คู่มือสำหรับเจ้าของธุรกิจหน้าใหม่ ขายอาหารคนเดียวยังไงไม่ให้ขาดทุน
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าการเปิดธุรกิจร้านอาหาร หากเจ้าของกิจการสามารถจับกลุ่มลูกค้าได้ถูกทาง รสชาติอาหารอร่อย ราคาสมเหตุสมผล เลือกทำเลที่ตั้ง หรือเลือกช่องทางจำหน่ายอาหาร (Food Delivery Apps) ได้อย่างเหมาะสม ถือเป็นธุรกิจหนึ่งที่สร้างกำไรได้อย่างมหาศาล ไม่น้อยหน้าธุรกิจอื่น ๆ เลยทีเดียว แต่ถึงอย่างไรใช่ว่าทุกคนที่เดินทางสายธุรกิจจะประสบผลสำเร็จทุกคน โดยเฉพาะธุรกิจร้านอาหารที่มองเผิน ๆ เหมือนเป็นธุรกิจที่ง่าย ใคร ๆ ก็สามารถทำได้ แต่รู้หรือไม่ว่าการเปิดธุรกิจร้านอาหารให้อยู่รอดแบบยั่งยืน มีลูกค้าประจำ และมีลูกค้าใหม่แวะเวียนมาอุดหนุนไม่ขาดสายไม่ใช่เรื่องง่ายเลย
ดังนั้นการวางแผนที่ดีก่อนเริ่มต้นจึงเป็นสิ่งสำคัญ หากวางแผนดี คิดอย่างรอบคอบ และมีแผนรองรับต่อเหตุการณ์ต่าง ๆ เสมอ รับรองว่าช่วยให้ธุรกิจค่อย ๆ เติบโตอย่างยั่งยืนแน่นอน แต่หากใครที่เพิ่งเริ่มต้นเปิดร้านอาหารคนเดียว และไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไรดี วันนี้ KTC มีแนวทางการเปิดร้านอาหารเล็กๆ เริ่มต้นอย่างไรให้ประสบความสำเร็จมาแนะนำ
แชร์เคล็ดลับเปิดร้านอาหารขนาดเล็ก ทุนไม่หาย กำไรไม่จม
1. เริ่มต้นธุรกิจร้านอาหารจากความชอบ
“ความชอบ” เป็นเหตุผลประการแรกที่ช่วยให้ธุรกิจต่าง ๆ ราบรื่น อย่างการทำอาหารที่เริ่มต้นมาจากความชอบ มักช่วยให้คุณรังสรรค์เมนูอร่อย ๆ ได้มากมาย ตัวอย่าง หากคุณเป็นคนที่ไม่ชื่นชอบอาหารรสเผ็ดเลย แต่เลือกจำหน่ายอาหารไทยที่มีรสชาติเผ็ดร้อน คุณอาจมองไม่ออกว่าความอร่อยที่แท้จริงของอาหารรสเผ็ดเป็นอย่างไร เว้นเสียแต่ว่าคุณมีลูกมือคอยชิมอาหารให้ แต่ถึงอย่างไรแนะนำว่าให้เริ่มต้นทำอาหารจากความชอบจะดีกว่า เพื่อให้รสชาติอาหารคงที่ และยังช่วยให้คุณรู้สึกสนุกที่จะทำ ไม่ต้องคอยกังวลเรื่องรสชาติที่อาจผิดเพี้ยน
2. เลือกเมนูอาหารที่จะขายอย่างเหมาะสม
เมื่อมีสิ่งที่ชอบ ความถนัด หรือมีสูตรลับอร่อย ๆ เป็นของตัวเองแล้ว อย่างต่อมาคือการเลือกเมนูอาหารที่จะขาย ข้อนี้สำหรับคนที่มีหน้าร้านและดำเนินธุรกิจคนเดียว แนะนำว่าควรหลีกเลี่ยงการขายอาหารตามสั่ง เพราะนอกจากคุณต้องแบ่งเวลาปรุงอาหารแล้ว ยังต้องเผื่อเวลาในการเก็บเงิน การดูแลร้าน และให้บริการลูกค้า ดังนั้นให้เลือกเป็นอาหารที่ทำง่าย หรือเลือกขายอาหารจากการสำรวจพฤติกรรมของผู้บริโภค ตัวอย่าง พนักงานออฟฟิศที่มีเวลาพักเที่ยง 1 ชั่วโมง มักเลือกรับประทานอาหารง่าย ๆ ใช้เวลาปรุงไม่นาน อาทิ ข้าวราดแกง ข้าวมันไก่ หรือของทอดต่าง ๆ ที่ทำไว้ล่วงหน้าได้ วิธีนี้นอกจากจะช่วยลดเวลาในการทำอาหารแล้ว ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการขายได้มากขึ้นอีกด้วย
3. เลือกทำเลร้านอาหารได้ดี ช่วยเพิ่มโอกาสได้มากกว่า
การเลือกทำเลอย่างเหมาะสม ช่วยเพิ่มโอกาสในการขายได้มากถึง 50% แต่หากต้องการเปิดร้านเล็ก ๆ หน้าบ้านที่ไม่ต้องเสียเงินค่าเช่าร้าน ควรเช็กให้ดีก่อนว่า ทำเลดังกล่าวมีความพลุกพล่านของคนในช่วงเวลาไหน กลุ่มเป้าหมายของคนเป็นอย่างไร มีที่จอดรถเพียงพอหรือเปล่า และจำนวนร้านอาหารคู่แข่งมีเยอะหรือไม่ ที่สำคัญการเลือกทำเลร้านที่ดีไม่ได้หมายความว่า ต้องตั้งอยู่ใจกลางเมืองเสมอไป แต่ทำเลร้านต้องเหมาะสมกับประเภทอาหาร รูปแบบร้าน และพฤติกรรมการบริโภคของลูกค้าด้วยเสมอ
เคล็ดลับการเปิดร้านอาหารคนเดียว
4. เลือกแหล่งซื้อวัตถุดิบอย่างเหมาะสม
นอกจากการคัดสรรวัตถุดิบคุณภาพดีและสต็อกสินค้าให้เหมาะสมกับร้านแล้ว ต้องคำนวณด้วยว่าจะเลือกซื้อวัตถุดิบจากแหล่งไหน เดินทางไปซื้อเองหรือเลือกใช้บริการจัดส่งถึงหน้าบ้าน ที่อาจดูเหมือนแพงกว่า แต่เมื่อนำมาบวกลบกับค่าใช้จ่าย ระยะทาง และค่าเสียเวลาแล้ว บางครั้งการใช้บริการเดลิเวอรีอาจตอบโจทย์ได้มากกว่า
5. ตั้งราคาอาหารอย่างสมเหตุสมผล
ไม่ควรตั้งราคาอาหารให้ต่ำหรือสูงจนเกินไป อาจบวกราคาจากต้นทุนประมาณ 15 – 30% แล้วลองคำนวณดูคร่าว ๆ ว่าเมื่อนำมาหักลบกับค่าใช้จ่ายอื่น ๆ อาทิ ค่าเช่าที่ ค่าน้ำค่าไฟ ฯลฯ สุดท้ายแล้วเหลือกำไรมากน้อยขนาดไหน ที่สำคัญต้องสำรวจกำลังซื้อของกลุ่มลูกค้าด้วยเสมอ ตัวอย่าง หากเปิดร้านอาหารใกล้สถานศึกษา กลุ่มลูกค้าที่ซื้อส่วนใหญ่มักเป็นกลุ่มนักเรียนและนักศึกษาที่ยังไม่มีรายได้ ดังนั้นควรตั้งราคาที่คิดว่าลูกค้ากลุ่มนี้มีกำลังจ่ายไหว และสามารถซื้ออาหารที่ร้านของคุณได้เป็นประจำ เพียงเท่านี้คุณก็สามารถเจาะกลุ่มลูกค้าได้แล้ว
6. จัดทำโปรโมชั่นส่งเสริมการขาย
ทุกวันนี้มีธุรกิจร้านอาหารเติบโตขึ้นมากมาย ดังนั้นหากต้องการสร้างจุดเด่นให้ร้านตัวเอง นอกจากรสชาติอาหารอร่อยแล้ว การมีโปรโมชั่นดี ๆ เป็นอีกสิ่งที่ช่วยดึงดูดลูกค้าได้ เช่น โปรโมชั่นซื้อ 1 แถม 1 โปรโมชั่นซื้ออาหารครบตามราคาที่กำหนด รับฟรีเครื่องดื่ม 1 แก้ว เป็นต้น ที่สำคัญเลือกใช้สื่อโซเชียลมีเดียให้เป็นประโยชน์ จัดการโปรโมตสินค้าตามหน้าสื่อต่าง ๆ เพื่อเป็นการขยายกลุ่มลูกค้าให้กว้างมากขึ้น
7. เรียนรู้วิธีบริหารเงินร้านอาหาร
มีร้านอาหารหลายร้านที่เหมือนจะขายดิบขายดี มีลูกค้าแวะเวียนมาตลอด แต่กลับต้องหยุดชะงักกลางคัน เพราะไม่สามารถควบคุมต้นทุนการใช้จ่ายได้ ดังนั้นใครเพิ่งเริ่มต้นทำธุรกิจร้านอาหาร ต้องคำนวณต้นทุนและรายรับให้ดี โดยต้นทุนจะแบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. ต้นทุนคงที่ อาทิ เงินค่าเช่าสถานที่ ค่าตกแต่งร้าน เงินซื้ออุปกรณ์เครื่องใช้ ฯลฯ และ 2. ต้นทุนหมุนเวียน อาทิ วัตถุดิบ ค่าน้ำ ค่าไฟ ฯลฯ ดังนั้นต้องบริหารต้นทุนทั้ง 2 ส่วนให้ลงตัว ไม่ทุ่มเงินไปกับส่วนใดส่วนหนึ่งมากเกินไป และแนะนำว่าควรมีเงินทุนสำรองอย่างน้อย 6 – 8 เดือนเป็นอย่างต่ำ เพื่อไม่ให้ประสบปัญหาหมุนเงินไม่ทัน และส่งผลให้กิจการหยุดชะงัก
8. มีเงินทุนสำรองเผื่อใช้ยามฉุกเฉิน
นอกจากการเตรียมเงินทุนสำหรับการเปิดธุรกิจแล้ว หากใครที่เคยอ่านบทความแชร์ประสบการณ์เปิดร้านอาหาร คงเห็นว่ากว่าจะประสบผลสำเร็จได้ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย โดยเฉพาะความท้าทายอย่างหนึ่งที่ต้องรับมือให้ได้คือเรื่อง “ขาดทุน” ซึ่งนอกจากการปรับเปลี่ยนรูปแบบการขายแล้ว ควรมีแหล่งกู้เงินด่วนที่ถูกกฎหมายสำรองไว้ และหลีกเลี่ยงการกู้เงินนอกระบบที่ดอกเบี้ยแสนแพง เสี่ยงต่อการถูกโกง และเสี่ยงต่อการถูกคุกคาม
9. จดทะเบียนขอใบอนุญาต
อีกหนึ่งสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม คือการยื่นขอจดทำเบียนใบอนุญาตต่าง ๆ ซึ่งการเปิดร้านอาหารจะมีการขอใบอนุญาต 2 รูปแบบ คือ การจดทะเบียนพาณิชย์ (สำหรับบุคคลธรรมดา) และการจดทะเบียนพาณิชย์ (นิติบุคคล) ดังนั้นตรวจสอบให้แน่ใจว่าร้านที่เปิดเป็นธุรกิจประเภทไหน เตรียมเอกสารให้พร้อม และยื่นขอใบอนุญาตร้านอาหารให้ถูกต้อง เพื่อป้องกันปัญหาเปิดร้านอาหารโดยไม่มีใบอนุญาตที่ผิดกฎหมาย
10. ทำความเข้าใจเรื่องภาษี
เมื่อเปิดร้านอาหารแล้วสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ได้คือภาษี ซึ่งในกรณีที่เปิดร้านอาหารเล็ก ๆ จะจัดอยู่ในกลุ่มบุคคลธรรมดา มีภาษี 2 ส่วน ได้แก่ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (มีเงินได้สุทธิตั้งแต่ 150,000 บาทต่อปีขึ้นไปถึงจะโดนหักภาษี) และภาษีมูลค่าเพิ่ม (หักจากยอดขาย) ดังนั้นควรศึกษารายละเอียดเรื่องภาษีอย่างแม่นยำ และทำการยื่นภาษีอย่างถูกต้องตามขั้นตอนเพื่อป้องกันปัญหาในอนาคต
เพิ่มโอกาสการขายและสร้างกำไร ด้วยบริการรับชำระเงินจาก KTC
11. ช่องทางชำระเงินที่หลากหลาย เพิ่มโอกาสได้มากกว่า
การมีช่องทางการรับชำระเงินที่หลากหลาย เป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เจ้าของธุรกิจดำเนินกิจการได้ง่ายขึ้น ช่วยประหยัดเวลา ปลอดภัย และตอบโจทย์ลูกค้าที่ไม่สะดวกพกเงินสด สำหรับธุรกิจร้านอาหารเล็ก ๆ หรือร้านอาหารเปิดใหม่ KTC แนะนำบริการ KTC QR PAY และ KTC LINK PAY ช่องทางชำระเงินออนไลน์ที่เข้าถึงง่าย สะดวก ปลอดภัย และไม่เสียค่าเช่า/ค่าติดตั้ง ตอบโจทย์ร้านอาหารใหม่ที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจ
KTC QR PAY
- รองรับการชำระค่าสินค้า/บริการด้วย QR Code โดยลูกค้าสามารถเลือกชำระผ่านบัตรเครดิต บัตรเดบิต และ PromptPay ได้อย่างสะดวกรวดเร็ว ไม่ต้องพกเงินสด
- ร้านค้าปลอดภัย ไม่ต้องเก็บเงินสด หมดปัญหาเรื่องการทอนเงิน
- มีเงินโอนเข้าบัญชีทุกวัน ช่วยให้การบริหารจัดการทางด้านการเงินสะดวกขึ้น
- ไม่มีค่าใช้จ่ายในการติดตั้งเครื่อง
- รองรับการสร้าง QR Code ได้หลายรูปแบบ ทั้งแบบป้ายตั้งหน้าร้าน และการสร้าง QR Code ผ่าน TapKTC Merchant โมบายแอปพลิเคชัน
KTC LINK PAY
- ร้านค้าสามารถสร้างลิงก์ชำระเงิน หรือสร้าง QR Code แล้วส่งให้กับลูกค้า ผ่านทางช่องทางที่ร้านค้าใช้ติดต่อกับลูกค้า เช่น อีเมล สื่อโซเชียลมีเดีย หรือให้ลูกค้าสั่งอาหารมาก่อน และทางร้านส่ง LINK PAY ให้ลูกค้าชำระเงินก่อนจัดส่งอาหาร
- รองรับการชำระเงินทั้งผ่านบัตรเครดิตและบัตรเดบิต
- สำหรับช่องทางบัตรเครดิต รองรับการชำระเงินทั้งแบบเต็มจำนวน และผ่อนชำระ
- กำหนดอายุการใช้งานของลิงก์ได้สูงสุด 24 ชั่วโมง และสามารถยกเลิกลิงก์การชำระเงินที่สร้างขึ้นได้
- ซื้อขายออนไลน์ สะดวก ปลอดภัยตลอด 24 ชั่วโมง ทั้งลูกค้าและร้านค้า ด้วยการยืนยันการทำธุรกรรมออนไลน์ ผ่านระบบ OTP (One Time Password) หรือรหัสผ่านแบบใช้ครั้งเดียว
- ร้านค้าสามารถติดตามสถานะการจ่ายเงินของลูกค้า จากคำสั่ง “ติดตามผลรายการ” ในระบบได้ตลอดเวลา
ทั้งหมดนี้เป็นเทคนิคการเปิดร้านอาหารเล็ก ๆ ที่ KTC นำมาเป็นเคล็ดลับให้สำหรับคนที่เพิ่งเริ่มต้นธุรกิจใหม่ ซึ่งนอกจากเทคนิคการเปิดร้านอาหาร และกลยุทธ์เพิ่มยอดขายที่มีความสำคัญแล้ว ในยุคสังคมไร้เงินสดแบบนี้ การมีช่องทางการชำระเงินที่สะดวก ตอบโจทย์ลูกค้าได้ทุกกลุ่ม ถือเป็นอีกสิ่งที่เจ้าของธุรกิจไม่ควรมองข้าม เพราะวิธีนี้ไม่เพียงแต่จะเป็นการเพิ่มความสะดวกสบายให้ลูกค้าเท่านั้น แต่ยังช่วยเพิ่มโอกาสในการขายอาหารได้มากขึ้น ไม่เสียเวลารับ – ทอนเงินสดให้ลูกค้า และเป็นผลดีต่อการสร้างกำไรได้อย่างยั่งยืน
ธุรกิจเติบโตอย่างยั่งยืน เพิ่มโอกาสปิดการขายด้วยช่องทางชำระเงินจาก KTC