Career Path คืออะไร? พร้อมวางแผนเส้นทางการเติบโตในที่ทำงาน
เมื่อถึงวัยที่ต้องเข้าสู่สังคมของการทำงาน หลาย ๆ คนอาจเคยได้ยินคำถามจากคนรอบตัวว่า “วางแผนเรื่อง Career Path เป็นยังไง” กันมาบ้าง แต่อาจจะยังไม่ได้ทำความเข้าใจหรือเริ่มคิดเกี่ยวกับเรื่องนี้อย่างจริงจัง หรือบางคนอาจจะสงสัยว่า Career Path คืออะไร และมีความจำเป็นอย่างไรในการทำงาน ทำไมทุกคนถึงต้องมี Career Path?
ในบทความนี้ จะอธิบายเกี่ยวกับ Career Path ของอาชีพว่าคืออะไร พร้อมบอกวิธีการวางแผนและการพัฒนาตัวเอง เพื่อทำให้ Career Path ที่ตั้งเป้าหมายไว้สามารถเป็นจริงได้ในสายอาชีพของตนเอง
เลือกอ่านตามหัวข้อ
Career Path คืออะไร?
Career Path คือ เส้นทางความก้าวหน้าทางอาชีพ ไม่ว่าจะทำอาชีพในสายไหนก็ตามไม่ว่าจะเป็นพนักงานออฟฟิศ หรือการทำงานในรูปแบบที่ต้องใช้ความสามารถเฉพาะทาง เช่น แพทย์, เชฟ, ดีไซเนอร์ เป็นต้น กล่าวคือ เมื่อเริ่มทำงานแล้วในตำแหน่งใด ๆ จะต้องมีการวางแผนว่าตนเองต้องการที่จะเติบโตอย่างไรในสายงาน หรือสามารถทำงานในตำแหน่งไหนที่สูงขึ้นได้บ้าง และเป้าหมายสูงสุดที่ต้องการในสายงานของตนเองคืออะไร เมื่อมี Career Path คร่าว ๆ แล้ว จากนั้นจะเป็นการวางแผนกระบวนการในการพัฒนาตนเอง เพื่อให้ไปถึงเป้าหมายทางอาชีพในฝันที่ตั้งไว้
ในปัจจุบันการทำงานไม่ว่าจะอาชีพใดก็ตาม เชื่อว่าหลายคนต้องเคยหรือเกิดความรู้สึกหมดไฟในการทำงานกันอย่างแน่นอน อย่างไรก็ตามหากมีการวางแผน Career Path จะทำให้เกิดแรงจูงใจและความมุ่งมั่นในการทำงานมากขึ้น ช่วยแก้ปัญหาการหมดไฟในการทำงาน เพราะจะรู้ว่าตนเองต้องการอะไรในหน้าที่การงาน และควรทำอย่างไรเพื่อให้บรรลุเป้าหมายนั้น อีกทั้งการมี Career Path ในงานที่ตนเองถนัดหรือถูกใจจะยิ่งส่งผลดีเป็นอย่างมาก เนื่องจากจะสามารถทำงานได้อย่างสนุกและพร้อมพัฒนาทักษะของตนเองตลอดเวลานั่นเอง
แนะนำตัวอย่างของ Career Path แต่ละสายอาชีพ
เมื่อทราบแล้วว่า Career Path คืออะไร ลองมาดูตัวอย่างของ Career Path แต่ละสายอาชีพกันดีกว่าว่าเป็นอย่างไรบ้าง โดยเราได้รวบรวมโครงสร้าง Career Path มาทั้งหมด 10 สายอาชีพด้วยกัน ดังนี้
1. Education : Teacher → Curriculum Coordinator → Assistant Principal → Principal
2. Media/Editorial : Editorial Assistant → Assistant Editor → Editor → Senior Editor →Executive Editor → Editor in Chief
3. Human Resources (HR) : HR Assistant → HR Special → Assistant Director of HR → Director of HR/Communication
4. Engineer : Engineer I → Engineer II → Senior Engineer → Principal Engineer
5. IT : Junior Web Developer → Software Engineer → IT Manager → Head of IT
6. Digital Marketing : Digital Marketing Intern → Digital Account Executive → Digital Marketing Specialist → Digital Account Manager/Lead Specialist → Digital Director
7. Marketing : Social Media Specialist → Content Marketing Associate → Marketing Lead → Head of Marketing → Chief Marketing Officer
8. Accounting : Junior Accountant → Senior Accountant → Corporate Controller → Chief Financial Officer
9. Physical Therapy : Doctor of Physical Therapy → PT Resident → Physical Therapist
10. Data Scientist : Junior Data Scientist → Senior Data Scientist → Principal/Staff Data Scientist → Data Science Manager → Senior Director/VP of Data Science
“อยากเป็นฟรีแลนซ์ สามารถวางแผน Career Path ได้หรือไม่ ทำความเข้าใจกับอาชีพฟรีแลนซ์ก่อนวางแผนความก้าวหน้าทางอาชีพได้ที่บทความ ฟรีแลนซ์คืออะไร”
3 ปัจจัยสำคัญ ส่งผลต่อการเติบโตของ Career Path
เมื่อได้วิธีวางแผน Career Path เรียบร้อยแล้ว ก็ต้องมีการคำนึงถึงปัจจัยสำคัญที่จะส่งผลต่อความก้าวหน้าทาง Career Path ไม่ว่าจะเป็นทั้งแรงบันดาลใจ, เป้าหมายในการทำงาน, ทัศนคติและขอบเขตความรับผิดชอบในหน้าที่ ซึ่งแต่ละอย่างก็มีส่วนช่วยในการพัฒนาตัวเองด้วยเช่นกัน แต่จะมีส่วนช่วยอย่างไรนั้น มาดูไปพร้อมกันเลย
เป้าหมายในการทำงาน
แม้ว่าจะมีตำแหน่งสูง ๆ ที่หลายคนมองว่าต้องไปให้ถึง แต่สิ่งสำคัญจริง ๆ แล้วคือ เป้าหมายในการทำงานของตนเอง โดยควรสำรวจความต้องการของตนเองว่าต้องการจะอยู่ในตำแหน่งไหน สิ่งนี้จะทำให้ทราบว่าคุณต้องทำอะไร พัฒนาทักษะของตัวเอง ไปจนถึงปรับแก้ข้อบกพร่องในจุดไหนถึงจะสามารถไปอยู่ในตำแหน่งที่คุณต้องการได้
ขอบเขตความรับผิดชอบในหน้าที่
เมื่อตำแหน่งสูงขึ้น ขอบเขตความรับผิดชอบในการทำงานก็ยิ่งมีมากขึ้น ดังนั้นปัจจัยสำคัญที่จะส่งให้คุณสามารถก้าวหน้าใน Career Path ได้ก็คือ ความรับผิดชอบ และความกระตือรือร้นที่จะศึกษาเรียนรู้ขอบเขตหน้าที่การงานที่จะเพิ่มเข้ามาไว้ล่วงหน้า เพื่อแสดงให้องค์กรเห็นว่าคุณมีความพร้อมที่จะก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้น
ทัศนคติ
ทัศนคติ และสุขภาพจิตที่ดีก็เป็นปัจจัยเสริมสำคัญในการเติบโตของ Career Path เช่นกัน เพราะขึ้นชื่อว่าการทำงานจะต้องมีความกดดันเสมอไม่ว่าจะเล็กน้อยหรือมาก รวมถึงการต้องพบปะผู้คนมากมายและการทำงานเป็นทีม ดังนั้นเราควรที่จะมีความมั่นใจควบคู่ไปกับทัศนคติที่ดี เพื่อแสดงให้เห็นถึงความเป็นมืออาชีพในการทำงาน
วิธีการพัฒนาตัวเองให้ตอบรับกับ Career Path ที่วางเอาไว้
1. วางแผนการทำงานระยะยาว
เมื่อมี Career Path ที่วางแผนไว้แล้ว ฉะนั้นสิ่งที่ต้องทำต่อมาคือการวางแผนการทำงานในระยะยาว เช่น ต้องการที่จะเลื่อนตำแหน่งไปยังตำแหน่งที่สูงขึ้นภายในกี่ปี และตำแหน่งสูงสุดที่ต้องการภายในกี่ปี รวมถึงการวางแผนเกษียณควบคู่ไปด้วย ภายในช่วงระยะเวลาเหล่านั้นจึงเป็นการวางแผนพัฒนาตัวเองเพื่อให้เหมาะสมกับตำแหน่งที่ต้องการ
2. ประเมินทักษะและความสามารถของตัวเอง
การพัฒนาตัวเองที่ดีนั้น ควรที่จะมีการประเมินทักษะและความสามารถของตัวเองในที่สิ่งที่ถนัด และเมื่อรู้ว่าตนเองถนัดในด้านไหน ก็ควรพัฒนาสิ่งเหล่านั้นให้เป็นจุดเด่นขึ้นมา ไม่ว่าจะถนัดทำงานหลายรูปแบบหรือถนัดเพียงอย่างเดียว ทั้งนี้การหมั่นประเมินทักษะ และ Pain Point ของตนเองอยู่เสมอ จะทำให้คุณสามารถมองเห็นข้อผิดพลาดได้อย่างรวดเร็ว และนำไปสู่การพัฒนาแก้ไขเพื่อไม่ให้เกิดข้อผิดพลาดเหล่านั้นหรือเกิดน้อยที่สุดได้ ถือเป็นการพัฒนาตนเองที่สามารถเริ่มต้นได้ทันที
3. ตั้งเป้าหมายในการทำงาน
การตั้งเป้าหมายในการทำงานอย่างชัดเจน จะทำให้คุณมองเห็นจุดที่คุณต้องพัฒนาเพื่อที่จะไปให้ถึงเป้าหมายเหล่านั้น ตัวอย่างในการตั้งเป้าหมาย เช่น ตั้งระยะเวลาการทำงานในแต่ละโปรเจ็คต์, ทำตาม KPI ที่ทางหัวหน้างานวางไว้ให้, การตั้งเป้าหมายทำยอดขายหรือยอดต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสายงานในแต่ละเดือน เป็นต้น ทั้งนี้การตั้งเป้าหมายการทำงาน ยังเป็นการสร้างลักษณะนิสัยในการทำงานที่ดี ไม่ว่าจะเป็นความรับผิดชอบ การตรงต่อเวลา หรือความกระตือรือร้นที่จะพัฒนางานในองค์กร
4. พัฒนาทักษะตามสายงานที่วางแผนไว้
บางทีการทำงานเพียงแค่ในองค์กรนั้น แน่นอนว่าเนื้องานสามารถทำให้คุณสามารถพัฒนาตัวเองได้ แต่ในการทำให้ Career Path ที่วางแผนไว้สำเร็จ อาจจะต้องมีการพัฒนะทักษะอื่น ๆ เพิ่มเติมที่ต้องเรียนรู้นอกองค์กร เช่น การเรียนคอร์สเสริมที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่ทำอยู่ เพื่อนำมาปรับใช้และพัฒนางานให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น และยังเป็นการเพิ่มทักษะของตัวเองด้วย
5. เรียนรู้จุดแข็งจุดอ่อนในการทำงานของตัวเอง
นอกจากการประเมินในสิ่งที่ตนเองถนัดแล้ว ควรจะต้องมีการเรียนรู้จุดแข็งจุดอ่อนของตัวเองด้วยเช่นกัน การเรียนรู้จุดแข็งจะเป็นการเสริมให้ทักษะนั้น ๆ โดดเด่นขึ้นในสายงาน ส่วนการเรียนรู้จุดอ่อนเอาไว้ก็ไม่ใช่การปล่อยทิ้งให้เป็นข้อด้อย แต่จะเป็นการเรียนรู้เพื่อที่จะได้หาวิธีมาพัฒนาจุดอ่อนนั้นให้ดีขึ้น จนกลายเป็นสิ่งที่สามารถทำได้อย่างไม่ผิดพลาดเช่นกัน
ประโยชน์ของการวางแผน Career Path ที่ชัดเจน
ข้อดีของการมี Career Path ที่ชัดเจน คือ จะเป็นการวางแผนภาพรวมอนาคตอย่างคร่าว ๆ เพื่อให้ทราบว่าตนเองควรพัฒนาในด้านใด และเรียนรู้เพิ่มเติมอย่างไร นอกจากสกิลในการทำงานที่จะเพิ่มขึ้นจนส่งผลให้คุณมีความก้าวหน้าในสายอาชีพได้แล้ว ยังเป็นการเสริม Soft Skill เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะติดเป็นนิสัยไปตลอด เช่น ความรับผิดชอบ ความสามารถในการติดต่อสื่อสาร และการทำงานร่วมกับผู้อื่น เป็นต้น
ยิ่งไปกว่านั้น เมื่อมีพัฒนาการในการทำงาน เก็บเกี่ยวประสบการณ์และมีความสำเร็จในการทำงานเล็ก ๆ น้อย ๆ ที่จะทำให้เข้าใกล้ Career Path ที่วางแผนไว้ได้ ก็จะทำให้มีแรงบันดาลใจและแรงขับเคลื่อนในการทำงาน สามารถมองว่างานที่ทำเป็นเรื่องทำให้เกิดความท้าทาย และมองเห็นภาพอนาคตที่ดีของตนเองได้อย่างชัดเจนขึ้น
การวางแผน Career Path นั้น ไม่ว่าจะช้าหรือเร็ว สามารถเริ่มต้นวางแผนได้เสมอ แม้ว่าคุณจะกำลังทำงานอยู่ เพิ่งเรียนจบ หรือกำลังเตรียมตัวสมัครงาน ลองค่อย ๆ คิดเรื่อง Career Path ไว้คร่าว ๆ และอาจจะนำสิ่งนี้ไปปรับเพื่อใช้ในการแนะนำตัวเอง เพื่อให้องค์กรเห็นว่าคุณมีการวางแผนอนาคต และเป้าหมายในการทำงานมาบ้างแล้ว รวมถึงยังช่วยเสริมลักษณะบุคลิกที่ดีอีกด้วย รู้อย่างนี้แล้ว วางแผน Career Path และเตรียมแต่งตัวไปสัมภาษณ์งานได้เลย
วางแผนพัฒนา Career Path สร้างอนาคตการทำงานที่ดีในแบบของคุณ
Career Path คือ สิ่งที่จะช่วยเสริมให้แผนในชีวิตการทำงานของคุณเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและก้าวหน้ามากยิ่งขึ้น ไม่เพียงแค่เป็นการวาดภาพแผนอนาคตของตนเองเท่านั้น แต่สิ่งที่ได้ระหว่างที่มีการวางแผนเส้นทางอาชีพของตนเอง คือ ทักษะ ความสามารถในการทำงานที่มาจากการวางแผนพัฒนาตนเองเพื่อให้ไปถึง Career Path ที่ได้วางแผนไว้อย่างมีลำดับขั้นตอน ถึงแม้ว่า Career Path ของแต่ละคนจะแตกต่างกัน แต่สิ่งสำคัญที่มีเหมือนกันนั่นคือเป้าหมายที่ต้องมีกระบวนการและวิธีที่จะทำให้สามารถไปสู่ตำแหน่งในหน้าที่การงานที่ต้องการได้
การพัฒนาตัวเองเพื่อความก้าวหน้าทาง Career Path ก็เป็นอีกหนึ่งสิ่งที่ควรค่าแก่การลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาในด้านอุปกรณ์ หรือการพัฒนาด้านทักษะความรู้อย่างการซื้อคอร์สเรียนเสริม และเพื่อลดปัญหาทางด้านการเงินที่จะทำให้เกิดความรู้สึกว่าการพัฒนาตนเองเป็นเรื่องที่ยาก เพียงแค่มีการวางแผนการเงินอย่างมีประสิทธิภาพและครอบคลุม การให้บัตรกดเงินสด KTC PROUD เป็นตัวช่วยเสริมในยามจำเป็น เพื่อซัพพอร์ตในด้านการเงินก็เป็นสิ่งที่ทำให้การพัฒนาตนเองเป็นไปอย่างราบรื่น และไม่กระทบกับค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน รวมถึงเป็นการสร้างทักษะที่ดีในการวางแผนทั้งด้านการเงินและการงานอีกด้วย
บัตรกดเงินสด KTC PROUD ไม่เพียงแค่สามารถกดเงินสดที่ตู้ ATM ได้ตลอด 24 ชั่วโมงโดยไม่คิดค่าธรรมเนียมเท่านั้น แต่ยังสามารถใช้จ่ายทางออนไลน์ หรือโอนผ่านแอปธนาคารเพื่อซื้อคอร์สเรียนเสริมได้เช่นกัน สมัครบัตรกดเงินสด KTC PROUD รู้ผลไว ไม่ต้องรอนาน เพียงเตรียมเอกสารที่จำเป็นให้เรียบร้อยก็ยื่นสมัครบัตรได้เลย
พัฒนาทักษะเพื่อ Career Path ที่ใฝ่ฝันกับ KTC PROUD
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 25% ต่อปี