6 วิธีวางแผนเกษียณฉบับคนรุ่นใหม่ มนุษย์เงินเดือนวางแผนเกษียณอย่างไรให้มั่นคง
มนุษย์เงินเดือนหลายคนกำลังเฝ้ารอให้ถึงวันเกษียณอายุ แต่จะมีสักกี่คนที่วางแผนการเงินไว้พร้อมใช้ชีวิตหลังวัยเกษียณ เพราะหลังจากที่เราเกษียณแล้วรายได้ประจำจากการทำงานรวมไปถึงสวัสดิการต่าง ๆ ที่เคยได้รับก็จะหายไป อีกทั้งความเสี่ยงและเหตุการณ์ฉุกเฉินอีกมากมายก็อาจเกิดขึ้นได้แบบไม่คาดคิด การเตรียมตัวและวางแผนเกษียณจึงเป็นสิ่งสำคัญสำหรับคนที่ต้องการใช้ชีวิตหลังเกษียณอย่างมีความสุข และไม่เป็นภาระลูกหลานในช่วงบั้นปลายชีวิต
เลือกอ่านตามหัวข้อ
การวางแผนเกษียณ คืออะไร
การวางแผนเกษียณ (Retirement Planning) หมายถึงการวางแผนเก็บเงินให้พร้อมสำหรับการใช้ชีวิตในช่วงหลังเกษียณ โดยการเตรียมตัวเกษียณนั้นควรลงมือทำตั้งแต่ยังอยู่ในวัยทำงาน เพราะเป็นช่วงวัยที่ยังมีรายได้มั่นคงและยังมีเวลาในการเก็บออม ทั้งนี้การวางแผนเกษียณควรจะต้องทำอย่างรอบคอบให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายจำเป็นในแต่ละเดือน เตรียมค่าใช้จ่ายฉุกเฉิน และต้องคำถึงอัตราเงินเฟ้อที่เพิ่มมากขึ้นในทุก ๆ ปี การวางแผนเกษียณที่รอบคอบและรัดกุมจะช่วยให้เรามีชีวิตหลังเกษียณที่ไม่เป็นภาระของลูกหลาน พร้อมใช้ชีวิตในช่วงบั้นปลายชีวิตด้วยสุขภาพกายและสุขภาพจิตที่แข็งแรง
ทำไมต้องวางแผนเกษียณอายุ
หลายคนมองว่าการวางแผนเกษียณนั้นยังไม่จำเป็นสำหรับตนเองเนื่องจากมีสวัสดิการอย่างเงินบำนาญ หรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพอยู่แล้ว แต่ในอนาคตอัตราเงินเฟ้อย่อมเพิ่มขึ้นทุกปีดังนั้นเงินจากสวัสดิการดังกล่าวจึงไม่เพียงพอสำหรับค่าใช้จ่ายหลังเกษียณหรือค่าใช้จ่ายในยามฉุกเฉินอย่างแน่นอน นอกจากอัตราเงินเฟ้อแล้วก็ยังมีสาเหตุที่เราต้องวางแผนเกษียณอายุดังนี้
- ช่วยให้เราเกษียณได้ไวขึ้น เพราะการวางแผนเกษียณที่ดีก็จะช่วยให้เราสามารถเกษียณเร็วหรือ Early Retire ได้ ทั้งนี้การเกษียณเร็วก็จะต้องมาพร้อมกับแผนเกษียณที่รอบคอบ เพราะการเกษียณเร็วกว่ากำหนดนั้นหมายถึงมีเวลาในการเก็บออมน้อยลง อีกทั้งยังมีค่าใช้จ่ายตามมาไวขึ้นกว่าการเกษียณแบบทั่ว ๆ ไป
- รองรับความเสี่ยงในวัยหลังเกษียณ การวางแผนเกษียณจะช่วยรองรับความเสี่ยงต่าง ๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นเมื่อถึงวัยเกษียณ ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากอุบัติเหตุ การเจ็บป่วยหรือโรคร้ายแรงต่าง ๆ ที่ตามมาด้วยค่าห้องโรงพยาบาลราคาสูง โดยการวางแผนทางการเงินที่ดีจะช่วยให้เรามีเงินก้อนรองรับความเสี่ยงหรือสามารถกระจายความเสี่ยงด้วยความคุ้มครองรวมไปถึงประกันในรูปแบบต่าง ๆ ทำให้การใช้ชีวิตในวัยเกษียณไม่สะดุดและยังคงมีเงินก้อนเพียงพอในการท่องเที่ยว ทำธุรกิจ รวมไปถึงทำตามความฝัน
- เพื่อไม่ให้เป็นภาระตนเองและลูกหลาน ช่วงชีวิตหลังเกษียณเป็นช่วงชีวิตที่เราไม่สามารถคาดเดาได้เลยว่าหากเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินขึ้นเราจะยังดูแลตัวเองได้หรือไม่และจะมีลูกหลานที่สามารถมาดูแลเราได้หรือไม่ ดังนั้นเพื่อตั้งรับกับช่วงชีวิตที่คาดเดาไม่ได้ การวางแผนเกษียณจึงเป็นอีกทางออกหากเกิดเหตุการณ์ที่คาดไม่ถึง เงินก้อนที่เราเก็บออมไว้สำหรับค่าใช้จ่ายในยามฉุกเฉินก็จะเป็นตัวช่วยในการนำมาเป็นค่าใช้จ่ายในการดูแลตนเอง โดยไม่ต้องออกไปทำงานในวันที่ร่างกายทรุดโทรมอีกทั้งยังไม่ต้องพึ่งพาลูกหลานอีกด้วย
แนะนำ 6 แนวทางวางแผนเกษียณอย่างมีประสิทธิภาพ
1. คำนวณรายรับต่อเดือนของทุกแหล่งที่มาของเงิน
สำหรับแนวทางแรกในการวางแผนเกษียณนั้นก็คือการสำรวจแหล่งที่มาของรายได้ก่อนเกษียณรวมไปถึงรายจ่ายที่มีในแต่ละเดือน โดยอาจจะใช้แอปรายรับรายจ่ายเป็นตัวช่วยเพื่อวิเคราะห์ว่าในแต่ละเดือนนั้นเรามีค่าใช้จ่ายประจำอยู่ที่เท่าไหร่ หลังจากได้รายจ่ายประจำแต่ละเดือนแล้วเราจะต้องเริ่มคำนวณว่าในช่วงหลังเกษียณนั้นเราจะต้องมีเงินสำรองเพื่อใช้จ่ายในแต่ละเดือนเท่าไหร่ โดยจากสถิติแล้วค่าใช้จ่ายประจำช่วงหลังเกษียณจะลดลงจากรายจ่ายประจำก่อนเกษียณ 70%-80% แต่เมื่อเวลาผ่านไปอัตราเงินเฟ้อก็จะปรับเพิ่มขึ้น 2 ถึง 3% ต่อปี
2. ตั้งเป้าเก็บเงินก้อนเพื่อวัยเกษียณ
หลังจากที่ประมาณรายจ่ายประจำในช่วงเกษียณได้แล้วเราจำเป็นต้องวางแผนเกษียณเพื่อตั้งเป้าหมายในการเก็บเงินก้อนให้เพียงพอกับการใช้จ่ายจำเป็นในช่วงหลังเกษียณ โดยควรเริ่มจากการนำรายจ่ายประจำต่อปีช่วงหลังเกษียณมาคูณกับระยะเวลาที่เราคาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังจากเกษียณ ซึ่งโดยเฉลี่ยแล้วคนไทยจะมีชีวิตอยู่หลังจากเกษียณ 17 ปี โดยประมาณ
ดังนั้นหากเราคำนวณแล้วว่าหลังเกษียณแล้วจะมีรายจ่ายประจำประมาณ 273,000 - 312,000 บาทต่อปี และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่ประมาณ 17 ปี หลังเกษียณ เราก็จะต้องมีเงินก้อนประมาณ 4,641,000 - 5,304,000 ซึ่งถือว่าเป็นเงินจำนวนไม่น้อยเลย ดังนั้นเมื่อประมาณค่าใช้จ่ายหลังเกษียณได้แล้วก็ควรจะรีบวางแผนการออมให้เหมาะสมเพื่อเก็บเงินก้อนให้เพียงพอกับการใช้จ่ายช่วงหลังเกษียณ
3. ศึกษาความเสี่ยงที่อาจส่งผลต่อรายรับรายจ่าย
จริงอยู่ที่เงินก้อนและการออมเงินนั้นเป็นปัจจัยหลักที่จะช่วยให้การใช้ชีวิตหลังเกษียณเป็นไปได้อย่างราบรื่น แต่การศึกษาความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลต่อรายรับรายจ่ายในช่วงเกษียณก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่จะช่วยให้เราวางแผนเกษียณได้อย่างรอบคอบมากขึ้น โดยความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลต่อรายรับรายจ่ายในช่วงเกษียณนั้นมีหลากหลายประการ อาทิ
- ความเสี่ยงด้านสุขภาพ หมายถึงโอกาสที่อาจจะเจ็บป่วยหรือเกิดอุบัติเหตุ โดยการป้องกันความเสี่ยงด้านสุขภาพนั้นทำได้โดยการดูแลสุขภาพ ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอและเตรียมพร้อมรับความเสี่ยงด้วยเงินสำรองหรือการทำประกันสุขภาพไว้เพื่อเป็นการกระจายความเสี่ยงในกรณีเกิดเหตุฉุกเฉิน
- อัตราเงินเฟ้อ หมายถึงภาวะเศรษฐกิจที่ระดับราคาสินค้าและบริการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้การซื้อของในปริมาณเท่าเดิมต้องใช้เงินมากขึ้น โดยอัตราเงินเฟ้อสูงสุดของไทยในปี พ.ศ. 2564 จะอยู่ที่ 2.17% ดังนั้นใครที่ต้องการเก็บเงินเกษียณก็จะต้องคำนึงถึงความเสี่ยงจากอัตราเงินเฟ้อด้วย
- ความเสี่ยงด้านสภาพคล่องทางการเงิน หมายถึงความสามารถในการแปลงทรัพย์สินมาเป็นเงินสดสำหรับค่าใช้จ่ายประจำหรือรายจ่ายฉุกเฉิน การออมในรูปแบบของเงินสด เงินฝากหรือตราสารหนี้ระยะสั้น จะสามารถแปลงทรัพย์สินเหล่านี้มาเป็นเงินสดเพื่อใช้จ่ายได้ง่าย ดังนั้นการวางแผนเกษียณจึงควรเลือกวิธีเก็บเงินที่มีสภาพคล่องเหมาะสมไม่มากเกินไปจนแปลงกลับมาเป็นเงินสดได้ยากและไม่น้อยเกินไปจนได้ผลตอบแทนต่ำ
4. หลีกเลี่ยงการสร้างหนี้ก้อนใหญ่
การมีหนี้ก้อนใหญ่ในช่วงหลังเกษียณนั้นแตกต่างกับการมีหนี้ในช่วงก่อนเกษียณเนื่องจากในช่วงหลังเกษียณหลาย ๆ คนไม่มีรายได้ประจำอีกทั้งยังมีความเสี่ยงหลาย ๆ ด้านที่ทำให้ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด ดังนั้นใครที่วางแผนเกษียณไว้แล้วก็ควรจะต้องบริหารจัดการหนี้ให้หมดก่อนวัยเกษียณไม่ว่าจะเป็นการรีไฟแนนซ์ หรือการรวมหนี้เป็นก้อนเดียวก็สามารถช่วยลดภาระหนี้ให้หมดก่อนถึงวัยเกษียณได้
5. ค่อยเป็นค่อยไปในการเก็บเงิน (แต่สม่ำเสมอ)
หลังจากวางแผนและรู้จำนวนค่าใช้จ่ายประจำที่ต้องใช้ในช่วงหลังเกษียณแล้วสิ่งที่ต้องทำเป็นขั้นตอนต่อมาก็คือการเริ่มต้นเก็บเงิน โดยอาจจะเริ่มจากการออมเงินฝาก หรือออมเงินด้วยกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ รูปแบบการออมเงินที่เหมาะสำหรับการวางแผนเกษียณฉบับมนุษย์เงินเดือน ทั้งนี้การออมเพื่อชีวิตในวัยเกษียณจำนวนเงินออมต่อเดือนนั้นไม่จำเป็นต้องมากมาย แต่ควรจะเก็บออมอย่างสม่ำเสมอ เพราะนอกจากจะทำให้เก็บออมได้โดยไม่ส่งผลกระทบกับค่าใช้จ่ายจำเป็นแล้วก็ยังเป็นการวินัยทางการเงินในระยะยาวได้อีกด้วย
สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับกองทุนสำรองเลี่ยงชีพได้ที่ : กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | สิทธิประโยชน์ของมนุษย์เงินเดือนที่ต้องรู้!
6. ศึกษากองทุนรวม และสินเชื่อถูกกฎหมาย
นอกจากการเก็บออมในรูปแบบเงินฝากแล้ว การลงทุนเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยให้เรามีเงินก้อนเพียงพอสำหรับการเก็บเงินเกษียณ ซึ่งกองทุนรวมเป็นอีกวิธีการลงทุนที่เป็นที่นิยมในปัจจุบัน เพราะสามารถลงทุนได้ง่ายเพียงแค่มีแอปพลิเคชันของธนาคาร ทั้งนี้การลงทุนในกองทุนรวมก็ยังคงมีความเสี่ยงดังนั้นก่อนการลงทุนทุกครั้งผู้ลงทุนควรศึกษาว่ากองทุนนั้นนำเงินไปลงทุนด้านใดบ้างและมีความเสี่ยงอยู่ในระดับใดเพื่อเลือกกองทุนให้เหมาะสมกับความต้องการในการลงทุนของเรา
>> ยังไม่รู้ว่าควรลงทุนอะไรดี อ่านเพิ่มเติมได้ที่ “มือใหม่ควรลงทุนอะไรดี?”
สูตรคำนวณเงินสำหรับวางแผนเกษียณ
หลังจากที่ทราบ 6 แนวทางการวางแผนเกษียณไปแล้ว ในบทความนี้เรามีสูตรคำนวณเพื่อเป็นแนวทางในการตั้งเป้าหมายออมเงินสำหรับวัยเกษียณมาฝากทุกคนกัน จะมีสูตรคำนวณเงินสำหรับวางแผนเกษียณแบบไหนบ้างไปดูกันเลย
เงินออม
การนำเงินออมมาใช้จ่ายหลังเกษียณ เป็นการนำเงินที่ออมไว้ในช่วงก่อนเกษียณออกมาใช้งานทั้งหมด สำหรับใครที่ต้องการใช้เงินออมเป็นค่าใช้จ่ายหลังเกษียณก็สามารถคำนวณหาจำนวนเงินที่ควรมีเมื่อเกษียณได้ด้วยการนำค่าใช้จ่ายประจำต่อเดือนหลังเกษียณ x 12 เดือน x จำนวนปีที่คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ
เช่น หากเราประเมินแล้วว่าจะมีค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเดือนละ 26,000 และคาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ 20 ปี ณ วันที่เกษียณเราต้องมีเงิน 26,000x12x20 หรือเท่ากับ 6,240,000 บาท
เงินลงทุน
การนำเงินทุนมาใช้เป็นเงินเกษียณ คือการวางแผนเกษียณที่คนส่วนใหญ่นิยมทำด้วยเช่นกัน โดยสามารถคำนวณหาจำนวนเงินที่ควรมีเมื่อเกษียณได้ด้วยการนำค่าใช้จ่ายประจำต่อเดือนหลังเกษียณ x 12 เดือน/อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนในช่วงเกษียณ ดังนั้นหากเราประเมินแล้วว่าจะมีค่าใช้จ่ายหลังเกษียณเดือนละ 26,000 คาดว่าจะมีชีวิตอยู่หลังเกษียณ 20 ปี และมีอัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของการลงทุนในช่วงเกษียณอยู่ที่ 6% ต่อปี ณ วันที่เกษียณเราต้องมีเงิน 26,000x12/6% หรือเท่ากับ 5,200,000 ซึ่งน้อยกว่าการใช้เงินออมอย่างเดียวถึง 1,040,000 บาท
>> นำเงินไปลงทุนให้ถูกที่ อ่านเพิ่มเติมได้ที่ “Passive Income”
เกษียณอายุอย่างมั่นคง ด้วยการวางแผนการเงินที่มีประสิทธิภาพ
การวางแผนการเงินหลังเกษียณอย่างรอบคอบและมีประสิทธิภาพเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดของการวางแผนเกษียณ เพราะการวางแผนการเงินที่ดีจะช่วยให้เรามีเงินก้อนสำหรับค่าใช้จ่ายจำเป็นช่วงหลังเกษียณ อีกทั้งยังครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายในยามฉุกเฉินทำให้เราสามารถใช้ชีวิตในช่วงเกษียณได้อย่างมีความสุขไม่ต้องออกไปทำงานในวันที่สุขภาพร่างกายทรุดโทรมอีกทั้งยังไม่ต้องเป็นภาระลูกหลานอีกด้วย
หนึ่งแนวทางในการเกษียณอายุอย่างมั่นคงนั้นก็คือการบริหารจัดการหนี้ให้หมดก่อนเข้าวัยเกษียณ ใครที่ยังมีหนี้อยู่หลายก้อนก็สามารถบริหารจัดการหนี้ให้หมดไวขึ้นได้โดยการรวมหนี้ให้เป็นก้อนเดียวด้วยสินเชื่อบัตรกดเงินสด KTC PROUD ผลิตภัณฑ์ทางการเงิน สำหรับใช้จ่ายยามฉุกเฉิน กดเงินสดจากตู้ ATM ได้ทั่วประเทศไทย ใช้ผ่อนสินค้าที่ร่วมรายการได้นานสูงสุดถึง 24 เดือน หนึ่งในตัวช่วยบริหารการเงินเพื่อทำให้การวางแผนเกษียณของคุณง่ายยิ่งขึ้น
วางแผนเกษียณอายุอย่างมั่นคงด้วยบัตรกดเงินสด KTC PROUD
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี