ภาษีร้านค้าออนไลน์ คิดยังไง ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี
ธุรกิจขายของออนไลน์ เป็นหนึ่งในเทรนด์ธุรกิจยอดนิยม ที่กลายเป็นช่องทางหลักในการซื้อขายสินค้าในปัจจุบัน แต่ในมุมของผู้ประกอบการ หลายคนอาจไม่เคยรู้เลยว่า ภาษีร้านค้า หรือภาษีขายของออนไลน์ คิดยัง
เลือกอ่านตามหัวข้อ
ทำความเข้าใจภาษีขายของออนไลน์
ภาษีขายของออนไลน์ ก็คือ การเสียภาษีไม่ต่างจากธุรกิจทั่วไป ไม่ได้มีการแยกประเภทเพื่อทำการเรียกเก็บในรูปแบบใหม่แต่อย่างใด ซึ่งโดยมาก จะแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ก็คือ ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับคนค้าขายเล็ก ๆ และภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับคนที่จดทะเบียนบริษัท และเป็นธุรกิจที่มีรายได้ต่อปีเยอะขึ้น
ขายของออนไลน์ต้องเสียภาษีไหม
เมื่อใดก็ตาม ที่มีรายได้จากการค้าขาย ไม่ว่าจะเป็นไหนรูปแบบไหน ช่องทางใด จำเป็นต้องเสียภาษีทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา อย่างอาชีพพ่อค้าแม่ค้า หรือภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับห้างร้านที่จดทะเบียนเป็นบริษัท
ร้านค้าต้องเสียภาษีอะไรบ้าง
นอกจากภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และภาษีนิติบุคคล ที่จำเป็นจะต้องเสียแล้ว ภาษีมูลค่าเพิ่ม ก็เป็นอีกหนึ่งประเภทภาษี ที่คนค้าขายออนไลน์จำเป็นจะต้องเสียด้วย หากมีรายได้เกินเกณฑ์ที่กำหนด โดยจะมีรายละเอียดทั้งหมด ดังนี้
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.90)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาประจำปี (ภ.ง.ด.90) เป็นสิ่งที่ทุกคนต้องยื่นกับกรมสรรพากรทุกปีหากมีรายได้ โดยไม่มีข้อยกเว้น ไม่ว่าจะเป็นรายได้จากงานประจำ หรือเป็นการทำอาชีพอิสระอย่างขายของออนไลน์ก็ตาม จำเป็นจะต้องยื่นเสียภาษีตามขั้นตอนปกติ แม้จะใช้สิทธิลดหย่อนจนไม่เข้าเกณฑ์ที่จะต้องเสียภาษีก็ตามที
- ยื่นเสียภาษีได้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม - 31 มีนาคม ในปีภาษีถัดไป
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.94)
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) เป็นรูปแบบการยื่นภาษี ที่ช่วยให้อาชีพอิสระสามารถคำนวณภาษีที่ต้องจ่ายในรอบปีได้อย่างคร่าว ๆ เพราะเป็นกลุ่มที่มีรายได้ไม่แน่นอน ซึ่งหากให้เลือกยื่นเสียภาษีรอบเดียวเหมือนกับอาชีพที่มีรายได้ประจำ อาจทำให้บริหารจัดการเรื่องภาษีไม่ได้ จึงต้องยื่นแบบครึ่งปีก่อนนั่นเอง
- ยื่นเสียภาษีได้ตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม - 30 กันยายน ในปีภาษีเดียวกัน
ภาษีมูลค่าเพิ่ม
ภาษีมูลค่าเพิ่ม เป็นการเก็บภาษีจากสินค้า หรือบริการ ที่มีอัตราในการเรียกเก็บที่ 10% แต่ทางภาครัฐได้ออกกฎหมายพิเศษที่ลดลงมาเหลือ 7% และมีการต่ออายุกฎหมายนี้แบบปีต่อปี ถ้าหากธุรกิจขายของออนไลน์ มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาทต่อปี จะต้องยื่นเสียภาษีมูลค่าเพิ่มภายใน 30 วัน นับจากวันที่มีรายได้เกิน 1.8 ล้านบาท ไม่เช่นนั้นจะถือว่าผิดกฎหมาย
ร้านค้าต้องเสียภาษีปีละกี่ครั้ง
หากไม่ได้ยื่นจดทะเบียนนิติบุคคล จำเป็นจะต้องยื่นเสียภาษี 2 ครั้ง นั่นก็คือ ภ.ง.ด.90 และ ภ.ง.ด.94 เพื่อเป็นการแยกแหล่งที่มาของรายได้ออกจากกัน ทำให้ไม่ต้องเสียภาษีที่หนักจากการรวมรายได้มาไว้ก้อนเดียว
ภาษีเงินธรรมดาครึ่งปี (ภ.ง.ด.94) มีวิธีคำนวณอย่างไร
ในการยื่นเสียภาษีครึ่งปีของอาชีพอิสระ สามารถหักค่าใช้จ่ายในการลดหย่อนภาษีได้ 2 วิธี ก็คือ การเหมาจ่ายแบบ 60% และการหักค่าใช้จ่ายตามจริง ที่มีข้อดี และข้อเสียแตกต่างกันไป ซึ่งโดยส่วนมาก ธุรกิจขนาดเล็กที่ไม่ได้มีการจัดทำเอกสารอย่างเป็นระบบ มักจะเลือกแบบเหมาจ่าย 60% เพราะไม่ต้องแสดงหลักฐานค่าใช้จ่าย จึงมีความสะดวกมากกว่า
ขายของออนไลน์ยื่นภาษียังไง
ขายของออนไลน์ สามารถยื่นเสียภาษีแบบออนไลน์ได้ตามรอบปีปกติที่เว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/ โดยจะมีขั้นตอนในการยื่นเสียภาษีทั้งหมด ดังนี้
วิธียื่นภาษีขายของออนไลน์
1. เข้าใช้งานเว็บไซต์ https://efiling.rd.go.th/rd-cms/
2. กดเลือกเมนู “ยื่นแบบออนไลน์”
3. เลือกประเภทของภาษีที่ต้องการยื่น
4. อัปโหลดข้อมูลเอกสารที่แสดงถึงรายได้ และรายจ่ายทั้งหมดที่เกิดขึ้นในธุรกิจ เพื่อให้ง่ายต่อการตรวจสอบ
5. หากทำตามขั้นตอนครบถ้วน ระบบจส่งข้อมูลในการยื่นเสียภาษีไปที่อีเมลที่สมัครไว้
6. ชำระภาษีตามเกณฑ์ที่กำหนดหากโดนเรียกเก็บ
เราจะรู้ได้ยังไงว่าเราต้องเสียภาษีร้านค้าออนไลน์
ถ้ามีรายได้จากการค้าขายจากการเอากำไร จำเป็นจะต้องยื่นเสียภาษีทั้งหมด แต่ก็มีหลายคนที่อาจจะสงสัยว่า ถ้าหากเลี่ยงไม่เสียภาษีร้านค้าออนไลน์เลย ทางกรมสรรพากรจะตรวจสอบได้จริงหรือ ต้องบอกว่าเรื่องนี้นั้ทำได้ง่ายมาก เพราะจะมีการตรวจสอบผ่านบัญชีที่รับโอนเงินทาง Mobile Banking โดยทางธนาคาร จะเป็นคนยื่นข้อมูลนี้ให้กับทางกรมสรรพากรเอง หากเข้าเกณฑ์การรับโอนเงิน ดังนี้
- มีการทำธุรกรรมรับโอนเงินทุกบัญชีเกิน 3,000 ครั้งต่อปี โดยไม่มีการกำหนดยอดขั้นต่ำในการโอนเงิน
- มีการทำธุรกรรมรับโอนเงินทุกบัญชีเกิน 400 ครั้ง / ปี / ธนาคาร และมียอดรวมเกิน 2 ล้านบาทขึ้นไป
สรุปบทความ ภาษีร้านค้าออนไลน์ คิดยังไง ใครบ้างที่ต้องเสียภาษี
หวังว่าคนค้าขายออนไลน์ จะเข้าใจกันมากขึ้นเกี่ยวกับภาษีขายของออนไลน์ ทั้งวิธีการคำนวณ ประเภทภาษีที่ต้องยื่น และเกณฑ์ต่าง ๆ ที่กำหนดจากกรมสรรพากร ส่วนคนที่ต้องการทุน แต่ไม่รู้จะหาเงินก้อนจากไหนมาเริ่มต้นขายของออนไลน์ KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน พร้อมช่วยคุณเอง ด้วยวงเงินก้อนใหญ่ สมัครได้ง่ายในไม่กี่ขั้นตอน พร้อมให้บริการ พี่เบิ้ม Delivery ในการเดินทางไปตรวจสภาพรถ และประเมินราคาให้ถึงหน้าบ้าน อนุมัติไว รับเงินก้อนได้ทันที โดยไม่ต้องใช้คนค้ำประกัน พร้อมผ่อนได้นานสูงสุด 84 เดือน อีกทั้งยังเลือกรับบัตรกดเงินสด KTC พี่เบิ้ม สำหรับใช้ฉุกเฉิน แบบกดได้ฟรี ไม่มีคิดค่าธรรมเนียมเพิ่ม
สมัคร KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงินออนไลน์ สมัครง่าย รู้ผลไว
รับวงเงินก้อนใหญ่ ผ่อนได้นานสูงสุด 84 โดยไม่ต้องมีคนค้ำ
*กรุณาศึกษาข้อมูลผลิตภัณฑ์ก่อนทำการสมัคร*
*เงื่อนไขเป็นไปตามที่บริษัทฯ และธนาคารแห่งประเทศไทยกำหนด*
*กู้เท่าที่จำเป็นและชำระคืนไหว อัตราดอกเบี้ย 21%-24% ต่อปี*