ ยิ่งควรใจเย็น ไม่รีบร้อน เพราะมิจฉาชีพออนไลน์ชอบใช้ความกดดันมาเป็นตัวเร่งให้เหยื่อตกใจ และรีบโอนเงินให้โดยไม่ทันได้ระวังหรือปรึกษากับคนรอบตัว
ไม่เป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หากมีเงินพอใช้ เริมต้นง่าย ๆ ด้วยการออม
ตกเป็นเหยื่อมิจฉาชีพออนไลน์แล้ว ทำอย่างไรได้บ้าง?
ไม่มีใครอยากโดนมิจฉาชีพออนไลน์หลอกให้โอนเงิน แต่หากเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นกับคนใกล้ตัวหรือตัวเราเอง ก็ควรจัดการปัญหาโดยเร็วที่สุด ทาง KTC ขอแนะนำวิธีการปฏิบัติตนเมื่อตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพออนไลน์ ดังนี้
- หากรู้ตัวแล้วว่าถูกมิจฉาชีพออนไลน์หลอก ควรตั้งสติให้ดี และตัดการติดต่อกับมิจฉาชีพทันที เพื่อป้องกันการโดนหลอกซ้ำซ้อน
- ติดต่อกับธนาคารที่เราใช้โอนเงินไปให้มิจฉาชีพเพื่อแจ้งอายัดบัญชีออนไลน์ ทางเจ้าหน้าที่ธนาคารจะทำการอายัดบัญชีของมิจฉาชีพชั่วคราวทันที และแจ้งเลข Bank Case ID หลังจากนั้นให้แจ้งความมิจฉาชีพออนไลน์ ที่เว็บไซต์ศูนย์ปราบปรามอาชญากรรมทางเทคโนโลยี ที่ลิงก์ www.thaipoliceonline.go.th เมื่อแจ้งความออนไลน์ โดนหลอกโอนเงินเรียบร้อย ทางเจ้าหน้าที่ตำรวจจะนัดเพื่อทำการสอบสวนอีกครั้ง
- ควรดำเนินคดีภายใน 72 ชั่วโมงหลังจากเกิดเหตุ เพื่อทางธนาคารและตำรวจจะได้จัดการดำเนินคดีกับมิจฉาชีพออนไลน์
สรุปมิจฉาชีพออนไลน์ ป้องกันได้ หากระมัดระวัง
มิจฉาชีพออนไลน์เป็นภัยร้ายของสังคมที่สร้างความเดือดร้อนอย่างมาก ทั้งกับตนเองและคนรอบข้าง ดังนั้น เราต้องรู้จักวิธีป้องกันภัยจากมิจฉาชีพออนไลน์ให้ดี คอยอัพเดตข่าวสารให้ทันเหตุการณ์อยู่เสมอ หากระวัง 7 รูปแบบของมิจฉาชีพออนไลน์ที่ทาง KTC รวบรวมมา ก็สามารถห่างไกลและจัดการปัญหาเมื่อประสบเหตุมิจฉาชีพออนไลน์ในระดับหนึ่งแล้ว
สำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องเงิน หรือต้องการใช้เงินด่วน วันนี้เราขอนำเสนอผลิตภัณฑ์ บัตรกดเงินสด KTC PROUD แทนการกู้เงินนอกระบบ นอกจากบัตรกดเงินสด KTC PROUD จะเป็นสินเชื่อส่วนบุคคล ที่ถูกกฏหมายเเล้ว ยังมีความคล่องตัวในการใช้งานอีกด้วย ไม่ว่าจะเป็นโอนเงินผ่านแอป KTC Mobile ได้ทันที ตลอด 24 ชม. ผ่อนซื้อสินค้าได้นานสูงสุด 24 เดือน 0% วงเงินไม่พอ ขอเพิ่มได้ โดยที่ไม่มีค่าธรรมเนียมเเรกเข้าเเละรายปีตลอดชีพ ทั้งนี้ ผู้สมัครก็ควรศึกษารายละเอียดการสมัครให้ดี หรือหากมีข้อสงสัยก็สามารถติดต่อสอบถามกับทางบริษัท KTC ได้โดยตรง เบอร์โทรศัพท์ 02 123 5000
สมัครทันที เพื่อรับสิทธิประโยชน์มากมาย
*กู้เท่าที่จําเป็นและชําระคืนได้ตามกําหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 20% - 25% ต่อปี