นักลงทุนสัมพันธ์

นโยบายด้านภาษี

บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย (“บริษัทฯ”) กำหนดนโยบายด้านภาษีภายใต้หลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อให้การดำเนินธุรกิจของ
บริษัทฯ เติบโตได้อย่างมั่นคงและยั่งยืน ในการดำเนินงานด้านภาษี บริษัทฯ ยึดหลักความถูกต้อง โปร่งใส รับผิดชอบต่อสังคม และเป็นธรรมต่อผู้มีส่วนได้เสีย
ทุกกลุ่ม โดยมีคณะกรรมการตรวจสอบ กำกับดูแลกิจการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ซึ่งได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการบริษัทตามความ
รับผิดชอบงานที่กำหนดไว้ในกฎบัตรว่าด้วยหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติของคณะกรรมการตรวจสอบ กำกับดูแลกิจการ ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้อนุมัตินโยบายด้านภาษี

นโยบายด้านภาษีของบริษัทฯ ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบที่สำคัญ ดังนี้

1. จรรยาบรรณด้านภาษี

  • ยึดถือและปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบข้อบังคับที่เกี่ยวข้อง เพื่อการจัดการด้านภาษีเป็นไปอย่างถูกต้อง เหมาะสม
  • ใช้สิทธิประโยชน์ทางภาษี (Tax Incentives) ตามกรอบของกฎหมายและเต็มประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อผู้มีส่วนได้ เสีย ซึ่งสิทธิประโยชน์ทางภาษีอาจครอบคลุมถึงมาตรการยกเว้นภาษีในบางช่วงเวลา หรือสิทธิประโยชน์อื่น ๆ
  • มีความรับผิดชอบในการชำระภาษีอย่างถูกต้องและสอดคล้องกับธุรกรรมทางเศรษฐกิจอย่างแท้จริง และไม่โอนย้ายมูลค่าที่เกิดขึ้น ไปยังธุรกรรมของกิจการที่เสียภาษีในอัตราต่ำกว่า ปัจจุบันบริษัทฯ ดำเนินธุรกิจทั้งหมดในประเทศไทย
  • ไม่มีนโยบายในการใช้ Tax Havens ที่ใช้เป็นช่องทางหนึ่งในการระดมทุนและจัดหาสภาพคล่องให้กับบริษัทฯ และไม่ใช้โครงสร้างภาษี ไปในแนวทางที่ไม่
    ถูกต้องอันจะก่อให้เกิดการหลีกเลี่ยงภาษี (Tax Avoidance)
  • กำหนดราคาโอน (Transfer Pricing) ระหว่างกิจการที่เกี่ยวข้องกัน เป็นไปตามหลักการกำหนดราคาของค่าตอบแทนซึ่งคู่สัญญาที่เป็น อิสระต่อกัน
    พึงกำหนดโดยสุจริต (Arm’s Length Principle) ซึ่งบริษัทฯ ใช้ราคาตามปกติธุรกิจโดยถือตามราคาตลาดทั่วไปหรือเป็นไป ตามสัญญาที่ตกลงกันไว้ เพื่อให้การรับรู้รายได้และรายจ่ายที่ใช้เป็นฐานในการเสียภาษีเป็นไปตามกฎหมาย

2. การบริหารความเสี่ยงด้านภาษี

  • ดำเนินการให้มีการสื่อสารภายในองค์กรที่มีประสิทธิภาพ เสริมสร้างให้พนักงานมีความเข้าใจและยึดมั่นในข้อกำหนดและข้อปฏิบัติที่ ถูกต้องตามกฎหมายภาษี
  • จัดทำคู่มือปฏิบัติงานด้านภาษีเป็นลายลักษณ์อักษรและปรับปรุงให้ทันสมัยเมื่อมีการเปลี่ยนแปลง
  • กำหนดกระบวนการจัดทำและชำระภาษีให้เป็นไปอย่างถูกต้อง ตรงเวลา และมีการจัดเก็บข้อมูลอย่างเป็นระบบในรูปแบบที่เหมาะสม
  • ควบคุมการบันทึกข้อมูลทางบัญชีที่เกี่ยวข้องกับรายการภาษีทุกประเภท เพื่อให้ข้อมูลครบถ้วน ถูกต้อง และเชื่อถือได้
  • หารือกับที่ปรึกษาภาษีภายนอกที่มีความเชี่ยวชาญในประเด็นที่มีความซับซ้อนหรือประเด็นที่บริษัทฯ ไม่มีความชำนาญ เพื่อลดความ เสี่ยงและผลกระทบ
    ทางภาษีที่อาจเกิดขึ้น และให้การปฏิบัติเป็นไปอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

3. ความโปร่งใสด้านภาษี

  • เปิดเผยนโยบายด้านภาษีต่อสาธารณะผ่านเว็บไซด์ของบริษัทฯ
  • เปิดเผยข้อมูลทางด้านภาษีตามที่กฎหมายกำหนด โดยบริษัทฯ ได้มีการเปิดเผยข้อมูลในรายงานทางการเงินตามที่มาตรฐานการ รายงานการเงินกำหนด
  • รายงานข้อมูลด้านภาษีต่อสรรพากรและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
  • ให้ความร่วมมือต่อเจ้าหน้าที่สรรพากรและหน่วยงานราชการในการตอบข้อซักถามหรือจัดเตรียมข้อมูลประกอบการตรวจสอบด้านภาษี อย่างครบถ้วน และโปร่งใส และจัดให้มีผู้รับผิดชอบในการประสานงานด้านภาษี กับกรมสรรพากรและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การสื่อสาร การให้ข้อมูลกับภาครัฐ ถูกต้องตรงกัน