• Credit Card
    • Credit Card
    • Rewards Program
    • Installment Payment
    • Donation
    • Auto Payment
    • Rates and Fees
    • KTC Device Pay
  • Personal Loan
    • Loan Product
    • Installment Payment
    • Rates and Fees
  • Promotions
  • Merchant
    • Merchant Service
    • EDC Service
    • QR Code Payment
    • Online Payment Gateway
    • Auto Payment Service
    • Link Payment
    • ALIPAY & ALIPAY+
  • KTC WORLD
  • KTC U SHOP
  • Customer Service
    • Contact KTC
    • KTC MOBILE APPLICATION
    • Payment Channel
    • KTC E-Book
    • Download Manual / Form
    • FAQ
Credit Card
Credit Card
  • Credit Card
  • Forever Rewards
  • Flexi Installment
  • Donation
  • Auto Payment
  • Rates and Fees
  • KTC Device Pay
Personal Loan
Personal Loan
  • Loan Product
  • Flexi Installment
  • Rates and Fees
PromotionsPromotions
Merchant
Merchant
  • Merchant Service
  • EDC Service
  • QR Code Payment
  • Online Payment Gateway
  • Auto Payment Service
  • Link Payment
  • ALIPAY & ALIPAY+
KTC WORLDKTC WORLD KTC U SHOPKTC U SHOP
Customer Service
Customer Service
  • Contact KTC
  • KTC MOBILE APPLICATION
  • Payment Channel
  • KTC E-Book
  • Download Manual / Form
  • FAQ
เปลี่ยนภาษา

EN

TH

KTC Search Icon KTC Search Icon
Apply Card
KTC Login KTC Login Login KTC Login
KTC Profile

My Account

  • KTC Profile

    My Product

  • KTC Promotions

    My Promotions

  • KTC Logout

    Log out

KTC Profile
  1. Home
  2. /
  3. Article
  4. /
  5. Knowledge
  6. /
  7. แผนกสำคัญของบริษัทมีอะไรบ้าง ตำแหน่งพนักงานออฟฟิศ มีกี่ระดับ ?
  1. Home
  2. /
  3. Article
  4. /
  5. Knowledge
  6. /
  7. แผนกสำคัญของบริษัทมีอะไรบ้าง ตำแหน่งพนักงานออฟฟิศ มีกี่ระดับ ?
ตำแหน่งงานมีอะไรบ้าง

แผนกสำคัญของบริษัทมีอะไรบ้าง ตำแหน่งพนักงานออฟฟิศ มีกี่ระดับ ?

Category : Knowledge

ทุกองค์กรไม่ว่าจะเป็นธุรกิจขนาดเล็กหรือองค์กรขนาดใหญ่ล้วนต้องมีแผนกสำคัญ ที่ช่วยให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่นและมีประสิทธิภาพ แผนกเหล่านี้ทำหน้าที่แตกต่างกันไป ตั้งแต่การพัฒนากลยุทธ์ทางธุรกิจ บริหารทรัพยากรบุคคล ดูแลการเงิน หรือการตลาด ซึ่งแต่ละแผนกนั้นต่างมีบทบาทสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรไปสู่ความสำเร็จ

นอกจากแผนกที่แตกต่างกันแล้ว โครงสร้างตำแหน่งงานของพนักงานออฟฟิศ ก็เป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ช่วยให้บริษัททำงานได้อย่างมีระบบ ตำแหน่งพนักงานออฟฟิศสามารถแบ่งออกเป็นหลายระดับ ตั้งแต่ ระดับปฏิบัติการ (Entry-Level) ไปจนถึง ระดับผู้บริหาร (Executive-Level) โดยแต่ละระดับมีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบที่แตกต่างกัน ฉะนั้น วันนี้เราจะพาคุณไปรู้จักกันตั้งแต่แผนกสำคัญของบริษัท รวมถึงระดับของตำแหน่งพนักงานออฟฟิศ เพื่อให้คุณเข้าใจโครงสร้างองค์กรได้ดีขึ้น ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานที่กำลังเริ่มต้นทำงาน หรือผู้ที่ต้องการเติบโตในสายอาชีพของตนเอง

โครงสร้างบริษัทมีกี่แบบ ?

รูปแบบโครงสร้างบริษัทนั้นมีทั้งหมด 7 แบบ โดยแต่ละแบบจะความเหมาะสมกับองค์กรหรือบริษัทที่มีวัฒนธรรมการทำงานที่แตกต่างกันไป ซึ่งรายละเอียดทั้ง 7 แบบมีดังต่อไปนี้

  1. โครงสร้างองค์กรแบบลำดับขั้น (Hierarchical Structure) เป็นโครงสร้างองค์กรแบบลำดับขั้น คือโครงสร้างแบบพีระมิด โดยมี CEO อยู่สูงสุดและไล่ลำดับตำแหน่งตามสายงานลงมา
  2. โครงสร้างองค์กรตามสายงาน (Functional Structure) เป็นรูปแบบของโครงสร้างองค์กรที่มีการแบ่งแผนกหรือหน่วยงานตามลักษณะหน้าที่ เช่น ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการเงิน ฝ่ายทรัพยากรบุคคล เป็นต้น
  3. โครงสร้างองค์กรแบบเมทริกซ์ (Matrix Structure) โครงสร้างองค์กรที่มีลักษณะเหมือนตาราง ผสมระหว่างโครงสร้างตามสายงานและโครงสร้างแบบมีสาขา ทำให้พนักงานในองค์กรจะมีสายการรายงาน กับผู้จัดการหลายคนในเวลาเดียวกัน
  4. โครงสร้างองค์กรแบบมีสาขาหรือหน่วยงานย่อย (Divisional Structure) โครงสร้างองค์กร ที่แบ่งแยกเป็นหน่วยงานย่อยหรือสาขาตามผลิตภัณฑ์ บริการ หรือภูมิภาคต่างๆ โดยแต่ละหน่วยงาน จะมีความเป็นอิสระในการดำเนินงาน และมีการจัดการแยกจากหน่วยงานอื่นๆ เพื่อให้สามารถตอบสนองความต้องการของตลาดได้อย่างรวดเร็ว
  5. โครงสร้างองค์กรแบบเครือข่าย (Network Structure) เป็นโครงสร้างองค์กรแบบศูนย์กลางและกระจายออกไปตามภูมิภาค หรือ รูปแบบการจัดโครงสร้างองค์กรที่มีการเชื่อมโยงระหว่างหน่วยงานหรือองค์กรที่แตกต่างกัน โดยมีการทำงานร่วมกันในรูปแบบของเครือข่ายภายนอก
  6. โครงสร้างองค์กรแบบทีม (Team-based Structure) โครงสร้างองค์กรที่เน้นการจัดตั้งหน่วยงานย่อยแบบทีม มุ่งเน้นการทำงานร่วมกันในทีมเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความคิดสร้างสรรค์
  7. โครงสร้างองค์กรแนวนอนหรือแบนราบ (Horizontal or Flat Structure) โครงสร้างองค์กรที่มีลำดับชั้นน้อย หรือแทบไม่มีลำดับชั้นระหว่างผู้บริหารและพนักงาน จึงเหมาะและเป็นที่นิยมในองค์กรที่เป็น Startup


ขอบคุณข้อมูลจาก https://www.ktc.co.th/article/knowledge/business/organization-structure-types

แผนกสำคัญของบริษัทมีอะไรบ้าง ?

บริษัทที่มีประสิทธิภาพส่วนใหญ่ จะประกอบไปด้วยแผนกต่างๆ ที่ทำงานร่วมกัน เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปได้อย่างราบรื่น โดยแต่ละแผนกมีบทบาทและตำแหน่งงานที่แยกหน้าที่เฉพาะเจาะจง ซึ่งสามารถแบ่งออกเป็น แผนกหลักที่สำคัญๆ ได้ดังนี้

1.แผนกบริหาร (Management Department)

เป็นแผนกที่กำหนดทิศทางและกลยุทธ์ของบริษัท โดยจะประกอบไปด้วยผู้บริหารระดับสูง (C-Level) เช่น CEO, CFO, COO ทำหน้าที่กำหนดนโยบาย แผนธุรกิจ และการตัดสินใจที่สำคัญๆ ต่างๆ

2.แผนกทรัพยากรบุคคล (Human Resources หรือ HR)

แผนกที่ดูแลเกี่ยวกับการสรรหา อบรมพนักงาน เงินเดือนและสวัสดิการ วัฒนธรรมองค์กร และกิจกรรมต่างๆ ของพนักงาน เพื่อให้พนักงานสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ และช่วยลดอัตราการลาออก

3.แผนกการเงินและบัญชี (Finance & Accounting)

แผนกที่มีบุคลากรที่จัดการเรื่องงบประมาณ ดูแลรายรับ-รายจ่าย ภาษี และการวางแผนทางการเงิน เพื่อให้บริษัทมีสภาพคล่องและสามารถทำกำไรได้

4.แผนกการตลาด (Marketing Department)

ทำหน้าที่ วางกลยุทธ์การตลาด โฆษณา ประชาสัมพันธ์ และดูแลแบรนด์ เพื่อให้สินค้าและบริการเป็นที่รู้จักและดึงดูดลูกค้า

5.แผนกขาย (Sales Department)

แผนกที่รับผิดชอบ การปิดการขาย หาลูกค้าใหม่ และสร้างความสัมพันธ์กับลูกค้า เพื่อเพิ่มรายได้ให้บริษัท

6.แผนกไอที (Information Technology - IT)

แผนกที่ดูแลด้านระบบคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์ ความปลอดภัยของข้อมูล และอื่นๆ เพื่อสนับสนุนการทำงานของทุกแผนก

7.แผนกบริการลูกค้า (Customer Service & Support)

แผนกที่มีตำแหน่งงานที่รับผิดชอบในการให้ข้อมูล แก้ไขปัญหา และดูแลลูกค้า เพื่อสร้างความพึงพอใจและรักษาฐานลูกค้าให้ยั่งยืน

นอกจากนี้ ก็ยังมีแผนกอื่นๆ อีกมากมาย อาทิ แผนกปฏิบัติการ (Operations Department) แผนกวิจัยและพัฒนา (Research & Development - R&D) แผนกวิศวกรรม (Engineering) แผนกวิทยาการข้อมูล (Data) ทั้งนี้ ก็ขึ้นอยู่กับตัวธุรกิจของบริษัทนั้นๆ อย่างไรก็ตาม แผนกต่างๆ ในองค์กรนั้นล้วนมีความสำคัญต่อการขับเคลื่อนธุรกิจไปข้างหน้าไม่ต่างกัน

ตำแหน่งงานมีอะไรบ้าง

โครงสร้างของออฟฟิศเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบที่ช่วยให้บริษัททำงานได้อย่างเป็นระบบ

ตำแหน่งงานพนักงานออฟฟิศ มีกี่ระดับ ? มีตำแหน่งอะไรบ้าง ?

ตำแหน่งพนักงานออฟฟิศสามารถแบ่งออกเป็น 5 ระดับหลัก ตั้งแต่ ผู้บริหารระดับสูง ผู้จัดการ หัวหน้างาน พนักงานปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สนับสนุน โดยแต่ละตำแหน่งมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน และสามารถแบ่งออกเป็น ระดับของพนักงานออฟฟิศ ได้ดังนี้

1.ระดับผู้บริหาร (Executive Level / C-Level)

อย่างที่กล่าวไป ว่าผู้บริหารเป็นระดับที่กำหนดทิศทางธุรกิจ วางกลยุทธ์ และบริหารองค์กรโดยรวม ทั้งนี้แต่ละบริษัทอาจมีชื่อเรียกแตกต่างกันไป ทั้งนี้ ตำแหน่งงานที่สำคัญ ได้แก่

  • CEO (Chief Executive Officer) – ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ดูแลภาพรวมของบริษัท
  • CFO (Chief Financial Officer) – ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการเงิน ควบคุมด้านงบประมาณและการเงิน
  • COO (Chief Operating Officer) – ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ ดูแลกระบวนการทำงานขององค์กร
  • CMO (Chief Marketing Officer) – ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด วางกลยุทธ์และสร้างแบรนด์
  • CTO (Chief Technology Officer) – ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายเทคโนโลยี ดูแลระบบไอทีและนวัตกรรม

นอกจากนี้ ก็ยังมีตำแหน่งงานอื่นๆ เช่น ผู้อำนวยการ (Director) และ รองประธาน (Vice President) ก็อยู่ในตำแหน่งผู้บริหารเช่นกัน

2.ระดับผู้จัดการ (Manager Level)

ทำหน้าที่บริหารทีม ควบคุมการดำเนินงานของแต่ละแผนก และส่งต่อกลยุทธ์จากผู้บริหารไปสู่พนักงาน ตำแหน่งในระดับนี้ ได้แก่

  • General Manager (GM) – ผู้จัดการทั่วไป ดูแลการดำเนินงานโดยรวมขององค์กร
  • Marketing Manager – ผู้จัดการฝ่ายการตลาด ดูแลกลยุทธ์และแคมเปญโฆษณา
  • Sales Manager – ผู้จัดการฝ่ายขาย ควบคุมยอดขายและบริหารทีมขาย
  • HR Manager – ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล ดูแลการสรรหาพนักงานและสวัสดิการ
  • Finance Manager – ผู้จัดการฝ่ายการเงิน ดูแลบัญชีและงบประมาณ

3.ระดับหัวหน้างาน (Supervisor Level)

ดูแลพนักงานระดับปฏิบัติการ ควบคุมงานประจำวัน และรายงานผลให้กับผู้จัดการ ในองค์กรทั่วไป Supervisor Level และ Senior Level เป็นตำแหน่งที่อยู่เหนือพนักงานทั่วไป (Staff / Officer) แต่ยังไม่ถึงระดับผู้จัดการ (Manager) และทั้งสองตำแหน่งอาจไม่ได้อยู่ในลำดับเดียวกันเสมอไป ขึ้นอยู่กับโครงสร้างของแต่ละองค์กร ทั้งนี้ ตำแหน่งงานในระดับหัวหน้างาน ก็อย่างเช่น

  • Team Leader – หัวหน้าทีม ดูแลการทำงานของทีมและกระจายงาน
  • Customer Service Supervisor – หัวหน้างานบริการลูกค้า ควบคุมคุณภาพการให้บริการ
  • Sales Supervisor – หัวหน้าฝ่ายขาย ดูแลยอดขายและให้คำแนะนำทีมขาย

4.ระดับปฏิบัติการ (Operational Level / Staff Level)

Operational Level หรือ Staff Level คือระดับพนักงานปฏิบัติการที่เป็นกำลังหลักขององค์กร ทำงานตามหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายในแต่ละแผนก โดยมุ่งเน้นการดำเนินงานให้เป็นไปตามเป้าหมายขององค์กร ยกตัวอย่างตำแหน่งงานได้ต่อไปนี้

  • Marketing Executive / Marketing Coordinator – เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด
  • Sales Representative – พนักงานขาย
  • HR Officer – เจ้าหน้าที่ฝ่ายบุคคล
  • Accountant – นักบัญชี
  • Customer Service Representative – เจ้าหน้าที่บริการลูกค้า
  • IT Support – เจ้าหน้าที่ไอที

5.ระดับเจ้าหน้าที่สนับสนุน (Administrative Level)

เป็นกลุ่มพนักงานที่มีหน้าที่ช่วยเหลือและอำนวยความสะดวกให้กับแผนกต่างๆ ในองค์กร ทำให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างราบรื่น โดยงานในระดับนี้มักเน้นที่การจัดการเอกสาร ระบบข้อมูล การประสานงาน และการสนับสนุนด้านทรัพยากรต่างๆ เช่น

  • Administrative Officer (Admin) – เจ้าหน้าที่ธุรการ
  • Secretary – เลขานุการผู้บริหาร
  • Receptionist – พนักงานต้อนรับ
  • Office Assistant – ผู้ช่วยสำนักงาน

จากที่กล่าวไปทั้งหมดจะเห็นได้ว่าแต่ละบริษัทอาจมีโครงสร้างองค์กร แผนก และตำแหน่งงานที่แตกต่างกันไป ขึ้นอยู่กับประเภทและขนาดของธุรกิจ ดังนั้นแล้ว การเข้าใจโครงสร้างบริษัท แผนก และเส้นทางความก้าวหน้าในสายงานของตนเองย่อมเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะช่วยให้คุณสามารถวางแผนพัฒนาทักษะ และก้าวสู่ตำแหน่งที่สูงขึ้นได้อย่างมั่นใจ ไม่ว่าคุณจะเป็นพนักงานปฏิบัติการ เจ้าหน้าที่สนับสนุน หรือผู้บริหาร ทุกบทบาทล้วนมีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนองค์กรสู่ความสำเร็จ


แต่ถ้าคุณกำลังมองหาตัวช่วยในการจัดการการเงินให้ประสบความสำเร็จ สร้างความคล่องตัวและยืดหยุ่นมากขึ้น บัตรเครดิต KTC คือตัวเลือกที่ตอบโจทย์ ด้วยสิทธิประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็น ส่วนลดจากร้านค้าชั้นนำ, คะแนน KTC FOREVER ที่สามารถแลกรับเป็นส่วนลด หรือเครดิตเงินคืน นอกจากนี้ ไม่มีค่าธรรมเนียมแรกเข้าและรายปี สมัครง่ายผ่านระบบออนไลน์ พร้อมเลือกบัตรฯ ที่เหมาะกับไลฟ์สไตล์ของคุณ รับรองว่าทุกการใช้จ่ายจะคุ้มค่ายิ่งขึ้น

ใช้จ่าย คุ้มค่า นึกถึงบัตรเครดิต KTC

Apply Online Service

KTC Credit cards and KTC PROUD

QR Code สมัครออนไลน์ด้วยตนเอง
Scan QR Code
to apply online service
KTC is currently improving image display,
which may cause some items to be displayed incompletely.
Learn more

Apply Online Service

KTC Credit cards
and KTC PROUD

Apply Now
KTC is currently improving image display, which may cause some items to be displayed incompletely.
Learn more

Add your contact details
for call back service.

Get advice and help with applying KTC products.

บัตรเครดิต KTC KTC Credit Card สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH KTC CASH KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC P BERM
Car for Cash (Big bike)
บัตรกดเงินสด KTC PROUD KTC PROUD สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC P BERM
Car for Cash (Car)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC P BERM
Car for Cash
(Motorcycle)
บัตรเครดิต KTC KTC Credit Card บัตรกดเงินสด KTC PROUD KTC PROUD สินเชื่ออเนกประสงค์ KTC CASH KTC CASH สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ KTC พี่เบิ้ม KTC P BERM
Car for Cash (Car)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน บิ๊กไบค์ KTC P BERM
Car for Cash (Big bike)
KTC พี่เบิ้ม รถแลกเงิน มอเตอร์ไซค์ KTC P BERM
Car for Cash
(Motorcycle)

About KTC

  • Vision / Mission
  • General Information
  • Group’s Shareholding
  • Organization Structure
  • Board of Directors
  • Executives
  • Company Secretary
  • Compliance and Internal Audit
  • Financial Controller
  • Data Protection Notice
  • Cookies Notice
  • PR News
  • Article
  • Career / Internship

Customer Services

  • Online Services
  • Rates and Fees
  • Interest / Fee Calculator
  • Payment Channels
  • KTC Auto Payment
  • Download
  • Announcement
  • FAQ
  • Site Map

Sustainability Development

  • Economic Dimension
  • Social Dimension
  • Environmental Dimension
  • Internal Control
    and Risk Management
  • Information Security Management System (ISO/IEC 27001:2013) Certification

Investor Relations

  • Financial Hightlight
  • Publications and Webcast
  • Shareholder
  • Bondholder
  • Policy
  • IR Contact

KTC PHONE

02 123 5000
CAC Certified

Download App

KTC Mobile
KTC Mobile KTC Mobile KTC Mobile
ติดตามข่าวสารได้ที่
KTC LINE KTC LINE KTC Facebook KTC Facebook KTC instagram KTC instagram KTC Youtube KTC Youtube KTC TikTok KTC TikTok KTC twitter KTC twitter
© 2020 Krungthai Card PCL.
Follow us on
KTC LINE KTC LINE KTC Facebook KTC Facebook KTC instagram KTC instagram KTC Youtube KTC Youtube KTC TikTok KTC TikTok KTC twitter KTC twitter

EN

TH

KTC LIVE CHAT

Live Chat

KTC LIVE CHAT
สมัครบัตรเครดิต KTC
สมัครกดเงินสด KTC PROUD
All
Promotion
Credit card
Article
News
0 Result
คุณกำลังหมายถึง?
    See more

    Not found

    Check your search keywords and try again.
    Try searching with fewer keywords.
    History Search
    History empty
    Clear all
    KTC
    Filter promotion
    All category
    • Select all
    • Clear all
    All brand
    • Select all
    • Clear all
    Choose Product

    KTC Credit Card

    KTC PROUD

    KTC CASH

    สินเชื่อทะเบียนรถยนต์ <span>KTC พี่เบิ้ม</span>

    KTC P BERM

    Filter

    ตัวกรอง

    Search
    www.ktc.co.th ไม่รองรับเบราว์เซอร์ Internet Explorer
    หากดำเนินการต่อ การใช้งานในบางเมนู/รายการอาจไม่สมบูรณ์

    © 2019 Krungthai Card PCL.

    EN

    TH

    Live Chat