โรคระบาด, อุบัติเหตุ, การเจ็บป่วยของคนใกล้ตัว หรือเหตุผลต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับสุขภาพและชีวิต ทำให้เด็กรุ่นใหม่ หลายคนเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของการมีหลักประกันทางการเงิน ทำให้เริ่มสนใจการทำประกันมากขึ้น แต่หลายคนยังคงสับสนหรือเข้าใจผิดระหว่างประกันชีวิตกับประกันสุขภาพ บางคนคิดว่าประกันชีวิตก็ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลได้เหมือนประกันสุขภาพ หรือบางคนเข้าใจว่าการมีประกันสุขภาพแล้วจึงไม่จำเป็นต้องมีประกันชีวิต ซึ่งความเข้าใจผิดนี้อาจส่งผลกระทบมากกว่าที่เราคิด บทความนี้จึงจะพาทุกท่านมาทำความเข้าใจความแตกต่างระหว่างประกันชีวิตและประกันสุขภาพอย่างชัดเจน เพื่อให้สามารถตัดสินใจเลือกประกันได้อย่างเหมาะสมที่สุด
ประกันชีวิตคืออะไร?
ประกันชีวิต คือการทำสัญญากับบริษัทประกันภัย โดยที่ผู้เอาประกันจ่ายเบี้ยเป็นรายเดือน/ปี เพื่อให้บริษัทประกันจ่ายเงินจำนวนหนึ่งให้ ผู้รับผลประโยชน์ เมื่อผู้เอาประกันเสียชีวิต ทำให้ประกันชีวิตเป็นเครื่องมือทางการเงินที่สำคัญในการวางแผนการเงินและสร้างความมั่นคงให้กับครอบครัว
1. ประกันชีวิตแบบมีกำหนดระยะเวลา (Term Life Insurance)
ประกันชีวิตแบบนี้ให้ความคุ้มครองเป็นระยะเวลาจำกัด ซึ่งอาจเป็น 10 ปี 20 ปี หรือ 30 ปี โดยมีลักษณะเด่นคือเบี้ยประกันที่ค่อนข้างถูก เพราะเป็นการประกันแบบบริสุทธิ์ที่ไม่มีส่วนของการออมทรัพย์ ข้อดีคือเบี้ยประกันต่ำ เหมาะกับคนที่มีรายได้จำกัด ได้ความคุ้มครองสูงด้วยเงินเบี้ยประกันที่น้อย และเหมาะกับการคุ้มครองภาระหนี้สิน เช่น สินเชื่อบ้าน
2. ประกันชีวิตแบบตลอดชีพ (Whole Life Insurance)
ประกันชีวิตประเภทนี้ให้ความคุ้มครองตลอดชีวิต พร้อมกับมีส่วนของการสะสมเงินออม ซึ่งจะค่อย ๆ เพิ่มมูลค่าตามเวลา
ข้อดีคือให้ความคุ้มครองตลอดชีวิต ไม่มีวันหมดอายุ มีมูลค่าเงินคืนที่เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เบี้ยประกันคงที่ ไม่เพิ่มตามอายุ แต่เบี้ยประกันสูงกว่าแบบมีกำหนดระยะเวลาและผลตอบแทนจากการออมอาจไม่สูงมากนัก
3. ประกันชีวิตแบบสะสมทรัพย์ (Endowment Insurance)
ประกันแบบสะสมทรัพย์จะเน้นการออมทรัพย์เป็นหลัก โดยผู้เอาประกันจะได้รับเงินคืนเมื่อครบกำหนดสัญญา ไม่ว่าจะเสียชีวิตหรือมีชีวิตอยู่ เหมาะกับคนที่ต้องการออมเงินเพื่อเป้าหมายเฉพาะ เช่น ค่าเรียนลูก คนที่มีวินัยในการออมไม่ดี คนที่ต้องการความแน่นอนในการได้เงินคืน
4. ประกันชีวิตแบบยูนิตลิงค์ (Unit-Linked Insurance)
ประกันชีวิตที่เชื่อมโยงกับกองทุนรวม ซึ่งผู้เอาประกันสามารถเลือกลงทุนในกองทุนต่างๆ ตามความเสี่ยงที่ยอมรับได้ ข้อดี คือโอกาสได้ผลตอบแทนสูงจากการลงทุน มีความยืดหยุ่นในการเลือกกองทุน และสามารถปรับเปลี่ยนแผนการลงทุนได้ แต่ทั้งนี้ผลตอบแทนไม่แน่นอน อาจขาดทุนได้ จำเป็นต้องมีความรู้ในการลงทุนและเงินเย็นเพราะค่าใช้จ่ายในการบริหารค่อนข้างสูง
5. ประกันชีวิตแบบบำนาญ (Annuity Insurance)
ประกันชีวิตแบบบำนาญออกแบบมาเพื่อสร้างรายได้ประจำหลังเกษียณอายุ โดยจะจ่ายเงินให้เป็นรายเดือนเมื่อถึงวัยที่กำหนด ข้อดีคือสร้างรายได้ประจำหลังเกษียณ ลดความกังวลเรื่องเงินใช้ในวัยชรา และบางแผนมีก็การรับประกันจำนวนเงินที่จ่าย
6. ประกันชีวิตแบบกลุ่ม (Group Life Insurance)
ประกันที่บริษัทหรือองค์กรจัดให้พนักงาน มักมีเบี้ยประกันที่ถูกกว่าการทำประกันรายบุคคล ข้อดีตือเบี้ยประกันค่อนข้างถูก เพราะมีการรวมกลุ่ม ไม่ต้องตรวจสุขภาพเข้มข้น แต่ความคุ้มครองอาจไม่เพียงพอและเมื่อออกจากงานอาจเสียความคุ้มครอง
ประกันสุขภาพคืออะไร?
ประกันสุขภาพ คือ สัญญาประกันภัยที่ให้ความคุ้มครองค่าใช้จ่ายด้านการรักษาพยาบาล เมื่อผู้เอาประกันเจ็บป่วยหรือประสบอุบัติเหตุ โดยบริษัทประกันจะจ่ายค่ารักษาพยาบาลตามเงื่อนไขที่ระบุในกรมธรรม์ ซึ่งช่วยลดภาระทางการเงินจากค่าใช้จ่ายทางการแพทย์ที่อาจสูงมาก
1. ประกันสุขภาพแบบชดเชยค่ารักษา (Reimbursement Type)
เป็นประกันที่จ่ายเงินชดเชยค่ารักษาพยาบาลจริงตามใบเสร็จรับเงิน โดยมีขีดจำกัดความคุ้มครองตามที่ระบุในกรมธรรม์ จ่ายตามค่าใช้จ่ายจริง ไม่เกินวงเงินคุ้มครอง ต้องมีใบเสร็จและเอกสารการรักษาครบถ้วน สามารถเบิกค่ารักษาได้หลายแหล่ง (หากมีประกันหลายตัว) ทำให้ครอบคลุมค่าใช้จ่ายที่หลากหลายเหมาะกับคนที่ต้องการความคุ้มครองครบถ้วน
2. ประกันสุขภาพแบบจ่ายตรง (Cashless Type)
บริษัทประกันจ่ายค่ารักษาโดยตรงให้กับโรงพยาบาล ผู้เอาประกันไม่ต้องจ่ายเงินล่วงหน้า ไม่ต้องเตรียมเงินสด สะดวกในการใช้บริการ ลดภาระเรื่องเอกสาร แต่ต้องใช้บริการในโรงพยาบาลที่ร่วมรายการเท่านั้นและอาจมีขั้นตอนการอนุมัติก่อนรักษา
3. ประกันสุขภาพแบบจ่ายเงินก้อน (Lump Sum Payment)
จ่ายเงินก้อนตามจำนวนที่กำหนดไว้เมื่อเกิดเหตุการณ์ที่คุ้มครอง ไม่คำนึงถึงค่าใช้จ่ายจริง เหมาะกับการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรง การผ่าตัดใหญ่ หรือการสูญเสียอวัยวะ
4. ประกันสุขภาพรายบุคคล (Individual Health Insurance)
ประกันที่ทำเฉพาะบุคคลหนึ่งคน สามารถปรับแต่งความคุ้มครองให้เหมาะกับความต้องการได้ ความคุ้มครองเฉพาะตัว ไม่ถูกกระทบจากคนอื่น เลือกแผนได้ตามต้องการ สามารถต่ออายุได้ตลอดชีวิต
5. ประกันสุขภาพกลุ่ม (Group Health Insurance)
ประกันที่บริษัทหรือองค์กรจัดให้พนักงาน หรือกลุ่มคนที่รวมตัวกันสมัคร เบี้ยประกันถูกกว่า การตรวจสุขภาพไม่เข้มข้น แต่ความคุ้มครองอาจจำกัด และเมื่อออกจากงานก็จะทำให้สูญเสียความคุ้มครองไปเลย
6. ประกันสุขภาพครอบครัว (Family Health Insurance)
ครอบคลุมสมาชิกในครอบครัว เช่น คู่สมรส บุตร ภายใต้กรมธรรม์เดียว ประหยัดค่าใช้จ่าย จัดการง่าย มีกรมธรรม์เดียว เหมาะกับครอบครัวที่มีลูกเล็ก และอยากให้ครอบครัวทำประกันด้วยกัน
7. ประกันอุบัติเหตุส่วนบุคคล (Personal Accident Insurance)
คุ้มครองเฉพาะอุบัติเหตุที่เกิดขึ้นโดยไม่คาดคิด ไม่รวมการเจ็บป่วยทั่วไป เช่น ทุพพลภาพถาวรจากอุบัติเหตุ ค่ารักษาพยาบาลจากอุบัติเหตุ หรือค่าชดเชยรายวันเมื่อนอนโรงพยาบาล
8. ประกันโรคร้ายแรง (Critical Illness Insurance)
ให้ความคุ้มครองเฉพาะโรคร้ายแรงที่ระบุไว้ในกรมธรรม์ เช่น มะเร็ง หัวใจ โรคไต จ่ายเงินก้อนทันทีเมื่อวินิจฉัยโรค ช่วยชดเชยรายได้ที่สูญหาย ครอบคลุมค่าใช้จ่ายนอกเหนือการรักษา
9. ประกันทันตกรรม (Dental Insurance)
คุ้มครองเฉพาะการรักษาทางทันตกรรม คุ้มครองการตรวจ ขูดหินปูน การอุด ถอน รักษารากฟัน การใส่ฟันปลอม หรือบางแผนก็คุ้มครองไปถึงการจัดฟัน
10. ประกันการเดินทาง (Travel Insurance)
คุ้มครองระหว่างเดินทางทั้งในและต่างประเทศ คุ้มครองตั้งแต่ค่ารักษาพยาบาลระหว่างเดินทาง การขนส่งกลับประเทศ ค่าชดเชยการยกเลิกการเดินทาง
ประกันชีวิต vs ประกันสุขภาพ ต่างกันอย่างไร
ประกันชีวิตทำหน้าที่เป็นเครื่องมือสร้างหลักประกันทางการเงินให้กับครอบครัวในกรณีที่เสียชีวิต ในขณะที่ประกันสุขภาพเป็นเครื่องมือช่วยลดภาระค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย
แต่หลายคนเข้าใจว่าประกันชีวิตกับประกันสุขภาพเหมือนกัน ปัญหาที่ตามมาจากความเข้าใจผิดนี้อาจส่งผลกระทบต่อการวางแผนการเงินและการป้องกันความเสี่ยง หากเข้าใจผิดว่าประกันชีวิตจะช่วยจ่ายค่ารักษาพยาบาลเมื่อเจ็บป่วย อาจทำให้ไม่ได้เตรียมเงินสำรองหรือไม่ได้ซื้อประกันสุขภาพเพิ่มเติม และเมื่อเกิดเหตุการณ์จริง ก็อาจต้องเผชิญกับภาระค่าใช้จ่ายที่ไม่คาดคิด
เปรียบเทียบประกันชีวิต vs ประกันสุขภาพ
หัวข้อ | ประกันชีวิต | ประกันสุขภาพ |
---|---|---|
จุดประสงค์หลัก | คุ้มครองกรณีเสียชีวิต | คุ้มครองค่ารักษาพยาบาลจากการเจ็บป่วย/อุบัติเหตุ |
รูปแบบการจ่ายเงิน | จ่ายเงินก้อนให้ผู้รับผลประโยชน์เมื่อเสียชีวิต หรือคืนเงินเมื่อครบสัญญา (บางแบบ) | จ่ายค่ารักษาพยาบาลให้ผู้เอาประกันตามวงเงิน |
ประเภทหลัก | - แบบชั่วระยะเวลา - แบบตลอดชีพ - แบบสะสมทรัพย์ - แบบควบการลงทุน | - ผู้ป่วยใน (IPD) - ผู้ป่วยนอก (OPD) - โรคร้ายแรง - อุบัติเหตุส่วนบุคคล |
คุ้มครองชีวิตหรือไม่? | คุ้มครองการเสียชีวิตโดยตรง | ไม่คุ้มครองชีวิตโดยตรง (แต่คุ้มครองค่ารักษา) |
คุ้มครองค่ารักษาหรือไม่? | ไม่ครอบคลุมค่ารักษาพยาบาลโดยตรง | ครอบคลุมค่ารักษาตามแผนที่เลือก |
มีเงินคืนหรือไม่? | มีในบางแผน เช่น สะสมทรัพย์หรือตลอดชีพ | ส่วนใหญ่ไม่มีเงินคืน (เป็นแบบจ่ายแล้วจบ) |
เหมาะกับใคร? | ผู้ที่ต้องการวางแผนการเงิน/ส่งต่อทรัพย์ให้ครอบครัว | ผู้ที่ต้องการลดภาระค่ารักษาพยาบาล |
ซื้อควบกันได้หรือไม่? | ซื้อร่วมกับประกันสุขภาพได้ (ผ่าน Rider) | มักซื้อพ่วงกับประกันชีวิตเพื่อเสริมคุ้มครอง |
ลดหย่อนภาษีได้ไหม? | ได้สูงสุด 100,000–200,000 บาทต่อปี | ได้สูงสุด 25,000 บาท/ปี (ตามเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด) |
ประกันชีวิต vs ประกันสุขภาพควรเลือกแบบไหนก่อน? หรือควรมีทั้งคู่?
คำแนะนำในหารพิจารณาเลือกซื้อประกัน ซื้ออะไรก่อนดี?
1.ประเมินงบประกันต่อปี
- คนส่วนใหญ่มักกันงบประกันไว้ไม่เกิน 10–15% ของรายได้ต่อปี
- ถ้างบน้อย แนะนำเลือก “แผนสุขภาพพื้นฐาน” ก่อน แล้วค่อยเพิ่มประกันชีวิตภายหลัง
2.พิจารณาลดหย่อนภาษี
- ประกันชีวิต: ลดหย่อนได้สูงสุด 100,000–200,000 บาท/ปี
- ประกันสุขภาพ:ลดหย่อนได้สูงสุด 25,000 บาท/ปี (เมื่อซื้อพ่วงกับชีวิต)
หรือถ้าให้สรุปแบบเข้าใจเลยก็คือ ถ้างบน้อย ให้เริ่มที่ประกันสุขภาพ ก่อน เพื่อป้องกันค่ารักษาฉุกเฉิน แต่ถ้ามีคนที่ต้องดูแลก็แนะนำให้ทำประกันชีวิตเผื่อเกิดเหตุไม่คาดฝัน แต่ถ้าเลือกได้ แนะนำว่าควรมีทั้งสองแบบเพราะทำหน้าที่ต่างกันแต่ ถ้ามีทั้งประกันสุขภาพและประกันชีวิตก็จะส่งเสริมกันได้ดี
ผ่อนชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตและประกันสุขภาพปีแรก 0% นาน 3 เดือน ด้วยบัตรเครดิต
พิเศษ สำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTC
เมื่อชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตและประกันสุขภาพปีแรกของ บมจ. กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต ด้วยบัตรเครดิต KTC ตั้งแต่ 3,000 บาทขึ้นไปต่อเซลส์สลิป รับสิทธิ์ผ่อนชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตและประกันสุขภาพผ่านบริการผ่อนชำระกับบัตร KTC ในอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 0% นาน 3 เดือนโดยทำรายการผ่านช่องทางที่บมจ. กรุงไทย-แอกซ่า ประกันชีวิต
ระยะเวลาโปรโมชั่น : 1 ม.ค. 68 – 31 ธ.ค. 68
- เคทีซีไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพตามรายการนี้
โปรโมชั่น ผ่อนชำระเบี้ยประกัน AIA 0% ชำระผ่านบัตรเครดิต KTC
สิทธิพิเศษสำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTCรับสิทธิ์ผ่อนชำระเบี้ยประกันภัยปีแรก แบบรายปีของ AIA 0% นาน 6 เดือน
พร้อมสมัครบริการหักบัญชีอัตโนมัติแบบต่อเนื่อง ด้วยบัตรเครดิต KTC ผ่านช่องทางตัวแทนประกันชีวิตตามเงื่อนไขที่กำหนด
ระยะเวลาโปรโมชั่น : 1 ก.ค. 68 – 30 ก.ย. 68
- เคทีซีไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพตามรายการนี้
โปรโมชั่นกรุงเทพประกันชีวิต ( Bangkok life ) ผ่อนชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตปีแรก 0% นาน 4 เดือน
พิเศษ สำหรับสมาชิกบัตรเครดิต KTC
เมื่อผ่อนชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตปีแรก 0% นาน 4 เดือน ผ่านช่องทางตัวแทนและที่ปรึกษาทางการเงินและช่องทางออนไลน์ ของ บมจ. กรุงเทพประกันชีวิต ด้วยบัตรเครดิต KTC ตั้งแต่2,000 บาทขึ้นไปต่อเซลล์สลิป
รับสิทธิ์ผ่อนชำระค่าเบี้ยประกันชีวิตดังกล่าวผ่านบริการผ่อนชำระกับบัตร KTC ในอัตราดอกเบี้ยและค่าธรรมเนียมการใช้วงเงิน 0% นาน 4 เดือน
ระยะเวลาโปรโมชั่น: 1 พ.ย.67 - 31 ต.ค. 68
- เคทีซีไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตและประกันสุขภาพตามรายการนี้
ประกันชีวิตและประกันสุขภาพ ทั้งสองประเภทนี้มีบทบาทที่แตกต่างกันและเสริมซึ่งกันและกัน การมีความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องจะช่วยให้เลือกซื้อประกันได้ตรงกับความต้องการ จัดสรรงบประมาณได้เหมาะสม และที่สำคัญคือได้รับการคุ้มครองที่ครอบคลุมทุกมิติของความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นในชีวิต ที่สำคัญคือการซื้อประกันชีวิตไม่จำเป็นต้องใช้เงินสด แต่สามารถใช้บัตรเครดิตได้ ช่วยจัดการเรื่องเงิน, วางแผนการเงินในแต่ละเดือน แถมยังได้สิทธิประโยชน์คุ้ม ๆ กลับมาอีกเพียบ ใครยังไม่มีก็กดสมัครบัตรเครดิต KTCผ่านช่องทางออนไลน์ได้ตลอด 24 ชั่วโมง นอกจากโปรโมชั่นตลอดปีแล้วยังมีคะแนน KTC FOREVER ให้ได้สะสมเพื่อใช้แลกรับเป็นเครดิตเงินคืนหรือส่วนลดได้แบบไม่จำกัดอีกด้วย
ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC