10 เทคนิคพรีเซนต์งานแบบมืออาชีพให้น่าสนใจได้ตั้งแต่เริ่มต้น
เชื่อว่าใครที่เคยเข้าประชุมหรือเข้าฟังการพรีเซนต์งาน ต้องเคยประสบกับสภาวะของอารมณ์เบื่อหน่าย หรืออยากงีบหลับพักสายตากันมาบ้าง นั่นเป็นเพราะว่าการนำเสนอหรือการเลือกวิธีพรีเซนต์งานนั้นธรรมดาและเรียบง่ายจนเกินไป แต่บางครั้งที่หัวพรีเซนต์ดูเหมือนจะน่าเบื่อ แต่กลับฟังได้อย่างสนุกแถมยังตั้งใจฟังได้ตั้งแต่ต้นจนจบด้วย ซึ่งก็เป็นเพราะผู้พรีเซนต์งานมีการนำเสนอที่ดี และมีเทคนิคการพรีเซนต์นั่นเอง สำหรับใครที่ต้องเตรียมตัวพรีเซนต์งาน วันนี้เรามี 10 เทคนิคพรีเซนต์งานแบบมือโปรที่ไม่ต้องไปขอพรเรื่องงานก็ปังได้มาบอกกัน
เลือกอ่านตามหัวข้อ
- 1. ใช้โทนเสียงที่เหมาะสมในการนำเสนอและสื่อสาร
- 2. เน้นการฝึกซ้อมเพื่อลดความตื่นเต้นในการพรีเซนต์วันจริง
- 3. เลือกใช้ภาษากายที่เหมาะสมและไม่ฝืนจนเกินไป
- 4. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรและสีที่ไม่สบายตาในการทำพรีเซนต์
- 5. พยายามให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับการพรีเซนต์ของเรา
- 6. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวหนังสือที่เยอะจนเกินไปในการทำพรีเซนต์
- 7. เน้นการสื่อสารด้วยภาพมากกว่าตัวอักษร
- 8. นำเสนอกรณีศึกษา (Case Study) เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในตัวพรีเซนต์
- 9. ใช้กฎ 10-20-30 ในการพรีเซนต์งาน
- 10. เลือกใช้สื่อให้หลากหลายในนำเสนอสไลด์หรือพรีเซนต์
- สรุปพรีเซนต์งานให้น่าสนใจไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องขยันซ้อม
1. ใช้โทนเสียงที่เหมาะสมในการนำเสนอและสื่อสาร
เทคนิคพรีเซนต์งานเทคนิคแรกเลยก็คือ เลือกใช้โทนเสียงให้เหมาะสมสำหรับการพรีเซนต์งาน โดยโทนเสียงที่ช่วยให้การพรีเซนต์มีความน่าสนใจ ควรเป็นโทนเสียงสูงต่ำที่มีความแตกต่างกันอย่างชัดเจน และมีการเว้นจังหวะของการพูด เพื่อเน้นความสำคัญของเนื้อหาและหัวข้อที่สำคัญ ซึ่งเรื่องนี้ทางผู้เชี่ยวชาญด้านการตลาดอย่าง Jonah Berger ได้ให้คำแนะนำว่าการใช้ระดับโทนเสียงที่แตกต่างและเว้นจังหวะอย่างเหมาะสมจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจในการนำเสนอ และยังเป็นการเพิ่มความรู้สึกมั่นใจให้กับผู้พรีเซนต์งานด้วย
2. เน้นการฝึกซ้อมเพื่อลดความตื่นเต้นในการพรีเซนต์วันจริง
เทคนิคที่สองของการพรีเซนต์งานให้น่าสนใจ คือ การฝึกซ้อมอยู่เสมอ โดยเฉพาะเมื่อรู้วันและเวลาที่ต้องนำเสนอแล้วยิ่งต้องฝึกมากขึ้น ซึ่งการฝึกพูดพรีเซนต์งานไม่เพียงแค่ช่วยให้แม่นยำในเนื้อหาเท่านั้น แต่ยังช่วยให้พูดได้คล่องขึ้น และลดความตื่นเต้นได้ ส่วนใครที่อยากอัปสกิลการพรีเซนต์ขั้นสุด แนะนำให้ลองสมัครคอร์สสอนพรีเซนต์งานแบบออนไลน์ หรือเรียนต่อปริญญาโทเพื่อเรียนรู้และฝึกประสบการณ์ก็เป็นวิธีที่ช่วยให้เข้าใจถึงหลักการพรีเซนต์งานได้มากขึ้น
ทั้งนี้หากบริษัทไหนไม่มีสวัสดิการพนักงานออกงบด้านการเรียนรู้ให้ อย่าลืมมองหาบัตรกดเงินสดไว้ใช้สมัครเรียนกันสักใบ เพื่อโอกาสในการได้รับสิทธิ์สำหรับส่วนลดหรือโปรโมชันที่ให้ความคุ้มค่าพร้อมสิทธิพิเศษอีกมากมาย
3. เลือกใช้ภาษากายที่เหมาะสมและไม่ฝืนจนเกินไป
การพรีเซนต์เป็นการนำเสนอเรื่องการทำงานที่มักจะมาในหัวข้อซีเรียสและต้องทำความเข้าใจ หากพรีเซนต์งานด้วยท่าทางที่ไม่มั่นใจก็ยิ่งลดความน่าสนใจได้ อีกทั้งยังทำให้ผู้พูดดูไม่มีความเป็นมืออาชีพด้วย ดังนั้นภาษากายจึงเป็นอีกหนึ่งเรื่องสำคัญที่มองข้ามไม่ได้ โดยเทคนิคสร้างความน่าสนใจในภาษากายทำได้ ดังนี้
- เลือกตำแหน่งวางมือให้ดี
มือคือหนึ่งในภาษากายที่สามารถบอกถึงความมั่นใจได้เป็นอย่างดี การวางตำแหน่งมือควรอยู่แนบชิดลำตัวและแบมือออกอย่างเป็นธรรมชาติ หรือหากรู้สึกว่าเป็นท่าทางที่ดูเกร็งเกินไป ให้เปลี่ยนไปวางมือไว้ที่บริเวณหน้าท้อง ไม่ควรเปลี่ยนตำแหน่งมือไปมาหรือขยับนิ้ว แกะ เกา ส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เพราะทำให้ผู้ฟังเห็นว่ากำลังไม่มั่นใจ
- แสดงออกทางสีหน้าและสายตา
ระหว่างการนำเสนอเนื้อหาบนสไลด์ หากเป็นหัวข้อหรือเรื่องที่ต้องการเน้นถึงความสำคัญ นอกจากน้ำเสียงที่ใช้แล้วสีหน้าและแววตาต้องแสดงออกถึงอารมณ์และความหนักแน่นของเนื้อหานั้น ๆ หรือหากเป็นการพูดโดยทั่วไปพยายามสบตาผู้ฟังบรรยายบ้างเพื่อสังเกตสีหน้าและอารมณ์ของผู้ฟัง รวมทั้งยังช่วยแสดงถึงความเป็นธรรมชาติของผู้พูดด้วย
- ท่าทางของการยืน
อีกหนึ่งภาษากายที่ช่วยลดความตื่นเต้นและให้ท่าทางที่เป็นธรรมชาติได้ดีคือท่ายืน คงไม่ดีแน่หากยืนพูดในลักษณะหลังค่อม หรือยืนบิดตัวไปมา โดยท่ายืนที่ดีสำหรับการพรีเซนต์งานแบ่งได้เป็น 2 ช่วง
ท่ายืนก่อนพรีเซนต์งาน : ท่ายืนก่อนนำเสนอเป็นอีกหนึ่งวิธีที่จะช่วยลดความกังวลและเพิ่มความมั่นใจได้มากขึ้น โดยการวางมือที่บริเวณข้างสะโพก ยืดอกให้ตัวตรงและเชิดคางขึ้นเล็กน้อย
ท่ายืนระหว่างพรีเซนต์ : เทคนิคการพรีเซนต์ระหว่างนำเสนอคือยืนตัวตรง อกผายไหล่ผึ่งจะช่วยเสริมให้มีบุคลิกที่มั่นใจ และดึงดูดสายตาผู้ฟังได้มากขึ้น
นอกจากเรื่องของภาษากายที่จะช่วยเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้ฟัง และสร้างความมั่นใจให้ผู้พรีเซนต์งานได้แล้ว การเลือกเครื่องแต่งกายอย่างเหมาะสม ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่ช่วยดึงดูดสายตาและเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับผู้พรีเซนต์ได้ หากใครอยากได้เทคนิคการเลือกเครื่องแต่งกายที่เหมาะสม สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ “แต่งตัวไปสัมภาษณ์งาน”
4. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรและสีที่ไม่สบายตาในการทำพรีเซนต์
วิธีพรีเซนต์งานให้น่าสนใจและเพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้ฟังด้วยการใช้สีตัวอักษร และฟอนต์ที่อ่านง่ายในการทำสไลด์งานพรีเซนต์ โดยสีที่ใช้ควรมีไม่เกิน 4 สี จะช่วยให้มองได้สบายตาไม่รบกวนสายตาจนเกินไป และควรเลือกใช้สีตัวอักษรตัดกับพื้นหลังเพื่อให้ข้อความเด่นและนำสายตา นอกจากนี้การเลือกใช้ฟอนต์ที่อ่านง่ายในการพรีเซนต์งานอย่าง Serif หรือ Sans Serif และควรเลือกใช้ขนาดตัวหนังสือตั้งแต่ 18-24 pt สำหรับเนื้อหา ในส่วนของหัวข้อให้อยู่ที่ 26-42 pt
5. พยายามให้ผู้ชมมีส่วนร่วมกับการพรีเซนต์ของเรา
ผู้พรีเซนต์งานที่ดีต้องเพิ่มความน่าสนใจ และดึงดูดผู้ฟังให้จับประเด็เนื้อหาได้นมากขึ้น โดยระหว่างการพรีเซนต์งานควรสร้าง Engagement กับผู้ชม/ผู้ฟังไปด้วย เช่น การเตรียมคำถามมาถามผู้ชม/ผู้ฟังโดยมีของรางวัลให้ หรือการยิงคำถามกลับในทันทีที่พูดจบประเด็นสำคัญด้วยการสุ่มถาม นอกจากนี้ยังสามารถดึงดูดผู้ฟังและสร้าง Engagement ได้ด้วยรูปแบบการนำเสนอ เช่น การให้ผู้ชม/ผู้ฟังช่วยวาดภาพประกอบอย่างง่าย ที่สอดคล้องกับเนื้อหา หรือการเปิดคลิปวิดีโอระหว่างพรีเซนต์งานก่อนจะเข้าสู่ช่วงการยิงคำถามต่อไป เป็นต้น
>> นอกจากเรื่องการพรีเซนต์งานแล้ว การวัด Performance ด้วย KPI คืออีกหนึ่งเรื่องที่มนุษย์เงินเดือนจะพลาดไม่ได้
6. หลีกเลี่ยงการใช้ตัวหนังสือที่เยอะจนเกินไปในการทำพรีเซนต์
ตัวหนังสือบนสไลด์พรีเซนต์งานที่มากเกินไปส่งผลให้เกิดความน่าเบื่อ ไม่น่าติดตาม และยังไม่ดึงดูดสายตาผู้ชม หากต้องการเพิ่มประสิทธิภาพในการพรีเซนต์งานควรใช้ตัวหนังสือในจำนวนที่เหมาะสม ไม่ควรใส่ข้อมูลเยอะเกินไป หากต้องการอ้างอิงเนื้อหาจำนวนมากควรย่อยประเด็นให้เหลือใจความสำคัญ หรือ Keyword หลัก ๆ เท่านั้น หรือหากมีหลายประเด็นให้ใช้เป็น Bullet Points ในการนำเสนอจะช่วยให้สไลด์น่าสนใจ อ่านง่าย และน่าติดตามจนจบการนำเสนอ
7. เน้นการสื่อสารด้วยภาพมากกว่าตัวอักษร
กรณีที่เนื้อหาในการพรีเซนต์มีจำนวนมากสไลด์ที่ใช้พรีเซนต์งานก็มีจำนวนมากตามไปด้วย ทำให้ผู้ฟังหมดความสนใจได้ง่าย ให้เปลี่ยนจากข้อความมาเป็นใช้การสื่อสารด้วยภาพแทน เพราะรูปภาพหรือวิดีโอจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจได้มากกว่า และช่วยดึงดูดสายตา สร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้ชมและผู้ฟังได้ดีกว่าด้วย ข้อดีของการพรีเซนต์งานที่สื่อสารด้วยภาพนอกจากช่วยสะกดความสนใจของผู้ฟังแล้ว ยังช่วยลดระยะเวลาพรีเซนต์ลง และยังช่วยให้ผู้พรีเซนต์สามารถพูดสิ่งที่ต้องการนำเสนอให้จบภายในระยะเวลาที่กำหนดอีกด้วย
8. นำเสนอกรณีศึกษา (Case Study) เพื่อเพิ่มความน่าสนใจในตัวพรีเซนต์
ผู้นำเสนอเนื้อหาต้องสามารถพาผู้ฟังเข้าถึงเนื้อหาที่นำเสนอได้ การมีเอกสารที่เป็นกรณีตัวอย่างหรือกรณีศึกษามาแจกเพื่อประกอบการพรีเซนต์งานด้วย เป็นอีกเทคนิคที่ช่วยเพิ่มความน่าสนใจและช่วยให้ผู้อ่านได้รู้สึกอินไปกับเนื้อหาที่พรีเซนต์ นอกจากแนบเอกสารสำหรับอ่านแล้ว อาจมีช่องกรอกข้อความสำหรับการแสดงความคิดเห็นหรือวิธีแก้ไขปัญหาที่เกี่ยวกับกรณีศึกษานั้น ๆ ด้วย ก็เป็นอีกหนึ่งวิธีที่เพิ่ม Engagement ระหว่างผู้นำเสนอกับผู้ฟังได้
9. ใช้กฎ 10-20-30 ในการพรีเซนต์งาน
กฎ 10-20-30 เป็นกฎที่อดีตนักการตลาดของ Apple อย่าง Guy Kawasaki คิดขึ้นมาโดยให้ความเห็นว่าการปฏิบัติตามกฎนี้จะช่วยให้ผู้ฟังสนใจและตั้งใจฟังการพรีเซนต์งานได้ตั้งแต่ต้นจนจบ โดยรายละเอียดของกฎ 10-20-30 มีดังนี้
ทำสไลด์ไม่เกิน 10 หน้า
สำหรับใครที่เคยทำสไลด์พรีเซนต์งานคงจะทราบดีว่าการที่ต้องทำสไลด์มากกว่า 10 หน้าไม่ใช่เรื่องง่ายเลย และในทางกลับกันผู้ที่ต้องฟังพรีเซนต์เป็นเวลานานที่มีเนื้อหามากกว่า 10 หน้า ยิ่งทำให้การจดจำและตั้งใจฟังน้อยลงไปด้วย ดังนั้น เมื่อต้องพรีเซนต์งานให้สรุปเนื้อหาโดยใส่เนื้อหามาให้ไม่เกิน 10 สไลด์ เพื่อให้ผู้ฟังรู้ถึงเป้าหมายของสิ่งที่เราจะพูด และในการพรีเซนต์ควรพูดให้จบประเด็นก่อนแล้วค่อยเปลี่ยนไปสไลด์ถัดไป
ใช้เวลาพูดไม่เกิน 20 นาที
การนั่งฟังพรีเซนต์ที่ยาวนานเกินไปย่อมส่งผลต่ออารมณ์และความรู้สึกของผู้ฟังได้ ซึ่งเวลาที่เหมาะสมสำหรับการมีสมาธิและตั้งใจฟังการพรีเซนต์งานโดยทั่วไปแล้วไม่เกิน 20 นาที แม้ว่าจะมีรายละเอียดเนื้อหาเยอะแต่การควบคุมเวลาให้จบได้ตามกำหนดจะช่วยให้ผู้ฟังจดจำและตั้งใจฟังได้ดีกว่า โดยแบ่งรายละเอียดเนื้อหาการพูดในแต่ละช่วงได้ ดังนี้
- พูดเกริ่นนำ 1 นาที : การพรีเซนต์งานแต่ละครั้งต้องมีการชี้แจ้งหัวข้อและประเด็นให้ทราบก่อนแล้ว ดังนั้น ตอนเกิ่นนำให้พูดเพียงแค่แนะนำตัวและเข้าประเด็นให้สั้น และกระชับที่สุด
- พูดเข้าหัวข้อ 4 นาที : หลังจากเกริ่นนำแล้วให้พูดถึงหัวข้อโดยให้จับประเด็นสำคัญของหัวข้อมาพูดเกริ่นนำให้ผู้ฟังรู้สึกสนใจและอยากฟังเนื้อหาต่อไป
- บรรยายเนื้อหา 13 นาที : เข้าสู่การบรรยายเนื้อหา ช่วงเวลานี้สามารถพูดแตกประเด็น นำเสนอปัญหา แนวคิดและสถิติต่าง ๆ หรือมีกิจกรรมเพื่อสร้าง Engagement กับผู้ฟัง
- สรุปไม่เกิน 2 นาที : สรุปเนื้อหาที่พรีเซนต์ทั้งหมดให้สั้นและกระชับ โดยเหลือเวลาช่วงสุดท้ายไว้เป็นการถาม-ตอบ
ขนาดฟอนต์ใหญ่กว่า 30
ฟอนต์ที่ตัวใหญ่กว่า 30 pt ช่วยดึงดูดสายตาของผู้ฟังได้ดีกว่าเมื่ออยู่บนหน้าจอ โดยอาจแบ่งเป็นฟอนต์ขนาด ใหญ่กว่า 30 pt ของหัวข้อ และลดขนาดลงสำหรับรายละเอียดของเนื้อหา ข้อดีของฟอนต์ขนาดใหญ่แบบนี้ยังช่วยลดจำนวนข้อความบนสไลด์ให้น้อยลง ทำให้พูดรายละเอียดได้มากขึ้น และไม่ต้องคอยอ่านข้อความบนสไลด์ให้เสียบุคลิกด้วย
10. เลือกใช้สื่อให้หลากหลายในนำเสนอสไลด์หรือพรีเซนต์
การนำเสนองานด้วย Power Point เพียงอย่างเดียวอาจไม่สามารถมัดใจผู้ชม/ผู้ฟังให้สนใจได้จนจบการพรีเซนต์งาน ดังนั้นควรวางแผนการนำเสนอให้มีความน่าสนใจมากขึ้นด้วยการใช้ภาพประกอบ คลิปวิดีโอ การเลือกเสียงประกอบให้เข้ากับ Mood & Tone ของเนื้อหา หรือใช้เสียงประกอบเมื่อมีการเล่นมุกตลก นอกจากนี้การใช้แอปพลิเคชันช่วยทำเกมถาม-ตอบ ก็เป็นรูปแบบการนำเสนองานที่ดึงดูดใจผู้ฟังให้โฟกัสกับการพรีเซนต์ได้อีกด้วย
ไม่เพียงแค่การลงทุนเพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับทักษะการพรีเซนต์งานเท่านั้น แต่การลงเรียนเพื่อเพิ่มทักษะในการทำงานยังช่วยเพิ่้มโอกาสที่จะได้ทำอาชีพที่ชอบด้วย ใครมีฝันอยากทำอะไรต้องฝึกทักษะแบบไหน สามารถเข้าไปอ่านเพิ่มเติมได้ที่ “อาชีพในฝัน”
สรุปพรีเซนต์งานให้น่าสนใจไม่ใช่เรื่องยากแต่ต้องขยันซ้อม
วิธีการพรีเซนต์งานแบบมืออาชีพไม่ใช่เรื่องยาก หากมีการเตรียมความพร้อมมาดี รู้จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเอง ซึ่งวิธีที่ง่ายที่สุดคือการฝึกซ้อมและเรียนรู้เพื่อสร้างประสบการณ์ในการนำเสนอให้มากขึ้น นอกจากนี้การนำเทคนิคที่เราแนะนำมาปรับใช้ก็ช่วยเพิ่มความมั่นใจ และสร้างความน่าสนใจให้กับการพรีเซนต์ได้มากขึ้น หากทำได้ดี งานที่มี Career Path ดี ๆ รออยู่ไม่ไกลแน่นอน
นอกจากเรื่องของเทคนิคและกลยุทธ์ที่ใช้ในการพรีเซนต์งานตามที่ได้นำเสนอไปแล้ว การได้เรียนรู้จากมืออาชีพโดยตรงก็เป็นอีกวิธีที่จะช่วยให้ได้เทคนิคและวิธีนำเสนอที่แตกต่างมากขึ้น ซึ่งหากใครที่อยากเรียนด้านนี้อย่างจริงจัง สามารถที่สมัครคอร์สเรียนออนไลน์หรือลงเรียนเพิ่มเพื่อเสริมทักษะเรื่องการพรีเซนต์งาน เเละตัวช่วยเรื่องค่าใช้จ่ายนี้ เราขอนำเสนอผลิตภัณฑ์บัตรกดเงินสด KTC PROUD ที่สามารถนำมารูดจ่ายค่าเรียนได้ นอกจากจะรูดจ่ายค่าสินค้าเเละบริการได้เเล้วนั้น ยังสามารถผ่อนซื้อสินค้าได้นานสูงสุด 24 เดือน 0% กับร้านค้าที่ร่วมรายการ กดเงินสดจากตู้ ATM หรือเลือกโอนผ่านแอปฯ KTC Mobile ก็ทำได้ตลอด 24 ชั่วโมง
บัตรกดเงินสด KTC PROUD ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี
รูด โอน กด ผ่อน ครบในบัตรเดียว
*กู้เท่าที่จําเป็นและชําระคืนได้ตามกําหนด จะได้ไม่เสียดอกเบี้ย 20%-25% ต่อปี