สิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานในการสร้างครอบครัวโดยไม่จำกัดเพศ ผลักดันให้เกิดร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมในไทย โดยล่าสุดในเดือนแห่งการเฉลิมฉลอง Pride Month เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2567 วุฒิสภาได้มีมติให้ความเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ เรื่องกฎหมายสมรสเท่าเทียม ทำให้ไทยเป็นประเทศที่ 37 ของโลก เป็นประเทศลำดับที่ 3 ในเอเชีย ต่อจากไต้หวัน เนปาล และเป็นประเทศแรกในอาเซียนที่การสมรสของคนเพศหลากหลาย หรือ LGBTQIA+ ถูกรับรองโดยกฎหมาย ซึ่งหลายคนอาจกำลังสงสัยว่า สมรสเท่าเทียมคืออะไร? และสิทธิ์ของชาว LGBTQIA+ จะเป็นอย่างไร KTC สรุปมาให้ดังนี้
สมรสเท่าเทียมคืออะไร ?
ความหมายของ “สมรสเท่าเทียม” คือการสมรสของผู้มีความหลากหลายทางเพศ (LGBTQIA+) ที่ไม่จำกัดเฉพาะชายและหญิง แต่ครอบคลุมทุกเพศสภาพ ทั้งเพศวิถีและอัตลักษณ์ทางเพศ เพื่อให้บุคคลกลุ่มนี้ได้รับความคุ้มครองทางกฎหมายตามหลักความเสมอภาคและศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ รวมถึงสิทธิ์ต่างๆ ที่คู่สมรสพึงมี
สมรสเท่าเทียมเริ่มใช้เมื่อไหร่ ?
หลังจากวุฒิสภามีมติเห็นชอบกฎหมายสมรสเท่าเทียมในไทยก็จะเข้าสู่กระบวนการที่รัฐสภาจะส่งร่างกฎหมายสมรสเท่าเทียมไปยังนายกรัฐมนตรี เมื่อไม่มีประเด็นที่ขัดกับรัฐธรรมนูญ จะเข้าสู่ขั้นตอนการนำขึ้นทูลเกล้าฯเพื่อให้พระมหากษัตริย์ทรงลงพระปรมาภิไธย โดยจะมีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 120 วัน โดยหลายฝ่ายคาดการณ์ว่าจะเริ่มใช้ในปี 2567
สมรสเท่าเทียม ประกาศวันไหน?
ประกาศแล้ว แต่มีผลใช้ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2568 เป็นต้นไป กฎหมายแพ่งใหม่จึงจะมีผลใช้บังคับ สามารถไปจดทะเบียนสมรสตามกฎหมายแพ่งใหม่ที่รับรองสิทธิสมรสเท่าเทียมได้
- การหมั้น-การสมรส : จาก ชาย-หญิง เป็น บุคคล-บุคคล
- อายุขั้นต่ำในการหมั้นและการสมรสจาก 17 ปีเป็น 18 ปีบริบูรณ์
- ให้คู่รักเพศเดียวกันสามารถจดทะเบียนสมรสได้ตามกฎหมาย
- มีสิทธิ์และหน้าที่เท่าเทียมกับคู่สมรสต่างเพศ
- ครอบคลุมสิทธิ์ต่างๆ ตามกฎหมาย เช่น การจัดการทรัพย์สิน การรับมรดก สิทธิในการรักษาพยาบาล
สมรสเท่าเทียม ที่ทุกเพศสภาพ สามารถสมรสกันได้ เมื่อมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ โดยมีสถานะเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
สิทธิ์ของชาว LGBTQIA+ อัพเดทปี 2568
สมรสเท่าเทียมในไทย จะส่งผลให้ชาว LGBTQIA+ มีสิทธิ์และความเท่าเทียมเสมอภาคกับทุกเพศ โดยสาระสำคัญของกฎหมายสมรสเท่าเทียม ปี 2567 คือการที่บุคคลสองฝ่ายจะสามารถสมรสกันได้ เมื่อมีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ โดยมีสถานะเป็นคู่สมรสที่ชอบด้วยกฎหมาย
สำหรับส่วนสิทธิประโยชน์สมรสเท่าเทียมของคู่สมรส ได้แก่
- สิทธิ์ในการหมั้น
- การจดทะเบียนสมรส เมื่ออายุครบ 18 ปี เพื่อสอดคล้องกับอนุสัญญาสิทธิเด็ก (หากอายุไม่ถึง 20 ปีบริบูรณ์ ยังต้องได้รับความยินยอมจากผู้แทนโดยชอบธรรม)
- สิทธิ์จัดการทรัพย์สินของคู่สมรส
- สิทธิ์รับมรดก ในฐานะทายาทโดยธรรม
- สิทธิ์เป็นผู้จัดการแทนในทางอาญาเช่นเดียวกับสามีภรรยา
- สิทธิ์การลงนามยินยอมให้รักษาพยาบาลอีกฝ่าย
- สิทธิ์จัดการศพ
- สิทธิ์ได้รับประโยชน์และสวัสดิการจากรัฐในฐานะคู่สมรส เช่น สิทธิประกันสังคม หรือเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล
- สิทธิ์ในการรับบุตรบุญธรรมร่วมกัน และให้บุตรบุญธรรมใช้นามสกุลคู่สมรสได้ โดยจะต้องมีอายุมากกว่าบุตรบุญธรรมอย่างน้อย 15 ปี
- การหย่าร้าง
- สิทธิ์เรียกร้องค่าอุปการะเลี้ยงดู
- สิทธิ์ในการเรียกค่าทดแทนจากผู้ซึ่งเป็นชู้กับคู่สมรส
สมรสเท่าเทียม ยังไม่สามารถจดทะเบียนได้
สมรสเท่าเทียม จดทะเบียนได้หรือยัง ?
หากกฎหมายสมรสเท่าเทียมในไทย มีผลบังคับใช้หลังประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้ว 120 วัน จะทำให้คู่รักทุกเพศสภาพสามารถจดทะเบียนสมรสได้ สมรสเท่าเทียมในประเทศไทยยังไม่สามารถจดทะเบียนได้อย่างเป็นทางการ แม้ว่าจะมีความคืบหน้าในการผลักดันกฎหมาย แต่กระบวนการทางกฎหมายยังไม่เสร็จสมบูรณ์ ซึ่งหากมีการประกาศใช้กฎหมายนี้ครั้งแรกจะเป็นอีกหน้าประวัติศาสตร์ของไทยแน่นอน
ทั้งนี้ เราหวังเป็นอย่างยิ่งว่ากฎหมายสมรสเท่าเทียมในไทยที่ผ่านรัฐสภาอันทรงเกียรติ และเข้าสู่กระบวนการตามที่รัฐธรรมนูญกำหนดไว้ จะผ่านฉลุยและมีผลบังคับใช้ในปีนี้ เช่นเดียวกับการสมัครบัตรเครดิต KTC สมัครง่าย ไม่ยุ่งยาก อาชีพไหน เพศไหนก็สมัครได้
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC