อายุเท่านี้ ทำประกันชีวิตแบบไหนดี ที่ชาว Pantip แนะนำ
ในยุคปัจจุบันที่ไม่มีอะไรแน่นอนกับชีวิต หลายคนเลือกมองหาหลักประกันในชีวิตทั้งของตนเองและคนในครอบครัว เพื่อให้มั่นใจว่ายามเจ็บป่วยหรือจากไปจะไม่ทิ้งภาระไว้ด้านหลัง แน่นอนว่าสิ่งที่ใครหลายคนคิดถึง ก็คือประกันชีวิตและประกันภัยสุขภาพ ผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพและคุ้มครองชีวิต ทั้งยังสามารถนำเบี้ยประกันภัยมาใช้ลดหย่อนภาษีได้ แต่ทุกวันนี้ประกันชีวิตมีหลากหลายรูปแบบหลายบริษัท เป็นเหตุให้หลายคนกังวลว่าควรเลือกทำประกันชีวิตแบบไหนดี 2565 หรือหากต้องการทำประกันชีวิตให้พ่อแม่ควรเลือกแบบไหนดี ระหว่างประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ ประกันชีวิตตลอดชีพ หรือประกันชีวิตบำนาญดี วันนี้เราขอพาทุกคนไปดูวิธีการเลือกประกันชีวิตให้เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของตน แถมคุ้มค่า คุ้มครอง และครอบคลุม
เช็คลิสต์ก่อนเลือกประกันชีวิตแบบไหนดี 2565
(1) ช่วงวัยเหมาะกับการทำประกันแบบไหน
เนื่องจากแต่ละช่วงวัยเหมาะกับทำผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่แตกต่างกัน อย่างช่วงวัยเด็กถึงวัยรุ่น อายุ 0-20 ปี ควรทำประกันภัยสุขภาพเพื่อช่วยแบ่งเบาค่ารักษาพยาบาลยามเจ็บป่วยต้องนอนโรงพยาบาลควบคู่กับประกันภัยอุบัติเหตุ ขณะเดียวกันมนุษย์เงินเดือนที่มีอายุ 31-45 ปี แนะนำให้ทำประกันชีวิตแบบตลอดชีพหรือประกันชีวิตแบบชั่วระยะเวลา เพื่อให้แน่ใจว่าหากผู้ทำประกันเกิดเสียชีวิตไปอย่างกะทันหันครอบครัวและคนข้างหลังมีชีวิตที่มั่นคงต่อไป แต่ถ้าอยู่วัยทำงานตอนปลาย จนถึงเวลาเกษียณ นั่นคืออายุ 46-60 ปี เหมาะกับการทำประกันชีวิตแบบบำนาญที่ช่วยสร้างเงินบำนาญหลังเกษียณไว้ใช้ควบคู่กับเงินออมจาการลงทุนต่าง ๆ เช่น กองทุนรวมหรือกองทุนสำรองเลี้ยงชีพจากบริษัท
(2) ตรวจสอบภาระค่าใช้จ่ายในแต่ละเดือน
คำนวณค่าใช้จ่ายก่อนเลือกทำประกันชีวิต ป้องกันการขาดสภาพคล่องในอนาคต
เมื่อได้คำตอบแล้วว่าตนเหมาะกับประกันชีวิตแบบไหน คราวนี้ลองมาทบทวนการรายรับ รายจ่ายในแต่ละเดือนของตน ว่าพร้อมรับภาระค่าเบี้ยประกันชีวิตหรือไม่ เพราะถึงปัจจุบันบริษัทประกันภัยเปิดให้ชำระค่าเบี้ยผ่านบัตรเครดิตแล้วเลือกผ่อน 0% หรือผ่อนชำระแบบมีดอกเบี้ยตามโปรโมชั่นบัตรเครดิต ณ ขณะนั้น แต่ย่อมมีโอกาสที่ในบางเดือนคุณอาจตกอยู่ในสถานการณ์ขาดสภาพคล่องทางการเงินได้เช่นกัน ดังนั้นควรพิจารณาให้รอบด้านว่ามีความจำเป็นต้องซื้อประกันชีวิตหรือไม่ และพร้อมกับการชำระเบี้ยในแต่ละงวดไหม
(3) ศึกษาเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันชีวิต
ก่อนตัดสินใจทำประกันชีวิตไม่ว่าของตนเองหรือพ่อแม่ ควรศึกษาเงื่อนไขของกรมธรรม์ประกันชีวิตอย่างละเอียด แม้กรมธรรม์ประกันชีวิตส่วนใหญ่มีข้อยกเว้นความคุ้มครองไม่ต่างกันมาก แต่ถ้าเลือกทำประกันสุขภาพพ่วงกับประกันชีวิต จะมีข้อยกเว้นความคุ้มครองที่เกี่ยวกับระยะเวลาที่เกิดโรคหลังจากกรมธรรม์มีผลบังคับ หรือโรคที่เป็นมาก่อนทำประกัน ดังนั้นหากมีข้อสงสัยตรงจุดไหนให้รีบสอบถามตัวแทนประกันทันที เพื่อผลประโยชน์ที่ครอบคลุมและคุ้มค่าสูงสุด
(4) วงเงินคุ้มครอง ตรงตามความต้องการหรือไม่
ก่อนทำประกันชีวิตลองดูวงเงินคุ้มครองของกรมธรรม์ที่สนใจอีกครั้ง ว่าเพียงพอต่อการดูแลคนข้างหลังยามที่คุณไม่อยู่หรือไม่ รวมถึงผลตอบแทนจากเงินออมตามแผนประกันเพียงพอให้คุณใช้ชีวิตยามเกษียณไหม
สมัครบัตรเครดิต เสริมสภาพคล่องทางการเงิน ลดปัญหาจ่ายเบี้ยประกันล่าช้า
(5) เบี้ยประกัน สัมพันธ์กับงบในกระเป๋าไหม
อย่าลืมว่ายิ่งวงเงินคุ้มครองสูงสิ่งที่ตามมาคือค่าเบี้ยประกันภัยที่แพงขึ้น แน่นอนว่าคุณไม่ได้จ่ายค่าเบี้ยประกันภัยแค่ปีเดียวจบ เพราะสัญญาส่วนใหญ่กำหนดให้จ่าย 5 ปี 10 ปี หรือ 15 ปี แต่บางกรมธรรม์ระบุเป็นช่วงอายุ เช่น ชำระค่าเบี้ยถึงอายุ 65 ปี หรือ 70 ปี เป็นต้น ฉะนั้นควรพิจารณาว่าในระยะยาวคุณสามารถแบกภาระค่าใช้จ่ายตรงส่วนนี้ไหวหรือไม่ เพื่อให้ได้แผนความคุ้มครองที่ค่าเบี้ยประกันภัยไม่สร้างความลำบากให้กับตนเอง
(6) ประกันชีวิตแบบไหน ลดหย่อนภาษีได้
วางแผนภาษีผ่านการทำประกันชีวิต
หลายคนอาจไม่รู้ว่า ประกันชีวิตทั่วไปและประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถนำเบี้ยประกันมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่อัตราในการลดหย่อนภาษีแตกต่างกัน ดังนี้
- เบี้ยประกันชีวิตทั่วไป สามารถนำมาลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ต้องไม่เกิน 100,000 บาท ส่วนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้นำมาหักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายจริงเช่นกัน แต่ต้องไม่เกิน 10,000 บาท
- เบี้ยประกันชีวิตแบบบำนาญ สามารถลดหย่อนภาษีได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 15% ของเงินได้ที่ต้องเสียภาษีและต้องไม่เกิน 200,000 บาท และเมื่อรวมกับเงินที่จ่ายเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ กองทุนสงเคราะห์ครูโรงเรียนเอกชน ค่าซื้อหน่วยลงทุนกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพแล้ว ต้องไม่เกิน 500,000 บาท
นอกจากนี้ประกันชีวิตทั้ง 2 แบบ ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขที่ว่า เป็นกรมธรรม์ประกันชีวิตที่มีความคุ้มครองตั้งแต่ 10 ปีขึ้นไป และบริษัทประกันชีวิตต้องดำเนินกิจการในประเทศไทย
นี่เป็นเพียงคำแนะนำคร่าว ๆ ที่ควรพิจารณาก่อนเลือกสมัครประกันชีวิตว่ากรมธรรม์ที่ให้ความสนใจตรงความต้องการและสามารถชำระเบี้ยประกันในแต่ละงวดได้หรือไม่ ส่วนใครที่ไม่รู้ว่าเลือกสรรแผนประกันที่เชื่อถือได้จากไหน ขอแนะนำผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตจากกรุงไทย แอกซ่า, AIA, ไทยประกันชีวิต, พรูเด็นเชียล ประกันชีวิต, กรุงเทพประกันชีวิต, FWD LIFE INSURANCE หรืออาคเนย์ประกันชีวิต เป็นต้น แต่สุดท้ายการทำประกันชีวิตก็ขึ้นอยู่กับศักยภาพและความเหมาะสมของแต่ละบุคคลด้วย
เปลี่ยนวงเงินในบัตรเครดิต เป็นค่าเบี้ยประกันชีวิต
ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี